วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คลังเดินหน้ากม.ภาษีที่ดินฯ "ที่ดินเปล่า" หนักสุดเพดาน 5%


คลังเดินหน้ากม.ภาษีที่ดินฯ "ที่ดินเปล่า" หนักสุดเพดาน 5% ชี้เลี่ยงภาษีปลูกกล้วยต้องไร่ละ 200 ต้น
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ฉบับวันที่  31 พ.ค. 2560  


นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง บรรยายพิเศษหัวข้อ "พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์" ว่า ความคืบหน้ายังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีเป้าหมายบังคับใช้ภายในวันที่ 1 มกราคม 2561 

ทั้งนี้ ประเด็นพิจารณาหลักเป็นเรื่องอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แบ่งเป็น 4 อัตราหลัก ได้แก่ 1.ที่ดินเกษตรกรรม อัตราเพดาน 0.2% โดยอ้างอิงกับเกณฑ์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น การปลูกกล้วยต้องมีไร่ละ 200 ต้น เป็นต้น, เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์หรือไม่

2.บ้านพักอาศัย อัตราเพดาน 0.5% 3.พาณิชยกรรม อัตราเพดาน 2% และ 4.ที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตราเพดาน 5% เริ่มต้นจากจัดเก็บปีละ 2% จากนั้นถ้ายังไม่มีการนำไปใช้ประโยชน์ จะมีการปรับเพิ่ม 0.5% ในทุก 3 ปี

"แนวทางปฏิบัติ กรมธนารักษ์จะสำรวจและแจ้งไปยังกรมที่ดิน โดยก่อนจะมีการบังคับใช้กฎหมาย กรมธนารักษ์จะแจ้งไปยังเจ้าของแปลงทีดินเพื่อสำรวจและประเมินอัตราจัดเก็บ จากนั้นแจ้งให้ทราบล่วงหน้าว่ามีภาระภาษีเท่าไหร่ เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมของเจ้าของที่ดิน รวมทั้งสร้างความโปร่งใส ในส่วนขององค์กรปกครองท้องถิ่นก็จะได้ทราบว่าจะมีรายรับภาษีที่จะนำมาใช้พัฒนาพื้นที่มากน้อยแค่ไหน อย่างไร

นายพรชัยกล่าวถึงการบรรเทาภาระภาษีด้วยว่า กฎหมายมีการยกเว้นภาษีสำหรับทรัพย์สินบางประเภท อาทิ สาธารณสมบัติ ทรัพย์สินของรัฐ ทรัพย์สินที่ใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ สหประชาชาติ สถานทูต ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรร สถาบันการศึกษา บ้านพักอาศัยหลัก 1 หลัง ฯลฯ โดยอัตราลดหย่อนสูงสุด 90% และผู้มีอำนาจในการพิจารณาอยู่ที่องค์กรปกครองท้องถิ่น

สำหรับผลลัพธ์ที่คาดว่าจะได้รับจากภาษีที่ดินฯ อาทิ เจ้าของที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์สามารถนำไปให้เช่าที่ดินปลูกอ้อยเมื่อได้ผลผลิตมีการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงาน ผลิตสินค้าออกมาเป็นไบโอโปรดักส์ สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ เป็นต้น

ในด้านภาคอสังหาริมทรัพย์ จะมีการนำที่ดินเปล่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใฐานข้อมูล 14 ล้านคน คนมีที่อยุ่อาศัย 5 ล้านคนกว่า , อีก 1 แสนกว่าคนเช่าบ้านอยู่, มีคนที่อาศัยอยู่ในบ้านคนอื่นอีก 4 ล้านคน เป็นฐานตลาดที่ในอนาคตเมื่อมีความพร้อมก็อยากจะซื้อบ้านเป็นของตนเอง ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยทั่วประเทศ พบว่ากระจุกในภาคอีสานเยอะสุด 40% กว่า ทำอย่างไรให้เกิดการจ้างงาน จะมีนิคมสร้างตนเองหรือมีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เพื่อให้เกิดการจ้างงาน 

"อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับอัตราภาษีว่าจะจัดเก็บมากน้อยแค่ไหน และมีกระแสข่าวว่าจะปรับลดอัตราจัดเก็บในกลุ่มบ้านพักอาศัย ขอบอกว่าอย่าตื่นตระหนกและอย่าไปเชื่อ ทุกวันนี้ยังเป็นอัตรานำเสนอ ขอให้รอการประกาศอัตราจัดเก็บที่จะใช้จริงจากรัฐบาล" นายพรชัยกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น