วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

หักค่าปรับไว้เกิน ... ต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย

หักค่าปรับไว้เกิน ... ต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
นางสาววชิราภรณ์ คงกัลป์ พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง

ในปัจจุบันหน่วยงานทางปกครองมีการดำเนินการเกี่ยวกับการพัสดุเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น
การซื้อ การจ้าง หรือการดำเนินการอื่นๆ เพื่อจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ หรือการบริการ เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับการจัดทำบริการสาธารณะที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตน และในการดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องมือดังกล่าวหน่วยงานทางปกครองจะต้องทำสัญญาเพื่อเป็นข้อผูกพันระหว่างกัน โดยเฉพาะการทำสัญญาว่าจ้างให้เอกชนดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้มาซึ่งงานที่ว่าจ้างนั้น หน่วยงานทางปกครองจะมีอำนาจกำหนดค่าปรับไว้ได้ในกรณีที่เอกชนไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนดในสัญญาตามอัตราและเงื่อนไขที่กฎหรือระเบียบที่เกี่ยวกับการพัสดุกำหนดไว้ และในการกำหนดอัตราค่าปรับบางกรณีกฎหมายหรือระเบียบอาจให้อำนาจกับ
หัวหน้าหน่วยงานทางปกครองใช้ดุลพินิจได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ดุลพินิจได้โดยไม่มีขอบเขต ซึ่งเมื่อหน่วยงานทางปกครองใช้ดุลพินิจกำหนดจำนวนเงินค่าปรับไม่ถูกต้องตามระเบียบ และหักค่าปรับไว้เกินจำนวนที่ถูกต้อง นอกจากต้องรับผิดชดใช้เงินคืนแล้วยังจะต้องรับผิดจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้รับจ้างคู่สัญญาด้วยหรือไม่ ?

มีตัวอย่างคดีที่น่าสนใจ เป็นกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดี (เทศบาลเมืองหัวหิน) ได้ทำสัญญาจ้างผู้ฟ้องคดี
ก่อสร้างสนามกีฬาต้านยาเสพติด ค่าจ้าง 4,560,000 บาท ตามข้อ 16 ของสัญญากำหนดว่า หากผู้ฟ้องคดีไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามกำหนดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 11,400 บาท (ในอัตราร้อยละ 0.25 ต่อวัน) ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้ทักท้วงว่าสัญญาจ้างดังกล่าวมิใช่งานก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจรการกำหนดค่าปรับดังกล่าวไม่สอดคล้องกับข้อ 127 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
พ.ศ. 2535 จึงขอให้ผู้ถูกฟ้ องคดีลดอัตราค่าปรับเป็นวันละ 4,560 บาท ซึ่งเท่ากับร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้าง แต่ผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่าอัตราค่าปรับดังกล่าวเป็นสิทธิที่เกิดจากสัญญามิได้เกิดจากระเบียบจึงไม่ลดอัตราค่าปรับให้ ทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องเสียค่าปรับเพิ่มขึ้นจากวันละ 4,560 บาท เป็นวันละ 11,400 บาท จำนวน 82 วัน รวมเป็นเงินค่าปรับ 934,800 บาทผู้ฟ้องคดีจึงนำคดีมาฟ้ องต่อศาลปกครองขอให้ผู้ถูกฟ้ องคดีคืนเงินค่าปรับที่เพิ่มขึ้นวันละ6,840 บาท จำนวน 82 วัน เป็นเงิน 560,880 บาท พร้อมดอกเบี้ย

ข้อกฎหมายสำคัญของคดีนี้ก็คือ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 127 วรรคหนึ่ง กำหนดว่า “การทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01 – 0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกันให้กำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ 0.01 – 0.10 ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ตํ่ากว่าวันละ 100 บาท สำหรับการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจรให้กำหนดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.25 ของราคางานจ้างนั้น”

วรรคสอง กำหนดว่า “การกำหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่งในอัตราหรือเป็นจำนวนเท่าใดให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยคำนึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของทางหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจะหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกระทบต่อการจราจรแล้วแต่กรณี”

คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยเกี่ยวกับลักษณะของสัญญาจ้างก่อสร้างสนามกีฬาว่า “สัญญา
ที่พิพาทเป็นสัญญาจ้างก่อสร้างสนามกีฬาที่ไม่มีผลกระทบต่อการจราจรและต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน การกำหนดค่าปรับตามสัญญาจ้างดังกล่าวในอัตราร้อยละ 0.25 ของราคางานจ้าง จึงเป็นการกำหนดเกินกว่าระเบียบที่ให้อำนาจผู้ถูกฟ้ องคดีจะกำหนดได้ ส่วนการที่ข้อ 127 วรรคสอง กำหนดให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นใช้ดุลพินิจกำหนดค่าปรับได้ ก็เป็นกรณีที่ต้องใช้ดุลพินิจกำหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจำนวนเงิน
ตายตัวในอัตราร้อยละ 0.01 - 0.10และเมื่อได้คำนึงถึงการที่ผู้ถูกฟ้ องคดีไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ที่จะดำเนินการก่อสร้างให้ผู้ฟ้องคดีได้ทันตามกำหนดในสัญญา และแม้ว่าจะได้มีการขยายระยะเวลาในภายหลัง แต่ก็ถือเป็นเหตุแห่งการล่าช้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีมีส่วนก่อให้เกิดร่วมกับผู้ฟ้องคดีด้วย ประกอบกับผู้ฟ้องคดีได้ส่งมอบงานตามสัญญาแล้วผู้ถูกฟ้องคดีก็ยังมิได้ใช้ประโยชน์ในสนามกีฬาดังกล่าวทันที การที่งานล่าช้าจึงไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ถูกฟ้ องคดี ดังนั้น จึงมีเหตุ
อันสมควรลดค่าปรับที่ผู้ถูกฟ้องคดีหักไว้เกินร้อยละ 0.10 ให้เหลือร้อยละ 0.10 ของราคางานจ้าง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีคิดค่าปรับผู้ฟ้องคดีเป็นเวลา 82 วัน เป็นเงิน 934,800 บาท จึงเป็นการหักค่าปรับไว้เกินส่วน ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องคืนค่าปรับให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเงิน 560,880 บาท

เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีหักเงินค่าปรับจากค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้แก่ผู้ฟ้องคดีโดยไม่ชอบ จึงมีผลเป็ นการผิดนัดไม่ชำระเงินค่าจ้างให้ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ผู้ถูกฟ้ องคดีจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นับแต่วันที่ผู้ถูกฟ้ องคดีต้องชำระค่าจ้างให้แก่ผู้ฟ้ องคดี แต่ผู้ฟ้ องคดีมีคำขอให้ชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้ องเป็ นต้นไป จึงพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้ องคดีชำระดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้ องคดีเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 99/2554)

จากคำพิพากษาดังกล่าว ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักการสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าปรับในสัญญาจ้างที่ต้องการผลสำเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน และการใช้ดุลพินิจกำหนดค่าปรับของหัวหน้าฝ่ ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตามข้อ 127 วรรคสอง ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ซึ่งการกำหนดค่าปรับของงานจ้างที่ต้องการผลสำเร็จของงานพร้อมกันจะต้องไม่เกิน 0.01 – 0.10 ของราคางานจ้าง และกรณีที่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต้องใช้ดุลพินิจจะต้องไม่เกินกว่าอัตราดังกล่าวด้วย ถ้าหากกำหนดอัตราค่าปรับเกินกว่าที่ระเบียบกำหนดศาลปกครองมีอำนาจลดค่าปรับลงได้ และหากหน่วยงานทางปกครองเรียกให้ผู้รับจ้างชำระค่าปรับเกินกว่าอัตราที่ระเบียบกำหนดไว้ก็จำเป็ นจะต้องคืนเงินดังกล่าวพร้อมกับชำระดอกเบี้ย โดยคำนวณนับแต่วันที่หน่วยงานทางปกครองมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตามสัญญาให้กับผู้รับจ้าง ซึ่งถือเป็นวันที่หน่วยงานทางปกครองผิดนัดจ่ายค่าจ้างตามสัญญา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น