อาหารสมอง: วัฒนธรรม วิถีชีวิต คนไทย'คนไทยยุค 4.0' (2) |
สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ |
ถาวร ชุปวา (1) คนไทยรุ่นใหม่ ฮิตวิถีอิสระ (2) เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2560 ที่เพิ่งผ่านมา สื่อต่างๆได้พร้อมเพรียงกันนำเสนอข่าว การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการ หรือพนักงานท้องถิ่น(อปท.)พ.ศ.2560 โดยเริ่มเปิดรับสมัครทั่วประเทศผ่านระบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 10 สิงหาคม- 1 กันยายน 2560 ปรากฏว่ามีผู้สนใจสมัครเข้าสอบแข่งขันครั้งนี้ จำนวน 627,975 คน เพื่อบรรจุแต่งตั้งในตำแหน่งว่าง ในส่วนราชการท้อง ถิ่น คือ เมืองพัทยา, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ทั่วประเทศ ซึ่งมีอัตราว่างรองรับ จำนวน 21,605 อัตรา การสอบคัดเลือกดังกล่าว กำหนดสอบ ภาค ก. และภาค ข. ในวันที่ 24 กันยายน 2560 จากข่าวเผยแพร่นี้ แสดงให้เห็นว่า "คนไทยรุ่นใหม่"(ยุคประเทศไทย 4.0) มีอยู่จำนวนมาก ที่ยังต้องแสวงหางานอาชีพ (คือ ยังไม่มีอาชีพทำที่เป็นหลักเป็นฐานสำหรับประกันคุณภาพชีวิต) คนไทยรุ่นใหม่นี้ ส่วนใหญ่เพิ่งจะสำเร็จการศึกษายังไม่มีรายได้ และเขาเหล่านี้มีอนาคตที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง "นายปรเมธี วิมลศิริ" (เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ-สศช.)เป็นอีกคนหนึ่ง ที่ออกมาแถลงข่าวผ่านสื่อ (เร็วๆ นี้) เช่นกันว่า ภาวะสังคมไทย (ไตรมาสที่ 2 ปี 2560) มีอัตรา "การว่างงาน" อยู่ที่ 1.2% จำนวนผู้ว่างงาน 470,000 คน เพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกัน ในปี พ.ศ. 2559 ที่มีอัตราผู้ว่างงาน อยู่ที่ 1.1% โดยพบว่า ผู้ว่างงานที่เคยทำงานมาก่อน "ทรงตัว"เท่ากับปี2559 แต่พบว่า ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนเพิ่มสูงขึ้น 24.1% เนื่องจากเพิ่งจะเป็นผู้สำเร็จการศึกษาอันเป็นแรงงานใหม่ที่จะเข้าสู่ตลาดแรงงาน กับได้พบว่า"ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษา" (ปริญญาตรีขึ้นไป)มีสัดส่วน 39% กลุ่มนี้จะไม่ตัดสินใจทำงานในทันทีที่จบการศึกษาสาเหตุเพราะว่า"คนไทยรุ่นใหม่" (ยุคประเทศไทย4.0) กลุ่มนี้จะ "รอดูไปก่อนหลังจากเรียนจบ" โดยใช้ระยะเวลารองาน ประมาณ 2-3 ไตรมาส (ประมาณ 1-2 ปี) จึงค่อยคิดตัดสินใจว่า ตัวเองจะเลือกประกอบอาชีพอะไร ? "นายปรเมธี วิมลศิริ" ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าช่วงเวลา 2-3 ปี (หลัง) มานี้ จากข้อมูลการศึกษาพบว่า "ตลาดแรงงานประเทศไทย" เปลี่ยนแปลงคือ "คนไทยกลุ่มที่สำเร็จการศึกษาใหม่" (ระดับอุดมศึกษา) ซึ่งไม่เคยทำงานมาก่อน จะใช้เวลาหางานอาชีพทำ โดยใช้เวลาเพิ่มมากกว่าเดิม (ปีก่อนๆ) และมีจำนวนผู้รองานสูง (ว่างงาน) เช่นตัวเลข ปี พ.