คดีหมายเลขดำที่
อ.
๔๘๕/๒๕๕๐
คดีหมายเลขแดงที่
อ.
๒๙๕/๒๕๕๒
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลปกครองสูงสุด
วันที่ ๑๒ เดือน พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๒
นายสุเทพ หลีสกุล ผู้ฟ้องคดี
ระหว่าง
นายกเทศมนตรีตำบลท่านา ผู้ถูกฟ้องคดี
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(อุทธรณ์คำพิพากษา)
ผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ ๒๑/๒๕๔๙ หมายเลขแดงที่ ๗๔/๒๕๕๐ ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองนครศรีธรรมราช)
คดีนี้ผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีกรณีกล่าวหาว่าขณะผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลตำบลโคกกลอยมีส่วนเกี่ยวข้องในการละเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖๕ ในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการตรวจรับงานจ้าง ได้ตรวจรับงานว่าถูกต้องครบถ้วนตามแบบรูป ซึ่งผู้รับจ้างไม่ได้ทำตามแบบผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการนั้น และมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ทั้งนี้ เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ถูกฟ้องคดีได้ออกคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในกรณีเดียวกัน โดยเรื่องดังกล่าวมีเหตุสืบเนื่องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ ๑๓ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ได้มีหนังสือ ที่ ตผ ๐๐๓๑ สฎ/๓๒๓ ลงวันที่ ๑๙กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ ถึงนายกเทศมนตรีตำบลโคกกลอย ขอให้ดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในการจัดจ้างโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รวม ๔ โครงการซึ่งมีผู้ฟ้องคดีเป็นประธานกรรมการตรวจการจ้าง นางดวงเพ็ญ พรหมศร เจ้าพนักงานธุรการและนายช่างโยธาเป็นกรรมการตรวจการจ้าง และเทศบาลตำบลโคกกลอยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงนางดวงเพ็ญ พรหมศร และลงโทษภาคทัณฑ์นางดวงเพ็ญ พรหมศร ไปแล้ว และได้ส่งเรื่องดังกล่าวให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการทางวินัยกับผู้ฟ้องคดี และผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือคัดค้านการแต่งตั้งว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกรเป็นกรรมการสอบสวนวินัยตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม๒๕๔๘ เนื่องจากเป็นผู้ที่เคยเป็นกรรมการสอบสวนนางดวงเพ็ญและมีความเห็นว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างกระทำผิดวินัย สมควรลงโทษตัดเงินเดือน ซึ่งเป็นความเห็นที่เป็นโทษต่อผู้ฟ้องคดีมาก่อนการสอบสวนผู้ฟ้องคดี จึงเป็นผู้มีประโยชน์ได้เสียในเรื่องที่สอบสวน ทำให้การสอบสวนเสียความเป็นธรรม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีคำสั่งตามคำร้องดังกล่าวผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องคดีต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราชเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๖๒/๒๕๔๘และมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนที่ถูกคัดค้าน ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๐๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ ยืนยันการแต่งตั้งว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกร เป็นกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงผู้ฟ้องคดี และในระหว่างที่การสอบสวนทางวินัยตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และคำสั่งเทศบาลตำบลท่านาที่ ๑๐๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ ยังไม่แล้วเสร็จ ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามคำฟ้องข้างต้น และยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้รายงานขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาให้พักราชการผู้ฟ้องคดี แต่คณะกรรมการเห็นว่ายังไม่ครบองค์ประกอบที่จะพักราชการได้ แต่มีมติให้ผู้ฟ้องคดีไปช่วยราชการที่สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาตามคำสั่งจังหวัดพังงา ที่ ๑๗๘๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘ ผู้ฟ้องคดีได้ร้องทุกข์ต่อประธานกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาตามหนังสือลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ตามหนังสือจังหวัดพังงา ที่ มท ๐๘๔๙.๒/๑๑๓ ลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙ ให้ยกเรื่องร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงดังกล่าว
ทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ถูกสั่งให้ไปประจำสำนักงานเลขานุการ ก.ท.จ.พังงา และถูกระงับจ่ายเงินประจำตำแหน่งปลัดเทศบาลขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ และเพิกถอนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามคำสั่งดังกล่าวผู้ฟ้องคดีมีคำขอมาในคำฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการสอบสวนและการดำเนินการเกี่ยวข้องกับกรณีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงดังกล่าวไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งลงวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๙ ยกคำขอผู้ถูกฟ้องคดีให้การว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีถูกต้องตามประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาเรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ โดยผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และคำสั่งเทศบาลตำบลท่านาที่ ๑๐๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ เพื่อสอบสวนผู้ฟ้องคดีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ขณะดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลตำบลโคกกลอยโดยมีส่วนเกี่ยวข้องในการละเว้นการปฏิบัติตามข้อ ๖๕ ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ในเรื่องการปฏิบัติหน้าที่เป็นประธานกรรมการตรวจรับการจ้างได้ตรวจรับงานว่าถูกต้องครบถ้วนตามแบบรูปซึ่งผู้รับจ้างไม่ได้ทำตามแบบ ต่อมาเจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ๕ เทศบาลตำบลท่านาได้มีบันทึกลงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๘ เสนอว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีอาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดทางอาญา ในการรับรองเอกสารเป็นเท็จได้ และการตรวจรับงานที่มิชอบนั้นอาจทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ อันอาจเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจึงเสนอให้ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ และการสอบสวนได้เสร็จสิ้นแล้ว และผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๔๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ ลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดีผู้ฟ้องคดีคัดค้านคำให้การว่า ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งเทศบาลตำบลท่านาที่ ๔๖/๒๕๔๙ ที่สั่งลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดีต่อ ก.ท.จ.พังงา แล้ว และผู้ถูกฟ้องคดีไม่ได้จัดทำรายงานการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและบันทึกข้อความ ฉบับลงวันที่ ๑๙กันยายน ๒๕๔๙ ของนายรัชดา นนทฤทธิ์ เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ๕ มิใช่รายงานการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงที่คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงจัดทำขึ้นผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงโดยไม่มีการชี้มูลจากคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเป็นการไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ และการที่เทศบาลตำบลโคกกลอยซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดความเสียหายมีการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเพื่อสอบสวนและลงโทษกรรมการตรวจรับงานจ้างกรณีเดียวกันไปแล้ว แต่ผู้ถูกฟ้องคดีกลับแต่งตั้ง
คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีจึงเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและการเปลี่ยนแปลงคำสั่งโดยที่ข้อมูลยังคงเดิมเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบผู้ถูกฟ้องคดีไม่ทำคำให้การเพิ่มเติม
ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัยการให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ ซึ่งออกตามมาตรา ๑๕ และมาตรา ๒๓ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๔๒ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานเทศบาลไว้ตามข้อ ๒๓ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสี่ โดยกำหนดให้นายกเทศมนตรีดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานเทศบาลซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรมโดยไม่ชักช้า ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่นายกเทศมนตรีเห็นสมควร แต่ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนเมื่อดำเนินการสอบสวนแล้วถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๒๔ หรือข้อ ๒๕ แล้วแต่กรณี แต่ถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยจึงจะยุติเรื่องได้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่าเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงผู้ฟ้องคดี ตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ จากมูลกรณีที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ ๑๓(จังหวัดสุราษฎร์ธานี) ได้แจ้งให้เทศบาลตำบลโคกกลอยดำเนินการทางวินัยแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในเขตเทศบาล ซึ่งผู้รับจ้างไม่จัดทำตามแบบรูปที่กำหนดแต่คณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจรับงานว่าถูกต้องครบถ้วนทำให้เทศบาลต้องเสียหาย คิดคำนวณเป็นเงินจำนวน ๒๙,๗๔๒ บาท แต่ต่อมาได้เรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้แก่เทศบาลตำบลโคกกลอย หลังจากที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบพบความบกพร่องดังกล่าวแล้ว อันเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติตามข้อ ๖๕ และข้อ ๖๖ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ๒๕๓๕ และเทศบาลตำบลโคกกลอยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงกับพนักงานเทศบาลตำบลโคกกลอยที่ร่วมเป็นกรรมการตรวจการจ้างโครงการดังกล่าวโดยมีคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์นางดวงเพ็ญ พรหมศร เจ้าพนักงานธุรการ และส่งเรื่องให้ผู้ถูกฟ้องคดีดำเนินการแก่ผู้ฟ้องคดีในฐานะประธานกรรมการตรวจการจ้าง ซึ่งเมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงดังกล่าวแล้ว ได้มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีคัดค้านกรรมการสอบสวนและขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวน ๑ คน แต่เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีเพิกเฉยจึงได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราชขอให้มีคำบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนที่ถูกคัดค้าน ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๐๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ ยืนยันคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ ยกเลิกคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ แต่งตั้งบุคคลตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เป็นคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในมูลกรณีกล่าวหาเดิมตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง เห็นว่า การยกเลิกคำสั่งดังกล่าวและในขณะเดียวกันผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งฉบับใหม่โดยใช้มูลกรณีหรือข้อเท็จจริงเดิมแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี อีกทั้งยังเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา (ก.