วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รัฐบาลล้วงเงินค้างท่อ 1 ทศวรรษ 'อปท.' หว่านกว่า3หมื่นล้านกระตุ้นรากหญ้า

รัฐบาลล้วงเงินค้างท่อ 1 ทศวรรษ 'อปท.' หว่านกว่า3หมื่นล้านกระตุ้นรากหญ้า
คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ ๒๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          วัฒนา ค้ำชู/สำนักข่าวเนชั่น
          การ ดำเนินโครงการตามมาตรการ "ส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน" ทุกมาตรการมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก อาทิ มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล หรือโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท, โครงการมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริม สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย, โครงการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร รวมถึงมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ที่ล้วนเป็นแผนงานเร่งด่วน แก้ไขปัญหาในระยะสั้น-ระยะยาว เสมือนการปูทางในปัจจุบันก้าวสู่อนาคต
          ตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย ได้ขับเคลื่อนมีการกระจายเม็ดเงินลงสู่พื้นที่ยอดรวมการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวนเงิน 7,913.44 ล้านบาท เป็นมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล อนุมัติไปแล้วจำนวน 120,198 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 92.07 จำนวนเงินที่อนุมัติแล้ว 35,423.60 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 4,021.87 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 7,979.54 ล้านบาท
          หรือมาตรการ เร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการสร้างความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณแล้วจำนวน 3,827 โครงการ เป็นเงิน 3,200.968 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,297.19 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 712.35 ล้านบาท
          สำหรับโครงการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกล ทางการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จัดสรรงบประมาณจำนวน 421 รายการ เป็นเงิน 254.28 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่ 21 จังหวัด เบิกจ่ายแล้ว 83.51 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 65.68 ล้านบาท
          ส่วน มาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลได้รับงบประมาณ 4,490 รายการ เป็นเงิน 2,565.80 ล้านบาท ก่อหนี้ผูกพันแล้ว 2,286.44 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,474.10 ล้านบาท คาดว่า โครงการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นข้อมูลล่าสุดที่ผุดขึ้น มาในการปฏิบัติการแก้จน ที่ผ่านมา
          อย่างไรก็ตาม มีปัญหาอุปสรรคความล่าช้าที่เกิดจากกระบวนการบริหารงาน เช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงการ, รายละเอียดในการขอใช้ที่ดินกับส่วนราชการ หรือปัญหาด้านบุคลากร สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลของทีมงานติดตามงานโครงการรายงานเข้ามาสู่ส่วน กลางกระทรวงมหาดไทย
          ผลทำให้มีการกำหนดแนวทางและมาตรการในการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ข้อแนะนำแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ให้บริหารงานร่วมกันนำทุกส่วนราชการหน่วยงานของรัฐทำงานบรรลุตามวัตถุ ประสงค์สนองนโยบายรัฐบาล โดยได้ประสานกรมบัญชีกลางให้ขยายเวลาเพื่อให้จังหวัดดำเนินการเบิกจ่ายงบ ประมาณได้ทันตามกรอบระยะเวลา
          ขณะเดียวกันโครงการที่ทำไปแล้วมี ประโยชน์ต่อประชาชนมาก พบว่าโครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการพัฒนาอาชีพ และโครงการสร้างงานสร้างรายได้ เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้จะนำไปเป็นแบบอย่างให้แก่พื้นที่อื่นในโอกาสต่อไป
          ทำ ให้ทีมเศรษฐกิจต้องตั้งเป้านำมาตรการใหม่เตรียมนำเงินสะสมหรือเงินค้างท่อ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "อปท." เม็ดเงินจำนวนกว่า 6 หมื่นล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์
          พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ระบุหลัง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ เข้าหารือ โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที คาดการณ์จะนำเม็ดเงินมาใช้ได้จะอยู่ในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายนนี้
          ก่อน หน้ารองนายกรัฐมนตรีหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" และขุนคลัง "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" รมว.คลัง ยืนยันต้องใช้ยอดเงินสะสม อปท.ช่วยฟื้นฟูให้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศหวังให้เติบโตตามเป้า
          แต่ ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ กระทรวงการคลังจะนำเม็ดเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ที่มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พัทยา และกทม. รวมจำนวน 7,853 แห่งทั่วประเทศ เม็ดเงินตัวเลขค้างท่อช่วง 1 ทศวรรษ หรือ 10 ปีที่ผ่านมา การนำไปใช้ตามนโยบายรัฐบาลจะสามารถนำเงินไปใช้ตามเป้าที่วางเอาไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 64,531 ล้านบาท ล่าสุดแว่วว่า หลังมีการพูดคุยหารือเคาะตัวเลขคร่าวๆ เอาไปใช้ปรับโครงสร้างด้วยการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมสภาพคล่องทุก พื้นที่ได้แค่ 3 หมื่นกว่าล้านบาท
          แต่เงื่อนไขต้องเหลือใช้ เก็บสำรองฉุกเฉินด้านต่างๆ เช่น กรณีเงินเดือนจ่ายค่าบุคลากร เบี้ยคนพิการ เบี้ยคนชรา ที่มีการจ่ายให้ล่าช้าหรือกรณีเกิดภัยพิบัติจำเป็น อปท.จำเป็นต้องนำเงินสะสมที่มีเบิกไปจ่ายก่อนเป็นกรณีที่สามารถทำได้เพื่อ ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นมา
          การนำเม็ดเงินไปใช้สำคัญที่สุด คือ การดำเนินการตามระเบียบกฎหมาย รัฐบาลมีคณะรัฐมนตรีวางยุทธศาสตร์แผนงานนโยบาย กำหนดแนวทาง ขณะเดียวกันกติกาหลักเกณฑ์ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็เป็นหลักการที่ถูกนำมาควบรวมในการดำเนินงานตอบสนอง ความต้องการพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชน
          วาระของชาติปูพรม หว่านเมล็ดเงินมากมายหลายโครงการ ผลที่ตามมาคงไม่กี่อึดใจ แม้ทุกฝ่ายยังรู้สึกแคลงใจปมปัญหา "รัฐบาลถังแตก" ต่อนี้ไปไม่กี่ไตรมาสดอกผลคงผลิบานสะพรั่งให้ได้ยลโฉมกัน..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น