สบน.เร่งกม.คุมอปท.ก่อหนี้ ห้ามกู้จ่ายประจำเฉพาะลงทุน |
เดลินิวส์ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๐ |
นายธีรัชย์
อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
เปิดเผยว่า
ขณะนี้กระทรวงการคลังได้จัดทำร่างระเบียบการก่อหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(อปท.) เพื่อช่วยบริหารจัดการการก่อหนี้ของ อปท. ให้มีประสิทธิภาพ
และลดความเสี่ยงจากภาระหนี้
ซึ่งหลังจากนี้จะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ
ที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เป็นประธาน ทั้งนี้สาระสำคัญของระเบียบจะกำหนดการก่อหนี้ของ อปท. ต้องเป็นการก่อหนี้เพื่อการลงทุนเท่านั้น ไม่ให้ก่อหนี้มาเพื่อใช้ในรายจ่ายประจำ นอกจากนี้การก่อหนี้ยังต้องสอดคล้องกับความสามารถในการหารายได้ของ อปท. เพื่อไม่ให้มีปัญหาการชำระหนี้ในภายหลัง ซึ่งปัจจุบัน อปท. มีการก่อหนี้รวมกันประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการก่อหนี้จากสถาบันการเงินของรัฐ "แม้ว่าหนี้ของ อปท. จะไม่นับเป็นหนี้สาธารณะของประเทศ เพราะคลังไม่ได้มีอำนาจเข้าไปบริหารหนี้ของ อปท. โดยตรง แต่กระทรวงการคลังก็ติดตามหนี้ของ อปท. อย่างใกล้ชิด" สำหรับหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 พ.ค. 60 มี 6.34 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 42.90% ของจีดีพี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 79,903 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 4,912 ล้านล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 971,707 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน รัฐบาลค้ำประกัน 446,277 ล้านบาท และ หนี้หน่วยงานของรัฐ 17,561 ล้านบาท ทั้งนี้ หนี้รัฐบาลเพิ่มขึ้นสุทธิ 88,281 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นที่สำคัญเกิดจากการกู้เงินล่วงหน้าเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ 65,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่กู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่จะครบกำหนดในวันที่ 16 มิ.ย. 60 วงเงิน 162,000 ล้านบาท และยังกู้เงินตามแผนงบประมาณรายจ่าย 30,270 ล้านบาท ส่วนการกู้เงินเพื่อการลงทุนจากแหล่งเงินกู้ในประเทศมี 1,935 ล้านบาท มีทั้งรถไฟทางคู่ รถไฟฟ้าสายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายสีเขียว 106.91 ล้านบาท ขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจ 971,707.95 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 1,042.66 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) จำนวน 446,277 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 6,463.58 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 17,561.61 ล้านบาท ลดลงสุทธิ 872.05 ล้านบาท ทั้งนี้ส่งผลให้สถานะหนี้สาธารณะ ณ สิ้น พ.ค. 60 จำนวน 6.34 ล้านล้านบาท แบ่งออกเป็นหนี้ในประเทศ 6,031,071.20 ล้านบาท หรือ 95.01% และหนี้ต่างประเทศ 316,753.18 ล้านบาท หรือ 4.99% ทั้งนี้สบน.ได้เสนอแก้ไขพ.ร.บ.บริหารหนี้สาธารณะ ซึ่งครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. ที่ผ่านมา ขณะนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างกฎหมายเสร็จแล้ว อยู่ระหว่างเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณามีสาระสำคัญ 3 ประเด็น ประกอบด้วย ได้แก้ไขขอบเขตและนิยามให้ชัดเจน แก้ไขคำนิยามหนี้สาธารณะ ไม่นับรวมหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจบริหารสินทรัพย์และธุรกิจประกันสินเชื่อที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกัน ให้สอดคล้องกับหลักการกฎหมาย ส่วนประเด็นที่ 2 ปรับปรุงมาตรการกำกับดูแลหนี้สาธารณะให้มีความครอบคลุมมากขึ้น ในส่วนของหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหนี้ของหน่วยงานภาคการเงิน ที่กระทรวงการคลังไม่ได้ค้ำประกัน ซึ่งไม่ได้นับรวมเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมาย และประเด็นที่ 3 ปรับปรุงการดำเนินงานของกองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศ. |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันพุธที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2560
สบน.เร่งกม.คุมอปท.ก่อหนี้ ห้ามกู้จ่ายประจำเฉพาะลงทุน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น