วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

'อ๊อด'ชูศอ.บต.-กอ.รมน.เลือก5ผู้ว่าฯชายแดนใต้

'อ๊อด'ชูศอ.บต.-กอ.รมน.เลือก5ผู้ว่าฯชายแดนใต้  - 
ไทยโพสต์  Issued date 7 September 2012

          ไทย โพสต์ * รัฐบาลผุดไอเดียอีกแล้ว คราวนี้ติดดาบ "ศอ.บต. - กอ.รมน." เลือกผู้ว่าราช การจังหวัดเองแล้วเสนอให้นายกฯ - มท.1 พิจารณาอีกครั้ง "ยุทธศักดิ์" ระบุเพื่อให้ทำงานเป็นทีมเวิร์กมากขึ้น โดยไม่ต้องรอให้หน่วยเหนือส่งคนลงไป ขณะที่ "เฉลิม" เสียดายประชาธิปัตย์มีเงื่อนไขหารือดับไฟใต้แต่ "อภิ สิทธิ์" ยันใช้เวทีสภาดีที่สุด เผยประชุมลับไม่ต้องถ่ายทอดก็ได้
          พล.อ.ยุทธ ศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง เปิดเผยเมื่อวันที่6 กันยายน ถึงแนวทางการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่าขณะนี้กำลังมีการเขียนโครงสร้างเสนออีกครั้ง ถ้าเป็นที่ยอมรับทั้ง ศอ.บต., กอ.รมน. และกองทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า แล้วนโยบายก็ จะกระชับมากขึ้น   โดยนายกรัฐมนตรีให้อำ นาจ กอ.รมน.เรียกเจ้าหน้าที่ปฏิบัติในกอง ทัพภาคที่ 4 ส่วนหน้า ส่วนผู้บัญชาการตำ รวจภูธรภาค 9 เป็นผู้มีสิทธิเรียกผู้กำกับในการสั่งการ และนับแต่นี้ไปหน่วยงานระดับล่าง จะเป็นผู้เสนอการทำงานเป็นทีมให้กับผู้บังคับบัญชาให้เห็นภาพ ทั้งทหาร ตำรวจ และฝ่ายปกครอง
          "โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 5 ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนใต้ มีสิทธิในการเลือกนายอำ เภอที่ตั้งใจทำงาน และตัวผู้ว่าราชการจังหวัด ทาง ศอ.บต. และ กอ.รมน. เป็นผู้เสนอรัฐ มนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ว่าต้องการบุคคลอย่างไรไปทำงานในภาคใต้ เพื่อให้เกิดทีมเวิร์ก ไม่ใช่หน่วยเหนือส่งคนนั้นไปที"คนนี้ไปที"
          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชา การทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาภาคใต้เมื่อวันที่5 กันยายนที่ผ่านมา ว่า ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่รัฐบาลให้ความสนใจ ซึ่งการแก้ไขปัญหามีหลายมิติ โดยเฉพาะเรื่องบุคลากรที่ยังไม่มีความพร้อมทหารเน้นทางด้านยุทธวิธีเป็นหลัก การแก้ไขปัญหานั้นต้องใช้เวลา ดังนั้นหน่วยงานอื่นๆต้องมีความพร้อมด้วยในการแก้ไขปัญหา
          "การ แก้ไขปัญหาภาคใต้ไม่ใช่ทหารเป็นผู้รับผิดชอบเพียงฝ่ายเดียว และที่ผ่านมาการแก้ไขปัญหานั้นไม่ใช่ความล้มเหลว เพราะเรามีหลายหน่วยงานที่รับผิดชอบ ถ้าหน่วยงานใดบกพร่องก็ต้องไปดำเนินการแก้ไข คำว่าล้มเหลวหรือไม่ล้มเหลวนั้น อย่านำสถิติมาเป็นตัวชี้วัด"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
          ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ส.ภาคใต้ ปฏิเสธที่จะร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาภาคใต้ว่า เป็นสิทธิที่จะปฏิเสธ เราคงไปบังคับไม่ได้ สังคมจะเป็นผู้ตัดสินเอง เพราะปัญหาภาคใต้กระทบต่อคนทั้งประเทศ และ ส.ส.ภาคใต้ เป็นของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งนั้น ดังนั้นน่าจะรู้อะไรดีๆ กว่าฝ่ายรัฐบาล การมากล่าวหาว่ารัฐบาล 1 ปีแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ต้องย้อนกลับไปว่า คุณบริหารประเทศมา 2 ปี 8 เดือน ทำอะไรได้บ้าง ในยุคนี้การก่อเหตุน้อยลง และเปลี่ยนเป้าหมายจากประชาชน พระสงฆ์ เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ตนไม่ลงพื้นที่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่รู้เรื่องอะไรเลย เพราะคุยกับเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ตลอด