ท.จ.พังงา) ให้พักราชการผู้ฟ้องคดีอันแสดงถึงการใช้อำนาจตามอำเภอใจของผู้ถูกฟ้องคดี เพียงเพราะผู้ฟ้องคดีได้นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนวินัยที่มีความเห็นในการสอบสวนทางวินัยกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในเรื่องเดียวกับผู้ฟ้องคดี ซึ่งอาจจะเป็นผลร้ายต่อการสอบสวนพิจารณาทางวินัยของผู้ฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีก็อาจจะทำได้ในภายหลัง หากผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงชี้ระบุว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง การยกเลิกหรือเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หลังจากมีคำสั่งดังกล่าวไปเพียง ๖๐ วัน และการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ แล้วแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในมูลกรณีหรือข้อเท็จจริงเดิมทั้งยังเสนอให้พักราชการผู้ฟ้องคดีโดยไม่มีข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่ ก.ท.จ.พังงามีมติไม่เห็นชอบให้พักราชการผู้ฟ้องคดี เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โดยที่การสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐กันยายน ๒๕๔๘ เสร็จสิ้นแล้ว และผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๔๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๙ ลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าวในคดีหมายเลขดำที่ ๒๑๘/๒๕๔๙ อีกคดีหนึ่ง ดังนั้นความเดือดร้อนและเสียหายจากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงในคดีนี้จึงหมดสิ้นไปแล้วในส่วนข้ออ้างเกี่ยวกับการกระทำต่อเนื่องจากการดำเนินการทางวินัยทั้งในส่วนการเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีและการไม่ได้เงินประจำตำแหน่งนั้น ถึงแม้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ แต่ได้มีการกันเงินการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในกรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีความผิดหรือมีความผิดทางวินัยและถูกลงโทษเพียงภาคทัณฑ์ก็มีสิทธิได้เลื่อนขั้นเงินเดือนที่ขอเลื่อนไว้ และการที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับเงินประจำ ตำ แหน่งสืบเนื่องจากประธานก.ท.จ.พังงา โดยมติ ก.ท.จ.พังงา สั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจำสำนักงานเลขานุการ ก.ท.จ. พังงาผู้ถูกฟ้องคดีจึงสั่งให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งเพราะผู้ฟ้องคดีมิได้ปฏิบัติหน้าที่ปลัดเทศบาลตำบลท่านาในช่วงเวลาที่ไปประจำสำนักงานเลขานุการ ก.ท.จ.พังงา ดังกล่าว หาใช่เป็นผลโดยตรงจากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงไม่ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า ผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่ ๒๑๘/๒๕๔๙ เนื่องจากผู้ฟ้องคดียื่นอุทธรณ์ต่อ ก.ท.จ.พังงา แล้วไม่ได้ผล ผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้กระทำผิดตามที่ระบุในคำสั่งลงโทษ การฟ้องคดีดังกล่าวไม่เป็นการเชื่อมโยงถึงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงที่ออกโดยใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบแต่อย่างใด จึงไม่อาจนำเอาคำฟ้องในคดีหมายเลขดำที่ ๒๑๘/๒๕๔๙ มาเป็นเหตุผลของการวินิจฉัยว่าความเดือดร้อนและเสียหายจากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงหมดสิ้นไปแล้ว การยื่นฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมาย การวินิจฉัยว่าการฟ้องคดีอีกคดีหนึ่งแล้วทำให้ความเดือดร้อนและเสียหายของการฟ้องคดีเดิมหมดสิ้นไปแล้วนั้นมิได้มีระเบียบกฎหมายใดกำหนดไว้อย่างชัดเจน ความเดือดร้อนเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับจากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงจะหมดสิ้นไปต้องปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจน แต่ปัจจุบันผู้ฟ้องคดียังคงได้รับการลงโทษอยู่เช่นเดิม ซึ่งผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๗๓ บัญญัติว่า ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ เป็นคำสั่งที่ออกโดยการใช้อำนาจตามอำเภอใจและเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ซึ่งต้องถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นโมฆะ เพราะฉะนั้น คำสั่ง
ลงโทษภาคทัณฑ์ซึ่งเป็นผลจากคำสั่งที่มิชอบก็ต้องถือว่ามิชอบหรือเป็นโมฆะไปด้วยดังนั้น จึงไม่อาจนำเอาผลที่ออกมาจากคำสั่งที่ไม่ชอบดังกล่าวมาเป็นเหตุผลในการพิพากษายกฟ้อง มิฉะนั้นจะเป็นบรรทัดฐานหรือเป็นช่องว่างที่จะทำให้ผู้มีอำนาจในการออกคำสั่งทางปกครองไม่พึงระมัดระวังในการใช้ดุลพินิจหรือใช้ดุลพินิจกลั่นแกล้งบุคคลอื่นแล้วรีบเร่งดำเนินการให้ปรากฏผลออกมาโดยเร็วเพื่อให้พ้นผิดจากการใช้ดุลพินิจที่มิชอบซึ่งจะมีบรรทัดฐานที่ไม่ถูกต้องชอบธรรม ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าเมื่อศาลปกครองชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ เป็นคำสั่งที่ออกโดยใช้อำนาจตามอำเภอใจ ใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ก็ชอบที่จะอาศัยอำนาจตาม
