วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

บทบรรณาธิการสยามรัฐ: ยุทธศาสตร์ขยะ ?

บทบรรณาธิการสยามรัฐ: ยุทธศาสตร์ขยะ ?
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙

          ปัญหา ใหญ่ของชุมชนเมืองที่รอไม่ได้คือ "น้ำเน่า" กับ "ขยะ"ปัญหาน้ำเน่าปีนี้เห็นกันชัดขึ้นเพราะภัยแล้ง น้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ มีน้อย น้ำในบึงใหญ่ในทะเลสาบตามจังหวัดต่างๆ เน่าเสียกลายเป็นภัยเสริมซ้อนภัยขาดน้ำให้รุนแรงขึ้น
          ต้นเหตุ น้ำเน่าที่สำคัญมาจากน้ำมือมนุษย์เอง และโดยทั่วไปแล้วคนเราก็มักจะนึกถึงขยะของเสียน้ำเน่าจากโรงงานอุตสาหกรรม เท่านั้น ลืมไปว่า ของเสียและขยะจากบ้านคนก็เป็นแหล่งสำคัญ
          "ปัญหา ขยะ" ในเมืองเป็นปัญหาดินพอกหางหมูที่ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ หากปล่อยต่อไปไม่แก้ไขโดยเร็วบ้านเมืองไทยที่สวยงามน่ารักก็อาจจะเหม็นโฉ่ไป หมดทุกจังหวัด
          ผู้คนสร้างขยะออกมามากกว่ากำลังความสามารถขององค์กรปกครองท้องถิ่นจะจัดการได้อย่างดี
          ต่อ ไปปัญหาขยะจะลุกลามไปถึงระดับ "ตำบล"เมื่อ คสช. รัฐประหารได้ยกปัญหาขยะเป็นปัญหาใหญ่เร่งด่วนที่ต้องแก้ไขเป็นเรื่องถูกต้อง แล้ว
          แต่ยุทธศาสตร์ที่กำหนดออกมายังเน้นที่ปัญหาปลายน้ำคือเรื่องโรงงานกำจัดขยะ
          การ บริหารจัดการปัญหาขยะนั้นตราบใดที่ยังไม่สามารถทำให้พลเมืองไทยมีจิตสำนึก "แยกขยะ" ปัญหาขยะก็จะใหญ่โตไม่มีทางลดทอนปัญหาลงได้
          พลเมือง จำนวนหนึ่งตื่นตัวเห็นความจำเป็นของการ "แยกขยะ"ตั้งแต่ระดับขยะจากครัวเรือนแต่ระดับความสามารถในการเก็บขยะของ องค์กรปกครองท้องถิ่นยังไม่สามารถจัดเก็บขยะแบบแยกประเภทได้ชาวบ้านตั้งขยะ แยกประเภทไว้แต่รถเก็บขยะก็มีคันเดียวมาเก็บขยะทังหมดรวมกันไป
          การ จัดการขยะองค์กรปกครองท้องถิ่นก็มักจะใช้วิธีฝังกลบโดยไปเช่าที่ดินว่าง เปล่าหรือจ้างบริษัทรับไปฝังกลบซึ่งบริษัทเหล่านั้นก็ไปเช่าที่ดินว่างเปล่า แล้วนำขยะไปเททิ้งไว้ซึ่งก็สร้างปัญหาให้กับชุมชนใกล้เคียง
          ส่วนโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะก็มักจะถูกต่อต้านจากชุมชนเจ้าของพื้นที่
          เนื่อง จาก 1.ผู้ประกอบการมักจะเลือกใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยก่อมลพิษ 2.มีการคอร์รัปชันกันมาก ทำให้โรงงานกำจัดขยะกลายเป็นสร้างมลพิษเสียเอง
          ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ดี มีความปลอดภัยต่อชุมชนใกล้เคียงหากไม่มีการคอร์รัปชันและสามารถบริหารจัดการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็สมควรสนับสนุนให้รีบจัดทำกัน
          ข้ออ่อน ของรัฐบาลนี้ในยุทธศาสตร์ขยะคือไม่เน้นการแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ คือสร้างจิตสำนึกให้พลเมือง "แยกขยะ" และให้งบประมาณพอเพียงสำหรับองค์กรปกครองท้องถิ่นจัดเก็บขยะแบบแยกประเภท แล้วนำไปจัดการในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ประโยชน์คุ้มค่า
          แต่รัฐบาลเร่งจะสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ จึงจำเป็นต้องยกเลิกกฎหมายผังเมืองซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ
          เรื่องที่ห้ามชาวบ้านห่วงกังวลไม่ได้คือ เรื่องโรงงานก่อมลพิษเพราะเขาไม่เชื่อว่าจะไม่คอร์รัปชันโกงกินกัน
          อัน ที่จริงในต่างประเทศเขามีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ดีไม่ก่อมลพิษใช้ ถ้าหากคนไทยไม่คอร์รัปชันกันเอง โรงงานกำจัดขยะแบบครบวงจรก็เป็นเรื่องที่ต้องรีบทำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น