วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ดัดแปลงอาคาร ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร



คดีหมายเลขดำที่ อ. ๕๔๕/๒๕๔๘
คดีหมายเลขแดงที่ อ. ๒๙๙/๒๕๕๓
ในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์
ศาลปกครองสูงสุด
วันที่ ๔ เดือน พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๓
                        นายสมมิตร เวชชยานนท์ ที่ ๑
                        นางสาวยลรดี สมบัติทรัพย์สิน ที่ ๒ ผู้ฟ้องคดี

ระหว่าง


                      ผู้อำนวยการเขตพระนคร ที่ ๑
                      ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ ๒
                      คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตกรุงเทพมหานคร ที่ ๓ ผู้ถูกฟ้องคดี
เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
(
อุทธรณ์คำพิพากษา)

ผู้ฟ้องคดีทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ ๗๕๒/๒๕๔๗ หมายเลขแดงที่ ๘๒๒/๒๕๔๘ ของศาลปกครองชั้นต้น (ศาลปกครองกลาง)

คดีนี้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองอาคารพาณิชย์ เลขที่ ๒๑๘ ถนนพระสุเมรุ แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี และได้จดทะเบียนโอนเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ดำเนินการปรับปรุงอาคารดังกล่าวซึ่งมีสภาพเก่าและทรุดโทรมอย่างมาก เพื่อที่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัยต่อไป แต่ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้มีคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๐ คำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๑ และคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ แจ้งว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการดัดแปลงต่อเติมอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นและดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๓๕ ดังนี้ () ชนิดตึก ค... (ชั้นดาดฟ้า) ขนาดประมาณ ๓.๕๐x๑๔.๐๐x.๓๐ เมตร () ชนิดผนัง ค... (ปลายกันสาด) ขนาดประมาณ ๐.๗๐x๑๕.๕๐x.๐๐ เมตร () ชนิดอาคาร ค... (ปิดทางเดินหลัง) ขนาดประมาณ ๒.๐๐x.๕๐x๑๒.๔๐ เมตร จึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองระงับการดัดแปลงอาคารดังกล่าว และห้ามมิให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองหรือบุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารดังกล่าว และให้ดำเนินการ () () แก้ไขอาคาร (ชั้นดาดฟ้า) ส่วนที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตขนาดประมาณ ๓.๕๐x๑๔.๐๐x.๓๐ เมตร () แก้ไขส่วนที่ดัดแปลงอาคาร (ปลายกันสาด) โดยไม่ได้รับอนุญาตขนาดประมาณ ๐.๗๐x๑๕.๕๐x.๐๐ เมตร () ต้องมีที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุมทางเดินหลังกว้างไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร ภายใน ๓๐ วันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนี้ () ยื่นคำขอใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ ภายใน ๓๐ วัน นับแต่วันพ้นกำหนดตาม () ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๓๘/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าอาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับเลขหมายประจำบ้านเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ใช้บังคับ ประกอบกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหลักฐานยืนยันว่า การดัดแปลงอาคารในส่วนที่ทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร ได้ทำการดัดแปลงหลังจากมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ แล้วหรือไม่ และผู้ฟ้องคดีทั้งสองก็ได้ชี้แจงว่าอาคารได้มีการดัดแปลงทับที่ว่างทางเดินหลังอาคารตั้งแต่ได้ทำการซื้อมาแล้ว ดังนั้น การดัดแปลงอาคารในส่วนนี้ จึงต้องนำพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ มาใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้การออกคำสั่งใดๆ จะต้องออกแก่ผู้ปลูกสร้างอาคารเท่านั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองมิใช่ผู้ปลูกสร้าง การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองระงับดัดแปลงอาคารและห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนที่ดัดแปลงบริเวณทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการรื้อถอนปลายกันสาดอาคารออกไปแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาในส่วนนี้ ส่วนกรณีการดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้า เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการดัดแปลงหลังจากที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นการดัดแปลงอาคารภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ใช้บังคับแล้ว เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคาร ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ บนชั้นดาดฟ้าของอาคารดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่สั่งให้ดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร ค... บนชั้นดาดฟ้านั้น เห็นว่า ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๑๗ กำหนดว่า อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ หากมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้... () ไม่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก ดังนั้น เมื่ออาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่มีที่ว่างทางเดินหลังอาคาร ซึ่งเป็นการขัดต่อเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น อาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่สามารถยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงให้ถูกต้องได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารบนชั้นดาดฟ้าของอาคารดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นต้องออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารเฉพาะส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดัดแปลงบนชั้นดาดฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตออกไปเท่านั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๐ และคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๑ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร เฉพาะส่วนที่ดัดแปลงทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร นอกจากนี้ให้ยกอุทธรณ์ และให้เพิกถอนคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่ให้ดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ กรณีที่ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองทำการรื้อถอนอาคารเฉพาะส่วนที่ดัดแปลงชั้นดาดฟ้า ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากอาคารตึกแถวดังกล่าวเดิมเป็นอาคารติดกัน ๒ คูหา โดยติดกับอาคารเลขที่ ๒๒๐ ซึ่งอาคารทั้งสองคูหาชั้นดาดฟ้าจะเป็นที่โล่งตลอดทั้งสองคูหา ไม่มีการกั้นเขตพื้นที่เป็นสัดส่วนถาวร เมื่อผู้ฟ้องคดีได้ซื้อมาเพียงคูหาเดียว จึงต้องดำเนินการแบ่งเขตพื้นที่เป็นสัดส่วนถาวรของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง เพื่อมิให้บุคคลอื่นบุกรุกเข้ามารบกวนสิทธิ หรือลักทรัพย์สินได้ การต่อเติมดัดแปลงอาคารส่วนบนชั้นดาดฟ้าได้กระทำเพียงเพื่อเป็นการกั้นแบ่งเขตเท่านั้น โดยมิได้เป็นการต่อเติมเพิ่มชั้นแต่ประการใด จึงไม่เป็นการผิดพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ หรือหากเป็นการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ก็เป็นภาระจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกระทำเพื่อมิให้บุคคลอื่นบุกรุกหรือเข้ามาในอาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ขอให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งดังต่อไปนี้
. เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสาม ที่ให้รื้อถอนอาคารเฉพาะส่วนบนชั้นดาดฟ้าของอาคารเลขที่ ๒๑๘
. อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการขออนุญาตดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมบนชั้นดาดฟ้าอาคารเลขที่ ๒๑๘ ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้
           ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การว่า อาคารตึกแถวเลขที่ ๒๑๘ ถนนพระสุเมรุ แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ซื้อจากกรมบังคับคดีเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๔๖ นางสายพิณ เลี้ยงองอาจ เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ตรวจพบว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการดัดแปลงอาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ได้มีคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๐ เลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๑ และเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองระงับการดัดแปลงอาคาร ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคาร ให้ดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร () ชนิดตึก ค... (ชั้นดาดฟ้า) ขนาดประมาณ .๕๐x๑๔.๐๐x.๓๐ เมตร () ผนัง ค... (ปลายกันสาด) ประมาณ ๐.๗๐x๑๕.๕๐x.๐๐ เมตร () อาคาร ค... (ปิดทางเดินหลัง) ประมาณ ๒.๐๐x.๕๐x๑๒.๔๐ เมตร ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้อุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า คำสั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคาร คำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร หรือบริเวณอาคารและคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขอาคารและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารในส่วนที่ดัดแปลงปิดทางเดินหลังอาคารไม่ชอบ เนื่องจากอาคารได้ทำการก่อสร้างประมาณปี พ.. ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นเวลาที่พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดไว้ว่าในการออกคำสั่งดังกล่าวต้องออกกับผู้ปลูกสร้างเท่านั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่ใช่ผู้ปลูกสร้าง คำสั่งที่ออกแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงให้เพิกถอนคำสั่งในส่วนนี้ ส่วนคำสั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคาร คำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณที่ดัดแปลงบนชั้นดาดฟ้าของอาคารนั้นปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ยอมรับว่าได้ทำการดัดแปลงหลังจากได้ซื้อมาจากกรมบังคับคดี และได้ทำการดัดแปลงโดยไม่ได้รับใบอนุญาต คำสั่งในส่วนนี้ชอบแล้วจึงให้ยกอุทธรณ์คำสั่งในส่วนนี้ ส่วนการที่ให้ดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารนั้นปรากฏว่า อาคารของผู้ฟ้องคดีไม่มีที่ว่างทางเดินหลังอาคารเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ ที่ใช้บังคับในขณะนั้น ไม่สามารถยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารได้ตามข้อ ๑๑๗ ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ จึงมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๓๘/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ เพิกถอนคำสั่งในส่วนนี้และให้ออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารให้ถูกต้องต่อไป