มาตรา ๗๒ วรรคหนึ่ง (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและเพิกถอนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงตามคำขอท้ายคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีผู้ถูกฟ้องคดีแก้อุทธรณ์ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีมีอำนาจตามกฎหมายที่จะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้ฟ้องคดี โดยเมื่อคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงยังไม่ได้สรุปผลแต่ความปรากฏชัดต่อผู้ถูกฟ้องคดีว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีมีพฤติกรรมมิชอบหลายประการ เช่น รายงานการตรวจรับงานจ้างเป็นเท็จ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการและการตรวจรับงานที่มิชอบนั้นอาจทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าอาจมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้รับจ้าง อาศัยข้อเท็จจริงดังกล่าวผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือร้องเรียนต่อประธานคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาว่าผู้ถูกฟ้องคดีปฏิบัติไม่ถูกต้องแต่คณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงามีมติยกคำร้องทุกข์ ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องเป็นคดีนี้ ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้บอกว่ารูปแบบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงที่ถูกต้องนั้นมีขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญอย่างไร และไม่ได้อ้างกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับอื่นใดมาประกอบให้เห็นว่าคำสั่งไม่ถูกต้องอย่างไร การกล่าวอ้างเป็นการกล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆ ขาดเหตุผลและจิตสำนึก เพราะประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาเรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ ให้อำนาจนายกเทศมนตรีมีอำนาจในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทั้งกรณีที่เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและความผิดวินัยอย่างร้ายแรง โดยไม่มีข้อกำหนดหรือข้อห้ามใดๆ
ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างใดก่อนหลัง เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีพบเหตุพร้อมพยานหลักฐานว่าผู้ฟ้องคดีน่าจะกระทำการหลายอย่างที่ไม่ชอบ จึงเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมคำสั่งจากการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเป็นการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง จึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำ หนดไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนการจะลงโทษทางวินัยอย่างไร หรือไม่ลงโทษผู้ฟ้องคดีอยู่ที่ผลการสอบสวนวินัย ดังนั้นคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ จึงชอบด้วยกฎหมายและตามข้อ ๒๓ ของประกาศฉบับดังกล่าว เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหาทั้งมีสิทธินำทนายความหรือที่ปรึกษาเข้าฟังการชี้แจงหรือการให้ปากคำ แต่ผู้ฟ้องคดีมิได้ดำเนินการดังกล่าวทั้งที่เป็นผู้ใช้ระเบียบหรือปฏิบัติตามระเบียบ การกระทำของผู้ฟ้องคดีต่างหากที่เป็นการหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้ ข้ออ้างของผู้ฟ้องคดีที่อ้างว่าผู้ถูกฟ้องคดีเลือกปฏิบัติและใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการกล่าวที่ไม่ได้บอกว่าผู้ถูกฟ้องคดีเลือกปฏิบัติอย่างไร กระทำการหรือดำเนินการอย่างไรที่มิชอบ มิได้มีพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่จะเชื่อได้ว่าเลือกปฏิบัติหรือเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ เป็นการกล่าวหาที่ไม่มีเหตุผลและขัดกับข้อเท็จจริง เนื่องจากผู้ถูกฟ้องคดีกับผู้ฟ้องคดีไม่เคยมีข้อขัดแย้งใดๆ ต่อกันทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องในหน้าที่ราชการที่จะนำมาซึ่งการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งในการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ความผิดที่ผู้ฟ้องคดีถูกกล่าวหาเกิดขึ้นที่เทศบาลตำบลโคกกลอย ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง
และไม่มีสาเหตุที่จะทำให้ผู้ถูกฟ้องคดีกลั่นแกล้ง เลือกปฏิบัติและใช้ดุลพินิจโดยมิชอบแต่จากการสอบสวนปรากฏว่ากรรมการตรวจรับงานจ้างร่วมกับผู้ฟ้องคดีรับว่าได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และเทศบาลตำบลโคกกลอยได้เรียกเงินคืนจากผู้รับจ้างจากการกระทำผิดแบบโดยไม่คัดค้าน ซึ่งผู้ฟ้องคดีรู้อยู่แก่ใจดี ประกอบกับมีหลักฐานยืนยันแต่ผู้ฟ้องคดีดื้อรั้นว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด ผู้ฟ้องคดีอาศัยความรู้ทางกฎหมายเบี่ยงเบนประเด็นให้เกิดความสับสนวุ่นวายเพื่อหวังผลให้ตนเองพ้นจากการกระทำต่างๆเช่น การร้องเรียนคัดค้านกรรมการสอบสวนวินัย ร้องเรียนประธานคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา และร้องเรียนคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาว่าผู้ถูกฟ้องคดีใช้อำนาจไม่เป็นธรรม และขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งทุเลาการสอบสวนและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงไว้ก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ซึ่งแม้ผู้ฟ้องคดีจะกล่าวอ้างว่าทำเพื่อป้องกันตนเองจากการไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่ขณะเดียวกันหาได้ใช้กฎหมายให้ถูกต้องและเป็นธรรมอย่างแท้จริงขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น
