วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บทความพิเศษ: คนท้องถิ่นต้องมีสำนึกและพอเพียง

บทความพิเศษ: คนท้องถิ่นต้องมีสำนึกและพอเพียง 

สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๙

          ทีมวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
          มนุษย์ เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกัน ต้องมีกฎกติการะเบียบมายึดถือบังคับใช้ มิใช่การอยู่ร่วมกันแบบใช้อำนาจตามอำเภอใจ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีพในครอบครัว หรือในองค์กร หรือในสังคมทั่วไป
          ตลอด ระยะ 30 ปีผ่านมา สังคมไทยมีภาวะวิกฤติวิปริตที่เกิดจากความไม่สมดุลของการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน แม้ภาพภายนอกเศรษฐกิจเจริญ ประชาชนมีชีวิตสะดวกสบายขึ้น แต่ปัญหาสังคมยังมีมากและรุนแรงยิ่งขึ้น ความเจริญทางวัตถุ ทำให้คนตกเป็นทาสของวัตถุนิยม และบริโภคนิยม (materialism & consumerism) ค่านิยมสังคมเปลี่ยนแปลงทาง "เชิงลบ" มากขึ้น เห็นแก่ตัวมากขึ้นเห็นแก่ผู้อื่นหรือเพื่อส่วนรวมน้อยลง
          อดีต นายกรัฐมนตรีท่านอานันท์ ปันยารชุน กล่าวเป็นห่วงใยเรื่องคอร์รัปชันไทยว่า เดิมคอร์รัปชันเป็นเรื่องการให้ค่าน้ำชา ค่าสินบน การให้ของชำร่วย ช่วยเหลือในด้านต่างๆ ระหว่างบุคคลกับบุคคล หรือกลุ่มกับกลุ่มเท่านั้น แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "ความฉ้อฉล" และ "กลโกง" ที่มีความลึกลับสลับซับซ้อนมากขึ้นมาก นำไปสู่การยึดครองพื้นที่ของประเทศทั้งหมด ทุกพื้นที่ ทุกกิจกรรมทุกส่วนของประเทศได้ และนอกจากนี้ ยิ่งสังคมปัจจุบันมี"การแข่งขัน" ก็ยิ่งทำให้ "การแบ่งปัน" หดหายไปด้วย
          สำนึก รับผิดชอบ และประโยชน์สาธารณะ
          มี คำเกี่ยวพันในบริบทของท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) อยู่สองสามคำได้แก่ คำว่า"สำนึกรับผิดชอบ และประโยชน์สาธารณะ" (Consciousness, Accountability & Public interest) ที่มีปัญหาว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้มีการประสานสอดคล้องเหมาะเจาะ บังเกิดผลดี มีประสิทธิภาพต่อการให้บริการสาธารณะ และเป็นที่ "ชื่นชอบพออกพอใจ" ของประชาชนโดยเฉพาะในสังคมแวดวงท้องถิ่น
          คำ ว่า "สำนึกรับผิดชอบ" แม้เป็นสองคำ แต่รวมเป็นคำเดียวกันได้ ที่มีความหมายถึง ความรู้สึกของคนในเชิงสร้างสรรค์สิ่งใดๆ ในสังคมที่สำคัญให้มีค่าดีขึ้น ในที่นี้ก็คือ "สังคมที่เราอยู่" มีคำอื่นที่ตามมา อาทิ "สำนึกรักบ้านเกิด" (Homeland back) และ "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" (Sufficiency Economy) เป็นต้น
          นอก จากนี้ ยังเกี่ยวข้องกับ "คุณธรรมจริยธรรม"(Moral & Ethnics) หรือ "ความดี" ของคนท้องถิ่นด้วยเพราะ "ความดี" มีผลงานได้รับการยอมรับจากคนทั่วไปแต่ "คุณธรรม" มันเป็นคุณค่าประจำตัวบุคคล มันไม่มีใครแย่งชิงเอาไปได้ แต่ความดีอาจมีคนแย่งเอาผลงานความดีของเราไปได้ หากเปรียบเทียบ "คุณธรรมคือที่ดินมีโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์ แต่ความดีก็คือที่ดินที่เป็นเพียงที่ครอบครอง"เท่านั้น
          ประโยชน์ สาธารณะ หมายรวมสรุปว่า เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม เป็นประโยชน์โดยรวมแก่ประชาชนทั่วไปและประเทศชาติเป็นสำคัญ เพราะประโยชน์แก่คนกลุ่มหนึ่งแต่อาจไม่เป็นประโยชน์แก่คนอีกกลุ่มได้
          จุดเริ่มต้นของการกลับบ้านเกิด หรือ "การรักบ้านเกิด"
          สังคม ไทยที่ผ่านมาเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน (Transition)ที่คนหนุ่มสาวคนวัยทำงานรุ่นปัจจุบัน ได้เติบโตมาเป็นกำลังหลักของสังคมบ้านเมืองในปัจจุบันคือจากช่วง 20-30 ปีที่แล้ว ซึ่งหลายต่อหลายคนเป็นเด็กจากบ้านนอกชนบทท้องไร่ท้องนา
