'ทีพี ไอพีพี'หาพันธมิตรร่วมผลิตไฟฟ้าขยะ |
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๑๔ ตุลาคม ๒๕๖๐ |
กรุงเทพธุรกิจ"ทีพีไอพีพี"
จีบเอกชน2-3 ราย หวังร่วมโครงการนำร่องผลิต ไฟฟ้าขยะชุมชน ชิงโควตา 20-30
เมกะวัตต์ คาดสรุปเร็วๆ นี้ เผยสนใจผลิตไฟฟ้า โซลาร์รูฟท็อปเสรี
รอรัฐประกาศเงื่อนไข ก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการหรือไม่ นายวรวิทย์ เลิศบุษศราคาม รองผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายโรงงาน บริษัท ทีพีไอ โพลีน เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ TPIPP เปิดเผยว่า โครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ในปริมาณ 78 เมกะวัตต์ หรือ โครงการ Quick Win ที่ภาครัฐเตรียมเดินหน้าเปิดรับซื้อไฟฟ้าในเร็วๆ นี้ บริษัท อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน 2-3 ราย ที่ได้สิทธิ์ดำเนินโครงการร่วมกับหน่วยงานราชการที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินโครงการตามประกาศของกระทรวงมหาดไทย คาดจะมีความชัดเจนก่อนรัฐเปิดรับยื่นข้อเสนอร่วมโครงการ "ตอนนี้ มีเทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลายแห่งได้เข้ามาหารือกับบริษัท และต้องการให้ร่วมโควตาผลิตไฟฟ้าจากขยะด้วย แต่ต้องการให้บริษัทไปเจรจาเพื่อร่วมมือกับเอกชนที่ได้รับสิทธิ์ดำเนินโครงการไปแล้ว ซึ่งบริษัทก็สนใจและกำลังเจรจาอยู่ 2-3 รายที่ กำลังผลิตรวม 20-30 เมกะวัตต์ โดยเจรจาสำเร็จได้ก็พร้อม ดำเนินโครงการ เพราะโครงการนี้ได้รับ FIT อยู่ที่ 5.60 บาทต่อหน่วย และจากการประเมิน ผลตอบแทนการลงทุน(IRR)อยู่ที่ 15% ไม่รวม ค่ากำจัดขยะ ถือว่ามีผลตอบแทนที่ดี" นายวรวิทย์ กล่าว ทั้งนี้ บริษัท มีประสิทธิภาพพร้อมที่จะ ดำเนินโครงการ Quick Win เนื่องจากมีโรงงานผลิตไฟฟ้าเชื้อเพลิงขยะ RDF(Refuse Derived Fuel) อยู่ที่ อ.บางไทร จ.อยุธยา และยังมีซัพพลายเวอร์ที่ จ.สมุทรสาคร พร้อมป้อนเชื้อเพลิง RDF ให้กับบริษัทด้วย ส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าสิ้นปีนี้ คาดว่า จะอยู่ที่ 290 เมกะวัตต์ เนื่องจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน ขนาด 150 เมกะวัตต์ ที่ จ.สระบุรี ซึ่งผ่านการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA)แล้ว แต่การจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม (EHIA) เพื่อออกใบอนุญาตอีกรอบยังต้องใช้เวลา ดำเนินการ ทำให้โครงการล่าช้าเล็กน้อย จากเดิมคาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์(COD) ได้ในไตรมาส 4 ปีนี้ อาจต้องเลื่อนออกไปเป็นต้นปี 2561 นายวรวิทย์ กล่าวว่า บริษัทยังสนใจโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา(โซลาร์รูฟท็อป)เสรี ที่ภาครัฐเตรียมเปิดโครงการในปลายปีนี้โดยบริษัทมีพื้นที่บนหลังคาโรงงานที่ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.สระบุรี ขนาด 1.4 แสนตารางเมตร ที่มีศัยกภาพจะติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 8-10 เมกะวัตต์ เพื่อผลิตไฟฟ้าป้อนให้กับ โรงงานปูนซีเมนต์ของบริษัท แต่จะ ดำเนินการหรือไม่นั้น ยังขอพิจารณาเงื่อนไขของภาครัฐที่จะประกาศออกมาก่อน ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศข้อมูลพื้นที่ที่มีศักยภาพในการเข้าร่วมโครงการ Quick Win จำนวน 8 พื้นที่ ได้แก่ 1.องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาลตำบลนครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 2.อบจ.นนทบุรี (2)-(3) 3.อบจ.ระยอง 4.อบจ.หนองคาย 5.เทศบาลเมืองกระบี่ จ.กระบี่ 6.เทศบาลนครแม่สอด จ.ตาก 7.เทศบาลนครอุดรธานี จ.อุดรธานี และ 8.ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขม และศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพฯ |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2560
'ทีพี ไอพีพี'หาพันธมิตรร่วมผลิตไฟฟ้าขยะ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น