วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

โรดแมปกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่น

โรดแมปกระจายอำนาจสู้ท้องถิ่น 
พิมพ์ไทย ฉบับวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๙

          พอ จะสรุปประเด็นได้ระดับหนึ่ง ตามแผนงาน "การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น" ของการร่างรัฐธรรมนูญที่สังคมต้องติดตามตอนจบข่าว ในประเด็นที่มาของผู้บริหารสภาท้องถิ่นนั้น ผู้บริหารและสภาท้องถิ่น จะยังคงให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชนเหมือนเดิม แต่จะเพิ่มบทบาทของ ผู้กำกับดูแลิ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ในการกำกับดูแลสมาชิกสภาท้องถิ่นในการออกบทบัญญัติต่างๆ รวมทั้งการกำกับดูแลการบริหารงานของผู้บริหารท้องถิ่น
          นอกจาก นี้ยังเสนอให้มีการจัดตั้ง"สมัชชาพลเมือง" เพื่อให้บทบาทในตรวจสอบการดำเนินงานและถ่วงดุลอำนาจ ของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ขณะที่ข้อเสนอด้านการควบรวมให้ยกองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งหมด เป็นเทศบาล นอกจากนี้ยังเสนอให้ควบรวมเทศบาลตำบล กับ อบต.ในพื้นที่เดียวกัน,อบต. กับ อบต.ที่มีขนาดเล็กด้วยกัน,เทศบาลตำบล กับ อบต.ซึ่งมีขนาดเล็กแต่อยู่คนละตำบลกันรวมทั้งท้องถิ่นขนาดใหญ่กับท้องถิ่น ขนาดเล็กกว่า เพื่อประโยชน์ในการเพิ่มพื้นที่และศักยภาพที่เหมาะสมกว่าเดิม
          ทั้ง นี้ในการควบรวมนั้นควรมีการกำหนดเกณฑ์รายได้ ประชากร พื้นที่ให้สนองวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ (1) เพื่อการจัดทำบริการสาธารณะที่ดีกว่าเดิม บรรลุมาตรฐานที่กำหนด (2) ประชาชนได้รับประโยชน์และมีความพึงพอใจมากกว่าเดิม และ (3) องค์กรมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการดีกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีรายละเอียดและปัญหาในการควบรวมอยู่ไม่น้อย จึงควรทำการศึกษาวิเคราะห์ให้ถ่องแท้ และมีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบตามความเหมาะสมด้วย
          ส่วนการ จัดตั้ง "สภาการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติ" (สทช.) แล้ว ยังมีการเสนอให้มีการจัดตั้ง สทช. เพื่อเป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายและบริหารงานให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย ขับเคลื่อนการกระจายอำนาจและส่งเสริมการถ่ายโอนภารกิจ จัดระเบียบ วินิจฉัยปัญหา ออกมาตรฐานกลาง ประสานเชื่อมโยง ฯลฯ โดยมีสำนักงานเป็นของตนเอง เป็นหน่วยธุรการรองรับภารกิจมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ทั้งนี้ให้สภาการปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งชาตินี้ เข้ามาทำหน้าที่แทนคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อให้มีการดูแลส่งเสริมกันเอง เพื่อให้เกิดความอิสระ
          สำหรับ การจัดตั้งศาลปกครองแผนกคดีท้องถิ่น ให้มี "ศาลปกครองแผนกคดีท้องถิ่น" เพื่อทำหน้าที่พิจารณาคดี ที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะ ในด้านการกำกับดูแลองค์กรนั้น กรณีการยุบสภาท้องถิ่นให้ควรกำหนดให้ผู้กำกับดูแล (ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ) มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง และรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องและเสนอต่อศาลปกครอง เพื่อให้ศาลปกครองมีวินิจฉัยให้ยุบสภาท้องถิ่น และควรกำหนดให้ผู้กำกับดูแลมีอำนาจยับยั้ง การกระทำขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสภาท้องถิ่นก่อนส่งเรื่องให้ศาล ปกครองวินิจฉัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่วนรวม
          ด้าน การกำกับดูแลด้านบุคคล กรณีการถอดถอนสมาชิกหรือสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นนั้นให้มีการแก้ กฎหมายเกี่ยวกับการเข้าชื่อกันเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นของประชาชน โดยลดจำนวนเสียงที่ประชาชนต้องเข้าชื่อกันให้น้อยลง ควรกำหนดให้มีศาลปกครองแผนกคดีท้องถิ่น ทำหน้าที่พิจารณาถอดถอนสมาชิกสภาหรือผู้บริหารท้องถิ่น เป็นการเฉพาะให้เป็นไปตามหลักการถ่วงดุลอำนาจ
          ส่วนการกำกับ ดูแลด้านการกระทำ กรณีจัดทำข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นให้ควรกำหนดให้ประชาชนหรือสมัชชาพลเมือง มีส่วนร่วมในการพิจารณาข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือให้ความเห็นชอบข้อบัญญัติท้อง ถิ่น นอกจากนี้ยังให้ควรกำหนดให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่รายงานให้ผู้ กำกับดูแลทราบเกี่ยวกับการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อให้ผู้กำกับดูแลดำเนินการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมาย หากข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ผู้กำกับดูแลเสนอต่อศาลปกครอง ให้มีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนข้อบัญญัติท้องถิ่นนั้น
