วันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555

การเสียภาษีบำรุงท้องที่ของสนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

เปิดคำวินิจฉัยกฤษฎีกา การเสียภาษีบำรุงท้องที่ของสนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555 เวลา 21:46:00 น.


มติชนออนไลน์ รายงานว่า เมื่อไม่นานมานี้ กรุงเทพมหานครได้มีหนังสือ  ถึงสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า  ด้วยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้มีหนังสือขอลดหย่อนเนื้อที่ดินในการชำระภาษีบำรุงท้องที่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยให้เหตุผลว่าได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สิน ฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙  และกรุงเทพมหานครได้หารือกระทรวงมหาดไทย  กรณีที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งจัดให้หน่วยงานต่าง ๆ เช่าเพื่อใช้ประโยชน์ เป็นสถานพยาบาล สถานการศึกษา องค์กรการกุศล สวนสาธารณะ ศาสนกิจ ศาสนสถาน และสถานทูต เข้าข่ายได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ หรือไม่
 

กระทรวง มหาดไทยได้แจ้งว่าเจตนารมณ์ของมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ กำหนดให้ที่ดินที่ใช้เฉพาะในกิจการหรือเป็นที่ตั้งของกิจการที่กำหนดไว้ตาม มาตรา ๘ (๑) ถึง (๑๒) ไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ ซึ่งเป็นหลักการที่คำนึงถึงตัวทรัพย์ที่เป็นที่ดินเป็นหลักไม่ว่าเจ้าของ ที่ดินจะนำไปใช้เองหรือให้บุคคลอื่นนำไปใช้ก็ตามโดยไม่ได้มุ่งเน้นไปที่ตัว เจ้าของที่ดิน


ส่วน เจ้าของที่ดินจะมีรายได้อย่างใดก็เป็นอีกกรณีหนึ่งที่เจ้าของที่ดินมี หน้าที่ที่ต้องเสียภาษีเงินได้ประเภทบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลตามประมวล รัษฎากร เมื่อปรากฏว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้นำที่ดินไปให้ หน่วยงานต่าง ๆ เช่าเพื่อใช้ประโยชน์ในกิจการ ตามมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ เช่น กรณีกิจการสาธารณะ ศาสนกิจและศาสนสถาน โดยมิได้หาผลประโยชน์ หรือกรณีกิจการสถานพยาบาล สถานการศึกษา องค์กรการกุศล และสถานทูต ไม่ว่าที่ดินดังกล่าวจะนำไปหาผลประโยชน์หรือไม่ก็ตาม เจ้าของที่ดิน (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) ก็ย่อมได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่  อีกทั้งมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ ก็ได้บัญญัติให้ทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ที่เป็นทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติ ของแผ่นดินและทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษี อากรไว้เช่นเดียวกัน


กรุงเทพมหานครได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ มีเจตนารมณ์ให้เจ้าของที่ดินมีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา ๗ จึงต้องถือว่ากรณีนี้เป็นหลักของกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่ ส่วนข้อยกเว้นอยู่ในมาตรา ๘ ประกอบกับกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่เป็นกฎหมายมหาชน จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด หากกฎหมายไม่บัญญัติไว้ย่อมไม่มีอำนาจกระทำได้การตีความเกินกว่าตัวบทที่กฎหมายบัญญัติไว้ จึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย

ดังนั้น เมื่อบทบัญญัติมาตรา ๘ (๒) และ (๔) แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ ไม่ได้บัญญัติว่า หากเจ้าของที่ดินนำที่ดินให้ผู้อื่นเช่าเพื่อใช้เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์ หรือใช้ที่ดินในกิจการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะแล้ว เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่  จากเหตุผลในการพิจารณาหลักการตีความดังกล่าว จึงมีความเห็น ดังนี้


(๑) กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ทำสัญญาให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรีเช่าที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งสถานศึกษาซึ่งตามพระราชบัญญัติ ภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา ๘ (๔) กำหนดว่าเจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินที่ใช้เฉพาะ การพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ  เมื่อปรากฏว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้นำที่ดินดังกล่าวออก ให้เช่าเพื่อใช้เป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยโดยมีผลประโยชน์เป็นค่าเช่า ซึ่งกิจการดังกล่าวไม่ใช่กิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดย ตรง  กรณีนี้ถือได้ว่าเป็นการหาผลประโยชน์จากที่ดิน จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา ๘ (๔) และอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ

(๒) กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ทำสัญญาให้กรุงเทพมหานครเช่า ที่ดินเพื่อเป็นสวนสาธารณะ สวนธนบุรีรมย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ มาตรา ๘ (๒) กำหนดว่าเจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินที่เป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือที่ดินของรัฐที่ใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะโดย มิได้หาผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาข้อกฎหมายเห็นว่า แม้ที่ดินเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือใช้ในกิจการของรัฐหรือสาธารณะ

ถ้าได้รับ ผลประโยชน์จากที่ดินนั้น ย่อมต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่เช่นเดียวกันกับที่ดินของบุคคลทั่วไป และการที่จะได้รับยกเว้นไม่เสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องปรากฏว่าไม่ได้รับผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้นำที่ดินดังกล่าวออก ให้เช่าเพื่อใช้เป็นที่ตั้งสวนสาธารณะโดยมีผลประโยชน์เป็นค่าเช่าซึ่งกิจการ ดังกล่าวไม่ใช่กิจการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์โดยตรง  กรณีนี้ถือได้ว่าเป็นการหาผลประโยชน์จากที่ดิน จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา ๘ (๒) และอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา ๗ แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ ด้วยเช่นกัน

 สำหรับความเห็นของกระทรวง มหาดไทยเกี่ยวกับเจตนารมณ์ของมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ นั้น กรุงเทพมหานครเห็นว่าส่งผลต่อการตีความพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พุทธศักราช ๒๔๗๕ มาตรา ๙ (๒) ซึ่งกำหนดให้ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาลหรือสาธารณะได้รับยก เว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินด้วยเนื่องจากพระราชบัญญัติภาษีบำรุง ท้องที่ฯ และพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินฯ เป็นกฎหมายมหาชนเหมือนกัน และเป็นกฎหมายที่มุ่งเน้นในการจัดเก็บภาษีจากทรัพย์สินเหมือนกัน 


ดัง นั้น การตีความกฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดิน จึงต้องใช้หลักการตีความโดยเคร่งครัดเช่นเดียวกับกฎหมายภาษีบำรุงท้องที่  ดังนั้น เพื่อให้กรณีดังกล่าวข้างต้นมีข้อยุติ จึงขอหารือในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติใน การจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่พ.ศ. ๒๕๐๘


คณะ กรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๒) ได้พิจารณาข้อหารือของกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (กรมการปกครองและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ผู้แทนกรุงเทพมหานคร และผู้แทนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า  พระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ ได้กำหนดให้แยกทรัพย์สินในพระมหากษัตริย์ออกเป็น ๓ ประเภท คือ ทรัพย์สินส่วนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และทรัพย์สินส่วนพระองค์ โดยในส่วนของทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่นอกเหนือไปจากที่เป็นเครื่อง อุปโภคบริโภคนั้น มาตรา ๕ วรรคสองได้กำหนดให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นหน่วยงานหลักที่ มีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดหาผลประโยชน์ในกองทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่ มีไว้เพื่อใช้จ่ายสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์โดยเฉพาะ

สำหรับ การเสียภาษีอากรของทรัพย์สินทั้งสามประเภทนั้นได้มีการบัญญัติไว้ในมาตรา ๘ แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ฯ  ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ย่อมได้รับยกเว้นจากการเก็บภาษี อากรเช่นเดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดินแต่ในเรื่องการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องที่ หากเป็นกรณีทั่วไปย่อมต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ ดังนั้น การกำหนดให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่น เดียวกับทรัพย์สินของแผ่นดินตามมาตรา๘ วรรคสอง ย่อมหมายความว่า ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะเช่นเดียวกันกับทรัพย์สินของแผ่นดิน  ทรัพย์สินของแผ่นดินได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรเพียงใด ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ได้รับการยกเว้นเพียงนั้น

