วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อปท.ชัยภูมิยกระดับชุมชนสร้างรายได้ อบรมเข้มเสริมอาชีพให้คนด้อยโอกาส

อปท.ชัยภูมิยกระดับชุมชนสร้างรายได้ อบรมเข้มเสริมอาชีพให้คนด้อยโอกาส
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย)  ฉบับวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐

          วิรัตน์ ดวงแก้ว/สมศักดิ์ ชุ่มหมื่นไวย์
          บ้านเต่า มาจากคำว่า กุด หรือ เกาะ ซึ่งลักษณะภูมิประเทศบ้านเต่ามีลักษณะคล้ายเต่า และมีเต่ามากมายมาจากกุดในช่วงวันพระ และวันสำคัญทางศาสนาทุกครั้ง จึงเรียกว่า "หมู่บ้านเต่า" ส่วนมากเป็นคนพื้นบ้านที่มาจากจังหวัดอุบลราชธานี หรือที่ชาวบ้านเรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า ลาวอุบล ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ ต.บ้านเต่า อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ มีประชากร 9,427 คน ส่วนใหญ่กว่า 90% ยึดอาชีพเกษตรกรรม โดยการปลูกอ้อย และทำนา หลังจากที่ว่างจากการทำการเกษตรก็จะไม่ค่อยมีรายได้เสริม เพราะในการทำการเกษตรของชาวบ้านจะมีรายได้ก็หนึ่งปีถึงจะได้เก็บผลผลิตครั้งหนึ่ง ซึ่งปีไหนฝนดีผลผลิตก็จะดีแต่ถ้าว่าปีไหนฝนไม่ดีชาวบ้านก็จะเป็นหนี้เป็นสินเนื่องจากการกู้ยืมเงินมาลงทุนทำการเกษตร
          อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการสร้างโอกาส สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านในพื้นที่แต่เนื่องจากด้วยงบประมาณที่จำกัดและมีกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากทำให้การดำเนินการเป็นไปได้ยากไม่ได้รับผล
          สำเร็จตามที่คาดหวัง นายวิทวัส สิมมา เทศบาลตำบลบ้านเต่า จึงได้จับมือกับศูนย์คนไร้ที่พึ่งชัยภูมิเพื่อเป็นการยกระดับการเรียนรู้สู่ชุมชนให้คนด้อยโอกาสได้สร้างอาชีพเสริมตามหลักแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักสูตรทำได้ "อยู่ได้ ชีวิตยั่งยืน" ได้มากขึ้น โดยศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.ชัยภูมิ จัดโครงการสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ยกตำบลบ้านเต่า อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ นำร่องต้นแบบ เปิด "หลักสูตร ทำได้ อยู่ได้ ชีวิตยั่งยืน" ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพิ่มโอกาสส่งเสริมทางการศึกษาภูมิปัญญาคนในชุมชนให้เกิด อาชีพที่ยั่งยืนกับผู้ด้อยโอกาสในสังคมให้มากขึ้น
          ด้าน น.ส.มณีวรรรณ วรรณภักดิ์ ผอ.ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.ชัยภูมิ กล่าวว่า โครงการสร้างภูมิคุ้ม กันแก่กลุ่มเสี่ยงเพื่อป้องกันการถูกล่อลวง หลักสูตร ทำได้ อยู่ได้ ชีวิตยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2560 ทางศูนย์คุ้มครองฯ ได้จัดอบรมทำไข่เค็ม ทำเครื่องจักสาน และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
          โดยมีทีมวิทยากรที่  ชำนาญด้านการทำอาชีพต่าง ๆ พร้อมกับนำผู้เข้าอบรมลง พื้นที่ศึกษาดูงานจากเกษตรกรตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการทำอาชีพเสริมด้านต่าง ๆ เป็นจำนวน 4 วัน ให้แก่ชาวบ้านที่ได้ผ่านการคัดกรองจากท้องถิ่นซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงทั้งหมดจำนวน 25 ราย โดยผู้ที่ผ่านการอบรมจะได้รับเงินทุนประกอบอาชีพรายละ 3,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 75,000 บาทนำไปเป็นทุนในการสร้างอาชีพเสริมสร้างรายได้เข้าครอบครัวในระหว่างที่รอเก็บเกี่ยวผลผลิต
          ขณะที่ นายหา บุตรตั้ว อายุ 87 ปี ชาวบ้าน ต.บ้านเต่า หนึ่งในผู้เข้าการอบรม ซึ่งมีอาชีพจักสานลอบดักปลามากว่า 40 ปี ได้กล่าวว่า ตนเองรู้สึกดีใจที่เทศบาลตำบลบ้านเต่า และศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง จ.ชัยภูมิ ได้นำโครงการดี ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน มาช่วยเหลือชาวบ้านและจะนำเงินทุนที่ทางหน่วยงานสมทบมาให้จำนวน 3,000 บาทนี้ไปต่อยอดทำทุนในการประกอบอาชีพจักสานที่ตนเองมีความถนัดและชำนาญมากว่า 40 ปี พัฒนาให้มีความโดดเด่นในเรื่องสีสันลวด ลายต่าง ๆ ให้สะดุดตาคนซื้อ เพื่อสร้างเสริมเป็นอาชีพให้กับตนเองและครอบครัวต่อไปในอนาคตได้
          สำหรับกิจ กรรมดังกล่าวทางเทศ บาลจะเปิดอบรมให้กับเกษตรกรที่ว่างงานอีกต่อไปเป็นรุ่น ๆ เพื่อที่จะให้เกษตรกรมีรายได้สร้างเสริมเป็นอาชีพให้กับตนเองและครอบครัวซึ่งในอนาคตจะเป็นการป้องกันไม่ให้ถูกหลอกหรือล่อลวงไปทำงานต่างถิ่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น