ศาลปกครองสูงสุดออกนั่งพิจารณาคดี โดยได้รับฟังสรุปข้อเท็จจริงของตุลาการเจ้าของสำนวน และคำชี้แจงด้วยวาจาประกอบคำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจพิจารณาเอกสารทั้งหมดในสำนวนคดี กฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องแล้วประกอบแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงผู้ฟ้องคดีโดยมีกรณีกล่าวหาว่าเมื่อครั้งผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลตำบลโคกกลอย และเป็นประธานกรรมการตรวจการจ้างก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กของเทศบาลตำบลโคกกลอยร่วมกับนางดวงเพ็ญ พรหมศร เจ้าพนักงานธุรการ และนายช่างโยธา ได้ตรวจรับงานจ้างดังกล่าวว่าถูกต้องครบถ้วน แต่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ ๑๓ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)ตรวจสอบพบว่าผู้รับจ้างไม่ได้ก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบรูปที่กำหนด และช่างผู้ควบคุมงานได้คำนวณเงินที่ผู้รับจ้างไม่ได้ทำตามแบบ เพื่อหักออกจากค่างาน จ้างก่อสร้างรวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๒๙,๗๔๒ บาท และได้เรียกเงินจำนวนดังกล่าวคืนแล้ว แต่เป็นการดำเนินการภายหลังจากที่สำ นักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ ๑๓ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
ตรวจพบการกระทำดังกล่าว การกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕
ข้อ ๖๕ และข้อ ๖๖ และเทศบาลตำบลโคกกลอยได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยไม่ร้ายแรงกับนางดวงเพ็ญ พรหมศร โดยคณะกรรมการสอบสวนประกอบด้วยนายอิทธิพล อินทวิชญ เป็นประธาน ว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกร เป็นกรรมการและนายทะนง จิตตะพันธ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการได้มีมติลงโทษภาคทัณฑ์นางดวงเพ็ญไปแล้วผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙กรกฎาคม ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในกรณีความผิดเดียวกันกับนางดวงเพ็ญ พรหมศร โดยคณะกรรมการประกอบด้วย นางพรชนก ตู้บรรเทิง เป็นประธาน ว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกร เป็นกรรมการ และนายรัชดา นนทฤทธิ์ เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือคัดค้านการแต่งตั้ง ว่าที่ร้อยเอกเสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกร เป็นกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเนื่องจากบุคคลดังกล่าว
เป็นกรรมการสอบสวนทางวินัยนางดวงพรในกรณีกล่าวหาเดียวกันและมีความเห็นให้ลงโทษตัดเงินเดือน อันเป็นความเห็นที่เป็นโทษร้ายแรงในเรื่องที่สอบสวน ซึ่งอาจทำให้การสอบสวนทางวินัยผู้ฟ้องคดีเสียความเป็นธรรม แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่มีคำสั่งตามคำร้องคัดค้านผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น โดยมีคำขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวน เป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๖๒/๒๕๔๘
เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๐๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเพิ่มเติมเนื่องจากการที่ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือคัดค้านกรรมการสอบสวนจากผู้ฟ้องคดี ทำให้ ว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกร กรรมการผู้ถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวนผู้ฟ้องคดี ตามข้อ ๓๘ วรรคสี่ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบางจังหวัดพังงา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาว่าหนังสือคัดค้านของผู้ฟ้องคดีไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้ จึงแต่งตั้งให้ ว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกร เป็นกรรมการสอบสวนทางวินัยผู้ฟ้องคดีตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ เช่นเดิม และต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในมูลกรณีเดียวกัน โดยมีกรรมการชุดเดียวกัน ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ ถึงประธานกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา ร้องทุกข์การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดี ว่ามีเจตนากลั่นแกล้งมิให้ผู้ฟ้องคดีได้เลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาได้มีหนังสือลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙ แจ้งว่าคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาได้มีมติให้ยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี และในระหว่างการสอบสวนทางวินัย ผู้ถูกฟ้องคดีได้ขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาให้สั่งพักราชการผู้ฟ้องคดี ซึ่งคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา พิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่มีเอกสารหลักฐานใดที่แสดงให้เห็นว่าหากให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติราชการที่เทศบาลตำบลท่านาต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวนหรือจะก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยต่อเทศบาลอย่างไร กรณีจึงยังไม่ครบองค์ประกอบที่จะสั่งพักราชการได้ แต่เห็นว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้งในการบริหารงานระหว่างผู้บริหารกับพนักงานเทศบาล หากให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะเกิดความเสียหายจึงมีมติให้ผู้ฟ้องคดีไปประจำสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาตามคำสั่งจังหวัดพังงา