วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2559

คอลัมน์ สถานีพัฒนาสังคม: การดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย : ปัญหาและข้อเสนอแนะ

 
คอลัมน์ สถานีพัฒนาสังคม: การดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย : ปัญหาและข้อเสนอแนะ 
แนวหน้า  ฉบับวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๕๙


คณะ กรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ตระหนักถึงปัญหาการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยรวมถึงปัญหาของ ผู้สูงอายุด้านต่างๆ จึงมอบหมายให้คณะ อนุกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน และผู้สูงอายุ (ต่อมามีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมาธิการเพื่อพิจารณาด้านผู้สูงอายุโดยเฉพาะ คือคณะอนุกรรมา ธิการพิจารณาศึกษาการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ) ได้พิจารณาศึกษาประเด็นด้าน ผู้สูงอายุ และได้จัดทำรายงานเรื่อง"การสังเคราะห์การดูแลผู้สูงอายุในประเทศไทย : ปัญหาและ ข้อเสนอแนะ" เสนอต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
          ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูง อายุตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ และจะเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ โดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๖๔ จากสัดส่วนผู้สูงอายุ ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วส่งผลให้ลักษณะการพึ่งพิงทางเศรษฐกิจระหว่าง ประชากรวัยต่างๆ เปลี่ยนไป ซึ่งเดิมมีประชากรวัยเด็กที่ต้องพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานมากกว่าผู้สูงอายุ แต่ในอนาคตอันใกล้นี้จะมีผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงประชากรวัยแรงงานมากกว่า เด็ก รัฐบาลจึงต้องให้ความสำคัญของการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเตรียมความ พร้อมการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ และครอบคลุมทั่วถึงผู้สูงอายุทุกคนอย่างเป็นระบบจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
          ใน ขณะเดียวกัน การดูแลและพัฒนาผู้สูงอายุนั้น ประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องดำเนินการภายใต้ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุโดยครอบครัวและชุมชนเป็นหลักโดยเน้นการดูแลและพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ครอบคลุมอีกทั้งการจัดระบบการดูแลผู้สูงอายุภายใต้ ระบบการจัดสวัสดิการของรัฐ อันเป็นการดำเนินการและจัดทำมาตรการในด้านต่างๆ โดยเฉพาะในด้านมาตรการทางการเงินและการคลัง ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมการแบบยั่งยืน โดยมีข้อเสนอแนะการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ดังนี้
          ๑.ข้อ เสนอแนะการทำงานระยะสั้น
๑.๑ การเพิ่มศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุ
          ๑.๑.๑ การเพิ่มจำนวนอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในชุมชนให้เพียงพอต่อจำนวนของผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุที่เป็น ผู้ป่วยติดเตียง อัตราส่วนผู้ดูแลผู้สูงอายุ ๑ คนต่อผู้สูงอายุที่เป็นผู้ป่วยหรือผู้พิการจำนวน ๕ คน ให้ครบทุกพื้นที่ภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสมโดยการเพิ่มจำนวนบุคลากรที่เป็น อาสาสมัครดูแล ผู้สูงอายุ อีกทั้งมีความร่วมมือกับสถาบันวิชาการเพื่อจัดการอบรมให้ความรู้กับอาสา สมัครดูแลผู้สูงอายุเพื่อให้มีความรู้เพียงพอต่อการทำงานเพื่อดูแลผู้สูง อายุในรูปแบบของผู้ให้การดูแล (Care Giver) บูรณาการ การทำงานร่วมกันระหว่างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน (อผส.) ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกรมส่ง เสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ภายใต้ การกำกับดูแลของกระทรวงสาธารณสุข ในการให้ความช่วยเหลือและการจัดการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มบทบาทการทำงานแบบมีส่วนร่วมของชุมชนและอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มระดับคุณค่าของผู้สูงอายุที่อยู่ใน สถานสงเคราะห์คนชราและศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ

        ๑.๑.๒ การเพิ่มศักยภาพและทักษะการดูแลให้กับผู้ดูแลผู้สูงอายุ เช่น การผลักดันการดำเนินงานโครงการอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ "เพื่อนช่วยเพื่อน" และโครงการอาสาสมัครเยาว์วัยใส่ใจผู้สูงอายุ (อผส.น้อย) ให้มีความต่อเนื่อง

        ๑.๑.๓ การเพิ่มขีดความสามารถให้กับชุมชนและเจ้าหน้าที่ในการบริหารจัดการโครงการ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้สูงอายุ โดยจัดระบบการสนับสนุนโดยรูปแบบของการมีส่วนร่วมของชุมชนอีกทั้งการจัดอบรม และจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จของการทำงานของแต่ละชุมชน โดยเสนอให้เริ่มต้นจากกรณีศึกษาตัวอย่างตามรายงานการศึกษาเป็นตัวอย่างนำ ร่องของการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