ผู้ฟ้องคดีทั้งสองคัดค้านคำให้การว่า ผู้ฟ้องคดีได้กระทำการตั้งเสา กั้นผนัง ก่ออิฐ ฉาบปูน มุงหลังคา ทำการกั้นห้อง ขึ้นมาใหม่บนชั้นดาดฟ้าของอาคารเดิมนั้น เนื่องจากอาคารที่ประมูลซื้อมานั้น บนชั้นดาดฟ้ามิได้แบ่งเป็นสัดส่วนหรือแบ่งแยกอาณาเขตในระหว่างอาคารที่มีพื้นที่ติดต่อกันอย่างแจ้งชัด จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดำเนินการแบ่งเขตกั้นพื้นที่บนชั้นดาดฟ้าให้เป็นสัดส่วนถาวร พร้อมทั้งได้ทำหลังคาปกคลุมพื้นที่ไม่ให้น้ำไหลเข้ามาในอาคารและไม่ให้ผู้ใดบุกรุกเข้ามาในอาคาร เพราะพื้นที่เป็นที่โล่ง หากไม่ทำหลังคาปกคลุม จะทำให้บุคคลภายนอกเข้ามาหรือน้ำไหลเข้าภายในอาคารได้ จึงเป็นการทำหลังคาปกคลุมเท่านั้น ไม่ได้กั้นหรือทำเป็นห้องพักแต่อย่างใด การกระทำดังกล่าวจึงมิได้เป็นการดัดแปลงอาคารขึ้นใหม่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามให้การเพิ่มเติมโดยยืนยันตามคำให้การลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๗ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ก่อสร้างโดยการตั้งเสากั้นผนังก่ออิฐ ฉาบปูน มุงหลังคา ทำการกั้นห้องขึ้นมาใหม่บนชั้นดาดฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่มหรือขยาย ซึ่งลักษณะของเขต แบบรูปทรง สัดส่วนน้ำหนัก ของโครงสร้างอาคาร ซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม จึงเป็นการดัดแปลงอาคาร ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ แม้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวจะไม่ได้ให้ความหมายของโครงสร้างอาคารไว้ แต่เมื่อพิเคราะห์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายประกอบกับความหมายทางวิศวกรรมก่อสร้างแล้ว โครงสร้างอาคารหมายความถึงส่วนประกอบที่สำคัญของอาคาร ได้แก่ ฐานราก เช่น คานคอดิน ต่อม่อเสา หรือส่วนกลางของอาคาร เช่น คาน พื้น หรือส่วนบนของอาคาร เช่น โครงหลังคา หลังคา เป็นต้น ดังนั้น ดาดฟ้าจึงเป็นโครงสร้างส่วนบนของอาคาร การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดัดแปลงโครงสร้างส่วนบนของอาคารดังกล่าวโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ อีกทั้งการดัดแปลงดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลดหรือการขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบรูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ ที่ข้อ ๑ () ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (.. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ที่กำหนดให้ถือว่าไม่เป็นการดัดแปลงอาคาร เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ตรวจพบว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสองดัดแปลงอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ จึงมีอำนาจที่จะสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารระงับการดัดแปลงอาคาร และมีอำนาจสั่งห้ามมิให้บุคคลใดใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณที่มีการดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตได้ ตามมาตรา ๔๐ () และ () แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ออกคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๐ และเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๑ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ สั่งให้ผู้ฟ้องทั้งสองระงับการก่อสร้าง ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารชนิดตึก ค..ชั้นดาดฟ้า จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๓๘/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ในส่วนที่ยกอุทธรณ์คำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๐ และเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๑ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองระงับการก่อสร้าง ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารชนิดตึก ค... ชั้นดาดฟ้า จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย กรณีจึงมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยต่อไปว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๓๘/๒๕๔๗ ลงวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๔๗ ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้า และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งรื้อถอนให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป เป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า ข้อ ๑๑๗ ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ บัญญัติว่า อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ หากมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ภายใต้เงื่อนไขดังนี้ () ... () ไม่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก และข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ กำหนดว่าให้ห้องแถว ตึกแถวอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะต้องมีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคารเพื่อใช้เป็นทางคมนาคมได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า อาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นอาคารพาณิชย์ก่อสร้างประมาณปี พ.. ๒๕๑๑ ซึ่งอยู่ภายใต้บังคับของเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ และเมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับว่าได้ดัดแปลงอาคารบนชั้นดาดฟ้า หลังจากได้ซื้ออาคารดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดเมื่อปี พ.. ๒๕๔๕ ซึ่งการดัดแปลงดังกล่าวจะต้องอยู่ในบังคับของเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ ข้อ ๘ วรรคหนึ่ง และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๑๗ ดังนั้น เมื่อตามแบบแปลนของอาคารตามเอกสารท้ายคำให้การเห็นได้ชัดว่า ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดัดแปลงอาคาร โดยต่อเติมอาคารปกคลุมด้านหลังอาคารทั้งหมดทำให้พื้นที่ด้านหลังอาคารพาณิชย์มีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคารน้อยกว่า ๒.