ถ้าทรัพย์สิน ของแผ่นดินไม่ได้รับยกเว้น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้รับยกเว้นเช่นกัน ดังที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (อนุกรรมการร่างกฎหมาย ชุดที่ ๑) ได้เคยให้ความเห็นไว้แล้ว   นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมถึงผู้อำนวยการ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ว่า มาตรา ๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ เป็นกฎหมายแม่บทที่ต้องนำมาใช้บังคับในทุกกรณี ถึงจะมีกฎหมายเกี่ยวกับภาษีฉบับใดในภายหลังกล่าวถึงยกเว้นไม่เก็บภาษีและใน คำยกเว้นนั้นมิได้ระบุถึงทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ไว้ก็ตามมิใช่จะหมาย ความว่าทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะไม่ได้รับการยกเว้นและต้องเสียภาษี นั้น ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์คงไม่ต้องเสียภาษีใหม่นี้อยู่นั่นเอง 

ทั้ง นี้ เพราะได้รับการยกเว้นเป็นการทั่วไปไว้ในพระราชบัญญัติจัดระเบียบทรัพย์สิน ฝ่ายพระมหากษัตริย์ พุทธศักราช ๒๔๗๙ แล้ว ทำให้ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้รับการยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรทั้ง ภาษีอากรที่จัดเก็บอยู่หรือภาษีอากรที่จะมีกฎหมายตราขึ้นให้จัดเก็บต่อไปภาย หน้าด้วยทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงไม่ต้องเสียภาษีอากรใด ๆ ไม่ว่าที่เรียกเก็บอยู่ขณะนี้หรือจะมีมาในภายหน้า
 

อย่าง ไรก็ตาม ไม่อาจกล่าวได้ว่าเมื่อเป็นที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แล้วจะ ได้รับยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในทุกกรณีเนื่องจากทรัพย์สินของแผ่นดินก็ยังมี บางกรณีที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่  การจะพิจารณาว่าที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ใดจะต้องเสียภาษี บำรุงท้องที่หรือไม่จึงต้องพิจารณาจากพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯประกอบ ด้วย  คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๒) จึงมีความเห็นในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้

ประเด็นที่หนึ่ง  ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์จัดให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเช่าที่ดินเพื่อใช้ เป็นที่ตั้งสถานศึกษาจะต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา๘ (๔)แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ หรือไม่  เห็นว่า บทบัญญัติมาตรา ๘ (๔) แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ กำหนดให้เจ้าของที่ดินไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่สำหรับที่ดินที่ใช้เฉพาะ การพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะ แต่มิได้บัญญัติว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องเป็นที่ดินของบุคคลใด 

ฉะนั้น ไม่ว่าที่ดินนั้นจะเป็นที่ดินของบุคคลใดก็ตาม หากใช้เพื่อการพยาบาลสาธารณะ การศึกษา หรือการกุศลสาธารณะแล้ว ย่อมอยู่ในข่ายได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าที่ดินดังกล่าวนั้นเจ้าของจะเป็นผู้ใช้เพื่อกิจการนั้น ด้วยตนเองหรือมอบให้ผู้อื่นใช้เพื่อกิจการนั้นประกอบกับในช่องหมายเหตุ (๑) ของบัญชีอัตราภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา ๗ ท้ายพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ บัญญัติว่า "ที่ดินที่ใช้ประกอบการกสิกรรมเฉพาะประเภทไม้ล้มลุกให้เสียกึ่งอัตรา แต่ถ้าเจ้าของที่ดินประกอบการกสิกรรมประเภทไม้ล้มลุกนั้นด้วยตนเอง ให้เสียอย่างสูงไม่เกินไร่ละ ๕ บาท" แสดงให้เห็นว่าอาจมีกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่เจ้าของที่ดินเป็นผู้ใช้ ที่ดินก็ได้ จึงได้กำหนดอัตราภาษีบำรุงท้องที่ที่แตกต่างกัน หรืออีกนัยหนึ่งกฎหมายมิได้เจาะจงว่าจะต้องเป็นที่ดินที่เจ้าของใช้เพื่อ กิจการนั้นด้วยตนเอง แต่ถือเอาลักษณะของการใช้เป็นสำคัญ ซึ่งในเรื่องนี้คณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๗) ได้เคยให้ความเห็นไว้ด้วยแล้ว