ที่ ๑๗๘๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๔๘ ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือร้องทุกข์คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา ซึ่งคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา มีมติยกคำร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดีตามหนังสือลงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๔๙ ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ไม่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอนหรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญและมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนไม่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือน ถูกสั่งให้ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ราชการที่ที่ทำการปกครองจังหวัดพังงารวมทั้งถูกระงับและยกเลิกการจ่ายเงินค่าตอบแทนเงินประจำตำแหน่งของปลัดอำเภอเดือนละ ๓,๕๐๐ บาท และทำให้ไม่สามารถขอสอบเลื่อนระดับ ขอโอนย้าย ขอกู้เงินจากสหกรณ์ได้ จึงมาฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงและเพิกถอนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงตามคำสั่งดังกล่าว ต่อมาคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ เห็นว่าการกระทำของผู้ฟ้องคดีเป็นความผิดวินัยไม่ร้ายแรงผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๔๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ ลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๔๙ อุทธรณ์คำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดีและยื่นคำฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งลงโทษดังกล่าวเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๑๘/๒๕๔๙ อีกคดีหนึ่งแล้ว ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษาว่าการที่ผู้ถูกฟ้องคดียกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดีโดยใช้มูลกรณีหรือข้อเท็จจริงเดิม อีกทั้งยังเสนอขอความเห็นชอบต่อคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงาให้พักราชการผู้ฟ้องคดีแสดงถึงการใช้อำนาจตามอำเภอใจของผู้ถูกฟ้องคดี เพียงเพราะผู้ฟ้องคดีได้นำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลเพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนทางวินัยที่มีความเห็นในการสอบสวนทางวินัยกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยในเรื่องเดียวกับผู้ฟ้องคดี ซึ่งอาจจะเป็นผลร้ายต่อการสอบสวนทางวินัยของผู้ฟ้องคดี อันเป็นการใช้สิทธิป้องกันตนโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่โดยที่การสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘เสร็จสิ้นแล้ว และผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๔๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๔๙ ลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มีคำฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษ
ทางวินัยดังกล่าวในคดีหมายเลขดำที่ ๒๑๘/๒๕๔๙ อีกคดีหนึ่ง ดังนั้น ความเดือดร้อนและเสียหายจากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงในคดีนี้จึงหมดสิ้นไปแล้วและถึงแม้ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับเลื่อนขั้นเงินเดือนในวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๘ แต่ได้มีการกันเงินการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ในกรณีที่ผลการสอบสวนพิจารณาปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีไม่มีความผิดหรือมีความผิดทางวินัยและถูกลงโทษเพียงภาคทัณฑ์ก็มีสิทธิได้เลื่อนขั้นเงินเดือนที่ขอเลื่อนไว้และการที่ผู้ฟ้องคดีไม่ได้รับเงินประจำตำแหน่งมิใช่ผลโดยตรงจากคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง แต่เนื่องจากประธาน ก.ท.จ.พังงา สั่งให้ผู้ฟ้องคดีไปประจำสำนักงานเลขานุการ ก.ท.จ. พังงา ผู้ถูกฟ้องคดีจึงสั่งให้งดจ่ายเงินประจำตำแหน่งเพราะผู้ฟ้องคดีมิได้ปฏิบัติหน้าที่ปลัดเทศบาลตำบลท่านา ศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้องผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์ว่าการที่ผู้ฟ้องคดียื่นคำฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่
๒๑๘/๒๕๔๙ เป็นการฟ้องโต้แย้งว่าผู้ฟ้องคดีไม่ได้กระทำผิดตามที่ระบุในคำสั่งลงโทษจึงไม่เป็นการเชื่อมโยงถึงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงที่ออกโดยใช้ดุลพินิจไม่ชอบ การยื่นฟ้องคดีเป็นการใช้สิทธิป้องกันตนเองโดยชอบด้วยกฎหมายและปัจจุบันผู้ฟ้องคดียังคงได้รับการลงโทษอยู่เช่นเดิม เมื่อศาลปกครองชั้นต้นเห็นว่าคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงของผู้ถูกฟ้องคดีเป็นการใช้อำนาจตามอำเภอใจและเป็นการใช้ดุลพินิจโดยมิชอบจึงต้องถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นโมฆะ ดังนั้นคำสั่งลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดีจึงต้องเป็นโมฆะด้วย ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษาเพิกถอนคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ และสั่ง
เพิกถอนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงดังกล่าวด้วย ผู้ถูกฟ้องคดีแก้อุทธรณ์ว่าแม้คณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงยังไม่ได้สรุปผลการสอบสวนแต่ความปรากฏชัดต่อผู้ถูกฟ้องคดีว่าผู้ฟ้องคดีรายงานการตรวจรับงานเป็นเท็จ ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการและการตรวจรับงานโดยมิชอบอาจทำให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้เป็นเหตุให้เชื่อได้ว่าอาจมีผลประโยชน์ร่วมกับผู้รับจ้าง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งที่เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและความผิดวินัยอย่างร้ายแรงโดยไม่มีข้อกำหนดหรือข้อห้ามใดๆ ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างใดก่อนหลัง การเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
