วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต สั่งรื้อถอนได้


การก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามผังเมืองรวม เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารดังกล่าวและแม้ต่อมากฎหมายจะสิ้นผลใช้บังคับ ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมาย
กลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เจ้าของอาคารสามารถขออนุญาตก่อสร้างอาคารได้

ในคดีที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านครึ่งตึกครึ่งไม้ ชั้น ขนาด x ๑๒ เมตร ด้านหลังเป็นหลังคาคลุมใช้ประกอบกิจการร้านอาหาร ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้รื้อถอนอาคารหลังเดิมออกแล้วก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใหม่ หลัง โดยหลังที่ ขนาด ๑๐ x ๑๐ เมตร หลังที่ ขนาด x เมตรและก่อสร้างป้ายโครงเหล็กขนาด .๒๐ x .๒๐ เมตร ชื่อร้านครัวริมน้ำ นายช่างโยธาซึ่งเป็นนายตรวจเขตได้รายงานการตรวจเขตควบคุมอาคาร เขตที่ ว่า ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างป้ายโครงเหล็กและอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต และขัดต่อผังเมืองรวมตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๒๗ (.. ๒๕๔๐) นายกเทศมนตรีเมืองมุกดาหาร(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ) ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงได้มีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนป้ายโครงเหล็กและอาคารที่ก่อสร้างทั้งหมด ผู้ฟ้องคดีจึงได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตเทศบาลหรือเขตราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าววินิจฉัยว่าคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีได้ก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด x เมตร ใช้ประโยชน์ในการประกอบกิจการร้านอาหารและก่อสร้างป้ายโครงเหล็กขนาด .๒๐ x .๒๐ เมตร ชื่อร้านครัวริมน้ำ ในที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๘๕๐๕ ตำบลมุกดาหาร อำเภอเมืองมุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร ของผู้ฟ้องคดี ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่สีเขียวอ่อนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๒๗ (.. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง .. ๒๕๑๘ ใช้บังคับระหว่างวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๔๐ และให้ขยายเวลาใช้บังคับจนถึงวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๔๗ โดยผู้ฟ้องคดีไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น การก่อสร้างอาคารของผู้ฟ้องคดีดังกล่าวจึงเป็นการก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและเป็นการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ตามผังเมืองรวม ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ จึงมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีรื้อถอนอาคารดังกล่าวได้ ตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๔๐ มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. ๒๕๒๒ [1] ได้ แม้ว่าภายหลังจากที่ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องเป็นคดีนี้กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๒๗ (.. ๒๕๔๐) จะสิ้นสุดการใช้บังคับไปแล้ว และยังไม่มีกฎกระทรวงฉบับใหม่ใช้บังคับ อันอาจทำให้การใช้ประโยชน์จากอาคารพิพาทไม่ต้องห้ามตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองก็ตาม ก็ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ที่ออกโดยชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่ประการใดเพียงแต่ทำให้ผู้ฟ้องคดีสามารถดำเนินการขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทได้ตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. ๒๕๒๗ เท่านั้น (คำ พิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ .๒๘๖ /๒๕๕๒)


[1] พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. ๒๕๒๒
มาตรา ๒๑ ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคารต้องได้รับใบอนุญาต จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ
มาตรา ๔๐ ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร โดยฝ่าฝืน บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการดังนี้
() มีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน ผู้ดำเนินการ ลูกจ้างหรือบริวารของบุคคลดังกล่าว ระงับการกระทำดังกล่าว
() มีคำสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณที่มีการกระทำดังกล่าว และจัดให้มีเครื่องหมายแสดงการห้ามนั้นไว้ในที่เปิดเผยและเห็นได้ง่าย อาคารหรือบริเวณดังกล่าว และ
() พิจารณามีคำสั่งตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๒ แล้วแต่กรณี ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งตาม ()
มาตรา ๔๑ ถ้าการกระทำตามมาตรา ๔๐ เป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตหรือดำเนินการแจ้งตามมาตรา ๓๙ ทวิ หรือดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาดังกล่าวออกไปอีกก็ได้ และให้นำมาตรา ๒๗ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
มาตรา ๔๒ ถ้าการกระทำตามมาตรา ๔๐ เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๑ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการรื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวันโดยให้ดำเนินการรื้อถอนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตาม มาตรา (๑๑) หรือ ข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามมาตรา หรือมาตรา ๑๐

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น