ดัง นั้น กรณีที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งจัดให้มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งสถานศึกษาจึงเป็น การใช้ที่ดินเพื่อการศึกษาตามมาตรา๘ (๔)แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้อง ที่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว


ประเด็นที่สอง  ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหา กษัตริย์จัดให้กรุงเทพมหานครเช่าที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งสวนสาธารณะจะต้อง เสียภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา๘ (๒)แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. ๒๕๐๘ หรือไม่  เห็นว่า เมื่อได้วินิจฉัยในประเด็นที่หนึ่งแล้วว่า การได้รับยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ตามมาตรา ๘ มุ่งพิจารณาจากการใช้ประโยชน์ในตัวที่ดินเป็นหลัก โดยมิได้กำหนดว่าเจ้าของที่ดินจะต้องเป็นผู้ใช้ที่ดินดำเนินกิจการต่าง ๆ ด้วยตนเอง  ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากลักษณะการใช้ประโยชน์ของที่ดินแล้ว ที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งจัดให้กรุงเทพมหานครเช่า ที่ดินเพื่อใช้เป็นที่ตั้งสวนสาธารณะเพื่อพักผ่อนหย่อนใจย่อมเป็นการใช้ ที่ดินเพื่อกิจการสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์ และโดยที่กรณีนี้หากเป็นที่ดินของรัฐอันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินที่ใช้ใน กิจการของรัฐหรือสาธารณะโดยมิได้หาผลประโยชน์แล้วก็จะได้รับยกเว้นภาษีบำรุง ท้องที่ตามมาตรา๘ (๒) แห่งพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ฯ  ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ซึ่งได้รับยกเว้นจากการเก็บภาษีอากรเช่นเดียว กับทรัพย์สินของแผ่นดินจึงได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ด้วย

อนึ่ง โดยที่ได้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า  การที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้นำที่ดินที่เป็นทรัพย์สินส่วน พระมหากษัตริย์ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและกรุงเทพมหานคร เช่านั้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะได้รับค่าเช่าตอบแทน  กรณีการได้รับค่าเช่าดังกล่าวจะทำให้เจ้าของที่ดินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีโรง เรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช ๒๔๗๕ หรือไม่ ย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน

-------------------
คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑๒)นายพนัส สิมะเสถียร ประธานกรรมการ
นายบดี จุณณานนท์ กรรมการ
คุณพรทิพย์ จาละ กรรมการ
นายสมชัย ฤชุพันธุ์ กรรมการ
นายปัญญา ถนอมรอด กรรมการ
นายวุฒิพันธุ์ วิชัยรัตน์ กรรมการ
นายธานิศ เกศวพิทักษ์ กรรมการ

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“จำเรียง -อีโดกวังจาน” สะพาน ... ขาด ป้ายเตือนอยู่ไหน ... ครับ !



จำเรียง -อีโดกวังจานสะพาน ... ขาด   ป้ายเตือนอยู่ไหน ... ครับ !

(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม 2555)

คดีปกครองที่จะนำมาเล่านี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลละเลยต่อหน้าที่ ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและซ่อมบำรุงรักษาถนนหนทางที่สัญจรไปมาทำให้ประชาชนได้รับอันตราย แม้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะจัดให้มีป้ายเตือนให้ระวังทางชำรุดแต่ไม่เพียงพอที่จะป้องกันมิให้เกิดอุบัติเหตุ จากการใช้ถนนได้

เรื่องมีอยู่ว่าผู้ฟ้องคดีใช้ให้นาย ก. ขับรถยนต์ของตนซึ่งอยู่ระหว่างการผ่อนชำระตามสัญญาเช่าซื้อไปส่งของที่บ้าน เมื่อนาย ก. ขับรถผ่านเส้นทางทางหลวงชนบท สาย พช 2066 จำเรียง -อีโดกวังจาน ในเวลาประมาณ 23 นาฬิกา ปรากฏว่านาย ก. ไม่ทราบว่าสะพานข้ามแม่น้ำป่าสักขาด เนื่องจากไม่มีการปิดทางบริเวณก่อนถึงสะพาน เพื่อป้องกันมิให้รถสัญจรผ่านไปถึงสะพานได้ ทำให้รถที่อยู่ในความครอบครองของผู้ฟ้องคดีคันดังกล่าวตกลงไปในแม่น้ำได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดี (องค์การบริหารส่วนตำบล) ชดใช้ค่าเสียหาย แต่ถูกปฏิเสธความรับผิด

ผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยและเรียกค่าเสียหายจากการที่ไม่อาจใช้ประโยชน์จากรถยนต์พิพาทได้ ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งว่า ได้จัดทำป้ายเตือนขนาดใหญ่ความว่า อันตรายสะพานขาดขวางทาง เข้าถนนสาย พช 2066 สามารถมองเห็นได้ชัดเจน แต่ผู้ขับขี่เมาสุราจึงขับรถผ่านป้ายเตือน แสดงว่าผู้ฟ้องคดีสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยด้วยตนอง และผู้ฟ้องคดีเป็นเพียงผู้ให้นาย ก. ยืมรถไปใช้จนเกิดความเสียหาย นาย ก. ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้เดือดร้อนหรือเสียหายที่จะฟ้องคดีได้

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีสิทธิฟ้ององค์การบริหารส่วนตำบลหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ผู้ฟ้องคดีจะชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ยังไม่ครบ แต่ก็มีสิทธิจะยึดถือรถยนต์และใช้ประโยชน์ในฐานะผู้เช่าซื้อได้ ตลอดจนมีหน้าที่ดูแลรักษารถยนต์ให้อยู่ในสภาพใช้การได้ดี และเมื่อได้ใช้เงินครบถ้วนตามสัญญาเช่าซื้อแล้ว รถยนต์ย่อมตกเป็นสิทธิแก่ผู้ฟ้องคดี หรือหากเลิกสัญญาเช่าซื้อก็ต้องส่งรถยนต์คืนให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อในสภาพเดิม ฉะนั้น เมื่อรถยนต์เสียหายและขาดประโยชน์จากการใช้ และผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ความเสียหายเช่นว่านี้เกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติของผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการงดเว้นการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือความเสียหายที่เกิดแก่รถยนต์และจากการขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์จำต้องมีคำบังคับของศาลตามที่กำหนดในมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. 2542 โดยการสั่งให้ผู้ฟ้องคดีใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นเพื่อให้ผู้ฟ้องคดีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี

และนาย ก. เป็นเพียงผู้ขับขี่รถยนต์ตามที่ผู้ฟ้องคดีมอบหมายและมิใช่กรณีการยืมใช้คงรูป ตามมาตรา 640 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้น นาย ก. ไม่มีสิทธิฟ้องคดีนี้

ส่วนการกระทำขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นการละเลยต่อหน้าที่หรือไม่

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีตั้งป้ายเตือนสะพานขาดบริเวณปากทางสาย พช 2066 จำเรียง -อีโดกวังจาน ซึ่งห่างจากสะพานที่เกิดเหตุประมาณ 2 กิโลเมตร ถึง 3 กิโลเมตร เพียงป้ายเดียวนั้น แสดงถึงความไม่ใส่ใจที่จะป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้กับประชาชนทั่วไป และการที่ละเลยไม่ปิดทางบริเวณก่อนถึงสะพานที่เกิดเหตุเพื่อป้องกันมิให้มีการสัญจรผ่านไปถึงสะพานได้นั้น ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ยังไม่พอสมควรแก่เหตุ และไม่ปรากฏว่าตั้งแต่สะพานขาดจนถึงวันที่รถยนต์ของผู้ฟ้องคดี ตกสะพาน ผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการใดๆ ในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อซ่อมแซมสะพานให้ใช้ได้ดีดังเดิม จึงเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและและซ่อมแซม บำรุงรักษาทางซึ่งเป็นหน้าที่ตามมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.. 2537 ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดีในผลแห่งละเมิด