คำสั่งจากการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเป็นการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงจึงเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องตามรูปแบบ ขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้อย่างสมบูรณ์ครบถ้วนคดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านาที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ลงวันที่ ๒๐ กันยายน๒๕๔๘ เป็นการใช้อำนาจโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ ข้อ ๒๓ กำหนดว่าการดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานเทศบาลซึ่งมีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยให้สอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงและความยุติธรรมโดยไม่ชักช้า และต้องแจ้งข้อกล่าวหาและสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาเท่าที่มีให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ... วรรคสองกำหนดว่า การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงให้ดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่นายกเทศมนตรีเห็นสมควร... วรรคสี่ กำหนดว่าการดำ เนินการตามวรรคหนึ่ง ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำ ผิดวินัยอย่างร้ายแรงให้นายกเทศมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน เมื่อดำเนินการสอบสวนแล้วถ้าฟังได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำผิดวินัยก็ให้ดำเนินการตามข้อ ๒๔ หรือข้อ ๒๕ แล้วแต่กรณีถ้ายังฟังไม่ได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดวินัยจึงจะยุติเรื่องได้ จากข้อกฎหมายดังกล่าวจะเห็นได้ว่านายกเทศมนตรีมีอำนาจดำเนินการทางวินัยแก่พนักงานเทศบาล ในกรณีที่มีการกล่าวหาว่าพนักงานเทศบาลกระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้นายกเทศมนตรีดำเนินการสอบสวนตามวิธีการที่เห็นสมควร แต่ถ้าเป็นกรณีกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงการดำเนินการทางวินัยจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวนและถ้าพบว่ามีการกระทำผิดวินัยก็ให้สั่งลงโทษในสถานโทษและอัตราโทษตามที่กำหนดคดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่าสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ ๑๓ (สุราษฎร์ธานี)ได้ตรวจสอบการดำเนินการจ้างก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งจ่ายจากเงินอุดหนุน
เฉพาะกิจเพื่อพัฒนาเทศบาล งบประมาณปี ๒๕๔๔ รวม ๔ โครงการ พบว่าผู้รับจ้างไม่ได้จัดทำตามแบบรูปที่กำหนด คือ ตามแบบรูปกำหนดรอยต่อเพื่อการหดตัว กว้าง ๑ เซนติเมตรลึก ๔ เซนติเมตร แต่ในการก่อสร้างปรากฏว่ารอยต่อเพื่อการหดตัวรูปตัดช่วงละ ๑๐ เมตรหรือรอยต่อเพื่อการหดตัวตามความกว้างของถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ตรวจวัดได้ความลึกประมาณ ๓ เซนติเมตร ขาดไปประมาณ ๑ เซนติเมตร และถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสายซอยสุขาภิบาล ๕ หมู่ที่ ๑ ผู้รับจ้างไม่ได้จัดทำรอยต่อเพื่อการหดตัวตามแนวยาวของถนนตามแบบรูป แต่คณะกรรมการตรวจรับงานจ้างตรวจว่าการก่อสร้างถูกต้องครบถ้วนตามรูปแบบ ทำให้ราชการได้รับความเสียหายคิดเป็นเงิน ๒๙,๗๔๒ บาท จึงมีหนังสือแจ้งให้นายกเทศมนตรีตำบลโคกกลอยดำเนินการทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องตามระเบียบ
กระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕
ซึ่งนายกเทศมนตรีตำบลโคกกลอยได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงนางดวงเพ็ญ พรหมศร พนักงานเทศบาล ตำแหน่งเจ้าพนักงานธุรการ ระดับ ๖ ในฐานะกรรมการตรวจรับงานจ้าง และเมื่อสอบสวนแล้วคณะกรรมการฯ มีมติว่าการก่อสร้างถนนที่ผู้รับจ้างไม่ได้จัดทำตามแบบรูปที่กำหนดไม่ทำให้งานก่อสร้างเสียหายและไม่มีผลกระทบต่อการใช้ถนน เนื่องจากเป็นถนนที่มีความกว้างน้อยไม่จำเป็นจะต้องมีรอยต่อเพื่อการหดตัวตามความยาว กรณีเป็นความผิดวินัยที่บกพร่องต่อหน้าที่ ไม่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในการตรวจรับงานจ้างให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบทำให้ราชการได้รับความเสียหายจึงมีคำสั่งให้ลงโทษภาคทัณฑ์นางดวงเพ็ญ ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคำสั่งที่ ๗๙/๒๕๔๘ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงผู้ฟ้องคดีในฐานะประธานกรรมการตรวจรับงานจ้างก่อสร้างในกรณีเดียวกันกับนางดวงเพ็ญ โดยแต่งตั้งว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ เสนีย์รัตนกร ซึ่งเป็นกรรมการที่สอบสวนวินัยนางดวงเพ็ญมาแล้ว
เป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการที่ ว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์ มีความเห็นว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างกระทำผิดวินัย สมควรลงโทษตัดเงินเดือนในการสอบสวนนางดวงเพ็ญซึ่งเป็นความเห็นที่เป็นโทษต่อผู้ฟ้องคดีจึงเป็นกรณีที่อาจทำให้การสอบสวนผู้ฟ้องคดีเสียความเป็นธรรม ผู้ฟ้องคดีจึงทำหนังสือคัดค้านยื่นต่อผู้ถูกฟ้องคดี แต่ผู้ถูกฟ้องคดีมิได้สั่งการอย่างหนึ่งอย่างใดภายในสิบห้าวันนับแต่ได้รับเรื่องคัดค้าน ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองนครศรีธรรมราชเป็นคดีหมายเลขดำที่ ๒๖๒/๒๕๔๘ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๘ขอให้ศาลพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีเปลี่ยนแปลงกรรมการสอบสวนที่ถูกคัดค้าน ซึ่งตามข้อ ๓๘วรรคสี่ ของประกาศคณะกรรมการพนักงานเทศบาลจังหวัดพังงา เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ กำหนดว่า กรณีที่ผู้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนมิได้สั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งตามหนังสือคัดค้านภายในสิบห้าวันให้ถือว่า