          "เสียดายที่พวกพรรคประชา ธิปัตย์มีเงื่อนไขว่าต้องให้นายกฯมานั่งร่วมประชุมด้วย แต่ผมมองว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะหนังสือที่เชิญผมไม่ได้ทำเองโดยลำพัง แต่ได้แจ้งให้นายกฯ ทราบ และท่านได้กำชับให้ทำหนังสือเชิญฝ่ายค้าน และถ้าเสนอแนะอะไรมาก็ให้รับหมด เห็นด้วยทุกเรื่องและมั่นใจว่าประชาธิปัตย์ต้องเสนอแนะในสิ่งที่ทำได้ ผมเชื่ออย่างนั้นและถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหา ถ้าแนวทางประชาธิปัตย์ดีและสามารถแก้ปัญหาได้ ผมจะแถลงข่าวประกาศให้คนไทย ให้ชาวโลกรู้ว่าประชาธิปัตย์เก่ง เสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาได้ และบ้านเมืองจะได้สงบสุข" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
          เมื่อถามว่าประชา ธิปัตย์อยากให้ใช้ เวทีสภาในการหารือการแก้ปัญหา ร.ต.อ. เฉลิมกล่าวว่า เห็นประชาธิปัตย์พูดทุกปี เป็นฝ่ายค้านทีไรก็พูดตลอด ก็ต้องทำใจ เพราะนายอภิสิทธิ์ก็เป็นคนแบบนี้ ขอให้สื่อและประชาชนตัดสินเอง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายค้าน รัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯ ก็ทำงานเต็มที่
          ร.ต.อ.เฉลิมกล่าวด้วยว่า เหตุการณ์ในภาคใต้ ถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรลงไป อย่างที่นายกฯ เดินทางไปก็มีระเบิดต้อนรับ ถ้าตนลงไปคงระเบิดหลายจุด คงจะตูมหนัก เลยไม่อยากให้ชาวบ้านเดือดร้อน แต่ถ้าประชาธิปัตย์ลง ไปไม่มีหรอก เงียบ เสียงประทัดยังไม่มี เข็ม ตกยังได้ยิน ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้กล่าวหาประ ชาธิปัตย์ว่าอยู่เบื้องหลัง ประชาชนไปคิดเอาเองว่าเพราะอะไร
          "ผมจะลงพื้นที่แน่นอน แต่ไม่บอกว่าตอนไหน เพราะจะมีระเบิดรอ ผมจะไปแบบลับลวงพราง ถ้าไม่ไปก็เสียเหลี่ยมลูกกำนันหมด" ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
          นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีที่นายกฯลงพื้นที่ เพื่อให้กำลังใจต่อเจ้าหน้าที่และประชาชน แต่จะเห็นว่าความพยายามที่จะระดมทุกๆ ฝ่ายให้มาทำงานเรื่องนี้ก็ยังขาดความชัดเจน ความเป็นเอกภาพ ตนเลยได้เข้าไปพบประธานสภาฯ เพื่อใช้เวทีสภาในการพูดคุยกันในเรื่องนี้เป็นพวกตน เป็น ส.ส. ก็ต้องใช้เวทีของสภานำเสนอปัญหาเหล่านี้ และนายกรัฐมนตรีก็เป็นนายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภา มีความรับผิดชอบต่อสภาผู้แทนราษฎรอยู่แล้ว
          นายอภิสิทธิ์กล่าว ว่า เราอยากให้เมื่อพบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันแล้วนำไปสู่ความสำเร็จในการแก้ไข ปัญหา ไม่ใช่ว่าพบกันเฉยๆ แล้วก็ที่สำคัญก็อย่างที่บอกนายกฯ มอบถึง 3 รองนายกฯ ในการแก้ปัญหาตอนนี้ แต่ ร.ต.อ.เฉลิมก็ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างของการแก้ ปัญหาตามกฎหมาย
          "ผม คิดว่า เราเอาเวทีหรือเราเอารูปแบบที่เหมาะสมที่สุดมาใช้ดีกว่า และผมก็บอกด้วยกับท่านประธานนะครับว่า ถ้าสมมติว่า ทางรัฐบาลบอกว่าบางเรื่องมันละเอียดอ่อนประชุมลับ เราก็ยินดี ไม่จำเป็นว่าเราต้องอภิปราย หรือต้องมีการไปถ่ายทอดอะไร ไม่ใช่แบบนี้ แต่เรามาทำหน้าที่กัน ตามระบบของเรา ท่านประธานสมศักดิ์ ท่านเห็นด้วยนะครับ ท่านก็เลยบอกว่าท่านก็จะทำหน้าที่ในการที่จะประสานไปยังรัฐบาล แล้วก็จะแจ้งพวกเรามาอีกครั้งหนึ่งครับ" นายอภิสิทธิ์กล่าว.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น