สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๕๙ |
รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม ผม เข้าใจว่าการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติที่รัฐบาลกำหนดไว้นั้น แม้ว่าส่วนหนึ่ง รัฐบาลจะกำกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองไว้ในระดับนโยบายก็ตามที แต่ในระดับปฏิบัติการเพื่อทำให้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เห็นว่าต้องอาศัยกลไกหรือเครื่องมือที่ปฏิบัติงานเพื่อตอบโจทย์ประเทศมีความ สำคัญยิ่ง และเห็นว่าเราจะต้องมาทบทวนกลไกและวิธีการที่เป็นอยู่ว่าจะทำให้เกิด ประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะกลไกการรวมศูนย์อำนาจรัฐไว้ที่ส่วนกลาง และใช้ระบบเศรษฐกิจกระแสหลักนำภาคส่วนอื่นๆ ผลลัพธ์ที่เกิด ขึ้นจากโครงสร้างและกลไกเดิมๆ ที่ใช้บริหารจัดการประเทศ ก็คือ ภาคส่วนของชุมชน สังคม ท้องถิ่น เกิดความอ่อนแอ และมีระบบพึ่งพิงรัฐและส่วนราชการสูงมากส่วนภาคราชการ ภาคเศรษฐกิจและธุรกิจกลับเติบโต ส่งผลทำให้เกิดช่องว่างและความเหลื่อมล้ำ ทั้งนี้เพราะกลไกรัฐแบบรวมศูนย์และการมุ่งพัฒนาแนวทางกระแสหลักยังคงทำให้ เกิดประเด็นปัญหาต่อประเทศชาติที่ดำรงอยู่แบบเดิมๆต่อไปอีกเป็นต้นว่า การเมืองของนักการเมืองในยุคหลังเป็นแนวประชานิยมที่มุ่งแต่เอาอกเอาใจชาว บ้าน จนชาวบ้านไม่สามารถจัดการตนเองหรือพึ่งตนเองได้ และยังก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและการกระจุกตัวของความเจริญ ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือ ผู้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาก็มักกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มนายทุนและนักธุรกิจ ส่วนคนจนและผู้ด้อยโอกาสก็ยังคงมีความอ่อนแอและไม่สามารถจัดการตนเองได้ เหมือนเดิม ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า "ลดอำนาจภาครัฐ เพิ่มอำนาจท้องถิ่น" จึงยังเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ยุทธศาสตร์ศาสตร์ชาติ และแนวทางการพัฒนาประเทศใหม่ นั่นก็คือ การกระจายอำนาจให้แก่ชุมชนท้องถิ่นได้ตัดสินใจในการจัดการตนเองในแต่ละบริบท พื้นที่ชุมชนท้องถิ่น ทั้งนี้เพราะหลักของการกระจายอำนาจก็คือการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นมีอำนาจ มีบทบาทหน้าที่ และการสร้างพลังท้องถิ่น (Empowerment) ให้รู้จักพึ่งตนเองหรือการจัดการตนเองได้ ซึ่งจะทำให้นำไปสู่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง (ยั่งยืนต่อไป) และท้ายที่สุด ผมเห็นว่าการใช้ฐานชุมชนท้องถิ่นเป็นพลังในการพัฒนาประเทศ จะทำให้ประเทศก้าวไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนอย่างแท้จริง ผม ได้อ่านหนังสืองานวิจัยเรื่อง "ประวัติศาสตร์การปกครองท้องถิ่นมณฑลยูนนาน ประเทศจีน" เขียนโดยอาจารย์นรชาติ วัง กล่าวโดยสรุปของหนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า แม้รัฐบาลจีนจะปกครองโดยระบบคอมมิวนิสต์ ที่มีการวางยุทธศาสตร์ชาติไว้ที่ส่วนกลางอย่างเข้มข้นก็ตาม แต่ในทางกลับกัน รัฐบาลก็ยังให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้แก่มณฑลต่างๆ มีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐบาลกลางกับรัฐบาลท้องถิ่นของจีนไว้ อย่างชัดเจนและสมเหตุสมผล ตัวอย่างเช่น มณฑลยูนนาน ซึ่งมีพื้นที่ใกล้ชิดกับประเทศไทยของเรา เขาก็สามารถพัฒนาด้วยระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเองที่มีความสามารถสร้าง ความเจริญรุ่งเรืองก้าวไปอย่างรวดเร็ว ทั้งๆที่เป็นมณฑลที่มีชนชาติกลุ่มน้อยอยู่มากที่สุดก็ตาม แต่เขาสามารถบริหารจัดการก่อให้เกิดความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวได้เป็นอย่าง ดี อย่างไรก็ตาม มีตัวอย่างของการกระจายอำนาจให้กับเทศบาลนครคุนหมิง (Kunming) ที่มีอิสระภายใต้กฎหมายให้จัดตั้งกลไกหน่วยงานต่างๆขึ้นเพื่อบริหารจัดการ เทศบาลนครคุนหมิงดังเช่น (1) คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปเทศบาลนครคุนหมิง(2) สำนักงานนโยบายและแผนงานรัฐบาลเทศบาลนครคุนหมิง (3)สำนักงานกิจการต่างประเทศและชาวจีนโพ้นทะเลเทศบาลนครคุนหมิง (4) สำนักงานทางการเงินรัฐบาลประชาชนเทศบาลนครคุนหมิง (5) คณะกรรมการอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเทศบาลนครคุนหมิง (6) คณะกรรมการกิจการชนชาติส่วนน้อยเทศบาลนครคุนหมิง (7) กองต่างๆที่เป็นไปตามภารกิจงาน อาทิ กองสันติบาลเทศบาลนครคุนหมิง กองศาลยุติธรรมเทศบาลนครคุนหมิง กองทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการสังคมเทศบาลนครคุนหมิง กองการวางแผนผังเมืองเทศบาลนครคุนหมิงกองการท่องเที่ยวเทศบาลนครคุนหมิง และกองรักษาสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครคุนหมิง เป็นต้น ส่วนความ ชัดเจนอีกประการหนึ่งของการสร้างรากฐานการปกครองท้องถิ่น นั่นก็คือ การสร้างผู้นำระดับชาติให้เกิดขึ้น ซึ่งเราจะพบเห็นได้ว่าผู้นำทางการเมืองในหลายๆ ประเทศได้ถูกสร้างขึ้นมาจากผู้นำในระดับท้องถิ่น ตลอดจนการได้ค้นพบผลงานที่ดีๆผลงานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมท้องถิ่น ส่งเสริมงานการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนอย่างน่าสนใจและเป็นที่คาดหวัง ตัวอย่างประเทศในเอเชียที่อยู่ใกล้บ้านเรา เช่น นายโยโก วิโดโดซึ่งเคยเป็นนายกเทศมนตรีของนครจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียได้สร้างผลงานที่ดีๆให้กับเทศบาล เป็นที่ศรัทธาของประชาชนปัจจุบันได้ก้าวมาเป็นประธานาธิบดีอินโดนีเซียคนที่ 7 ในประเทศอินเดีย นายนเรนทระ โมที ซึ่งเคยเป็นผู้ว่าการรัฐคุชราตได้แสดงผลงานการบริหารที่ดี จนในที่สุดเวลาต่อมาได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีของอินเดีย กรณี ประเทศจีน ผู้นำเกือบทุกคนของประเทศจีนต้องผ่านการบริหารงานท้องถิ่นมาก่อน ดังเช่น นายสี จิ้นผิง ปัจจุบันเป็นประธานาธิบดีของจีน ก็เคยเป็นผู้ว่าการและรองผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยนมาก่อน นี่คือตัวอย่างของผู้นำท้องถิ่นที่ก้าวสู่ระดับชาติ ซึ่งก็มีประเทศในแถบยุโรปและสหรัฐฯ ที่เป็นตัวอย่างของคนที่มีประสบการณ์บริหารท้องถิ่น และสร้างประวัติศาสตร์การบริหารจนเป็นผู้นำในระดับชาติในเวลาต่อมา อย่าง ไรก็ตาม ในการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เพื่อทำฐานท้องถิ่นให้เป็นฐานในการพัฒนาประเทศ นั้น ในที่สุดแต่ละท้องถิ่นก็จะเกิดการแข่งขันในความสามารถที่จะจัดการท้องถิ่น ของตัวเองให้โดดเด่นพ้นจากความล้าหลัง ซึ่งขอยกตัวอย่างเมืองโออิตะ ในเกาะคิวชู ประเทศญี่ปุ่น เมืองนี้เคยเป็นเมืองล้าหลัง ยากจน แต่สุดท้ายก็สามารถเปลี่ยนเมืองให้เป็นเมืองที่พ้นจากความยากจนและพัฒนาไป ได้อย่างรวดเร็ว โดยการมีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง นั่นก็คือ นายโมริฮิโกะ ฮิรามัตสึ ซึ่งเขาได้ริเริ่มโครงการหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งผลิตภัณฑ์ ทำให้เมืองโออิตะบริหารแบบพึ่งตนเองไม่เน้นพึ่งเงินจากรัฐบาลกลาง จนทำให้เมืองโออิตะเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจ สังคม ได้ในเวลาอันสั้น ผม เข้าใจว่า ท้องถิ่นในประเทศไทยมีอยู่จำนวนหนึ่งที่สามารถสร้างสรรค์ผลงานการบริหาร จัดการที่ดีๆ ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมท้องถิ่นมากมาย เป็นแบบอย่างที่ดี โดยความคิดสร้างสรรค์และกระบวนทัศน์ของผู้บริหารท้องถิ่น ที่สามารถจัดบริการสาธารณะและก่อให้เกิดผลงานดังกล่าว แม้ว่าท้องถิ่นไทยจะอยู่ภายใต้ข้อจำกัดในหลายอย่าง เป็นต้นว่า ข้อจำกัดด้านรายได้ของท้องถิ่น ภาษีที่ท้องถิ่นต้องจัดเก็บที่มีสัดส่วนภาษีที่ต่ำกว่าในหลายประเทศ ข้อ เสนอที่สำคัญ ก็คือ การปฏิรูปประเทศในยุคที่ต้องตัดสินใจจะต้องกระทำที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลง ปรับกระบวนทัศน์ใหม่นั่นก็คือ การปฏิรูปท้องถิ่นเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ และสร้างชาติจากคนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็ง กำจัดจุดอ่อนของท้องถิ่นที่มีอยู่ให้หมดสิ้นไป และสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่น (Good Governance) ให้เกิดขึ้น เพื่อทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็ง เป็นฐานในการพัฒนาประเทศได้อย่างแท้จริง |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: ต้องปฏิรูปท้องถิ่นรองรับยุทธศาสตร์ชาติ
คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: ต้องปฏิรูปท้องถิ่นรองรับยุทธศาสตร์ชาติ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น