วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นายทะเบียนราษฎรรับรองข้อมูลไม่ถูกต้อง ... ต้องรับผิดหรือไม่ ?


นายทะเบียนราษฎรรับรองข้อมูลไม่ถูกต้อง ... ต้องรับผิดหรือไม่ ?

นางสาวจารุณี กิจตระกูล พนักงานคดีปกครองชำนาญการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง

เป็นที่ทราบว่าหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมาย ให้อำนาจไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งทาหน้าที่ติดต่อและให้ข้อมูล แก่ประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความต้องการ แต่ถ้าหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นเหตุให้ประชาชนที่มาติดต่อขอทราบข้อมูลได้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นปัจจุบัน ประชาชนหรือบุคคลที่ได้รับ ความเดือดร้อนเสียหายจากการให้ข้อมูลหรือรับรองข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้น จะมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองหรือไม่ และหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด ?

มีตัวอย่างที่น่าสนใจซึ่งเป็นคดีที่ผู้ฟ้องคดีได้แจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 เพื่อขอย้ายที่อยู่จากจังหวัดราชบุรีไปอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และได้แจ้งต่อสำนักทะเบียนท้องถิ่นกรุงเทพมหานครเพื่อย้ายเข้าตามที่อยู่ใหม่แล้ว ต่อมา พันเอก ช. ได้เป็นโจทก์ฟ้องผู้ฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดราชบุรี โดยได้ระบุที่อยู่ใหม่ในคำฟ้องคดีดังกล่าว ซึ่งคู่ความทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่ผู้ฟ้องคดีไม่ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว พันเอก ช. จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้บังคับคดีและได้มีหนังสือยื่นคำขอยึดทรัพย์ ต่อสานักงานบังคับคดีจังหวัดราชบุรี โดยได้นำแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรที่สำนักทะเบียนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรีออกให้ไปยื่น ซึ่งตามแบบรับรองดังกล่าวระบุว่าผู้ฟ้องคดีอยู่ที่บ้านเลขที่เดิมในจังหวัดราชบุรี สำนักงานบังคับคดีจึงได้ส่งหมายบังคับคดีไปยังที่อยู่ดังกล่าวซึ่งเป็นที่อยู่เดิมของผู้ฟ้องคดี เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีไม่ทราบถึง การบังคับคดี โดยผู้ฟ้องคดีได้รับทราบภายหลังซึ่งล่วงพ้นระยะเวลาไปแล้ว 4 เดือน และเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีต้องชำระค่าดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้เต็มจำนวน

ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าการที่ตนต้องเสียดอกเบี้ยในช่วงระยะเวลานับแต่วันแจ้งหมายบังคับคดีถึงวันที่ทราบว่ามีการออกหมายบังคับคดีนั้น เกิดจากความบกพร่องของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (สำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง) ที่ออกใบรับรองรายการทะเบียนราษฎรไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงได้มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย แต่ไม่ได้รับคำตอบ จึงนำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชดใช้เงินค่าดอกเบี้ยที่ผู้ฟ้องคดีต้องเสียเพิ่มขึ้นโดยไม่สมควร เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่บกพร่องของเจ้าพนักงาน ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1

ข้อกฎหมายสำคัญในคดีนี้ คือ พระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.. 2534 มาตรา 8 บัญญัติว่าให้มีสำนักทะเบียนและนายทะเบียนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ดังนี้ (1) สำนักทะเบียนกลางมีอธิบดีกรมการปกครองเป็นผู้อำนวยการทะเบียนกลาง มีหน้าที่รับผิดชอบและควบคุมการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎร ทั่วราชอาณาจักร ... (5) สำนักทะเบียนท้องถิ่น มีนายทะเบียนท้องถิ่นและผู้ช่วยนายทะเบียนท้องถิ่นเป็นนายทะเบียนประจำสำนักทะเบียนท้องถิ่น มีหน้าที่รับผิดชอบและควบคุมการปฏิบัติงานการทะเบียนราษฎรในเขตปกครอง ท้องถิ่นนั้นๆ” 

มาตรา 12 บัญญัติว่าเพื่อประโยชน์ในการเก็บรักษาและควบคุมการทะเบียนราษฎร การตรวจสอบพิสูจน์ตัวบุคคลและประมวลผลข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร ให้สำนักทะเบียนกลางดำเนินการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรตามที่ผู้อำนวยการสานักทะเบียนกลางกำหนด และปรับปรุงข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรให้ตรง ต่อความเป็นจริงอยู่เสมอ ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

