รถยนต์ของทางราชการถูกขโมย ...เจ้าหน้าที่อยู่เวรต้องรับผิดหรือไม่ ?
คดีนี้เป็นคดีปกครองที่น่าสนใจสาหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับคำสั่งให้อยู่เวรยามเพื่อรักษา ความปลอดภัยในทรัพย์สินของทางราชการ แต่มิได้มาปฏิบัติหน้าที่อยู่เวรยามด้วยตนเอง เพราะหน่วยงานได้มีมติ ให้จ้างพนักงานขับรถเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวแทนโดยจ้างเหมาเป็นรายเดือน และในวันเดียวกันนั้นรถยนต์ ของหน่วยงานสูญหายไป
ข้อเท็จจริง คือ ผู้ถูกฟ้องคดี (นายกองค์การบริหารส่วนตำบล) ได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดี (ปลัดองค์การบริหารส่วนตาบล) อยู่เวรยามในวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ตั้งแต่เวลา 16.30 นาฬิกา ถึงเวลา 8.30 นาฬิกาของวันที่ 26 ตุลาคม 2545 แต่ปรากฏว่าเวลาประมาณ 1 นาฬิกา ได้มีคนร้ายทำการโจรกรรมรถยนต์ขององค์การบริหาร ส่วนตำบลซึ่งจอดไว้ในบริเวณที่ทำการขององค์การฯ ไป ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งลงวันที่ 4 มกราคม 2548 เรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 134,610 บาท ตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ผู้ฟ้องคดี ได้มีหนังสือยื่นอุทธรณ์ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นว่าผู้ฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็น ของกระทรวงการคลัง ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
มีข้อกฎหมายสำคัญ คือ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 10 ซึ่งวางหลักเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐว่า หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง โดยจะต้องคำนึงถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี และความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมประกอบด้วย
คดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้งด้วยว่าการที่ผู้ฟ้องคดีจอดรถยนต์ขวางโรงจอดรถยนต์ ทำให้ไม่สามารถ นำรถยนต์ที่สูญหายเก็บเข้าไว้ได้ตามปกติ และการที่ไม่ได้เก็บรักษารถยนต์ไว้ในโรงเก็บรถยนต์เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทาให้รถยนต์ถูกโจรกรรมไป
ผู้ฟ้องคดีจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกระทรวงการคลังหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ต้องหาที่ถูกจับกุมให้การรับสารภาพว่ามีการเตรียมการแบ่งหน้าที่กันทำ รถยนต์จอดอยู่บริเวณข้างโรงจอดรถภายในที่ทำการ มีการปิดล็อคประตูรถยนต์และประตูรั้ว การที่รถยนต์สูญหายเกิดจากคนร้ายจำนวน 6 คน ได้โจรกรรมรถยนต์ โดยใช้ไขควงปากแบนถอดกระจกด้านหลังคนขับ ปลดล็อคประตูรถยนต์และพวงมาลัย และใช้ไขควงขนาดใหญ่งัดประตูรั้วทางเข้าออกช่องที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล และทำการต่อสายไฟตรงขับรถออกไปขายประเทศเพื่อนบ้าน โดยลักษณะการกระทำของคนร้ายได้ร่วมกันเป็น แก๊งลักรถยนต์ มีการแบ่งหน้าที่กันทำ มีการเตรียมการเป็นอย่างดี และได้ร่วมกันโจรกรรมรถยนต์มาแล้วหลายคัน จึงรับฟังได้ว่าผู้ต้องหาซึ่งมีจานวนมากมีความเชี่ยวชาญในการโจรกรรมรถยนต์ มีการวางแผนไว้ล่วงหน้า แม้ว่า ในคืนเกิดเหตุผู้ปฏิบัติหน้าที่เวรยามจะนอนอยู่ภายในที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบล ก็เป็นการยากที่จะป้องกันมิให้รถยนต์ถูกโจรกรรมไป เนื่องจากในสภาวะเช่นนั้นกลุ่มผู้ต้องหาสามารถจะทำร้ายผู้ที่ขัดขวางการโจรกรรม ได้ตลอดเวลา ดังนั้น หากผู้ฟ้องคดีจะอยู่เวรในคืนเกิดเหตุก็ไม่อาจยืนยันได้แน่ชัดว่าจะสามารถป้องกันไม่ให้มีการโจรกรรมรถยนต์ไปได้
และพยานหลักฐานยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีพฤติการณ์ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีโต้แย้ง และแม้ว่า จะจอดรถยนต์ไว้ในสถานที่จอดรถยนต์ แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ทำการโจรกรรมรถยนต์ ยังรับฟังไม่ได้ว่ารถยนต์จะไม่ถูกโจรกรรมโดยเด็ดขาด จึงยังรับฟังไม่ได้ว่าผู้ฟ้องคดีกระทำการด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เป็นผลให้รถยนต์ขององค์การบริหารส่วนตำบลถูกโจรกรรม
ผู้ฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่องค์การบริหารส่วนตำบลตามมาตรา 10 ประกอบมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จึงพิพากษาเพิกถอนคำสั่ง ของผู้ถูกฟ้องคดี (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 455/2554)
คดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่าจะต้องระมัดระวังในการใช้ และสงวนรักษาทรัพย์สินของทางราชการอยู่เสมอ ไม่ว่าในเวลาทำการหรือปิดทำาการ และเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับคำสั่งให้มีหน้าที่ในการรักษาทรัพย์สินหรืออยู่เวรยามรักษาความปลอดภัยของสถานที่ราชการ เจ้าหน้าที่นั้นก็จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง สอดส่องมิให้มีสิ่งผิดปกติใดๆ เกิดขึ้น เพราะถ้าทรัพย์สินของทางราชการเสียหายหรือสูญหายไป แม้จะไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในความเสียหายหรือความสูญหายที่เกิดขึ้น แต่นั่น ก็หมายถึงความสูญเสียทรัพย์สินของทางราชการที่ซื้อหามาโดยเงินงบประมาณแผ่นดิน ครับ !
นายปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น