วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ต้นไม้ข้างทาง ใครต้องดูแล

ต้นไม้ล้มข้างทางหลังฝนตก...เหตุสุดวิสัย หรือป้องกันได้ ??

              เคยสงสัยกันมั๊ยครับว่า ต้นไม้ริมทางหลวงใครเป็นผู้ดูแล และหากระหว่างเดินทางสัญจรไปมา ต้นไม้นั้นล้มทับรถของเรา ใคร? จะเป็นผู้รับผิดชอบ...
              คดีปกครองที่จะนามาเล่าให้ฟังกันในวันนี้เป็นเรื่องของผู้ฟ้องคดีได้ขับรถยนต์มาตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 ตอนสุโขทัย – พิษณุโลก เพื่อกลับบ้านที่จังหวัดสุโขทัย ขณะที่ขับรถยนต์อยู่บนเส้นทางดังกล่าวปรากฏว่าต้นหางนกยูงใหญ่ซึ่งขึ้นอยู่ในร่องระบายน้าด้านซ้ายของทางหลวงได้ล้มทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดี ทาให้รถยนต์ได้รับความเสียหายและผู้นั่งในรถยนต์ได้รับบาดเจ็บ ผู้ฟ้องคดีจึงฟ้องกรมทางหลวงให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
              ข้อเท็จจริงก็คือ วันที่เกิดอุบัติเหตุสภาพอากาศปกติ ไม่มีฝนตกหรือพายุลมแรง แต่ก่อนวันเกิดเหตุ มีฝนตกหนักติดต่อกัน 2 วัน สภาพของต้นหางนกยูงที่พิพาทมีขนาดใหญ่ ไม่ตั้งตรง เอนเข้าหาถนนมีโอกาสสูงที่กิ่งไม้จะหักหรือต้นไม้โค่นล้ม และผู้ถูกฟ้องคดีอ้างว่าได้ตรวจดูแลรักษาต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ริมทางหลวงที่เกิดเหตุและริมทางหลวงทุกสายทั่วประเทศอย่างสม่าเสมอ
              กรณีจะถือเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่? โดยมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้นิยามคาว่า “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใด ๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็นเหตุที่ไม่อาจป้องกันได้แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้น จะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคล ในฐานะและภาวะเช่นนั้น
              ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า จากภาพถ่ายเห็นได้ว่าต้นหางนกยูงใหญ่ซึ่งขึ้นริมทางหลวงในบริเวณที่เกิดเหตุเป็นต้นไม้ใหญ่ที่มีลักษณะไม่ตั้งตรง แต่เอนเข้าหาถนนทั้งสองฝั่ง รากจึงไม่ยึดติดพื้นดินและโค่นล้ม ได้ง่ายกว่าต้นไม้ที่ตั้งตรง ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการดูแลรักษาและซ่อมบารุงทางหลวง รวมถึงต้นไม้ที่ขึ้นในเขตทางหลวง และยังต้องป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอันที่จะเกิดขึ้นจากการใช้ทางหลวงด้วย จึงควรตรวจดูแลรักษาต้นไม้เหล่านั้นอย่างสม่าเสมอ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มักมีพายุลมแรง อาจทาให้กิ่งไม้หักหรือต้นไม้โค่นล้มลงบนทางหลวงเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรไปมาได้ เมื่อต้นไม้ที่โค่นล้มทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีเป็นต้นหางนกยูงขนาดใหญ่ ที่มีสภาพสมบูรณ์ไม่ผุกลวงและเป็นการโค่นล้มลงทั้งต้น ทั้งขณะเกิดเหตุไม่มีฝนตกหรือพายุลมแรง ซึ่งเหตุที่ ต้นหางนกยูงโค่นล้มดังกล่าวมีสาเหตุสาคัญส่วนหนึ่งมาจากการที่ฝนตกหนักในช่วง 2 วันก่อนเกิดเหตุ ทาให้ดินอ่อนตัว
             แม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะอ้างว่าได้ตรวจและดูแลรักษาต้นไม้อย่างต่อเนื่องสม่าเสมอ แต่ผู้ถูกฟ้องคดี ก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ดาเนินการตรวจและดูแลรักษาต้นไม้บริเวณที่เกิดเหตุภายหลังเกิดฝนตกหนักในทันที ทั้งที่ผู้ถูกฟ้องคดีน่าจะคาดการณ์ได้ว่าหลังจากฝนตกหนัก ต้นไม้ใหญ่ริมทางหลวงที่มีลักษณะเอนเข้าหาถนนมีโอกาสสูงที่กิ่งไม้จะหักหรือต้นไม้โค่นล้มทับทางเป็นอันตรายต่อผู้สัญจรไปมาได้ เหตุที่ต้นไม้ล้มทับรถยนต์ของ ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นภัยพิบัติที่อาจป้องกันได้ หากผู้ถูกฟ้องคดีในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบดูแล ความปลอดภัยในบริเวณทางหลวงแผ่นดินได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแห่งพฤติการณ์ กรณีที่เกิดขึ้นจึงย่อม “มิใช่เหตุสุดวิสัย” เนื่องจากภัยธรรมชาติตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีกล่าวอ้างแต่อย่างใด

          กรมทางหลวง จะต้องชดใช้ค่าเสียให้แก่ผู้ฟ้องคดีหรือไม่?

         กรณีดังกล่าวถือได้ว่าผู้ถูกฟ้องคดีได้ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกาหนดให้ต้องปฏิบัติและเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหายเป็นการกระทาละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายจากการกระทาละเมิดให้แก่ผู้ฟ้องคดี พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันเกิดเหตุเป็นต้นไปจนกว่าจะชาระเสร็จ (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.459/2554)
         คดีนี้เป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีสาหรับหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่กฎหมายกาหนดให้ต้องปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนว่า จะต้องระแวดระวัง เอาใจใส่ และป้องกันมิให้เกิดปัญหาขึ้นตลอดเวลา ดังเช่นคดีนี้หากกรมทางหลวงได้มีความระแวดระวังอุบัติภัยอันอาจจะเกิดขึ้นจากต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ริมทางหลวง ซึ่งมีลักษณะเอนเข้าหาถนนก็ควรที่จะจัดการตัดโค่น เพื่อป้องกันมิให้เกิดอันตรายกับผู้สัญจรไปมาเพราะไม่ว่าอุบัติภัยที่เกิดขึ้นจะเป็นเหตุ “สุดวิสัย” หรือ “ป้องกันได้” ที่สุดก็คือความสูญเสียนั่นเอง... !!

นายปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น