วันศุกร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2555

เพิ่มค่าขยะโดยมิชอบ


ศาลปกครอง คุ้มครองชาวบ้าน กรณีหน่วยงานของรัฐออกประกาศเพิ่มค่าเก็บขยะโดยไม่ชอบ

เชื่อว่า..หลายท่านอาจเคยประสบเหตุการณ์เช่นเดียวกับผู้ฟ้องคดีในคดีนี้ กรณีหน่วยงานของรัฐปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอย ซึ่งการจะดูว่าการปรับเพิ่มค่าธรรมเนียมดังกล่าว หน่วยงานของรัฐได้ดาเนินการโดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ? คดีนี้น่าจะเป็นแนวทางให้ท่านได้ครับ... 

ผู้ฟ้องคดีเป็นชาวบ้านซึ่งประกอบอาชีพค้าขายอยู่ในเขตเทศบาลแห่งหนึ่ง ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองความว่า ตนได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่เทศบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) มีคาสั่งเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เคยจ่ายเดือนละ 12 บาท เป็นเดือนละ 30 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 เพื่อให้เป็นไปตามประกาศเทศบาล เรื่อง การปรับอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอย ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 ซึ่งได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยใหม่ โดยกรณีที่มีปริมาณขยะวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร ชนิดบ้านอยู่อาศัย เดือนละ 20 บาท กรณีวันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร แต่ไม่เกิน 40 ลิตร ชนิดร้านค้า เดือนละ 30 บาท
 
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าประกาศของเทศบาลข้างต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าอัตราเดิมถึง 150 เปอร์เซ็นต์ และปลัดเทศบาล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ผู้รับมอบอำนาจจากนายกเทศมนตรีไม่มีอำนาจที่จะออกประกาศเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยตามที่เทศบัญญัติ เรื่อง การกาจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.. 2545 กำหนดไว้ได้ โดยเทศบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดอัตราค่าเก็บขยะมูลฝอยประจาเดือน...ประเภทอาคารหรือเคหะ วันหนึ่งไม่เกิน 20 ลิตร ชนิดบ้านอยู่อาศัย เดือนละ 8 บาท อาคารพาณิชย์ชนิดอยู่อาศัย เดือนละ 8 บาท และชนิดร้านค้า เดือนละ 12 บาท ... 

ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองออกประกาศเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอยให้ต่างไปจากที่เทศบัญญัติกำหนดไว้ โดยไม่ได้มีการแก้ไขเทศบัญญัติฉบับเดิมเสียก่อน จึงเป็นการกระทาโดยปราศจากอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนประกาศของผู้ถูกฟ้องคดี
 
ผู้ถูกฟ้องคดีชี้แจงต่อศาลว่า เหตุที่ต้องออกประกาศปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาได้มีการคิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดิมนานถึง 18 ปีแล้ว โดยที่ไม่ได้มีการปรับเพิ่มแต่อย่างใด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบันที่ราคาสินค้าต่างๆ เพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าเช่าสถานที่ในการกำจัดขยะมูลฝอย ผู้ถูกฟ้องคดีจึงจำเป็นต้องปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว ซึ่งการออกประกาศข้างต้นผู้ถูกฟ้องคดีได้ดำเนินการโดยถูกต้องตามอำนาจหน้าที่แล้ว เนื่องจากเทศบัญญัติ เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.. 2545 ได้กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่ง เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามเทศบัญญัตินี้ ฉะนั้น การที่เทศบาลออกประกาศปรับค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอยใหม่จึงถือเป็นการออกกฎ ข้อบังคับ ประกาศ เพื่อปฏิบัติตามเทศบัญญัติดังกล่าวนั่นเอง 

คดีมีประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ประกาศเทศบาล เรื่อง การปรับอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอย ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 ออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ..2535 (มาตรา 18 และมาตรา 20) บัญญัติให้ราชการส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยภายในเขตพื้นที่ของตน โดยมีอำนาจออกข้อกำหนดของท้องถิ่นในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการจัดเก็บขยะมูลฝอยได้แต่ไม่เกินอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยอัตราค่าธรรมเนียมการให้บริการเก็บ ขน และกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือมูลฝอย และอัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ พ.. 2545 ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.. 2535 ประกอบกับมาตรา 60 (2) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.. 2496 ตราเทศบัญญัติเรื่องการกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย พ.. 2545 ขึ้นโดยได้กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอยไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมท้ายกฎกระทรวงข้างต้น เทศบัญญัติดังกล่าวจึงออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
 
แต่เนื่องจากอำนาจในการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจัดเก็บขยะมูลฝอยนั้น กฎหมายสาธารณสุขกำหนดให้เป็นอำนาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1โดยต้องตราเป็นเทศบัญญัติ ดังนั้นเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ออกเพียงประกาศเทศบาลเพื่อปรับเพิ่มอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ออกประกาศโดยปราศจากอำนาจ และเป็นการกระทำที่ก้าวล่วงเข้าไปในอำนาจของสภาเทศบาลและผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องตามรูปแบบอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สาหรับการกระทำนั้น อันเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายที่มีสภาพความร้ายแรงถึงระดับที่ต้องถือว่าเป็นการกระทำที่ ไม่เคยมีอยู่เลย
 
ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนประกาศเทศบาล เรื่อง การปรับอัตราค่าธรรมเนียมการเก็บขยะมูลฝอย ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2547 โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2547 อันเป็นวันที่ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับ (คดีหมายเลขแดงที่ อ.526/2554) 

คดีนี้เป็นอุทาหรณ์สำคัญสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า การดำเนินการใดๆ ในทางปกครอง จะต้องตรวจสอบข้อกฎหมายที่ให้อำนาจอย่างรอบคอบเสียก่อน หากกฎหมายให้อำนาจไว้เช่นใด ก็จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่ถ้า ไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ฝ่ายปกครองก็ไม่มีอำนาจครับ !
นายปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น