วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2559

'อบต.'วอนเปิดเวทีทุกอำเภอ จัดรับฟังความเห็น'ควบรวม'อปท. แจงข้อดีข้อเสีย-4,000แห่งเข้าเกณฑ์

'อบต.'วอนเปิดเวทีทุกอำเภอ จัดรับฟังความเห็น'ควบรวม'อปท. แจงข้อดีข้อเสีย-4,000แห่งเข้าเกณฑ์  

มติชน ฉบับวันที่ ๑๔ กัรยายน ๒๕๕๙

          นาย นพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะทำงานของสมาคมมีการเสนอความเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองท้องถิ่น ที่มีสาระสำคัญอาจกระทบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และการบริการประชาชน โดยมติสมาคมเสนอให้รัฐบาลเปิดเวทีทุกอำเภอ เพื่อรับฟังความเห็นประชาชนกรณีการควบรวม อปท. เพื่อเป็นข้อมูลให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติจัดทำร่างกฎหมาย
          "ได้ ทำข้อเสนอ 5 ประเด็นตามร่าง พ.ร.บ.ประมวลกฎหมาย อปท. ที่ สปท.มีมติเห็นชอบ และทำข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คือ

1.สปท.จัดทำข้อเสนอ โดยขาดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในภาพกว้าง เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นในการควบรวม อปท. ทำให้ประชาชนจำนวนมากไม่ทราบผลดีผลเสียของการควบรวม

2.มีมติให้ควบรวม อปท.เข้ากับเทศบาลตำบลเดิม โดยกำหนดให้เขตจัดตั้ง 1 ตำบล 1 ท้องถิ่น

3.ที่มาของสมาชิกสภาเทศบาลตำบล ควรมาจากตัวแทนระดับหมู่บ้าน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในระบบตัวแทนภาคประชาชน

4.ไม่ควรกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น เนื่องจากทำให้การพัฒนาไม่ต่อเนื่อง และ

5.กรณี อปท.มีสถานภาพเป็นนิติบุคคล ไม่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ขอให้กำหนดองค์กรที่มีสำนักงานกระจายอำนาจฯ และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเดิม ร่วมกันจัดให้เป็นองค์กรขึ้นมาทำหน้าที่กำหนดแนวทางการออกระเบียบ การปฏิบัติหน้าที่ให้ อปท. ภายใต้แนวทางการกระจายอำนาจ ให้อำนาจในการกำหนดโครงสร้าง, บริหารงานบุคลากรท้องถิ่น และวางแนวทางงบประมาณและกำกับดูแล" นายนพดลกล่าว และว่า

          การ ควบรวม อปท.ในอนาคตอาจส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำและการเข้าถึงของประชาชน โดยมี อปท.ที่เข้าหลักเกณฑ์การควบรวมไม่น้อยกว่า 4,000 แห่ง สำหรับที่มาระบบตัวแทน ให้เลือกตั้งโดยตรงมาจากเขตละ 3 คน มีเกณฑ์จำนวนประชากรกำหนด การดำรงตำแหน่งไม่เกิน 2 วาระ แต่เดิม พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ร.บ.เทศบาล และ พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด ไม่กำหนดวาระผู้บริหาร เห็นว่าแตกต่างจากผู้บริหารระดับประเทศ เนื่องจากการทำหน้าที่ของบริหารท้องถิ่นเป็นพื้นที่ขนาดเล็ก ประชาชนจะรู้พฤติกรรม ข้อดี ข้อเสีย จะทำให้ประชาชนเลือกผู้บริหาร ท้องถิ่นได้อย่างถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น