อย่างไรก็ดี การที่ผู้ถูกฟ้องคดีจัดทำ ป้ายเตือนขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนตั้งขวางปากทาง ให้เหลือช่องทางเดินรถเพียงหนึ่งช่องทาง หากนาย ก. มีความระมัดระวังในการขับรถย่อมสังเกตเห็นป้ายเตือน อุบัติเหตุดังกล่าวจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของนาย ก. รวมอยู่ด้วย แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นมีผลมาจาก การละเลยต่อหน้าที่ของผู้ถูกฟ้ องคดีมากกว่าความประมาทเลินเล่อของนาย ก. จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมรถยนต์ในอัตราร้อยละแปดสิบ ของราคาค่าซ่อม ค่าเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีไม่อาจใช้ประโยชน์จากรถยนต์พิพาท และค่าเสียหายจากการว่าจ้างรถยนต์ผู้อื่น มาใช้แทน เนื่องจากไม่ได้ใช้รถยนต์ในการขายสินค้า (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 33/2554)

คดีนี้จึงเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับหน่วยงานทางปกครองที่มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาถนนหนทาง ทั้งทางบก ทางน้ำว่าจะต้องเอาใจใส่สอดส่องและซ่อมแซมให้ถนนหนทางอยู่ในสภาพที่ประชาชนผู้สัญจรไปมา สามารถใช้ได้ดีตลอดเวลา และถึงแม้จะได้ดำเนินการเพื่อป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยนั้นแล้ว ก็ควรที่จะต้อง พินิจพิจารณาว่าเพียงพอที่จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายขึ้นหรือไม่ ส่วนผู้ที่ใช้ถนนหนทางสัญจรไปมาก็ควรที่จะใช้ ความระมัดระวัง เพราะที่สุดแล้วหากอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากความไม่ระมัดระวังของผู้ใช้ถนนหนทางเองก็ถือเป็น ผู้มีส่วนร่วมรับผิดชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่มากก็น้อย ครับ!

นายปกครอง

วันพฤหัสบดีที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขอใช้รถไปราชการ ... แต่แวะผ่านงานศพ !


ขอใช้รถไปราชการ ... แต่แวะผ่านงานศพ !

(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน 2555) 

คดีที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะผู้ที่ขออนุญาตใช้รถยนต์ของราชการไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ แต่ได้นำรถยนต์ไปทำธุระอย่างอื่นซึ่งมิใช่ในหน้าที่ราชการด้วยเห็นว่าเป็นเส้นทางผ่านพอดี หรืออยู่ใกล้กับสถานที่ที่ต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่แล้ว และได้เกิดอุบัติเหตุขึ้นในระหว่างนั้น
เมื่อความเสียหายเกิดขึ้นกับรถยนต์ของทางราชการผู้ขออนุญาตต้องรับผิดหรือไม่

ข้อเท็จจริงในคดีนี้มีอยู่ว่า นาย ก. รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการวิทยาลัย (ผู้ฟ้องคดี) ได้ขออนุญาต ใช้รถยนต์ของวิทยาลัย นำคณะครูและเจ้าหน้าที่ ไปศึกษาดูงานที่วิทยาลัยอีกแห่งหนึ่งในต่างจังหวัด แต่เมื่อดูงานเสร็จ นาย ก. และคณะไม่ได้เดินทางกลับทันที แต่แวะไปงานศพมารดาของครูวิทยาลัยเดียวกัน หลังจากนั้น ระหว่างเดินทางกลับ รถยนต์เกิดอุบัติเหตุลื่นไถลชนกับเนินดิน รั้วบ้านและท่อประปาหมู่บ้านทำให้รถยนต์ได้รับ ความเสียหาย 

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (ผู้ถูกฟ้องคดี) จึงมีคำสั่งให้นาย ก. ชำระค่าเสียหาย เป็นเงิน 213,625.50 บาท ตามความเห็นของกระทรวงการคลังว่า การที่นาย ก. ขออนุญาตนำรถยนต์ไปราชการและ ไปงานศพต่อ ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นนาย ก. ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ทางราชการตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นมิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539 

