ค่าเช่าบ้านข้าราชการ ... สิทธิที่ “ไม่” แตกต่าง
“ข้าราชการ” ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ข้าราชการส่วนภูมิภาค หรือข้าราชการส่วนกลาง ย่อมต้องมีหน้าที่ในการปฏิบัติตนให้เป็นไปตามระเบียบที่ทางราชการกาหนด ไม่ว่าจะเป็นหน้าที่ในงานราชการ หน้าที่ในการรักษาระเบียบวินัย หรือหน้าที่ในการปฏิบัติตนไปตามจริยธรรมข้าราชการ และเมื่อข้าราชการทุกคนมีหน้าที่ ที่ต้องปฏิบัติไปในแนวทางอย่างเดียวกันแล้ว ข้าราชการทุกคนก็ควรที่จะมีสิทธิได้รับสวัสดิการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน
คดีที่จะนามาฝากในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ โดยผู้ฟ้องคดี รับราชการครั้งแรกเป็นพนักงานสุขาภิบาล จังหวัดสุโขทัย และได้โอน (ย้าย) ไปเป็นพนักงานเทศบาลสามัญ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมากรมการขนส่งทางบกได้รับโอนผู้ฟ้องคดีมาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ตาแหน่งเจ้าหน้าที่ขนส่ง 1 สานักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก ผู้ฟ้องคดีได้ใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้าน และผู้ถูกฟ้องคดี (ขนส่งจังหวัดพิษณุโลก) ได้อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537 จนเมื่อปี พ.ศ. 2549 ผู้ถูกฟ้องคดีได้ระงับการเบิกค่าเช่าบ้านของผู้ฟ้องคดีเป็นการชั่วคราว เนื่องจากผู้ฟ้องคดีได้รับการบรรจุและแต่งตั้งครั้งแรกเป็นพนักงานสุขาภิบาลซึ่งไม่อยู่ในกลุ่มข้าราชการตามนิยามคาว่า “ข้าราชการ” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน
ต่อมาผู้ถูกฟ้องคดีได้มีคาสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินค่าเช่าบ้านทั้งหมด ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าตนได้ใช้สิทธิโดยสุจริตมีการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่และได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านโดยไม่มีผู้ใดทักท้วง อีกทั้ง ได้นาเงินที่ได้ ไปผ่อนชาระราคาบ้านทั้งหมดแล้ว จึงฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนคาสั่งที่ให้ระงับการเบิกค่าเช่าบ้านและคาสั่งให้คืนเงินค่าเช่าบ้าน
การที่ผู้ฟ้องคดีเริ่มรับราชการครั้งแรกในราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการเริ่มรับราชการครั้งแรก อันเป็นเงื่อนไขที่จะมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน หากได้รับคาสั่งให้เดินทางไปประจาสานักงานในต่างท้องที่ตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 หรือไม่ ?
มาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 กาหนดว่า “ข้าราชการ” หมายความว่า ข้าราชการพลเรือนตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการตามกฎหมายว่าด้วยข้าราชการฝ่ายตุลาการ ข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัยตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการฝ่ายรัฐสภาตามกฎหมาย ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายรัฐสภา ข้าราชการตารวจตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตารวจ ข้าราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการทหาร และข้าราชการครูตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครู และตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ได้กาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิในการได้รับค่าเช่าบ้านว่า ข้าราชการผู้ใดได้รับคาสั่งให้เดินทางไปประจาสานักงานในต่างท้องถิ่นมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้าน เว้นแต่ผู้นั้น (1) ทางราชการได้จัดที่พักอาศัยให้อยู่แล้ว (2) มีเคหสถานของตนเองหรือของสามีหรือภริยาพอที่อาศัยอยู่ร่วมกันได้ในท้องที่ที่ไปประจาสานักงานใหม่ (3) ได้รับคาสั่งให้เดินทางไปประจาสานักงานใหม่ในท้องที่ที่เริ่มรับราชการครั้งแรกหรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (4) ได้รับคาสั่งให้เดินทางไปประจาสานักงานใหม่ตามคาร้องขอของตนเอง (5) เป็นข้าราชการวิสามัญ
ผู้ฟ้องคดีจะเป็นผู้มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 หรือไม่ ? ต้องคืนเงินค่าเช่าบ้านที่ได้รับมาแล้วทั้งหมด หรือไม่ ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเป็นสวัสดิการของรัฐอย่างหนึ่งที่มีเจตนารมณ์ ในการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของข้าราชการของรัฐทุกประเภทที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากราชการเป็นเหตุ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการในราชการส่วนกลาง ข้าราชการในราชการส่วนภูมิภาค หรือข้าราชการในราชการส่วนท้องถิ่น
การที่กฎหมายให้คาจากัดความคาว่า “ข้าราชการ” แตกต่างกันเป็นเพียงการจัดระเบียบบริหารราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเป็นการกระจายอานาจทางปกครอง โดยให้มีอานาจหน้าที่ในการจัดทาบริการสาธารณะเพื่อตอบสนองให้ตรงกับความต้องการ และความจาเป็นของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งการบริหารราชการในราชการส่วนท้องถิ่นก็ย่อมมีเจตนารมณ์เพื่อช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนแก่ข้าราชการที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัยเนื่องจากราชการเป็นเหตุเช่นเดียวกัน ดังนั้น ข้าราชการในราชการส่วนท้องถิ่นย่อมเป็นข้าราชการของรัฐประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับข้าราชการในราชการส่วนกลางหรือข้าราชการในส่วนภูมิภาค
การที่ผู้ฟ้องคดีเริ่มรับราชการครั้งแรกในท้องที่สุขาภิบาล จังหวัดสุโขทัย จึงมีสิทธิได้รับสวัสดิการเช่นเดียวกับข้าราชการอื่น เมื่อผู้ฟ้องคดีโอนมาเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญที่สานักงานขนส่งจังหวัดพิษณุโลก จึงเป็นกรณีที่ได้รับคาสั่งให้เดินทางไปประจาสานักงานในต่างท้องที่จึงมีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามมาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527
คำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ให้ระงับการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านและให้คืนเงินค่าเช่าบ้าน จึงเป็นคาสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คาพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 260/2554)
คดีนี้เป็นบรรทัดฐานที่ดีสาหรับหน่วยงานทางปกครองผู้มีอานาจในการอนุมัติค่าเช่าบ้านข้าราชการว่า ข้าราชการที่ไม่ว่าจะปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ใดหรือสังกัดใด ก็ถือเป็นข้าราชการของรัฐประเภทหนึ่งที่ย่อมมีสิทธิที่จะได้รับสวัสดิการจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน ดังนั้น ถึงแม้จะเริ่มรับราชการเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น แต่หากมีการโอนย้ายไปรับราชการในส่วนราชการที่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้านตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 ก็เป็นผู้มีสิทธิจะได้รับค่าเช่าบ้านตามที่กฎหมายกาหนด และเมื่อรัฐได้จัดสวัสดิการอย่างเต็มที่แล้วข้าราชการทุกคน ก็ควรตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบของตนว่าจะต้องจัดทาบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของมหาชน อย่างสุดความสามารถเช่นกัน
นายปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น