๐๐ เมตร ซึ่งขัดต่อข้อ ๘ วรรคหนึ่ง ของเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ ผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่อาจที่จะขออนุญาตดัดแปลงอาคารด้านหลังได้ จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องดำเนินการสั่งให้รื้อถอน ตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. ๒๕๒๒ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ ๓๘/๒๕๔๗ ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ และสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งรื้อถอนให้ถูกต้องต่อไปเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วศาลปกครองชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง
            ผู้ฟ้องคดีทั้งสองอุทธรณ์ว่า อาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ซื้อมาจากการประมูลขายทรัพย์ทอดตลาดจากกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ แล้วจึงมาดำเนินการตั้งเสา ก่ออิฐ ฉาบปูน เพื่อแบ่งกั้นอาณาเขตถาวร เพราะพื้นที่บนชั้นดาดฟ้า เป็นพื้นที่ว่างติดกันสองอาคาร ไม่มีการแบ่งเขตพื้นที่อาคารออกจากกันเป็นสัดส่วน เนื่องจากเดิมอาคารทั้งสองเป็นของเจ้าของเดียวกัน ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ซื้อและโอนมาแล้ว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการกั้นอาณาเขตแบ่งสัดส่วนของอาคารให้แจ้งชัด เพื่อป้องกันทรัพย์สินและมิให้บุคคลอื่นเข้ามาในอาคารของผู้ฟ้องคดีได้ โดยการกระทำดังกล่าวจึงต้องก่อสร้างเป็นโครงเหล็ก และมุงหลังคา เพื่อกันน้ำเข้าอาคาร ซึ่งมีพื้นที่กว้าง ๓.๕๐ เมตร ความยาว ๑๔.๐๐ เมตร ความสูง ๔.๓๐ เมตร ซึ่งเดิมที่ด้านข้างโดยรอบก็ทำเป็นผนังเหล็กกั้นและมุงหลังคา ซึ่งผู้ฟ้องคดีได้มาตบแต่งก่อสร้างเพิ่มเติมบางส่วนเท่านั้น เช่น ก่ออิฐ ฉาบปูน เฉพาะด้านต่อเชื่อมติดกับบ้านบุคคลอื่น โดยก่ออิฐ ฉาบปูน เพียงด้านเดียวเพื่อแบ่งเขตกันถาวร ส่วนด้านหน้าเป็นดาดฟ้าโล่งไม่ได้ก่ออิฐแบ่งกั้นห้อง สำหรับด้านข้างอีกด้านหนึ่งได้เปลี่ยนจากเหล็กดัดมาเป็นกระจกใสของอลูมิเนียม ซึ่งมีน้ำหนักเบาจากของเดิม เป็นการลดน้ำหนักของอาคารและเพื่อความปลอดภัยกรณีเกิดเพลิงไหม้ ส่วนด้านหลังมิได้ต่อเติมใดๆ เลย และเปลี่ยนโครงหลังคาเป็นโครงเหล็ก ตัว C ชนิดบาง การดัดแปลงอาคารดังกล่าวจึงมีน้ำหนักไม่เกินร้อยละสิบของโครงสร้าง ซึ่งเป็นไปตามข้อ ๑ () ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (.. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ จึงไม่ถือว่าเป็นการดัดแปลงอาคารหากการกระทำของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง ถือว่าเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคาร แต่การดัดแปลงต่อเติมอาคารดังกล่าวก็ไม่เป็นการผิดหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นได้กำหนดไว้ ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิยื่นขอใบอนุญาตเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อเติมอาคารชั้นดาดฟ้า และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีอำนาจออกใบอนุญาตดัดแปลงอาคารส่วนนี้ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ ตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ เพื่อให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขยื่นคำขอใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าอันเป็นการกระทำผิดที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่วินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้า ที่ดัดแปลงโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งรื้อถอนอาคารจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้ศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น และพิพากษาตามคำขอท้ายฟ้องของผู้ฟ้องคดีด้วยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามแก้อุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองว่า การที่ผู้ฟ้องคดีได้ทำการก่อผนัง ตั้งเสา มุงหลังคา ทำการกั้นห้องขึ้นมาใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเติมเพิ่ม และขยายแบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก และเนื้อที่ของอาคาร ซึ่งได้ทำการก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม หาใช่เป็นการกระทำเพียงเพื่อกั้นอาณาเขตแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ในตัวอาคารแต่อย่างใด และเมื่ออาคารของผู้ฟ้องคดีได้รับเลขหมายประจำบ้านเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๑ เป็นเวลาที่เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ มีผลใช้บังคับ ซึ่งเทศบัญญัติดังกล่าวกำหนดว่า ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะ ต้องมีที่ว่างทางเดินหลังอาคารเพื่อให้เป็นทางคมนาคมได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า .๐๐ เมตร เมื่ออาคารของผู้ฟ้องคดีไม่มีที่ว่างทางเดินหลังอาคาร จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าว และเมื่อตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร .. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๑๗ กำหนดว่า อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างก่อนข้อบัญญัตินี้ใช้บังคับ หากมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ ... () ไม่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับใบอนุญาตครั้งแรก เมื่ออาคารของผู้ฟ้องคดีก่อสร้างโดยขัดต่อเทศบัญญัติในขณะนั้น จึงไม่สามารถขออนุญาตดัดแปลงอาคารได้ตามข้อกำหนดดังกล่าว จึงต้องรื้อถอนออกไปเท่านั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ศาลปกครองสูงสุดออกนั่งพิจารณาคดี โดยได้รับฟังสรุปข้อเท็จจริงของตุลาการเจ้าของสำนวน และคำชี้แจงด้วยวาจาประกอบคำแถลงการณ์ของตุลาการผู้แถลงคดีศาลปกครองสูงสุดได้ตรวจพิจารณาเอกสารทั้งหมดในสำนวนคดี กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องประกอบแล้วข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์และผู้ครอบครองอาคารพาณิชย์ เลขที่ ๒๑๘ ถนนพระสุเมรุ แขวงตลาดยอด เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยซื้อมาจากการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี และได้จดทะเบียนโอนเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๔๕ ผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการตั้งเสา กั้นผนังก่ออิฐฉาบปูน มุงหลังคา ทำการกั้นห้องขึ้นมาใหม่บนชั้นดาดฟ้าของอาคาร และก่อผนังคอนกรีตเสริมเหล็กบนปลายกันสาดอาคารชั้นที่ ๓ ต่อมาเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ได้ตรวจพบว่าผู้ฟ้องคดีได้ทำการดัดแปลงอาคาร โดยไม่ได้รับอนุญาต ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ปฏิบัติราชการแทนผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร .. ๒๕๒๒ ได้มีคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๐ เลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๑ และเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ สั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองระงับการดัดแปลงอาคาร ห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารหรือบริเวณอาคารในส่วนที่ดัดแปลง และให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ ดังนี้ () ชนิดตึก ค... (ชั้นดาดฟ้า) ขนาดประมาณ ๓.๕๐x๑๔.๐๐x.๓๐ เมตร () ชนิดอาคาร ค... (ปลายกันสาด) ขนาดประมาณ ๐.๗๐x๑๕.๕๐x.๐๐ เมตร () ชนิดอาคาร ค... (ปิดทางเดินหลัง) ขนาดประมาณ ๒.๐๐x.๕๐x๑๒.๔๐ เมตร โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา ๔๐ () () () และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) .. ๒๕๓๕ ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าอาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับเลขหมายประจำบ้านเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ใช้บังคับ ประกอบกับเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่มีหลักฐานยืนยันว่า การดัดแปลงอาคารในส่วนที่ทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร ได้ทำการดัดแปลงหลังจากมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ แล้วหรือไม่ และผู้ฟ้องคดีทั้งสองก็ได้ชี้แจงว่าอาคารได้มีการดัดแปลงทับที่ว่างทางเดินหลังอาคารตั้งแต่ได้ทำการซื้อมาแล้ว ดังนั้น การดัดแปลงอาคารในส่วนนี้ จึงต้องนำพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช ๒๔๗๙ มาใช้บังคับ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้การออกคำสั่งใดๆ จะต้องออกแก่ผู้ปลูกสร้างอาคารเท่านั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองมิใช่ผู้ปลูกสร้าง การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองระงับการดัดแปลงอาคารและห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนบริเวณที่ดัดแปลงบริเวณทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อ
ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการรื้อถอนปลายกันสาดอาคารออกไปแล้ว จึงไม่จำต้องพิจารณาในส่วนนี้ ส่วนกรณีการดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้า เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการดัดแปลงหลังจากที่ซื้อมาจากการขายทอดตลาดจากกรมบังคับคดี เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ ซึ่งเป็นการดัดแปลงอาคารภายหลังพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ใช้บังคับแล้ว เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาต
เจ้าพนักงานท้องถิ่นย่อมมีอำนาจออกคำสั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคาร ห้ามใช้หรือเข้าไป
ในส่วนใดๆ บนชั้นดาดฟ้าของอาคารดังกล่าวได้ ส่วนคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่สั่งให้ดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร ค... บนชั้นดาดฟ้านั้น เห็นว่า ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๑๗ กำหนดว่า อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ หากมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้... () ไม่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก ดังนั้น การที่อาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่มีที่ว่างทางเดินหลังอาคาร จึงเป็นการขัดต่อเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น อาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่สามารถยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงให้ถูกต้องได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารบนชั้นดาดฟ้าของอาคารดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าพนักงานส่วนท้องถิ่นต้องออกคำสั่ง
ให้รื้อถอนอาคารเฉพาะส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดัดแปลงบนชั้นดาดฟ้าโดยไม่ได้รับอนุญาตออกไปเท่านั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๐ และคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๑ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่สั่งให้ระงับการดัดแปลงอาคารและคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคาร เฉพาะส่วนที่ดัดแปลงทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร นอกจากนี้ให้ยกอุทธรณ์ และให้เพิกถอนคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่ให้ดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอใบอนุญาตดัดแปลงอาคาร และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารให้ถูกต้องตามกฎหมายต่อไป ผู้ฟ้องคดีทั้งสองเห็นว่า คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามดังกล่าวในส่วนที่ให้รื้อถอนอาคารบนชั้นดาดฟ้าไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล
ศาลปกครองสูงสุดพิเคราะห์แล้วเห็นว่า คดีมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาและวินิจฉัยพร้อมด้วยเหตุผลในการวินิจฉัยในประเด็นต่างๆ ตามคำอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดี ดังนี้
ประเด็นที่หนึ่ง การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองต่อเติมอาคารชั้นดาดฟ้าเป็นการดัดแปลงอาคารซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ หรือไม่
เห็นว่า ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ กำหนดให้ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ และตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้างต้น ได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า ดัดแปลง หมายความว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างอาคาร หรือส่วนต่างๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้ว ให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (.. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ กำหนดให้ การกระทำดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร คือ () ... () การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบรูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า อาคารพิพาทเป็นอาคารตึกแถวสี่ชั้น ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ต่อเติมชั้นดาดฟ้าของอาคาร ซึ่งชั้นดาดฟ้าของอาคารตึกแถวเป็นพื้นที่ส่วนบนสุดของอาคารที่ไม่มีหลังคาปกคลุมและบุคคลขึ้นไปใช้สอยได้ ดาดฟ้าจึงถือเป็นโครงสร้างส่วนบนของอาคารที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของโครงสร้างอาคาร เมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ทำการตั้งเสา ก่ออิฐ ฉาบปูน กั้นพนัง และทำหลังคา มีขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สูง ๔.๓๐ เมตร จึงถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเติมซึ่งลักษณะของโครงสร้างอาคาร ที่ได้ก่อสร้างไว้แล้วให้ผิดไปจากเดิม จึงเป็นการดัดแปลงอาคารตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ แล้ว และเมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการต่อเติมเปลี่ยนแปลงชั้นดาดฟ้าของอาคารดังกล่าวเป็นการเปลี่ยนแปลงต่อเติมลักษณะของโครงสร้างอาคาร กรณีจึงไม่เข้าข้อกำหนดตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (.. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ () ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสองอ้างแต่อย่างใด การต่อเติมอาคารชั้นดาดฟ้าของผู้ฟ้องคดีทั้งสอง จึงเป็นการดัดแปลงอาคาร ซึ่งต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติข้างต้น คำอุทธรณ์ในข้อนี้ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองฟังไม่ขึ้น
ประเด็นที่สอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้า และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง (ชั้นดาดฟ้า) ให้ถูกต้อง นั้น ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เห็นว่า ตามมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ กำหนดให้ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการ ดังนี้ () ... () พิจารณามีคำสั่งตามมาตรา ๔๑ หรือมาตรา ๔๒ แล้วแต่กรณี และมาตรา ๔๑ แห่งพระราชบัญญัติข้างต้นกำหนดให้ ถ้าการกระทำตามมาตรา ๔๐ เป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตหรือดำเนินการแจ้งตามมาตรา ๓๙ ทวิ หรือดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติข้างต้น กำหนดให้ ถ้าการกระทำตามมาตรา ๔๐ เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือเจ้าของอาคารมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา ๔๑ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ผู้ควบคุมงาน หรือผู้ดำเนินการ รื้อถอนอาคารนั้นทั้งหมดหรือบางส่วนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดแต่ต้องไม่น้อยกว่าสามสิบวัน และตามข้อ ๑๑๗ ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ กำหนดให้ อาคารที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลบังคับใช้ หากมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้ () ... () ไม่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก และตามข้อ ๘ ของเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ กำหนดให้ ห้องแถว ตึกแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะ ต้องมีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคาร เพื่อใช้เป็นทางคมนาคมได้ถึงกัน กว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร ทั้งนี้ ให้กันเขตบริเวณทางเดินดังกล่าวนี้ให้ปรากฏ เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวแล้ว เห็นได้ว่า มาตรา ๔๐ () แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ให้อำนาจพิจารณาแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารในส่วนที่ดัดแปลงเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้หรือไม่ หากเห็นว่าการดัดแปลงอาคารนั้น เป็นกรณีสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ต้องมีคำสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารและดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง ตามมาตรา ๔๑ แต่หากการดัดแปลงอาคารนั้น เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ก็ต้องมีคำสั่งให้เจ้าของอาคารรื้อถอนอาคารส่วนที่ดัดแปลง ตามมาตรา ๔๒ ซึ่งกฎหมายควบคุมอาคารในส่วนนี้มีวัตถุประสงค์ในการควบคุมตรวจสอบการดัดแปลงอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อให้อาคารมีความมั่นคงแข็งแรงทำให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้อยู่อาศัยและชุมชน รวมถึงการป้องกันอัคคีภัย สาธารณสุข รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม การอำนวยความสะดวกแก่จราจร ส่วนการบังคับให้ต้องขออนุญาตดัดแปลงเป็นเพียงวิธีการดำเนินการตามกฎหมายมิใช่วัตถุประสงค์หลักโดยตรง จึงมิใช่เจตนารมณ์ของกฎหมายว่าหากไม่ขออนุญาตก็ต้องสั่งให้รื้อถอน โดยไม่คำนึงว่าการดัดแปลงอาคารนั้นถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎกระทรวง ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับในขณะนั้นหรือไม่ ดังนั้น หากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าในส่วนของอาคารที่ดัดแปลงมีลักษณะถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายแล้ว ก็ชอบที่จะมีคำสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขออนุญาต หรือหากเห็นว่าในส่วนของอาคารที่ดัดแปลงมีลักษณะไม่ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมายแต่เป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ชอบจะมีคำสั่งให้เจ้าของอาคารดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องไปพร้อมกันได้ ส่วนข้อบัญญัติตามข้อ ๑๑๗ ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ นั้นก็เป็นการที่กฎหมายบัญญัติให้อาคารที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างก่อนที่ข้อบัญญัติดังกล่าวมีผลบังคับใช้ หากมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ กล่าวคือ อาคารในส่วนที่ขออนุญาตดัดแปลงจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องตกอยู่ในข้อกำหนดต่างๆ ตามที่ข้อบัญญัตินี้กำหนด เช่น ข้อกำหนดเรื่องลักษณะของอาคาร แนวอาคารและระยะต่างๆ เป็นต้น แต่หากอาคารในส่วนที่ขออนุญาตดัดแปลงนั้น ขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างแล้ว ก็จะไม่ได้รับการยกเว้น กล่าวคือ การดัดแปลงอาคารก็ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ โดยไม่อาจตีความไปถึงว่า อาคารที่มีการก่อสร้างขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง นั้น เมื่อต่อมามีการดัดแปลงอาคารไม่อาจยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงอาคารได้ หรือหากการดัดแปลงอาคารดังกล่าวขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะได้รับอนุญาตก่อสร้างแล้ว อาคารในส่วนที่ดัดแปลงโดยมิได้ขออนุญาตต้องดำเนินการรื้อถอนเพียงอย่างเดียวไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่จำต้องพิจารณาตามมาตรา ๔๐ () แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ประกอบกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น ที่ใช้บังคับในขณะดัดแปลงอาคารนั้นแต่อย่างใด คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า อาคารตึกแถวของผู้ฟ้องคดีทั้งสองก่อสร้างประมาณปี พ.. ๒๕๑๑ แต่เดิมอาคารดังกล่าว มีขนาดกว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๑๔.๐๐ เมตร ซึ่งเป็นขนาดเนื้อที่ที่ไม่มีที่ว่างกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร เป็นทางเดินหลังอาคาร ตามข้อ ๘ ของเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ ต่อมาเมื่อผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ซื้ออาคารตึกแถวจากการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๔๕ จึงได้ทำการดัดแปลงชั้นดาดฟ้าของอาคาร ขนาดประมาณ กว้าง ๓.๕๐ เมตร ยาว ๑๔.๐๐ เมตร โดยมีขนาดเนื้อที่ความยาวเกือบเท่ากับอาคารตึกแถวทั้งหลัง อาคารชั้นดาดฟ้าที่ดัดแปลงจึงเป็นส่วนหนึ่งในการทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร ซึ่งขัดต่อข้อ ๘ ของเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ จึงไม่อาจอ้างที่จะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ ได้ การดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงต้องอยู่ในบังคับต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ ซึ่งตามข้อ ๕๒ () ของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ กำหนดให้ตึกแถวต้องมีที่ว่างด้านหลังอาคารกว้างไม่น้อยกว่า ๓ เมตร เมื่อพิจารณาการดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าดังกล่าวของผู้ฟ้องคดีทั้งสองแล้วเห็นได้ว่าสามารถแบ่งแยกออกเป็นสองส่วนได้ ส่วนแรกได้แก่ กรณีที่มีการดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าส่วนหลังอาคารทับที่ว่างทางเดินหลังอาคาร ขนาดความกว้าง ๓.๕๐ เมตร ความยาว ๓.๐๐ เมตร ความสูง ๔.๓๐ เมตร เป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ประกอบข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้ การดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าส่วนที่สองได้แก่ การดัดแปลงอาคารส่วนหน้าอาคารขนาดความกว้าง ๓.