วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556

“The Noise” เสียงนี้... ที่ไม่ต้องการ !!



The Noiseเสียงนี้... ที่ไม่ต้องการ !!

นานที...จะได้มีโอกาสดูรายการทีวีในวันหยุด... จึงกดรีโมทสำรวจช่องต่างๆ จนกระทั่งมาหยุดที่The Voice รายการประกวดร้องเพลงแนวใหม่ ซึ่งผมจำได้ว่าเคยดูรายการนี้เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน... กว่าจะได้มีโอกาสมาดูอีกครั้งก็เป็นรอบชิงชนะเลิศเลยครับระหว่างที่ผมนั่งดูไปเชียร์ไปอย่างสนุกสนาน อยู่ๆ ก็เกิดเสียงที่ไม่พึงปรารถนาดังขึ้นมาจากบ้านข้างๆ โครมคราม !! ปึงปัง !! แถมด้วยเสียงเจาะสว่าน และเสียงจากเครื่องเจียรไฟฟ้า ผมนั่งเอามือกุมขมับ... ทำไมต้องมารบกวนวันหยุดอันแสนมีความสุขของผมด้วย ?? เมื่อตั้งสติได้...ก็คิดได้ว่านานๆ ทีจะมีเสียงดังรบกวนแบบนี้  ไม่เป็นไรครับ จึงหยิบรีโมทมากด เพิ่มเสียง แล้วก็นั่งดูต่อจนจบรายการ... แม้ว่าความเพลิดเพลินจะลดลงไปบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ครับ

เสียงรบกวนเล็กๆ น้อยๆ บ้านใกล้เรือนเคียงก็ต้องมีกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา(ผมบ่นกับตัวเอง)
แล้วเสียงดังขนาดไหน จึงจะถือเป็น เสียงรบกวนที่เกินจะยอมรับได้ละ ?” (เสียงแทรกจากเพื่อนบ้านนามว่าโจอี้ที่มานั่งดูทีวีข้างๆ ผม ตั้งแต่เมื่อไรก็ไม่รู้ ! ถามขึ้นมา)ผมตกใจเล็กน้อย ก่อนจะเก็บอาการและตอบกลับไปว่า... เสียงดังที่จัดว่าเป็น เสียงรบกวนหรือ Noise” ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและจิตใจของผู้ได้ยินนั้น ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้กำหนดค่าระดับเสียงดังกล่าวเอาไว้ที่ 10 เดซิเบล เอ ดังนั้น หากเสียงดังที่เกินปกติหรือเสียงดังต่อเนื่องยาวนานจนก่อให้เกิดความรำคาญหรือก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยิน เช่น เสียงจากเครื่องจักร เครื่องยนต์การก่อสร้าง เครื่องขยายเสียง ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ เครื่องบิน ฯลฯ ซึ่งคำนวณได้ค่าเกินกว่า 10 เดซิเบล เอ ก็จะถือเป็น เสียงรบกวนและถือเป็นเหตุรำคาญตาม พ...การสาธารณสุข พ.. 2535 ซึ่งหน่วยงานผู้มีหน้าที่จะต้องเข้ามาควบคุมดูแลเพื่อระงับหรือป้องกันเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นดังกล่าว อาทิ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กองบังคับการตำรวจจราจร กรมการขนส่งทางบก กรมควบคุมมลพิษ หน่วยงานท้องถิ่นต่างๆเป็นต้น
โดยผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากเสียงรบกวนที่เกิดขึ้น สามารถนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองได้ด้วยการตั้งรูปคดีว่า หน่วยงานผู้มีหน้าที่ละเลยหรือล่าช้าไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ อันเป็นคดีปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่ง พ...จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.. 2542 และหากผลจากการละเลยหรือล่าช้าต่อหน้าที่ดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วย ผู้ฟ้องคดีก็อาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในกรณีละเมิด ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3)แห่ง พ...เดียวกัน ได้อีกด้วย

โดยในการวินิจฉัยคดีประเภทนี้ศาลจะพิจารณาให้ได้ความก่อนว่า เสียงดังที่เกิดขึ้น นั้น เข้าข่ายเป็นเสียงรบกวน ตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คือเกิน 10 เดซิเบล เอ หรือไม่ ? และหากเป็นกรณีเสียงดังที่เกินกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลก็จะพิจารณาต่อว่าหน่วยงานผู้มีหน้าที่ควบคุมดูแลในเรื่องนั้นๆได้ละเลยหรือล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ? (แล้วจึงจะพิจารณาต่อไปว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ? ในกรณีที่มีการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการละเลยหรือล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่มาด้วย)