ศ. 2556 พบว่า ผู้สำเร็จระดับอุดมศึกษา (ปริญญาตรีขึ้นไป) ว่างงาน จำนวน 140,000 คน, ปี พ.ศ. 2559 เพิ่มจำนวนผู้ว่างงานเป็น 180,000 คน, ปี พ.ศ. 2560 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 220,000 คน สาเหตุที่เป็นข้อมูลสำคัญ ผลจากการศึกษาพบว่า(1) นายจ้าง และตลาดแรงงาน ได้นำเอาเทคโนโลยีฯสมัยใหม่เข้ามาใช้มากทดแทนแรงงานคนได้หลายส่วน(ปีต่อๆ ไป ก็ยิ่งจะนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้แทนแรงงานคนมากขึ้นทับทวี น่าเป็นห่วง) (2) เพราะว่า "กลุ่มคนไทยรุ่นใหม่" (คนไทยยุคประเทศไทย 4.0) (เพิ่งสำเร็จการศึกษา) ชอบเลือกงาน และชอบลอง "ทำงานอิสระ" เปลี่ยนงานบ่อยๆ ชอบทำงานสบายๆและต้องการมีรายได้ที่สูง (อย่างน้อยก็ได้รับเงินเดือน, ค่าจ้างสูงตามวุฒิการศึกษา)จำนวนหนึ่ง อยากจะทำงานให้ตรงกับสายวิชาที่เรียนสำเร็จมาโดยตรง (ซึ่งหาได้ยาก) (3)เพราะว่า "กลุ่มคนไทยรุ่นใหม่" (คนไทยยุคประเทศไทย 4.0) ชอบใช้ "ชีวิต" ใน "สไตล์ฮิปเตอร์" คือ การใช้ชีวิตที่ง่ายๆ ไม่เคร่งครัดกฎระเบียบ ไม่สนใจผู้อื่น และไม่เทคแคร์ตัวเองเท่าที่สมควร ฯลฯ ซึ่งเขาจะมีพฤติกรรมเช่นนี้ไปจนกว่าเขาจะพบว่ามันซ้ำซากจนน่าเบื่อ และเขาเริ่มรู้สึกว่า "เพียงพอ" ต่อไป เขาจึงจะคิดได้และ แสวงหางานทำ ในอีกมุมมองหนึ่ง "สำนักงานสถิติแห่งชาติ" เปิดเผย"รายงานภาวะว่างงาน ประจำเดือนกรกฎาคม 2560" (ถึงมิถุนายน2560) กล่าวว่าประเทศไทยมีผู้ว่างงานจำนวน476,000 คน เท่ากับ 1.2% เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีว่าพ.ศ. 2559 จำนวน 85,000 คน เรื่องที่น่าตกใจคือ "กลุ่มคนไทยรุ่นใหม่" (คนไทยยุคประเทศไทย 4.0) (เพิ่งสำเร็จการศึกษา) ผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป พบสถิติ ว่าคือ "ผู้ว่างงานสูงสุด" คือ มีจำนวนสะสมรวมกันถึง 253,000 คน ซึ่งเปรียบเทียบจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (2559) "บัณฑิตว่างงาน" เพิ่มจำนวนสูงขึ้น 57,000 คน "คนไทยรุ่นใหม่" (คนไทย 4.0) ก็คือ "กำลังสำคัญของชาติ" เขาได้พยายามที่จะศึกษาเล่าเรียน ก็เพื่อจะมีอาชีพที่ดี มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ถ้าเขามีอาชีพเป็นหลักฐานมั่นคง เขาก็จะเป็นพละกำลังในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ เมื่อเขา "ว่างงาน" หรือยังหางานอาชีพทำไม่ได้ตามที่ต้องการ หรือตามที่เขาพอจะอดทนกล้ำกลืนทำได้ ก็เป็นภาระหน้าที่ของรัฐบาล จะต้องยื่นมือเข้ามาสนใจ และแสวงหาหนทางช่วยเหลือเยียวยา โดยไม่ควรที่จะเพิกเฉยละเลย อัตราการว่างงานประมาณ 