วันพุธที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

'ดีเบต'ยกปมท้องถิ่น-รธน.ชัดนักวิชาการแย้งอย่าหวังกม.ลูก

'ดีเบต'ยกปมท้องถิ่น-รธน.ชัดนักวิชาการแย้งอย่าหวังกม.ลูก 

มติชน ฉบับวันที่ ๒๗ กรกฏาคม ๒๕๕๙

          เมื่อ วันที่ 26 กรกฎาคม กกต.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส เผยแพร่การดีเบต สาระสำคัญร่างรัฐธรรมนูญ ผ่านรายการ "สาระประชามติ" ตอนที่ 2 กระจายอำนาจในร่างรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องของ "การปกครองส่วนท้องถิ่น" ซึ่งอยู่ในหมวด 14 ของร่างรัฐธรรมนูญ จำนวน 6 มาตรา ตั้งแต่มาตรา 249-254 โดยฝ่ายสนับสนุนมี นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทยและอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และนายวิทยา แก้วภราดัย สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ส่วนฝ่ายไม่เห็นด้วย มีนายชำนาญ จันทร์เรือง แกนนำเครือข่ายจังหวัดจัดการตนเอง และนักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน และนายวิจารณ์ กุลชนะรัตน์ นายกสมาคมข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
          นาย พงศ์โพยมกล่าวว่า การที่รัฐธรรมนูญไม่ว่าจะปี 2540 หรือ 2550 ไม่มีกฎหมายมา รองรับเรื่องการบริหารด้านท้องถิ่นจะโทษตัวรัฐธรรมนูญไม่ได้ ต้องโทษฝ่ายรัฐบาลที่ไม่ออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลูกเกี่ยวกับ ท้องถิ่นให้ชัดเจน ทุกเรื่องที่เป็นแนวทางปฏิบัติจะต้องออกมาเป็น พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยเรื่องท้องถิ่น ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กรธ.จะเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นกำหนดรูปแบบให้สอดคล้องกับสภาพของแต่ละท้องถิ่น ได้ ซึ่งมาตรา 253 ก็เขียนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นได้อยู่แล้ว อยู่ที่การออกกฎหมายลูกมารองรับ ส่วนมาตรา 250 เรื่องการจัดเก็บรายได้ ร่างรัฐธรรมนูญก็เขียนไว้ชัดเจนคือ รัฐต้องจัดระบบภาษีว่าภาษีชนิดใดจะเป็นของท้องถิ่น ปัจจุบันงบฯท้องถิ่นมีถึง 6 แสนกว่าล้านบาท ในมาตรา 250 วรรค 4 จะต้องออกกฎหมายลูกให้ชัดเจนต่อไป ทั้งนี้ ถ้ารัฐบาลไม่ทำรัฐธรรมนูญก็เปิดช่องให้ประชาชนไปฟ้องศาลรัฐธรรมนูญได้
          ด้าน นายวิทยากล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กรธ. ก็ไม่ได้เขียนให้ยุบหรือรวมการบริหารด้านท้องถิ่นใดๆ เลย การบริหารท้องถิ่นในรูปแบบ กทม. และเมืองพัทยาก็ยังอยู่ครบ ร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 6 มาตราเกี่ยวกับท้องถิ่นไม่ได้แตะต้อง แต่ที่เขียนไว้คือ เจตนารมณ์ของประชาชนว่าต้องการบริหารงานด้านท้องถิ่นอย่างไร ซึ่งในรัฐธรรมนูญปี 2540 ก็บัญญัติไว้ในแนวนโยบายแห่งรัฐ แต่รัฐบาลในช่วงนั้นกลับไม่ออกกฎหมายลูกให้เกิดความชัดเจน
          นาย ชำนาญกล่าวว่า หลักการของการปกครองท้องถิ่นมีหลายเรื่อง ทั้งเรื่องฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ต้องมีบุคลากร ต้องมีงบประมาณของตัวเอง ความสัมพันธ์กับท้องถิ่นกับราชการส่วนภูมิภาค ส่วนกลาง ความจริงจะเป็นไปในลักษณะกำกับดูแล แต่ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่จะมีการยกร่างขึ้นมานั้นทั้ง 10 ฉบับ ตามที่ กรธ.ชี้แจง กลับไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่อง ท้องถิ่นเลย ในเมื่อตัวแม่อย่างร่างรัฐธรรมนูญยังไม่เขียนให้ชัดแล้ว จะมีความหวังอย่างไรกับกฎหมายลูกที่ไม่รู้ว่าจะออกมาหรือไม่อย่างไร
          "การ ตีความมาตรา 249 ผมเห็นด้วยครึ่งเดียว คือการจัดตั้งองค์กรท้องถิ่นให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชน แต่การจัดตั้งต้องมาจากรัฐ แต่รัฐธรรมนูญ 2540 เขียนไว้ในแนวนโยบายของรัฐก็เขียนไว้ชัดเจน แต่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 กลับไม่มีบัญญัติไว้เลยในแนวนโยบายแห่งรัฐ ส่วนที่มาของผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา 252 ที่ระบุ ให้สมาชิกสภาท้องถิ่นมาจากความเห็นชอบของสภาท้องถิ่นได้ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ได้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากคนนอกได้ ถ้าจะตีความแบบนั้น หากมองในภาพรวมร่างรัฐธรรมนูญฉบับ กรธ.ผมมองว่าลดอำนาจของท้องถิ่นมากกว่ารัฐธรรมนูญ 2550" นายชำนาญกล่าว
          นาย วิจารณ์กล่าวว่า ทั้ง 6 มาตราในร่างรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น จะระบุไว้ในตอนท้ายแต่ละมาตราคือ เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ แต่ผู้ปฏิบัติยังสับสนว่าแนวทางปฏิบัติกฎหมายจะบัญญัติอย่างไร เพราะตั้งแต่รัฐธรรมนูญปี 2540 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งเรื่องกฎหมายการบริหารบุคคลจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีออกมา จึงกังวลว่ากฎหมายที่จะออกมาจะมีความชัดเจนตามเจตนารมณ์ของร่างรัฐธรรมนูญ ที่ออกมาหรือไม่ ซึ่งจริงๆ รัฐธรรมนูญอาจไม่ต้องเขียนให้ละเอียด แต่อยากให้บัญญัติให้เห็นถึงหลักการที่เกี่ยวข้อง เช่น การบริหารให้ยึดหลักคุณธรรม แต่ในทางปฏิบัติคนที่นำไปใช้ก็ยังมีปัญหาการตีความว่า หลักคุณธรรมคืออะไร จึงขอเสนอเรื่องการคัดเลือกผู้บริหารท้องถิ่นใน 2 ประเด็น คือ 1.การบริหารงานบุคคลของท้องถิ่น ต้องมีคณะกรรมการบริหารบุคคลเหมือนคณะกรรมการข้าราชการศาลยุติธรรม (กต.) ของศาลยุติธรรม 2.กำหนดให้คนที่มาเป็นผู้บริหารไม่มีอำนาจจัดซื้อจัดจ้างจะลดช่องว่างเรื่อง การทุจริตได้ ถ้าไม่ทำ 2 ประเด็นนี้ให้ชัดเจนก็จะเดินหน้าเรื่องการบริหารด้านท้องถิ่นให้มีธรรมาภิ บาลไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น