          ๑.๑.๔ การส่งเสริมการอนุรักษ์ภูมิปัญญา ผู้สูงอายุและภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมการมีรายได้เสริมให้แก่ผู้สูงอายุจากผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญา ผู้สูงอายุและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยรัฐต้องมีระบบการบริหารจัดการและกำหนด กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานให้ชัดเจน

          ๑.๒ งบประมาณ

๑.๒.๑ การจัดทำมาตรการเพื่อสนับสนุนด้านงบประมาณสำหรับเป็นค่าตอบแทนอาสาสมัครดูแล ผู้สูงอายุในชุมชน

          ๑.๒.๒ ระบบการสนับสนุนด้านงบประมาณจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการจัดทำกฎหมายระดับท้องถิ่นเพื่อรองรับการสนับสนุนด้านงบ ประมาณการดำเนินการการจัดกิจกรรมหรือโครงการในการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพ ชีวิตให้กับผู้สูงอายุในชุมชน

          ๑.๓ ระบบฐานข้อมูลสุขภาพของผู้สูงอายุการจัดทำระบบฐานข้อมูลสุขภาพของ ผู้สูงอายุในรูปแบบของระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เสนอให้ดำเนินการพัฒนาระบบฐานข้อมูลภาคประชาชนในการจัดเก็บข้อมูลด้านสุขภาพ ของผู้สูงอายุในชุมชนซึ่งมีการดำเนินการจัดเก็บข้อมูลโดยอาสาสมัครดูแลผู้ สูงอายุที่บ้าน (อผส.) และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยพัฒนาให้เป็นระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำไปใช้ในการสังเคราะห์และ จัดทำแผนการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของผู้ สูงอายุในแต่ละชุมชน

          ๑.๔ การวางแผนชีวิตภายหลังเกษียณอย่างเป็นระบบ
          การ รณรงค์และส่งเสริมประชาชนให้ความสำคัญกับการวางแผนชีวิตเพื่อเตรียมความ พร้อมก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุทั้งด้านการดูแลรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันไม่ให้ เป็นโรค การออม การลงทุน การมีรายได้เสริม การมีงานทำที่เหมาะสมภายหลังเกษียณอายุ และการมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อพึ่งตนเองในการใช้ชีวิตประจำวัน

          ๒. ข้อเสนอแนะการทำงานระยะกลาง

๒.๑ สร้างความตระหนักในคุณค่าของ ผู้สูงอายุ ความตระหนักในการดูแลตนเอง การให้ครอบครัว ตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ และชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุ โดยเสนอให้มีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรด้านสื่อสารสาธารณะ สื่อมวลชนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในระดับการดูแลโดยครอบครัวและการดูแลโดยชุมชน รวมทั้งการพัฒนาต่อยอดการทำงานคลังปัญญาผู้สูงอายุไทยให้เกิดผลลัพธ์ในเชิง รูปธรรม

          ๒.๒ การจัดทำแผนชุมชนในการดูแล ช่วยเหลือ และพัฒนาผู้สูงอายุแบบมีส่วนร่วม โดยเสนอ ให้จัดทำกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการจัดทำแผนชุมชนในการจัดการดูแลและ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรดำเนินการร่วมกับหน่วยงานหรือองค์กรที่มีการ ดำเนินการด้านการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในแต่ละชุมชน เช่น ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ โรงเรียนผู้สูงอายุ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ที่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ชมรม ผู้สูงอายุ สถาบันวิชาการในแต่ละชุมชน และโครงการคลังปัญญาผู้สูงอายุไทย

          ๒.๓ การจัดทำและเชื่อมต่อระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารจัดการ การประเมินผล และวางแผนในเชิงยุทธศาสตร์ โดยพัฒนาระบบฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลจากฐาน ข้อมูลภาครัฐและฐานข้อมูลภาคประชาชนด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ เช่น สุขภาพ สังคม รายได้ และการพัฒนาอาชีพและฝีมือแรงงานให้แก่ ผู้สูงอายุ โดยเฉพาะจากฐานข้อมูลการสำรวจของอาสาสมัคร ดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโดยดำเนินการร่วม กับ
(๑) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
(๒) สำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
(๓) กระทรวงสาธารณสุข และ
(๔) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        
         ๓.ข้อเสนอแนะการทำ งานระยะยาว

         ๓.๑ พัฒนาและกำหนดเกณฑ์การประเมินผลด้านการจัดการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูง อายุ โดยหน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบและหน่วยงานกลางอื่นๆ เช่น สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยใน พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
          โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการกำหนดมาตรการการประเมินผลการทำงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจโดยกำหนดตัว ชี้วัดการประเมินผลการทำงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่มีการสนับสนุนหรือส่ง เสริมการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมการพัฒนาหรือสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิต และอาชีพให้กับผู้สูงอายุในชุมชน เช่น การเพิ่มระดับการประกอบการเพื่อสังคมของสินค้าของผู้สูงอายุในชุมชน เป็นต้น