1.2% ของคนไทยรุ่นใหม่(คนไทยยุคประเทศไทย 4.0) (กำลังหางานทำ) เมื่อเปรียบเทียบกับหลายประเทศนับว่า "อยู่ในกลุ่มต่ำ" ก็คงจะไม่กระทบกระเทือนอะไรมากเกินไป เพราะว่า "คนไทยกลุ่มนี้" ส่วนหนึ่ง มีครอบครัวที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นหลักประกันว่า เขายังพอจะมีอาหารเลี้ยงปากเลี้ยงท้อง เพียงแต่เขายังจะไม่ได้ในบางสิ่งที่เขาอยากจะได้ อยากจะมี มันก็ต้องอดทน แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะสนับสนุนให้ "คนไทยรุ่นใหม่" (คนไทยยุคประเทศไทย 4.0) หลงตัวเอง ติดอยู่กับกับดักที่ว่า เขายึดติดหรือ "ฮิตวิถีอิสระ" หากพิจารณาอย่างผิวเผิน ก็คือ การใช้ชีวิต "โดยไม่ทำมาหากิน" ใช้ชีวิตเตร็ดเตร่ หาสารประโยชน์ ใดๆ ก็ไม่ได้ ปล่อยทิ้งไว้เป็นปัญหาอย่างนี้ คงไม่ใช่แนวทางอันสมควรอย่างแน่นอน "นายปรเมธีวิมลศิริ"(เลขาธิการ สศช.)กล่าวด้วยว่า มีข้อมูลจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (หรือ- เครดิต บูโร) ศึกษา พบว่า กลุ่มคนไทยรุ่นใหม่ (คน เจนY - มีอายุ 22-35 ปี) ในไตรมาสแรก ปี 2560 มีจำนวน5.24 ล้านคน กลุ่มนี้สร้างหนี้สิน รวมกันอยู่ที่จำนวน 2.13 ล้านล้านบาท มันน่าตกใจ น้อยเสียเมื่อไหร่? ยังไม่มีงานทำแต่กลับพบว่า ก่อหนี้สูงขนาดนี้!! "กลุ่มคนไทยรุ่นใหม่" (คน เจน Y) ผู้ที่มีอายุ 29 ปี(น่าจะสำเร็จการศึกษา ป.ตรี - ป.โท มากที่สุด) สำรวจพบว่า มีหนี้สินต่อคนเฉลี่ยอยู่ที่คนละ 150,000 บาท ครับ "หนี้สิน" ดังกล่าวนี้ เป็นไปได้สูงมากกว่า คือหนี้"จากการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา" (กยศ.) ซึ่งผู้กู้ยังไม่ชดใช้เพราะว่ายังไม่มีงานทำ และหนี้จำนวนนี้ บริษัทเครดิต บูโร ค่อนข้างจะเชื่อมั่นว่าน่าจะ "เป็นหนี้เสีย" ประมาณ 20% ของจำนวนหนี้เกิดจากการใช้จ่ายเงิน ซึ่งเป็นเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาเพื่อสร้างอนาคตแก่ตนเอง การตกเป็น "ลูกหนี้" เงินกู้ยืม"กยศ." ก็จะต้องติดตามทวงหนี้ (ไม่ติดตามไม่ได้เพราะเงิน กู้ยืม กยศ. เป็นเงินจากเงินงบประมาณแผ่นดินหรือ คือ "เงินหลวง") "เงินหลวง" ย่อมตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้หากว่ายังไม่ส่งชำระเงินต้น ยิ่งนานไป "ดอกเบี้ยเงินกู้" ก็ยิ่งจะ "สะสมเงินต้นเพิ่มพูน" ในโลกนี้"ดอกอะไร?...มันจะเบิ่งบานออกไปได้เรื่อยๆไม่สิ้นสุด"เท่ากับ "ดอกเบี้ย" (กู้ยืมเงิน) มันไม่มีหรอกครับ |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันอังคารที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2560
อาหารสมอง: วัฒนธรรม วิถีชีวิต คนไทย'คนไทยยุค 4.0' (2)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น