ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๕๙ |
หลัง
ผลักดันมานาน 22 ส.ค. 2559 ที่ประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)
มีมติเห็นชอบรายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้าน
การปกครองท้องถิ่น ที่เสนอปฏิรูปโครงสร้าง
และอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
ทั่วประเทศใหม่ทั้งระบบแล้ว และเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ...กับร่างประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ... โดยนำกฎหมาย อปท.ที่มีจำนวนมากรวมอยู่ในฉบับเดียวกัน เป้าหมายหลักเพื่อให้ การอ้างอิงและการใช้กฎหมายเกี่ยวกับ ท้องถิ่นเป็นมาตรฐานเดียวกัน และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน โดยปรับโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของ อปท.ทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ และลดความซ้ำซ้อน ร่าง กฎหมายใหม่กำหนดให้โครงสร้าง อปท.ทั่วไปมีเพียง 2 รูปแบบ คือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) กับเทศบาล ส่วนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไม่มีในโครงสร้างใหม่ หรืออีกนัยหนึ่งให้ยุบทิ้ง โดยให้ อบต.ตามกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่มีอยู่ก่อนวันที่ ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนี้ใช้บังคับ ยกระดับเป็นเทศบาลตำบลหลังบังคับใช้กฎหมายใหม่ โดย อบต.ที่อยู่ในข่ายจะถูกยุบทิ้งนำไปควบรวมกับ อบต. หรือกับเทศบาลอื่น คือ อบต.ที่มีรายได้ไม่ถึง 20 ล้านบาท หรือจำนวนประชากรต่ำกว่า 7,000 คน โดยจะจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ตามจำนวนประชากรและรายได้ แม้ต้องใช้เวลาอีกระยะกว่ากระบวนการ ปฏิรูปหน่วยงานท้องถิ่นจะเป็นรูปธรรม เพราะต้องผ่านขั้นตอนการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ก่อนบรรจุเข้าวาระการพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่กระแสข่าวที่มีออกมาก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมในหน่วยงานท้องถิ่นตามมา โดย เฉพาะความวิตกกังวลในหมู่ผู้บริหาร พนักงานลูกจ้าง รวมทั้งประชาชนใน อบต.ที่จะถูกยุบหรือนำไปควบรวม ทำให้กระทรวงมหาดไทยต้องออกหนังสือชี้แจงด่วนป้องกันความสับสน อย่าง ไรก็ตาม เนื่องจากการปฏิรูปโครงสร้างการปกครองท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ กระทบทั้งบวกและลบกับประชาชนทุกระดับ ทุกเพศและวัย ยกเว้นกรุงเทพมหานครกับเมืองพัทยา ซึ่งอยู่ภายใต้ อปท.รูปแบบพิเศษ รัฐบาลจึงต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่าง ครบถ้วนรอบด้าน ที่สำคัญต้องสามารถหยิบยกเหตุผลข้อเท็จจริง ขึ้นอธิบายให้สาธารณชนยอมรับได้ว่า การปรับโครงสร้าง อปท.ใหม่ครั้งนี้จะนำมาซึ่งทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากกว่า คุ้มค่าเงินงบประมาณมากกว่า ในการให้บริการประชาชน ขณะเดียวกันก็เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองในภาพรวม |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559
ประชาชาติธุรกิจ: รื้อ อปท.ต้องยึดประโยชน์ท้องถิ่น
ประชาชาติธุรกิจ: รื้อ อปท.ต้องยึดประโยชน์ท้องถิ่น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น