วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559

คอลัมน์ กล้าได้กล้าเสีย: อำนาจซ้อนอำนาจใน อปท.

คอลัมน์ กล้าได้กล้าเสีย: อำนาจซ้อนอำนาจใน อปท. 

ไทยรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๙

          ไหนๆ จะปฏิรูปกันแล้วก็ต้องว่ากันทั้งระบบเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่ จะเกิดขึ้นในอนาคต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องมีการปฏิรูปเพื่อยกระดับให้การกระจายอำนาจเป็น สิ่งที่จับต้องได้
          พูดง่ายๆว่าให้เป็นการกระจายอำนาจจริงๆเสียที
          ทุก วันนี้ยัง “ลักปิดลักเปิด” ยังไงชอบกลอยู่ เพราะแม้จะให้มีการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น ตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัดก็จริง แต่ก็ยังอยู่ภายใต้อำนาจของกระทรวงมหาดไทยที่ยังไม่ต้องการปล่อยวางอำนาจให้ อย่างเต็มที่
          ยังมีผู้ว่าฯ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านซ้อนอำนาจกันอยู่
          อีกทั้งการจัดรูปแบบการปกครองท้องถิ่นก็ยังเกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อน ทำให้การแบ่งอำนาจทางการปกครองไม่เหมาะสมกับภารกิจ
          อบ จ.นั้นมีปัญหามากที่สุด แม้จะมีพื้นที่การใช้อำนาจครอบคลุมทั้งจังหวัด แต่เมื่อเจาะลึกลงไปก็ต้องเจอเทศบาล สภาตำบลจนแทบทำอะไรไม่ได้เลย ข้างบนก็มีผู้ว่าฯเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งๆที่โดยศักดิ์และสิทธิแล้วก็ไม่ต่างกัน
          มีข้อเสนอให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าฯมานานแล้ว แต่มีเสียงคัดค้านโดยเฉพาะจากกระทรวงมหาดไทยมาตลอด
          ยิ่งปัญหาของ อปท.เองในการบริหารจัดการ การที่ยังไม่มีองค์ความรู้เพียงพอและการทุจริตคอร์รัปชันก็ยิ่งไปกันใหญ่
          คงต้องรอเวลาไปอีกนานกว่าจะเป็นจริงเป็นจังได้
          ล่า สุด ป.ป.ช.ได้เสนอแนวคิดที่จะป้องกันการทุจริตเชิงนโยบายของ อปท. ซึ่ง ครม.ได้รับหลักการแล้ว โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นแม่งานหลักเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความ เหมาะสมของมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          เพื่อดูถึงความเป็นไปได้ อะไรทำได้หรือทำไม่ได้ จะต้องแก้ไขกฎหมายหรือไม่
          สาระ สำคัญมีการเสนอให้แก้ไข พ.ร.บ.การเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 ว่าด้วยเรื่องผู้สมัครรับเลือกตั้ง คู่สมรส และบุตรที่ไม่บรรลุนิติภาวะต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเปิดเผยให้ ประชาชนได้รับทราบ
          ห้ามพรรคการเมือง ส.ส. ส.ว. หรือผู้บริหาร อปท.อื่นให้การสนับสนุนทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ผู้สมัครเลือกตั้งเป็นผู้ บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น
          ห้ามผู้สมัครเป็นผู้บริหารท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นแทรกแซงการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่น ถ้าฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ
          นอกจากนั้น ยังได้เสนอบทลงโทษหากกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง เช่น เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตลอดชีวิต เป็นต้น
          เพิก ถอนสิทธิเลือกตั้งตลอดชีวิตแก่ผู้ที่มีพฤติการณ์เป็นตัวการร่วมผู้ใช้ ผู้จ้างวานของผู้สมัครเลือกตั้งเป็นผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่นกระทำ การฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้ง
          ผู้สมัครจะต้องมีคุณสมบัติ จะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี และต้องจบการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรี
          ข้อ เสนอต่างๆเหล่านี้มุ่งไปที่ตัวบุคคลที่จะเข้ามาทำหน้าที่ใน อปท.เท่านั้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ดีอันจะเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่จะลบล้างข้อจำกัดในการ กระจายอำนาจ
          ทุกวันนี้จะเห็นได้ว่า อปท.ส่วนใหญ่จะอยู่ภายใต้อำนาจการเมืองระดับชาติ เป็นการเมืองในระบบครอบครัวรุ่นต่อรุ่นหรือสภาผัวเมียไม่ต่างกันแม้แต่น้อย
          ที่ สำคัญก็คือเป็นหัวคะแนนสำคัญของพรรคการเมือง นักการเมืองไม่ต่างไปจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจนไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองได้และเป็นเรื่องที่จะแก้ไขได้อย่าง ยากยิ่ง
          ขนาดว่าจะยุบเลิก “กำนัน–ผู้ใหญ่บ้าน” ก็จะเป็นจะตายกันแล้ว.
          “สายล่อฟ้า”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น