          ข้อมูล อย่างหยาบมีว่า สังคมไทยมีเกษตรกร 4 ล้านครัวเรือน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่อยู่ในท้องถิ่นชนบทบ้านนอกเมื่อเรียนจบการศึกษาลูกหลานคน บ้านนอกจึงมีทางเลือกอยู่2 ทาง คือ (1) กลับมาเป็นข้าราชการในท้องถิ่น ที่อาจมีวิถีชีวิตที่ฟุ่มเฟือย กู้หนี้ยืมสิน ดำรงชีพด้วยเงินในอนาคตในจำนวนนี้จะเป็นบุคลากร พนักงานและลูกจ้าง อปท. ร่วม3 แสนคน (จากทั้งหมด 5-6 แสน) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรอยู่แล้ว หรือ (2) กลับมาสืบสานอาชีพเกษตรกรรมและเลี้ยงดูแลพ่อแม่แก่เฒ่าที่บ้านเกิด
          แต่ ไม่ว่าคนเหล่านั้นจะกลับมาทำงานที่บ้านทั้งในฐานะข้าราชการ หรือเกษตรกรก็ตาม สามารถที่จะน้อมนำหลัก "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ตามแนวทางพระราชดำริมาดำเนินการได้ เพราะการกลับบ้านเกิดยังพอมีผืนดินที่ทำกินของพ่อแม่เหลืออยู่ คงมิใช่เพียงว่าทุกคนต่างรู้หลักแนวทางตามปรัชญา แต่ไม่ทำหรือปฏิบัติ มีเพียงสัญลักษณ์โลโก้ติดที่เสื้อ หรือติดอวดไว้ข้างรถ ด้วยคำเท่ที่เรามักพบเห็นเสมอ โดยเฉพาะคนที่รับราชการตามต่างจังหวัด ซึ่งเป็นเพียง"เชิงสัญลักษณ์" มากกว่าเชิงปฏิบัติ ที่ดีแต่พูดแต่ไม่ทำ เท่านั้น
          3 ลักษณะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
          (1)พอประมาณ หมายความว่าไม่น้อยไม่มากไปบริโภคอยู่ในเกณฑ์พอดี
          (2)มี เหตุผล หมายความว่า ตัดสินใจในระดับพอเพียงจะต้องมีเหตุผล และพิจารณาจากเหตุและปัจจัยที่เกี่ยวข้องและตลอดจนคำนึงผลที่คาดว่าจะเกิด ขึ้น พิจารณาด้วยความรอบคอบนั่นเอง
          (3)การมีภูมิคุ้มกันในตัวเอง การเตรียมพร้อม หรือเตรียมตัวรับกับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
          5 หลักดำเนินการเศรษฐกิจพอเพียง
          (1)ทางสายกลางในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ทุกระดับ
          (2)มีความสมดุลระหว่าง คน สังคม สิ่งแวดล้อมเศรษฐกิจ มีความสมดุลในการผลิต ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
          (3)มีความพอประมาณ ความพอเพียงในการผลิตและการบริโภค บนพื้นฐานของความพอประมาณอย่างมีเหตุผลไม่ขัดสน ไม่ฟุ่มเฟือย
          (4)มี ภูมิคุ้มกัน ในการดำเนินชีวิต สุขภาพ มีศักยภาพทักษะในการแก้ไขปัญหาและความรอบรู้อย่างเหมาะสมพร้อมรับผลกระทบของ การเปลี่ยนแปลง
          (5)รู้เท่าทันโลก มีความรู้สติปัญญารอบคอบ มีความอดทน ความเพียร มีจิตสำนึกในคุณธรรมและความซื่อสัตย์
          คนท้องถิ่นต้องใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการทำงาน
          ฉะนั้น คนท้องถิ่นทั้งหมดทั้งข้าราชการลูกจ้าง รวมนักการเมืองท้องถิ่น ต้องทำตัวให้เป็น "แบบอย่าง" ของประชาชน ของคนในชนบท ด้วยการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
          ซึ่งปรัชญาดัง กล่าวสามารถใช้ได้กับทุกอาชีพไม่ใช่เฉพาะเกษตรกร ยิ่งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานด้วยความเสี่ยงสูง ในการสนองนโยบายของนักการเมืองท้องถิ่น ในฐานะที่เป็นผู้นำนโยบายไปสู่การปฏิบัติงาน หากไม่มีหลักยึดในการดำเนินชีวิต และปฏิบัติราชการ โดยสนองตัณหานักการเมืองประเภท "ได้ครับผม เหมาะสมครับเจ้านาย" ก็จะไม่มีภูมิคุ้มกันในตัวเองเลย ยิ่งจะทำให้มีโอกาสพลาดในการปฏิบัติราชการสูง ส่งผลถึงอนาคตและชีวิตความก้าวหน้าในราชการที่ดับสูญดังที่เห็นเป็นข่าว