ผู้ซึ่งถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวน ภายหลังจากที่ผู้ฟ้องคดียื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ผู้ถูกฟ้องคดีจึงมีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๐๗/๒๕๔๘ ลงวันที่๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเพิ่มเติมโดยเห็นว่าหนังสือคัดค้านของผู้ฟ้องคดีไม่มีเหตุผลพอที่จะรับฟังได้จึงแต่งตั้งให้ ว่าที่ร้อยเอก เสริมศักดิ์เสนีย์รัตนกร เป็นกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงเช่นเดิม ต่อมา ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาว่าการปฏิบัติหน้าที่กรรมการตรวจรับงานจ้างของผู้ฟ้องคดีขณะดำรงตำแหน่งปลัดเทศบาลตำบลโคกกลอย เป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๓๕ ข้อ ๖๕ ซึ่งนอกจากจะเข้าข่ายความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการมติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงแล้ว อาจจะเข้าข่ายความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่ราชการและเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงด้วย จึงมีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงตามคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๗๙/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๘ และคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๐๗/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๔๘ และแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี เห็นว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะมีอำนาจในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งกรณีที่เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่อาจเลือกดำเนินการทางวินัยทั้งกรณีความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในความผิดกรณีเดียวกันได้
ตามอำเภอใจเนื่องจากหลักเกณฑ์การสอบสวน การลงโทษทางวินัยกำหนดว่าการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงต้องเป็นกรณีที่กล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาว่าการตรวจรับงานจ้างที่ผู้รับจ้างไม่ทำตามแบบของผู้ฟ้องคดีเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง จึงแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงแต่ต่อมากลับพิจารณาว่ากรณีของผู้ฟ้องคดีอาจเป็นความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์ที่มิควรได้โดยที่ไม่มีข้อเท็จจริงใดๆ เพิ่มเติมแตกต่างจากการแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงในครั้งแรก การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงผู้ฟ้องคดี ในมูลกรณีที่กล่าวหาว่าเป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงจึงเป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย สำหรับคำขอที่ผู้ฟ้องคดีขอให้เพิกถอนการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสอบสวนทางวินัยอย่างร้ายแรงตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
วินัยอย่างร้ายแรงนั้น เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีมิได้แสดงข้อเท็จจริงและเหตุผลในการคัดค้านคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นในประเด็นดังกล่าว จึงเป็นคำอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามข้อ ๑๐๑ แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ และเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีมีคำสั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๔๖/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙ ลงโทษภาคทัณฑ์ผู้ฟ้องคดีตามความเห็นของคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงที่แต่งตั้งตามคำ สั่งเทศบาลตำบลท่านา ที่ ๑๑๐/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๔๘ แล้ว คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงจึงสิ้นผลลง ศาลไม่จำต้องมีคำบังคับโดยให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้นเป็นให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ
นายไพบูลย์ เสียงก้อง ตุลาการเจ้าของสำนวน
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายพีระพล เชาวน์ศิริ
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
นายวรพจน์ วิศรุตพิชญ์
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายนพดล เฮงเจริญ
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการผู้แถลงคดี : นายจิรศักดิ์ จิรวดี
วันที่อ่าน ๒๔ ธันวาคม ๒๕๕๒
หฤทัย : ผู้พิมพ์
แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะมีอำนาจในการดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาทั้งกรณีที่เป็นความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่อาจเลือกดำเนินการทางวินัยทั้งกรณีความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรงและความผิดวินัยอย่างร้ายแรงในความผิดกรณีเดียวกันได้
ตอบลบตามอำเภอใจเนื่องจากหลักเกณฑ์การสอบสวน การลงโทษทางวินัยกำหนดว่าการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงต้องเป็นกรณีที่กล่าวหาว่าผู้ฟ้องคดีกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง