คสช.ล็อกเป้า เลือกตั้งท้องถิ่น จัดทัพหวังผลชนะสนามใหญ่ |
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ |
เมื่อตารางการเมืองถูกกำหนดไว้คร่าว ๆ ว่าจะมีการเลือกตั้งทั่วไปในปลายปี 2561 หรือไม่ก็กินเวลาไปต้นปี 2562 รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นผู้บัญชาการ จึงมีแผนที่จะ "ปลดล็อก" ให้เลือกตั้ง ท้องถิ่นก่อนที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไป "วิษณุ เครืองาม" รองนายกรัฐมนตรี หัวหน้าฝ่ายกฎหมายรัฐบาล ระบุว่า เลือกตั้งท้องถิ่นมีหลายระดับ ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลเมือง เทศบาลนคร เทศบาลตำบล และเขตปกครองรูปแบบ พิเศษกรุงเทพมหานคร และเมือง พัทยา ซึ่ง คสช.กำลังพิจารณาเลือกตั้ง บางระดับ ขณะเดียวกัน "วิษณุ" รายงานต่อคณะรัฐมนตรีว่า การเลือกตั้งท้องถิ่น ต้องมีการดำเนินการ 3 ขั้นตอน คือ 1.ตรวจสอบกฎหมาย 2.คสช.ต้อง ตัดสินใจว่าจะจัดเลือกตั้งท้องถิ่นระดับ ใดบ้าง และ 3.การปลดล็อกทางการเมืองเนื่องจากขณะนี้การล็อกการเมืองท้องถิ่น กับระดับชาติเป็นล็อกเดียว มีทั้งประกาศ คสช.ที่ 57/2557 และคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558 ตรงนี้เป็นเรื่องของ คสช. ดังนั้น ล็อกของการเลือกตั้งท้องถิ่นขณะนี้จึงมีอยู่ 3 ล็อกสำคัญ หนึ่ง แก้กฎหมายการเลือกตั้งท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญใหม่ 6 ฉบับ สอง การตัดสินใจของ คสช.ว่าจะให้จัดเลือกตั้งได้เมื่อไร และสาม การปลดล็อกทางการเมืองแต่ล็อกที่สำคัญคือ ล็อกที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย ที่ขณะนี้ยังมีปัญหาสำคัญอยู่ที่ "อำนาจในการจัดเลือกตั้งท้องถิ่น" ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เขียนคำร้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ไม่เกิน 2 สัปดาห์นี้ "ศุภชัย สมเจริญ" ประธาน กกต. ระบุว่า ตามรัฐธรรมนูญให้ กกต.เป็นผู้จัดการ เลือกตั้งท้องถิ่น แต่ใน พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. มาตรา 27 บัญญัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นผู้จัด โดย กกต.เป็นคนควบคุมให้การเลือกตั้งสุจริตและเที่ยงธรรม ซึ่ง กกต.เห็นว่ากฎหมายยังขัดแย้งกันอยู่ ถ้าไม่แก้อาจจะทำให้การเลือกตั้งท้องถิ่น เป็น "โมฆะ" แต่ในมุมผู้กุมอำนาจ การเลือกตั้งท้องถิ่นต้องเดินหน้า ด้วยเหตุผลเพราะทั้งกลไกเศรษฐกิจ และกลไกการเมือง ในทางเศรษฐกิจปี 2561 มีการตั้งเป้าจากทีมเศรษฐกิจว่า จะใช้กลไกท้องถิ่นขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล เตรียมปลดล็อกงบฯท้องถิ่น 2 แสนล้าน ให้ไปทำโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ ในทางการเมือง เป็นการ "วางคน- กลไก" ในระดับท้องถิ่น เพื่อหวังผลถึงการเลือกตั้งระดับชาติ สอดรับกระแสข่าว คสช.เตรียมตั้งพรรคนอมินี "ทหาร" ขึ้นมา การวิเคราะห์สถานการณ์การเมือง ท้องถิ่นเกิดขึ้นตามยุทธวิธีทหาร ว่า ตลอดเวลาเกือบ 4 ปีที่ คสช.บริหารประเทศ ได้ "กดปุ่ม" เม็ดเงินลงท้องถิ่น หลายแสนล้านบาท ผ่านสารพัดโครงการ ทั้งเงินตำบลละ 5 ล้านบาท หมู่บ้านละ 2 แสนบาท บวกงบฯท้องถิ่น 2 แสนล้านบาท ที่งบฯจะลงท่อในปี 2561 "ทำให้ คสช.สามารถเคลียร์กลุ่ม ผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นออกจากการเมืองท้องถิ่นได้ และดูแลประชาชนผ่านกลไกประชารัฐ เช่น โครงการบัตรผู้มีรายได้น้อย เชื่อว่าชาวบ้านจะไม่เลือกนักการเมือง แบบเก่า" แหล่งข่าวจากรัฐบาลระบุ จึงมีข่าวว่า "บิ๊กป๊อก" ปิดประตู ขันนอตผู้บริหารมหาดไทยยาวหลายชั่วโมง เพื่อหาข้อสรุปเรื่องการแก้กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่น เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ยาวนาน ไม่เลิก ไม่กลับ ก่อนจะนำเสนอผลสรุปไปเสนอในที่ประชุมร่วม 3 หน่วยงาน กระทรวง มหาดไทย ที่มี พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นเจ้ากระทรวงคณะกรรมการ ร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และคณะกรรมการกฤษฎีกา มาหารือเรื่องการแก้กฎหมายท้องถิ่น อีกทั้งได้ตั้ง "สุทธิพงษ์ จุลเจริญ" มือประสานสิบทิศ ที่นักการเมืองทุกค่าย รู้จักอย่างดี ไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น (สถ.) ไว้เดินเกม การเลือกตั้ง หากวัดระดับความจริงจัง... การเลือกตั้งท้องถิ่น 6 ระดับที่มีสมาชิกกว่า 8,410 อัตรา ไม่ปล่อยให้หลุดมือ |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
คสช.ล็อกเป้า เลือกตั้งท้องถิ่น จัดทัพหวังผลชนะสนามใหญ่
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น