เรื่องนี้ผมมีประสบการณ์ตรงจากเฮียสตางค์ เจ้าของกิจการห้องชุดให้เช่าซึ่งเป็นอาคารสูง 7 ชั้นที่เปิดกิจการมานานแล้ว แต่อยู่ๆ ก็มีคอนโดมิเนียมสูง 27 ชั้น ผุดขึ้น มาอยู่ข้างๆ ซึ่งนอกจากจะสร้างอาคารผิดแบบแล้ว ยังทำให้ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในอาคารของเฮียสตางค์ต้องทนรำคาญกับเสียงดังรบกวนที่เกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 แรงม้า และเสียงดังจากเครื่องปรับอากาศของคอนโดมิเนียมดังกล่าวด้วย เฮียสตางค์ได้เคยร้องเรียนเรื่องนี้ต่อสำนักงานเขตและกรุงเทพมหานครแล้ว แต่ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไข สุดท้ายจึงต้องนำเรื่องขึ้น สู่ศาลปกครอง

คดีนี้้... ศาลปกครองได้แต่งตั้ง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเสียงรบกวนที่เกิดขึ้น ซึ่งผลปรากฏว่า ระดับเสียงที่เกิดจากการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 300 แรงม้า ซึ่งตั้ง อยู่ในมุมตึกชั้น ล่างของคอนโดมิเนียม โดยผลจากการตรวจวัดที่อาคารของเฮียสตางค์ ณ บริเวณข้างสระว่ายน้ำ ได้ค่าระดับที่ 14.3 เดซิเบล เอ และบริเวณห้องนอนชั้น 1 ได้ค่าระดับที่ 16.5 เดซิเบล เอ ซึ่งอยู่ในระดับที่ถือเป็นเสียงรบกวนตามประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คือเกินกว่า 10 เดซิเบล เอ อันถือเป็นเหตุรำคาญตามกฎหมายสาธารณสุข ในส่วนของเสียงที่เกิดจากการทำงานของเครื่องปรับอากาศนั้น ผลจากการตรวจวัดในเวลากลางวัน ที่บริเวณชั้น 7 ได้ค่าระดับที่ 2.4-5.6 เดซิเบล เอ และในเวลากลางคืน ได้ค่าระดับที่ 4.4-9.1 เดซิเบล เอ ซึ่งยังไม่เข้าข่ายเป็นเสียงรบกวนตามกฎหมาย

โดย พ...การสาธารณสุข พ.. 2535 ได้กำหนดให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจในการห้ามและระงับหรือจัดการกับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้น ได้ ไม่ว่าจะเป็นเหตุรำคาญจากกลิ่น แสง เสียง ความร้อน หรือกรณีอื่นใด ที่ทำให้เสื่อมหรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล โดยในกรณีที่มีเหตุรำคาญเกิดขึ้นจากสถานที่เอกชนให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งให้เจ้าของอาคารระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควร และหากเจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นก็สามารถใช้อำนาจเข้าดำเนินการเพื่อระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้น ได้ โดยจัดการตามความจำเป็น และเจ้าของอาคารจะต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น จากการระงับเหตุรำคาญนั้น รวมทั้ง หากเหตุรำคาญดังกล่าวอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพหรือกระทบต่อความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับการดำรงชีพของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นสามารถออก
คำสั่งห้ามมิให้มีการใช้สถานที่นั้น ทั้ง หมดหรือบางส่วน จนกว่าจะได้มีการแก้ไขหรือระงับเหตุรำคาญนั้น แล้วก็ได้

ซึ่งข้อเท็จจริงในคดีนี้ สำนักงานเขตมิได้ใช้อำนาจดำเนินการตามที่กฎหมายดังกล่าวกำหนด ทั้ง ที่ได้มีการร้องเรียนถึงความเดือดร้อนตลอดมา กรณีจึงถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ซึ่งข้อโต้แย้งที่ว่าได้มีการออกคำสั่งให้เจ้าของคอนโดมิเนียมระมัดระวังมิให้เกิดเสียงรบกวนแล้วนั้นศาลเห็นว่ายังไม่เพียงพอที่จะระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้น ได้ เนื่องจากสำนักงานเขตยังมีอำนาจที่จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองเพิ่มขึ้น ในการเข้าไประงับเหตุรำคาญนอกเหนือจากการออกคำสั่งเพียงอย่างเดียว รวมทั้ง
อาจจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีเหตุรำคาญเกิดขึ้น ได้ แต่ก็มิได้มีการดำเนินการแต่อย่างใด...

