จ้างลูกเขยเข้าเป็นคู่สัญญา...พ่อตาจึงต้องพ้นจากตำแหน่งนายกฯ !
ในการออกคำสั่งทางปกครอง หากผู้มีอานาจออกคำสั่งทางปกครองมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง
(มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539) เช่น มีเหตุโกรธเคืองกับคู่กรณีจะมีผลทำให้คำสั่งทางปกครองที่ออกไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้บริหารท้องถิ่นหรือนายกเทศมนตรีได้ใช้อำนาจอนุมัติให้จ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งมีลูกเขย
เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล จะถือว่าผู้มีอำนาจมีสภาพร้ายแรงอันอาจทาให้การอนุมัติจ้างซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
และจะถือว่านายกเทศมนตรีนั้นเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยทางอ้อมในสัญญา ที่เทศบาลเป็นคู่สัญญา
อันเป็นพฤติการณ์ที่จะมีผลทำให้นายกเทศมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่
คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้
เป็นเรื่องของนายกเทศมนตรีได้อนุมัติให้จ้าง ห้างหุ้นส่วนจำกัดที่มีบุตรเขยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซ่อมแซมถนนในเขตเทศบาล
ต่อมามีผู้ร้องเรียนว่า ผู้ฟ้องคดีมีส่วนได้เสียในสัญญาจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ช. ตามโครงการจ้างเหมาซ่อมแซมถนนลูกรังและหินคลุกในเขตเทศบาล และภายหลังจาก
ที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงให้ทำการสอบสวนพยานหลักฐานและเสนอความเห็นแล้ว ผู้ถูกฟ้องคดี (ผู้ว่าราชการจังหวัด) มีคำวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญากับห้างหุ้นส่วนจำกัด
ช. โดยให้เหตุผลว่า ผู้ฟ้องคดีอนุมัติให้ซ่อมแซมถนนในวันที่
22 กันยายน 2548 อนุมัติให้จ้างวันที่
21 กันยายน 2548 นอกจากนี้ เงินที่ได้จากการรับจ้างส่วนหนึ่งจะกลายเป็นสินสมรสซึ่งบุตรสาวของผู้ฟ้องคดีมีสิทธิได้รับ
ทั้งเป็นผู้มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดู จึงถือว่าผู้ฟ้องคดีได้ใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายแสวงหาผลประโยชน์จากเทศบาลให้แก่ตนเอง
โดยทางอ้อม จึงทำให้ผู้ฟ้องคดีสิ้นสุดความเป็นนายกเทศมนตรี
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เนื่องจากบุตรสาวไม่ได้เป็นหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วนจากัด ไม่มีอำนาจบริหาร และแม้จะมีสิทธิได้รับมรดกของบุตรสาวแต่ก็เป็นเรื่องไม่แน่นอน
เพราะสิทธิ จะเกิดขึ้นเมื่อบุตรสาวตายก่อนเท่านั้น อีกทั้ง ไม่ได้รับการอุปการะจากบุตรสาว
จึงขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว
พฤติการณ์ของผู้ฟ้องคดีถือเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรงตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.
2539 และเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาอันมีผลทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีหรือไม่
ซึ่งตามพระราชบัญญัติเทศบาล
พ.ศ. 2496 กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจหน้าที่ในการสั่ง
อนุญาต และอนุมัติเกี่ยวกับราชการของเทศบาล และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
และตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้ผู้ฟ้องคดีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยมีอำนาจในการสั่งซื้อหรือ
สั่งจ้างทุกวิธีที่ใช้จ่ายจากเงินรายได้ และมีอำนาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างโดยไม่จำกัดวงเงิน
รวมทั้งมีอำนาจลงนามในสัญญา ตามระเบียบนี้
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า
การที่ผู้ฟ้องคดีได้อนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจากัด ช.
โดยมีนาย ส. ซึ่งสมรส กับบุตรสาวของผู้ฟ้องคดีที่ทำงานอยู่ที่สำนักงานปลัดเทศบาลและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1077 ประกอบกับมาตรา
1087 ต้องรับผิดในหนี้ของห้างหุ้นส่วนไม่มีจำกัดจำนวน และผู้ฟ้องคดีก็ได้รู้ถึงความข้อนี้ดีอยู่แล้วในเวลาที่อนุมัติให้ทำสัญญาตามบันทึกขออนุมัติซ่อมแซม
ลงวันที่ 22 กันยายน 2548 และบันทึก ขออนุมัติจ้าง
ลงวันที่ 21 กันยายน 2548 ประกอบกับการอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้างเป็นคำสั่งทางปกครอง
กรณีจึงถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง
และผู้ฟ้องคดีชอบที่จะดำเนินการ ตามวรรคสอง ของมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539 ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีอนุมัติจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด
ช.ให้ดาเนินโครงการกับเทศบาลโดยไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้ดาเนินการตามบทบัญญัติดังกล่าว
จึงเป็นกรณี ที่ถือได้ว่าผู้ฟ้องคดีได้เข้าไปมีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาลเป็นคู่สัญญาหรือในกิจการที่กระทำให้แก่เทศบาลหรือ
ที่เทศบาลจะกระทำ ตามมาตรา 48 จตุทศ
วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล
(ฉบับที่ 12) พ.ศ.
2546 แล้ว และผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรีตามมาตรา
48 ปัญจทศ (5) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว
สำหรับกรณีที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด
ช.
เคยเป็นคู่สัญญากับเทศบาลมาแล้วก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะเข้าดารงตำแหน่งนายกเทศมนตรี
หรือผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดูจากบุตรสาว และจะมีสิทธิรับมรดกของบุตรสาวหรือไม่
เป็นเรื่องไม่แน่นอน รวมทั้งการที่ผู้ฟ้องคดีไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับห้างหุ้นส่วนจำกัด
ช. ก็ตาม เหตุดังกล่าวไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรี
และไม่ใช่ลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น
การที่ผู้ถูกฟ้องคดีวินิจฉัยว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อมในสัญญาที่เทศบาล
เป็นคู่สัญญาทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องพ้นจากตำแหน่งนายกเทศมนตรี จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
(คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 68/2555)
คดีนี้นอกจากจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับผู้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีหรือเทศมนตรี
ในคณะเทศมนตรีของเทศบาลแล้ว ยังเป็นอุทาหรณ์ที่ดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐอื่นๆ
ว่า จะต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและรักษาผลประโยชน์ของราชการโดยไม่ใช้โอกาสจากการดำรงตำแหน่งดังกล่าวสร้างประโยชน์แก่ตนหรือผู้อื่น
และเหตุอันมีสภาพร้ายแรงตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539 หมายความถึง พฤติการณ์ที่ชวนให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยว่าจะใช้อำนาจที่ไม่เป็นกลาง
ดังนั้น
หากผู้ใช้อำนาจเห็นว่าตนมีพฤติการณ์ที่ชวนให้ผู้อื่นเคลือบแคลงสงสัยในการใช้อำนาจว่าจะไม่เป็นกลาง
ก็จะต้องหยุดการพิจารณาเรื่องนั้นก่อนและแจ้งผู้บังคับบัญชาทราบ แต่หากไม่ดำเนินการเช่นว่านั้นแล้ว
การใช้อำนาจ ก็จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจเพิกถอนได้ ครับ!
นายปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น