การกระทำของสำ นักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้ องคดีหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่าเป็นหน้าที่ของสำนักทะเบียนกลางที่จะต้องปรับปรุงข้อมูล การทะเบียนราษฎรให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้แจ้งย้ายที่อยู่โดยปรากฏ หลักฐานจากใบแจ้งการย้ายที่อยู่ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งสำนักทะเบียนท้องถิ่นจังหวัดราชบุรีเป็นผู้ออกให้แก่ ผู้ฟ้องคดี แต่ในการออกใบรับรองรายการทะเบียนราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียน สำนักทะเบียนกลาง ให้แก่พันเอก ช. (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาของผู้ฟ้องคดี) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2546 สำนักทะเบียนท้องถิ่นจังหวัดราชบุรีกลับระบุว่า ผู้ฟ้องคดียังคงมีที่อยู่เดิม ข้อมูลการทะเบียนราษฎรที่ออกให้แก่พันเอก ช. จึงเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นปัจจุบันและไม่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ดังนั้น เมื่อมีการนำ หนังสือรับรองดังกล่าวไปแสดงต่อสา นักงานบังคับคดีจังหวัดราชบุรีเพื่อใช้เป็น ที่อยู่ในการแจ้งหมายบังคับคดี จึงทำ ให้ผู้ฟ้ องคดีไม่ได้รับหมายบังคับคดีภายในระยะเวลาอันสมควร เป็นเหตุให้ ต้องชาระค่าดอกเบี้ยแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปเป็นจำนวนมากกว่าที่จะต้องจ่ายหากได้รับทราบถึงหมายบังคับคดี ในกรณีที่มีการส่งหมายตามที่อยู่จริง
กรณีจึงถือได้ว่าการกระทำของนายทะเบียนท้องถิ่นจังหวัดราชบุรี สังกัดสำนักทะเบียนกลาง เป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการใช้อำนาจตามกฎหมายต่อผู้ฟ้องคดี และการที่ผู้ฟ้ องคดีต้องเสียดอกเบี้ยมากกว่า ที่จะต้องเสียนั้น ถือเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นและเป็นผลโดยตรงจากการที่เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาได้นำแบบรับรอง รายการทะเบียนราษฎรจากฐานข้อมูลการทะเบียนที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง ไปแสดงต่อสำนักงานบังคับคดีเพื่อใช้เป็น ที่อยู่ในการแจ้งหมายบังคับคดี

กรมการปกครองในฐานะหน่วยงานของรัฐต้นสังกัดของนายทะเบียนท้องถิ่น จะต้องรับผิดชดใช้ เงินดอกเบี้ยที่ผู้ฟ้ องคดีต้องเสียไปหรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ผู้ถูกฟ้ องคดีที่ 2 (กรมการปกครอง) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่นายทะเบียนดังกล่าวอยู่ในสังกัด ต้องรับผิดต่อผู้ฟ้องคดีในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ของตนได้กระทำในการ ปฏิบัติหน้าที่ตามนัยมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.. 2539 และการที่มีการ แจ้งหมายบังคับคดีโดยระบุที่อยู่ไม่ถูกต้องตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคม 2546 และผู้ฟ้องคดีทราบเหตุดังกล่าวประมาณ เดือนตุลาคม 2546 จึงถือเอาวันที่ 31 ตุลาคม 2546 เป็นวันที่ผู้ฟ้องคดีทราบ ซึ่งคิดเป็นระยะเวลา 120 วัน รวมค่าเสียหาย เป็นเงิน 18,085 บาท (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 302/2554)

คดียังปรากฏข้อเท็จจริงด้วยว่า ผู้ฟ้องคดีมิได้มีคำขอเพื่อเรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินค่าเสียหาย เข้ามาในคดี ศาลปกครองจึงไม่สามารถวินิจฉัยให้ดอกเบี้ยจากจำนวนเงินค่าเสียหายนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา จนถึงวันที่ชำระเสร็จสิ้นให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้ เนื่องจากศาลไม่อาจมีคำพิพากษาเกินคำขอ ดังนั้น หากผู้ฟ้องคดีต้องการ ได้รับดอกเบี้ยในคดีที่ฟ้องขอให้มีการชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเงินเท่าใด ก็ควรต้องมีคำขอเข้ามาในคำฟ้องเพื่อให้ ศาลวินิจฉัยในส่วนของเงินดอกเบี้ยให้ นอกจากนั้น คดีนี้ยังเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับหน่วยงานทางปกครอง และเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดและให้อำนาจไว้ โดยต้องใช้ความละเอียดรอบคอบ และระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้ประชาชนที่มาใช้บริการจากหน่วยงานของรัฐได้รับบริการที่ดี ถูกต้อง ตามความต้องการ และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของประชาชนผู้มาใช้บริการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น