จึงพิพากษาให้สำนักงานเขตและกรุงเทพมหานครดำเนินการให้คอนโดมิเนียมดังกล่าวระงับเหตุรำคาญอันเกิดจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้า รวมทั้งกำหนดวิธีการตามที่เห็นสมควรเพื่อป้องกันมิให้เกิดเสียงรบกวนจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดังกล่าวขึ้นอีก ทั้งนี้ภายใน 60 วัน (.24/2553)

นอกจากนี้ ...ได้มีกรณีผู้นำคดีมาฟ้องศาลปกครอง เนื่องจากทนเสียงดังรบกวนจากการเปิดให้บริการของสนามฟุตซอลที่อยู่หลังบ้านไม่ไหว ทั้ง เสียงจากเครื่องขยายเสียงและเสียงที่เกิดจากผู้เล่น ทั้ง ในช่วงเวลากลางวันไปจนถึงช่วงเวลากลางคืน แม้จะเป็นเวลาหลัง 21.00 . อันเป็นเวลาพักผ่อนแล้วก็ตามคดีนี้ศาลปกครองยังไม่ได้พิพากษาตัดสิน แต่ศาลได้กำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวโดยมีคำสั่งให้สนามฟุตซอลดังกล่าวเปิดให้บริการได้ถึงเวลา 21.00 .เท่านั้น จากแต่เดิมที่เคยเปิดบริการถึง 23.00 . ซึ่งเหตุผลของผู้ประกอบกิจการที่อ้างว่า ตนได้ลงทุนสร้างสนามด้วยจำนวนเงินสูงถึง 13 ล้านบาท โดยกู้เงินมาก่อสร้างและมีภาระที่ต้องผ่อนชำระกับธนาคารสูงถึงเดือนละ 120,000 บาท การต้องปิดสนามในเวลา 21.00 . ย่อมมีผลต่อรายรับของตนอย่างรุนแรงนั้น ศาลเห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นเรื่องของการลงทุนในการประกอบธุรกิจที่ผู้ลงทุนย่อมมีเสรีภาพและย่อมมีความเสี่ยงที่จะได้กำไรหรือขาดทุน อันเป็นเรื่องในทางธุรกิจ แต่ในการดำเนินกิจการนั้นจะต้องไม่เป็นการไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นที่จะดำรงอยู่อย่างปกติสุขด้วย... ข้ออ้างดังกล่าวจึงเป็นเหตุผลที่ศาลไม่อาจรับฟังได้...ผมว่า... ปัญหาต่างๆ จะไม่เกิดขึ้น ถ้าทุกฝ่ายเคารพและปฏิบัติตามกฎหมาย ทั้ง ฝ่ายเจ้าหน้าที่รัฐเองรวมทั้งผู้ประกอบกิจการต่างๆ ที่อย่านึกถึงแต่ประโยชน์ของตัวเองฝ่ายเดียว ควรนึกถึงใจเขาใจเราด้วย เพราะไม่มีใครที่อยากจะได้รับความเดือดร้อนรำคาญไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม โดยส่วนตัวผมถือคติที่ว่า ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัวฉะนั้น จงอย่าสร้างทุกข์ให้แก่ใครเลยครับ หากไม่อยากเดือดร้อนต้องมาแก้ปัญหาในภายหลัง...

จบเรื่องคดี... ผมกับพี่โจอี้ก็คุยกันต่อด้วยเรื่องกีฬา ดนตรี ไปจนถึงการเมือง สนทนากันอย่างถูกคอและมีอรรถรสจนถึงขนาดที่คนเดินผ่านไปผ่านมาต้องชะโงกหน้าเข้ามาดู... ผมสองคนหันมาสบตากัน ก็รู้ทันทีว่าสมควรแก่เวลาที่จะต้องแยกย้าย ไม่เช่นนั้น บ้านผมจะกลายเป็นแหล่งกำเนิดเสียงรบกวน (ชั่วคราว) ไปเสียเอง...
ว่าแล้วก็ออกไปขอโทษข้างบ้านเสียหน่อย... ซึ่งก็ได้รับคำตอบมาว่า เสียงรบกวนเล็กๆ น้อยๆ บ้านใกล้เรือนเคียงก็ต้องมีกันบ้างเป็นเรื่องธรรมดา...ผมเดินอมยิ้ม กลับเข้าบ้านด้วยรู้สึกว่าประโยคนี้คุ้นๆ แฮะ...

ครองธรรม ธรรมรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น