๕๐ เมตร ความยาว ๑๑.๐๐ เมตร ความสูง ๔.๓๐ เมตร หากผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้า เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาแล้วเห็นว่าการดัดแปลงดังกล่าวไม่ฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ย่อมมีอำนาจออกใบอนุญาตดัดแปลงอาคารส่วนนี้ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ มีคำสั่งเลขที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าในส่วนของอาคารที่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ แล้ว ส่วนการมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าในส่วนของอาคารที่ไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว แต่การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้เพิกถอนคำสั่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ และให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งให้รื้อถอนอาคารชั้นดาดฟ้า โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ วินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีทั้งสองว่าอาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองได้รับเลขหมายประจำบ้านเมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๑๑ ซึ่งเป็นเวลาที่เทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๙๑ มีผลใช้บังคับ ซึ่งข้อ ๘ ของเทศบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ตึกแถวต้องมีที่ว่างเป็นทางเดินหลังอาคารเพื่อใช้เป็นทางคมนาคมได้ถึงกันกว้างไม่น้อยกว่า ๒ เมตร เมื่ออาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่มีที่ว่างทางเดินหลังอาคารและเป็นอาคาร
ที่ก่อสร้างมาก่อนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ใช้บังคับและมีการกระทำฝ่าฝืนต่อเทศบัญญัติที่ใช้บังคับในขณะนั้น จะขออนุญาตดัดแปลงไม่ได้เพราะข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ ข้อ ๑๑๗ กำหนดว่า อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างก่อนข้อบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ หากมีการขออนุญาตดัดแปลงอาคารจะได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบัญญัตินี้ ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้... () ไม่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ได้รับอนุญาตครั้งแรก การที่อาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองไม่มีที่ว่างทางเดินหลังอาคาร จึงเป็นการขัดต่อเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น อาคารของผู้ฟ้องคดีทั้งสองจึงไม่สามารถยื่นคำขออนุญาตดัดแปลงให้ถูกต้องได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ จึงได้ใช้อำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา ๕๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ สั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองรื้อถอนอาคารชั้นดาดฟ้าที่ดัดแปลง โดยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มิได้พิจารณาว่าอาคารชั้นดาดฟ้าที่ดัดแปลงของผู้ฟ้องคดีทั้งสองสามารถดัดแปลงให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๔๔ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องหรือไม่ หรือเป็นกรณีไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ ตามมาตรา ๔๐ () มาตรา ๔๑ และมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ มีคำวินิจฉัยให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าที่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นและให้ออกคำสั่งรื้อถอนอาคารดังกล่าวนั้น เห็นว่า คำวินิจฉัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งรื้อถอนอาคารชั้นดาดฟ้าที่ดัดแปลงในส่วนด้านหน้าของอาคารชั้นดาดฟ้า ขนาดความกว้าง ๓.๕๐ เมตร ความยาว ๑๑.๐๐ เมตร ความสูง ๔.๓๐ เมตร ซึ่งเป็นกรณีที่อาจสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้ หากการดัดแปลงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร กฎกระทรวง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ที่ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ในประเด็นนี้ ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงพิพากษายกฟ้อง นั้น ศาลปกครองสูงสุดไม่เห็นพ้องด้วยพิพากษาแก้คำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ให้เพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ที่ กท ๙๐๐๑/๖๐๗๒ ลงวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๔๖ ที่สั่งให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองแก้ไขเปลี่ยนแปลงและยื่นคำขอรับใบอนุญาตดัดแปลงอาคารชั้นดาดฟ้า เฉพาะในส่วนด้านหน้าของอาคารชั้นดาดฟ้า ขนาดความกว้าง ๓.๕๐ เมตร ความยาว ๑๑.๐๐ เมตร ความสูง ๔.๓๐ เมตร และเพิกถอนคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ ที่ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ออกคำสั่งรื้อถอนอาคารชั้นดาดฟ้าที่ดัดแปลง เฉพาะในส่วนด้านหน้าของอาคารชั้นดาดฟ้า ขนาดความกว้าง ๓.๕๐ เมตร ความยาว ๑๑.๐๐ เมตร ความสูง ๔.๓๐ เมตร นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ฟ้องคดีทั้งสองดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอาคารชั้นดาดฟ้าที่ดัดแปลงให้ถูกต้องและยื่นคำขอใบอนุญาตดัดแปลงอาคารหรือดำเนินการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และเพื่อให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ พิจารณาดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. ๒๕๒๒ ต่อไป

