วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

กับแกล้มการเมือง: เลือกตั้งท้องถิ่น

กับแกล้มการเมือง: เลือกตั้งท้องถิ่น
เดลินิวส์  ฉบับวันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

          เมื่อวันที่ 20 ก.พ. สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่น ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย กับผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 3,847 คน นำมาปรับปรุงเป็นร่างล่าสุด เพื่อเสนอขอความเห็นชอบต่อ กกต. ก่อนนำส่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้การเลือกตั้งท้องถิ่นเกิดขึ้น
          ทั้งนี้ กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นเกี่ยวข้องมีทั้งหมด 6 ฉบับ ประกอบด้วย 1.พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 2.พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (อบต.) 3.พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 (อบจ.) 4.พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 5.พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการ กทม. พ.ศ. 2528 และ 6.พ.ร.บ.บริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 ส่วนจำนวนท้องถิ่นในประเทศไทย ประกอบด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั้งประเทศ 7,853 แห่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) 76 แห่งเทศบาล 2,440 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 5,335 แห่ง และท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา 2 แห่ง
          "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี ไม่ยืนยันว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะเกิดขึ้นเดือนส.ค. หรือเดือน ก.ย. หรือไม่ แต่เป็นไปได้ว่าในปีนี้จะมีเลือกตั้งท้องถิ่นโดยยึด 4 ปัจจัยหลัก 1.ให้มีการออกกฎหมายก่อน 2.กกต. ต้องพร้อมจัดเลือกตั้ง ไม่ให้ใกล้กับการเลือกตั้งใหญ่ 3.การแบ่งเขตเลือกตั้ง และ 4.ปลดล็อกเพื่อให้มีการหาเสียง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น