          ด้านการ กำกับดูแลตรวจสอบด้านการเงินการคลัง ให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ควรมีการตรวจบัญชีทุกครึ่งปี โดยผู้ได้รับอนุญาตตรวจสอบบัญชีและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเผยแพร่ข้อมูลบัญชีให้ประชาชนทราบด้วย
          สำหรับการตรวจสอบ การปกครองส่วนท้องถิ่น ให้มีการประเมินองค์กรและตัวบุคคลในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นระยะ เพื่อควบคุมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารท้องถิ่น และอาจกำหนดให้มีการตรวจสอบด้านการเงิน การคลัง การพัสดุและบัญชีโดยผู้ตรวจสอบบัญชีมืออาชีพ
          ขณะที่การมีส่วน ร่วมของประชาชนนั้น ให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับสิทธิการมีส่วนร่วมต่างๆ ของประชาชนในการปกครองท้องถิ่น กำหนดให้"สมัชชาพลเมือง" มีหน้าที่พิจารณาหรือให้ความเห็นชอบข้อบัญญัติท้องถิ่นนอกจากนี้ให้มีการแก้ กฎหมายเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงของประชาชนเพื่อถอดถอนสมาชิกสภาและผู้บริหาร ท้องถิ่น โดยลดเสียงของประชาชนให้น้อยลงอย่างไรก็ตามการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรัฐ ธรรมนูญ ฉบับที่กำร่างกันอยู่ในขณะนี้ที่มี"มีชัย ฤชุพันธุ์" นั่งเป็นประธานนั้น ในความเห็นของ"วัลลภ พริ้งพงษ์" อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยอธิบายว่า รัฐธรรมนูญ ปี 2540 ถือเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีการบัญญัติเรื่องการปกครองท้องถิ่น โดยมีบทบัญญัติทั้งหมด 9 มาตรา รัฐธรรมนูญปี2550 มีบทบัญญัติ 10 มาตรา ส่วนรัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ จะมีบทบัญญัติน้อยลงแต่จะมีอำนาจหน้าที่ท้องถิ่นมากขึ้น และมีการเปลี่ยนชื่อจาก องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นิ เป็น องค์กรบริหารท้องถิ่นิ
          ทั้งนี้จะกำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมใน การตัดสินใจแก้ปัญหาในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ขอบเขตและขั้นตอนการให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างไร รัฐธรรมนูญที่กำลังร่างอยู่นี้ได้กำหนดหน้าที่การทำงานของท้องถิ่นอย่าง ชัดเจนมากขึ้น รวมทั้งการยกฐานะของข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นให้ทัดเทียมกับข้า ราชการในส่วนอื่น ๆ
          ขณะที่มุมมองของ "เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง" นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) บอกว่า รัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะพลิกโฉมท้องถิ่นไทย คือ การให้อำนาจท้องถิ่นในการบริหารมากขึ้น โดยจะยึดโมเดลการบริหารงานของประเทศญี่ปุ่นที่ถือว่าเป็นชาติที่ประสบความ สำเร็จอย่างมากในการบริหารงานท้องถิ่นซึ่งรัฐธรรมนูญใหม่จะยุบองค์การบริหาร ส่วนตำบลทั้งหมดทั่วประเทศ และยกฐานะเป็นเทศบาล และจะรวม อบต.ขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กัน รวมเป็นเทศบาล อีกทั้งยังจะยุบเทศบาลขนาดเล็กที่อยู่ใกล้กันรวมเป็น 1 เทศบาล ซึ่งโมเดลดังกล่าวญี่ปุ่นใช้มานานแล้วประสบผลสำเร็จดีมาก
          "ข้อ ดีของโมเดลนี้คือ บริหารจัดการได้อย่างรวดเร็ว สามารถบริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม รัฐบาลจัดสรรงบประมาณได้เร็วขึ้นและทั่วถึง หากได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เร็วขึ้น จะสนองความเดือดร้อนของประชาชนได้ ทำให้การเดินหน้าเมกะโปรเจ็กต์เร็วขึ้น เช่น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การช่วยเหลือผู้สูงวัย ศูนย์เด็กเล่น เป็นต้น รวมทั้งสามารถตรวจสอบนักการเมืองท้องถิ่นที่ทุจริตคอร์รัปชั่นได้"
          สำหรับ หลักเกณฑ์ที่จะยุบ อบต.หรือเทศบาลไหนรวมกันนั้น จะดูจากจำนวนประชากร รายได้ประชากร โครงสร้างสังคม ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นหลัก
          จาก หลากหลายประเด็นของโรดแมปในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นยังต้องติดตามแห่ง บทสรุป ซึ่งที่สุดจะพลิกโฉมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เดินรุดไปข้างหน้าได้จริง ตามความคาดหมายกันหรือไม่?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น