นายวรวิทย์ กังศศิเทียม ตุลาการเจ้าของสำนวน

ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด
ประธานศาลปกครองสูงสุด

นายไพบูลย์ เสียงก้อง ตุลาการองค์คณะ
ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองสูงสุด

นายนพดล เฮงเจริญ
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด

นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด
ตุลาการผู้แถลงคดี : นายไชยเดช ตันติเวสส


1 ความคิดเห็น:

  1. ในคดีนี้ศาลได้วินิจฉัยหลักการที่สำคัญสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวินิจฉัยของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารได้ ในเรื่องที่เกี่ยวกับ การดัดแปลงอาคาร ไว้ ดังนี้

    ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ กำหนดให้ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ต้องได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น และดำเนินการตามมาตรา ๓๙ ทวิ และตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติข้างต้น ได้ให้บทนิยามอธิบายความหมายของคำว่า ดัดแปลง หมายความว่า เปลี่ยนแปลง ต่อเติม เพิ่ม ลด หรือขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบ รูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ ของโครงสร้างอาคาร หรือส่วนต่างๆ ของอาคารซึ่งได้ก่อสร้างไว้แล้ว ให้ผิดไปจากเดิม และมิใช่การซ่อมแซมหรือดัดแปลงที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๒๒ ข้อ ๑ กำหนดให้ การกระทำดังต่อไปนี้ไม่ถือเป็นการดัดแปลงอาคาร คือ (๑) ... (๓) การเปลี่ยนแปลง การต่อเติม การเพิ่ม การลด หรือการขยาย ซึ่งลักษณะขอบเขต แบบรูปทรง สัดส่วน น้ำหนัก เนื้อที่ของส่วนต่างๆ ของอาคารที่ไม่เป็นโครงสร้างของอาคาร ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างของอาคารเดิมส่วนหนึ่งส่วนใดเกินร้อยละสิบ

    ตอบลบ