โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๖๐ |
โพสต์ทูเดย์ - คลังรอ สนช.คลอดภาษีที่ดินฯ วอนหากปรับเกณฑ์มูลค่าบ้านใหม่ ก็ควรปรับที่ดินทุกประเภท นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กรรมาธิการสามัญสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยังอยู่ระหว่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง วาระ 2 ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปการยกเว้น จัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัยว่ามูลค่าไม่ควรเกินเท่าไหร่ จากร่างกฎหมายเดิมที่เสนอให้ยกเว้นที่อยู่อาศัยมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เนื่องจากมีบางคนไม่เห็นด้วย เพราะเป็นการยกเว้นที่มีมูลค่าสูงมากเกินไป "กรรมาธิการมีความคิดเห็นในเรื่องนี้กันมาก ซึ่งคงไม่มีการลดลงไปมาก ถึงมูลค่า 2-3 ล้านบาท ส่วนจะลดเหลือเท่าไหร่ยังไม่ได้สรุป โดยกรรมาธิการได้ขยายเวลาออกไปอีก 60 วันเพื่อพิจารณา ซึ่งหากจะลดมูลค่าการยกเว้นภาษี ที่ดินเพื่ออยู่อาศัย ก็ต้องไปพิจารณาลดที่ดินเกษตรกรรม และภาษีที่ดิน ประเภทอื่นๆ ให้สอดคล้องกันด้วย ไม่ควรลดตัวใดตัวหนึ่งเพียงอย่างเดียว" นายวิสุทธิ์ กล่าว สำหรับอัตราเพดานภาษีที่ดินฯ ทั้ง 4 ประเภท ถือว่ามีความเหมาะสม มีการศึกษาอัตราจากหลายประเทศที่มีการจัดเก็บ ส่วนอัตราที่จัดเก็บจริงนั้นต้องพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้มีความเหมาะสม และทำให้การเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามร่างที่กระทรวงการคลังเสนอไปมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทที่ 1 ที่ดินเพื่อการเกษตร มีเพดานภาษี 0.2% และเว้นเก็บภาษีที่ดินมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนที่ดินมูลค่า 50-100 ล้านบาท เก็บ 0.05% และมูลค่าเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10% ประเภทที่ 2 เป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัย เพดานภาษี 0.5% เว้นภาษีบ้านหลังแรกมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท บ้าน 50-100 ล้านบาท เก็บ 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10% ส่วนบ้านหลังที่ 2 มูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท เก็บ 0.03% บ้าน 50-100 ล้านบาท เก็บ 0.05% และเกิน 100 ล้านบาท เก็บ 0.10% สำหรับประเภทที่ 3 ที่ดินเพื่อการพาณิชย์ กำหนดเพดานภาษีไม่เกิน 2% มูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท เก็บ 0.3% มูลค่า 20-50 ล้านบาท เก็บ 0.5% มูลค่า 50-100 ล้านบาท เก็บ 0.7% มูลค่า 100-1,000 ล้านบาท เก็บ 0.9% มูลค่า 1,000-3,000 ล้านบาท เก็บ 1.2% และมูลค่ามากกว่า 3,000 ล้านบาท เก็บ 1.5% และประเภทที่ 4 ที่ดินว่างเปล่า กำหนดเพดานไม่เกิน 2% หากไม่ใช้ประโยชน์จะเก็บเพิ่มขึ้น 0.5% ทุกๆ 3 ปี แต่สุดท้ายต้องไม่เกิน 5% นายวิสุทธิ์ กล่าวว่า กรณีที่เอกชนตั้งบริษัทมาเพื่อโอนที่ดินจากบุคคลธรรมดาเข้ามานิติบุคคล เพื่อเลี่ยง ภาษีที่ดินฯ ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากกรมสรรพากรกำหนดไว้ชัดเจนว่า การตั้งบริษัทต้องมีธุรกิจที่ดำเนินการอยู่แล้ว และที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่โอนเข้ามาต้องมีความเกี่ยวโยงกับการทำธุรกิจดังกล่าว หากโอนที่ดินเข้ามานิติบุคคลโดยไม่มีอะไรรองรับ ในอนาคตอาจจะโดนกรมสรรพากรเก็บภาษีย้อนหลังได้ แหล่งข่าวจากสำนักงานกฎหมาย เปิดเผยว่า การตั้งบริษัทนิติบุคคลเพื่อโอนที่ดินจากบุคคลธรรมดามาไว้ในบริษัทเป็นการเลี่ยงภาษีเงินได้ ไม่ใช่เลี่ยงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560
คลังยืนเกณฑ์เก็บภาษีที่ดิน ลุ้นสนช.พิจารณาเคาะราคาบ้านใหม่ แนะหากปรับเกณฑ์ใหม่ควรปรับทุกประเภท
คลังยืนเกณฑ์เก็บภาษีที่ดิน ลุ้นสนช.พิจารณาเคาะราคาบ้านใหม่ แนะหากปรับเกณฑ์ใหม่ควรปรับทุกประเภท
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น