วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

ปฏิบัติตามคำสั่ง (ทั้งที่รู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย) ... ผิดวินัยอย่างร้ายแรง !



ปฏิบัติตามคำสั่ง (ทั้งที่รู้ว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย) ... ผิดวินัยอย่างร้ายแรง !
(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 28 เมษายน 2555)

ตำรวจหรือผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ คือผู้ดูแลคุ้มครองให้เกิดความสงบสุขแก่ประชาชนในสังคมโดยมีหน้าที่สำคัญในการรักษากฎหมาย จับกุมและปราบปรามผู้กระทาความผิด เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ตรงไปตรงมา และยึดถือความถูกต้องเป็นสำคัญ

คดีปกครองที่นำมาเสนอในวันนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งลงบันทึกประจำวันในคดียาเสพติดไม่ตรงกับความเป็นจริงตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ผลสุดท้ายจะเป็นอย่างไร ? มาติดตามกันครับ

ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นข้าราชการตำรวจตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการได้ปฏิบัติหน้าที่ เสมียนประจำวันคดี ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ สิบตำรวจโท อ. ได้จับกุมและนำตัวนาย ธ. ผู้ต้องหา และของกลางยาเสพติดให้โทษประเภท 1 (ยาบ้า) จำนวน 213 เม็ด มาที่สถานีตำรวจเพื่อลงบันทึกประจำวัน โดยร้อยตำรวจเอก ม. พนักงานสอบสวนร้อยเวร ได้นำบันทึกการจับกุมมาให้ผู้ฟ้องคดีลงบันทึกประจำวันโดยระบุของกลาง คือ ยาบ้าจำนวน 8 เม็ด และร้อยตำรวจเอก ม. ได้นำบันทึกการจับกุมและรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวไปใช้ เป็นหลักฐานประกอบการดำเนินคดีแก่ผู้ต้องหา

ต่อมาได้มีการดำเนินการสอบสวนในเรื่องดังกล่าว และคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ มีมติว่าพฤติการณ์เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กองบังคับการตำรวจนครบาล 5) โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (ผู้บังคับการ กองบังคับการตำรวจนครบาล 5) ได้มีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสืออุทธรณ์คำสั่ง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 (คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ) มีมติยกอุทธรณ์

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากในการลงบันทึกประจำวัน ผู้ฟ้องคดีต้องบันทึกตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ ผู้ฟ้องคดีไม่มีหน้าที่รับตัวผู้ต้องหาหรือรับของกลางแต่อย่างใด จึงนำคดีมาฟ้องคดีต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการและเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์
การที่ผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์โดยปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวถือเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ที่ต้องถูกลงโทษไล่ออกจากราชการหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังได้ว่าขณะที่มีการนำตัวผู้ต้องหาและ ของกลางเข้ามาในห้องพนักงานสอบสวนนั้น ผู้ฟ้องคดีอยู่ในห้องดังกล่าวและได้มีการนำของกลางออกมาวางไว้บนโต๊ะ กรณีจึงเชื่อได้ว่าผู้ฟ้องคดีสังเกตเห็นได้และประมาณการได้ว่ามีของกลางยาบ้าจำนวนมากกว่า 8 เม็ด ก่อนจะได้ ลงบันทึกประจำวันคดีดังกล่าว เนื่องจากเม็ดยาบ้าจำนวน 8 เม็ด และจำนวน 213 เม็ด มีความแตกต่างกันในเชิงปริมาณอยู่มาก การที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่ลงบันทึกประจำวันคดีได้ลงบันทึกประจำวันคดีดังกล่าว โดยระบุว่ามีของกลางในคดี คือ ยาบ้า จำนวน 8 เม็ด ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏและที่ตนเองก็ได้รับทราบอยู่ก่อนแล้ว จึงเป็น การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยที่ตามพฤติการณ์แล้วเชื่อได้ว่าผู้ฟ้องคดีก็ตระหนักดีว่า การกระทำดังกล่าวจะมีผลเป็นการช่วยเหลือผู้ต้องหาให้ได้รับโทษน้อยลง กรณีจึงเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ และเป็นการกระทำอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามนัยมาตรา 82 วรรคสาม และมาตรา 98 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.. 2535 ประกอบกับมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วย วินัยตำรวจ พุทธศักราช 2477 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในเวลาที่ผู้ฟ้องคดีกระทำการดังกล่าว
แม้ผู้ฟ้องคดีจะอ้างว่าในการลงบันทึกประจำวันรับคดีตามหน้าที่นั้น ผู้ฟ้องคดีไม่มีอำนาจลงบันทึกประจำวันโดยลำพังหรือโดยพลการต้องเขียนตามคำสั่งของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในแต่ละคดี ตามคำสั่ง กรมตำรวจ เรื่อง การกำหนดหน้าที่การงานของตำแหน่งในสถานีตำรวจ และผู้ฟ้องคดีได้ลงบันทึกประจำวันรับคดี

ตามคำสั่งของร้อยตำรวจเอก ม. ผู้เป็นพนักงานสอบสวนเวรอาญา แต่เมื่อผู้ฟ้ องคดีได้รู้อยู่แล้วว่าคำสั่งของร้อยตำรวจเอก ม. เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ และการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวย่อมจะทาให้เสียหาย แก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการ แต่แทนที่จะทักท้วงหรือเสนอความเห็นเพื่อให้ ร้อยตำรวจเอก ม. ทบทวนคำ สั่งดังกล่าว แต่กลับปฏิบัติตามคำสั่งโดยดุษฎี พฤติการณ์เช่นว่านี้ของผู้ฟ้องคดีย่อมไม่ทำให้ ผู้ฟ้องคดีพ้นจากความรับผิดทางวินัยฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการและฐานกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว อย่างร้ายแรง การมีคำสั่งลงโทษไล่ผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ จึงชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 548/2554)

คำวินิจฉัยในคดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีซึ่งไม่เพียงแต่เฉพาะข้าราชการตำรวจที่มีระเบียบวินัย อย่างเคร่งครัดในการปฏิบัติตามคำ สั่งของผู้บังคับบัญชาเท่านั้น แต่เป็นข้อควรระมัดระวังอย่างยิ่งสำ หรับข้าราชการอื่น ไม่ว่าจะอยู่ในหน่วยงานใดหรือสังกัดใดที่จะต้องยึดถือกฎหมายและระเบียบของทางราชการเป็นสำคัญ ส่วนการ ปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชานั้น คำ สั่งดังกล่าวต้องเป็นคำสั่งซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบของทางราชการด้วย หากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายและการกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ย่อมเป็นการกระทำผิดวินัย ดังนั้น ข้าราชการจึงต้อง ปฏิบัติหน้าที่โดยยึดถือความถูกต้องตามกฎหมายเป็นสำคัญ เพราะนอกจากจะเป็นการรักษาผลประโยชน์ ของประเทศชาติในฐานะข้าราชการที่ดีแล้ว กฎหมายยังเป็นเกราะคุ้มครองให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นไม่ต้องรับผิดอีกด้วย
นายปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น