เลื่อนไปบังคับใช้ในปี’62
หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันศุกร์ ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560, 06.00 น.
เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2560 นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลังได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมเพื่อมอบนโยบายให้ กรมธนารักษ์นายวิสุทธิ์กล่าวระหว่างการเดินทางไปตรวจเยี่ยมว่าที่ประชุม
คณะกรรมาธิการสามัญ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)
อยู่ระหว่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างวาระ
2 ทั้งนี้ คาดว่าในชั้นกรรมาธิการจะใช้เวลาพิจารณาร่าง พ.ร.บ.
ภาษีที่ดินอีกประมาณ 45 วัน จึงจะสามารถเสนอเข้าสู่วาระ 3
และเสนอให้สภาเห็นชอบร่างพ.ร.บ. นี้ได้ คาดว่ามีผลบังคับใช้ในปี 2562
ซึ่งในส่วนของกรมธนารักษ์
ได้เตรียมความพร้อมเรื่องการทยอยทำราคาประเมินที่ดินทั้งประเทศไปได้กว่า
18.6 ล้านแปลง หรือคิดเป็น 60 % ของเป้าหมาย
คาดว่าจะสามารถประเมินราคาที่ดินได้ครบทั้งประเทศภายในปี 2560 นี้
“ในชั้นกรรมาธิการ มีการเสนอว่าระยะแรกควรเก็บภาษีไม่ต้องเต็มเพดาน เช่น บ้านราคา 20 - 30 ล้านบาทอาจให้เสียภาษีน้อยลงหน่อยอาจเหลือแค่หลักพันบาทต่อไป เพื่อดึงคนเข้าสู่ระบบภาษี ได้อย่างเต็มใจเพราะการจ่ายภาษีก็ไม่ได้สร้างภาระอะไร ซึ่งเดิมมีการศึกษาว่า บ้านรวมที่ดินราคาเกิน 50ล้านบาท จะมีคนต้องเสียภาษี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2 หมื่นราย แต่หากลดเพดานมาได้เชื่อว่าน่าจะมีคนที่เข้าสู่ระบบภาษีได้มากอีกกว่าเป็นเท่าตัว”
นายวิสุทธิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์ ทำการสำรวจที่ราชพัสดุตามแนวรถไฟความเร็วสูง และจุดตัดทำสถานีว่ามีพื้นที่ในการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับความเจริญที่จะเข้ามาตามแนวรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นอีกหลายเส้นทางหรือไม่ รวมถึงการสำรวจที่ราชพัสดุเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี อีกด้วย
สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามร่างที่กระทรวงการคลังเสนอไปมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรมีเพดานภาษีสูงสุด 0.2% และให้ยกเว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่ดินมูลค่า 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ให้เก็บ 0.10%
2 เป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัยเพดานภาษี 0.5%เว้นภาษีบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05%และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10% สำหรับบ้านหลังที่ 2 มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.03% บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10%
3 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ กำหนดเพดานภาษีไม่เกิน 2%โดยมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท เสียภาษี 0.3% มูลค่า 20-50 ล้านบาท เสีย 0.5% มูลค่า 50-100 ล้านบาท เสีย 0.7% มูลค่า 100-1,000 ล้านบาท เสีย 0.9% มูลค่า 1,000-3,000 ล้านบาท เสีย 1.2% และมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท เสีย 1.5%
4 ที่ดินว่างเปล่า กำหนดเพดานไม่เกิน 2% หากไม่ใช้ประโยชน์จะเก็บเพิ่มขึ้น 0.5% ทุกๆ 3 ปี แต่สุดท้ายต้องไม่เกิน 5%
“ในชั้นกรรมาธิการ มีการเสนอว่าระยะแรกควรเก็บภาษีไม่ต้องเต็มเพดาน เช่น บ้านราคา 20 - 30 ล้านบาทอาจให้เสียภาษีน้อยลงหน่อยอาจเหลือแค่หลักพันบาทต่อไป เพื่อดึงคนเข้าสู่ระบบภาษี ได้อย่างเต็มใจเพราะการจ่ายภาษีก็ไม่ได้สร้างภาระอะไร ซึ่งเดิมมีการศึกษาว่า บ้านรวมที่ดินราคาเกิน 50ล้านบาท จะมีคนต้องเสียภาษี ซึ่งมีอยู่ประมาณ 2 หมื่นราย แต่หากลดเพดานมาได้เชื่อว่าน่าจะมีคนที่เข้าสู่ระบบภาษีได้มากอีกกว่าเป็นเท่าตัว”
นายวิสุทธิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้มอบหมายให้กรมธนารักษ์ ทำการสำรวจที่ราชพัสดุตามแนวรถไฟความเร็วสูง และจุดตัดทำสถานีว่ามีพื้นที่ในการพัฒนาเมืองเพื่อรองรับความเจริญที่จะเข้ามาตามแนวรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นอีกหลายเส้นทางหรือไม่ รวมถึงการสำรวจที่ราชพัสดุเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี อีกด้วย
สำหรับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตามร่างที่กระทรวงการคลังเสนอไปมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่
1. ที่ดินเพื่อการเกษตรมีเพดานภาษีสูงสุด 0.2% และให้ยกเว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่ดินมูลค่า 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท ให้เก็บ 0.10%
2 เป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัยเพดานภาษี 0.5%เว้นภาษีบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05%และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10% สำหรับบ้านหลังที่ 2 มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.03% บ้าน 50-100 ล้านบาท ให้เก็บภาษี 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10%
3 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ กำหนดเพดานภาษีไม่เกิน 2%โดยมูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท เสียภาษี 0.3% มูลค่า 20-50 ล้านบาท เสีย 0.5% มูลค่า 50-100 ล้านบาท เสีย 0.7% มูลค่า 100-1,000 ล้านบาท เสีย 0.9% มูลค่า 1,000-3,000 ล้านบาท เสีย 1.2% และมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท เสีย 1.5%
4 ที่ดินว่างเปล่า กำหนดเพดานไม่เกิน 2% หากไม่ใช้ประโยชน์จะเก็บเพิ่มขึ้น 0.5% ทุกๆ 3 ปี แต่สุดท้ายต้องไม่เกิน 5%
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น