          ๓.๒ การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการบริหารจัดการโครงการและการ บริหารจัดการด้านการขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกองทุนผู้สูงอายุและ ความร่วมมือกับภาคเอกชนในฐานะหุ้นส่วนทางสังคมโดยเสนอให้มีการจัดทำกฎหมาย และมาตรการการสนับสนุนทั้งที่อยู่ในรูปแบบของการสนับสนุนด้วยเงินทุนและการ สนับสนุนโดยใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนในการสนับ สนุนด้านงบประมาณการดำเนินการในโครงการหรือกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ

          ๓.๓ การพัฒนากฎหมายระดับท้องถิ่นรองรับการดำเนินการในรูปแบบของโรงเรียนผู้สูง อายุ และการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความคล่องตัวในการดำเนินการการบริหารจัดการด้านงบ ประมาณโดยเฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินการของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริม อาชีพผู้สูงอายุ รวมทั้งโรงเรียนผู้สูงอายุ จึงขอเสนอดังนี้
 
         ๓.๓.๑ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ควรดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริม การปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.๒๕๔๖ เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ และโรงเรียนผู้สูงอายุ
 
         ๓.๓.๒ การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในส่วนของกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล โดยการกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่จัดระบบการบริการสาธารณะ การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ และสามารถจัดสรรงบประมาณของตนเองเพื่อดำเนินการ ดังกล่าวได้โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติเทศบัญญัติ ข้อกำหนด ระเบียบหรือประกาศ
          เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความชัดเจนของการดำเนินงานยิ่งขึ้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุการจัด สรรงบประมาณและการดำเนินงานด้านการบริการสาธารณะ การสังคมสงเคราะห์ รวมทั้งการสนับสนุนการจัดทำโครงการเพื่อ ผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

          ๓.๔ การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบการจัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ให้กับผู้สูง อายุในระยะยาวโดยเสนอให้มีการดำเนินการ ดังนี้

          ๓.๔.๑ ประเมินสถานการณ์ความพร้อมและความครอบคลุมในการจัดทำมาตรการดูแลและพัฒนา คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเพื่อประเมินถึงความสมดุลของมาตรการการจัดการดูแลและ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุโดยเสนอให้มีการดำเนินการร่วมกับสถาบัน วิจัยหรือสถาบันวิชาการในการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวเพื่อนำไปสู่การจัดทำ แผนการดำเนินการเพื่อการดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุและผู้ที่ กำลังจะเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอีกทั้งเสนอให้มีการดำเนินการร่วมกับกระทรวงแรง งานและกระทรวงการคลังในการดำเนินการเพื่อรองรับมาตรการการพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านเศรษฐกิจและรายได้ให้กับ ผู้สูงอายุ โดยจัดให้มีระบบสวัสดิการกึ่งสงเคราะห์หรือระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้าอย่าง ก้าวหน้า (Progressive Universalism) และจัดให้มีการพัฒนาอาชีพจากภูมิปัญญาของผู้สูงอายุในแต่ละท้องถิ่นเป็น สำคัญ
  
        ๓.๔.๒ ประเมินความพร้อมการจัดทำมาตรการเพื่อรองรับการปฏิรูประบบการดูแลผู้สูงอายุ ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นด้านที่อยู่อาศัย โดยเสนอให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการร่วมกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงสาธารณสุข และชมรมผู้สูงอายุ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเพิ่มระดับความสุขและคุณค่าชีวิตของผู้สูงอายุในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่อยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราและศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สวัสดิการทางสังคมรวมทั้งการจัดทำมาตรการเพื่อสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามี บทบาทดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราอีกทั้งสนับสนุนให้สถานสงเคราะห์คน ชราได้มีบทบาทในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนและให้ผู้สูงอายุในชุมชนได้มีส่วน ร่วมกับกิจกรรมของสถานสงเคราะห์คนชรา
   
       ๓.๔.๓ การเตรียมความพร้อมการเข้าถึงบริการสาธารณะ (Accessibility)

          ๓.๔.๔ การให้สวัสดิการบัตรเงินสดที่กำหนดวงเงินให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นการทดแทนการจ่ายสวัสดิการบางประการของรัฐให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น เพื่อการลดหย่อนค่าสินค้าอุปโภค-บริโภค เพื่อการใช้จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลในส่วนที่เกินสิทธิการรักษาพยาบาลขั้น พื้นฐานที่รัฐจัดให้แก่ประชาชนทั้งด้านสิทธิการรักษาตามหลักประกันสุขภาพแบบ ถ้วนหน้า สิทธิการรักษาของข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ สิทธิประกันสังคม เช่น ค่ายาที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ ค่าอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น ทั้งนี้ รัฐต้องให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการจัดระบบการให้สวัสดิการบัตรเงินสดและ มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

          ทั้งนี้ รายงานฉบับนี้ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบกับรายงานการพิจารณาศึกษา ของคณะกรรมาธิการและแจ้งไปยังคณะรัฐมนตรีต่อไป

          ร่วมแสดงความ คิดเห็นได้ที่คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โทร.๐๒-๘๓๑๙๒๒๕-๖  โทรสาร ๐๒-๘๓๑๙๒๒๖
        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น