          คน ท้องถิ่นต้องช่วยกันรณรงค์ น้อมนำกระแสพระราชดำรัส "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" ไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในวิถีชีวิตให้ได้ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีที่ใกล้ตัว ให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อความสบายพระทัยของในหลวงว่าคนท้องถิ่นใส่ใจในพระราชดำริอย่างแท้จริง สมกับที่พระองค์ได้ทรงทุ่มเทพระวรกายช่วยเหลือพสกนิกรอย่างยากลำบากเหน็ด เหนื่อยมาตลอดชีวิต
          คนท้องถิ่นถือเป็นกลุ่มกำลังสำคัญ ที่จะถ่ายทอด "อาชีพเกษตรกรรม" จากรุ่นสู่รุ่นได้ โดยหันกลับไปดูแลเรือกสวนไร่นา เพราะรุ่นพ่อแม่ที่แก่ชราทำไม่ไหว โดยเฉพาะในเวลาหลังเลิกงาน หรือวันหยุด หากไม่มีคนท้องถิ่นที่มีความรู้ความสามารถเหล่านี้ไปช่วยสานต่อ สังคมเกษตรกรรมก็คงดับสูญ
          หรือไม่ต่อเนื่อง และยากที่สังคมชนบทจะเข้มแข็งได้
          ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก
          คู่ สามีภริยาที่รับราชการส่วนท้องถิ่นทั้งสองคนแห่งอ.แม่สอด จ.ตาก ถือเป็นตัวอย่างของคนท้องถิ่นที่ทำการเกษตรผสมผสานหลังเลิกงาน สามีเลิกยุ่งเกี่ยวกับอบายมุขและหันหลังให้กับความฟุ้งเฟ้อ มาใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทำการเกษตรจนมีผลผลิต ส่งตลาดร้านค้าตลอดทั้งปีจากผืนดิน13 ไร่เดิมทำไร่ข้าวโพดที่ว่างเปล่า หันมา "ปลูกทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูกเหลือกินแจกจ่าย เหลือแจกจ่ายส่งขายลดรายจ่ายในครัวเรือน ปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง แบ่งพืชเก็บเกี่ยวระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาว"
          เรื่องกล้าไม้ ไม่ต้องลงทุน เพาะเมล็ดเอง ใช้น้ำหมักชีวภาพ ทำปุ๋ยหมักใช้เอง ปัจจุบันนอกจากใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์แล้ว ยังมีรายได้จากผลผลิตทุกฤดูกาล เลี้ยงดูแลครอบครัวได้ ประสบความสำเร็จเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่ชาวบ้านคนในท้องถิ่นได้เห็นเป็น รูปธรรม เพื่อให้ทุกคนได้รู้ว่าการใช้ชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเหมาะสม กับทุกคนและทุกอาชีพ โดยเฉพาะคนที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดพี่น้องประชาชนอย่างเช่นข้าราชการส่วนท้อง ถิ่น
          ผลดีในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้
          เมื่อ ข้าราชการส่วนท้องถิ่น และคนท้องถิ่นทั้งหมดได้ลงมือปฏิบัติตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจนเป็น ผลสำเร็จแล้ว จะทำให้คนท้องถิ่นร่วม 3 แสนครอบครัวมีครอบครัวที่เข็มแข็ง ไม่เป็นหนี้สินใคร มีชีวิตที่พอเพียง ทำให้สังคมไทยน่าอยู่ขึ้น
          อีก ทั้งเพื่อให้สังคมไทยได้หลุดพ้นออกจากการติดบ่วง"กับดักของคนรายได้ปานกลาง" (Middle Income Trap)และสังคมผู้สูงอายุ (Ageing & Aged Society) ก็จะมีผู้ดูแล พร้อมก้าวเดินเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุได้อย่างองอาจยั่งยืน มั่นคง (Sustainable) ก็เพราะว่า สังคมเรามี "ภูมิคุ้มกันที่ดี" มี "รายได้ที่มั่นคง" ย่อมทำให้ "ลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน" ลงได้ และข้าราชการท้องถิ่นก็ "ไม่ทำตัวรับใช้นักการเมืองที่ทุจริตมิชอบ"
          สาเหตุ ประการหนึ่งที่ทุกวันนี้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระองค์ท่านไม่เป็นผล สำเร็จ ก็เพราะ "คนไทยรู้แต่ไม่นำไปปฏิบัติ" โดยเฉพาะพวกที่เรียกตัวเองว่า"ข้าราชการ" ในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หากมีแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน ย่อมทำให้ประชาชนทั่วไปได้ทำตามปฏิบัติตาม เรามาช่วยกันคนละไม้คนละมือ"ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงย่อมสำเร็จ" ได้ คนท้องถิ่นต้องช่วยกันนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น