นาย ก. เห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะการแวะเคารพศพมารดา ของผู้ใต้บังคับบัญชา เป็นการบำรุงขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร มีประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร และเป็นเส้นทาง ที่รถผ่านอยู่แล้ว อีกทั้ง อุบัติเหตุเกิดขึ้นเพราะฝนตกถนนลื่นและทางโค้ง สถานที่เกิดเหตุก็ไม่ใช่บริเวณงานศพ จึงฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคาสั่งดังกล่าว

การขออนุญาตใช้รถในคดีนี้ถือเป็นการใช้รถในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือไม่ ?
ซึ่งตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539 หากการกระทำละเมิด เป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ ต่อเมื่อเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น 

แต่หากมิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่จะต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งก็หมายความว่าไม่ว่าจะกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือประมาทเลินเล่อธรรมดา เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดเป็นการเฉพาะตัวและรับผิดในความเสียหายเต็มจำนวนอย่างสิ้นเชิง 

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้นาย ก. จะได้รับอนุญาตให้นำคณะครูและเจ้าหน้าที่ ไปศึกษาดูงาน ที่วิทยาลัยอื่น แต่เมื่อพิจารณาขั้นตอนการขออนุญาตโดยนาย ก. มีบันทึกลงวันที่ 7 สิงหาคม 2544 ขออนุญาตไปดูงาน ซึ่งเป็นเวลาที่กระชั้นชิดกับการเดินทางไปศึกษาดูงานวันที่ 10 สิงหาคม 2544 และไม่ปรากฏหลักฐานการจัดเตรียมแผนงานในการศึกษาดูงาน ประกอบกับมีบันทึกประสานไปยังสถานที่ที่จะดูงานก่อนวันเดินทางเพียงหนึ่งวัน อีกทั้ง ไม่ปรากฏว่างานที่นาย ก. รับผิดชอบมีปัญหาอุปสรรค อันจะมีเหตุผลถึงขนาดที่ต้อง ไปศึกษาดูงานดังกล่าว และเดินทางไปถึงสถานที่ดูงานในช่วงเวลาเย็น และใช้เวลาศึกษาดูงานไม่ถึงชั่วโมง แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติในการเดินทางไกลเพื่อไปศึกษาดูงานอย่างชัดเจน ประกอบกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งร่วมเดินทางไปด้วยให้การว่า การเดินทางไปศึกษาดูงานครั้งนี้ มีเจตนาที่แท้จริงคือ ต้องการไปงานศพพร้อมกับได้นำเงินทำบุญพร้อมของถวายพระไปด้วย
 
การขออนุญาตใช้รถยนต์จึงมีวัตถุประสงค์ที่แท้จริง คือ ต้องการใช้รถยนต์เพื่อไปงานศพ จึงไม่อาจถือได้ว่าเป็นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ 

ดังนั้น เมื่อระหว่างเดินทางกลับ รถยนต์ได้เกิดอุบัติเหตุเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย นาย ก. จึงต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดเป็นการส่วนตัว ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539 เมื่อรถยนต์ได้รับ ความเสียหายเป็นเงินทั้งสิ้น 213,625.50 บาท ผู้ฟ้องคดีจึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายเต็มตามจำนวนค่าเสียหาย ที่แท้จริง คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจึงชอบแล้ว (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 15/2555) 

คดีนี้จึงเป็นอุทาหรณ์สำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งผู้ขออนุญาตใช้รถยนต์ของทางราชการหรือ ผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลรถยนต์ของทางราชการว่า จะต้องใช้รถยนต์ของราชการเพื่อประโยชน์ของราชการเท่านั้น และหากแม้ได้ใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการแล้ว ก็ควรจะรีบส่งรถยนต์คืนให้ราชการเสียโดยเร็ว มิใช่นำรถไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัวในเรื่องอื่นๆ เพราะหากเกิดความเสียหายขึ้นอาจต้องรับผิดเป็นส่วนตัว ... ครับ !

นายปกครอง