เอกชนหนุนผุดโรงไฟฟ้าขยะนำร่องพื้นที่อปท.5-6แห่งปีนี้ |
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 |
ณัฐณิชา ดอนสุวรรณ โรง ไฟฟ้าขยะทั้งโรงไฟฟ้าขยะชุมชนและโรงไฟฟ้าขยะอุตสาหกรรม เป็นความคาดหวังของภาคเอกชนรวมทั้งกกพ.ที่จะหาทางออกในการบำบัดขยะและสามารถ แปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า แต่ที่ผ่านมาติดปัญหาสารพัดจนโครงการไม่สามารถก้าวหน้าได้ สภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้ออกมาเรียกร้องต่อภาครัฐให้เร่งขจัดอุปสรรค โดยริเริ่มโครงการนำร่องในพื้นที่หน่วยงานภาครัฐให้ได้ก่อน 5-6 แห่งภายในปีนี้ โดยเลือกใช้พื้นที่ขององค์การปกครองท้องถิ่น หรือ อปท. ซึ่งไม่ต้องเข้าข่ายพ.ร.บ.รัฐร่วมทุนเอกชน ที่มีขั้นตอนการพิจารณาล่าช้า นาย พิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน ส.อ.ท. กล่าวว่า คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้หารือร่วมกับ 4 หน่วยงาน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดตั้งโรงไฟฟ้าขยะ ประกอบด้วย ส.อ.ท.,กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน,กรมควบคุมมลพิษกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอให้ กกพ.พิจารณาคัดเลือกโครงการโรงเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า ในพื้นที่ของหน่วยงานภาครัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาล ที่มีศักยภาพในการรวบรวมปริมาณขยะจำนวนมาก นำร่องก่อสร้างโรงเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า 5-6 แห่ง ภายในปีนี้ ซึ่งส่วนนี้สามารถดำเนินการได้ เพราะไม่ขัดกับ พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ "ปัญหาหลักที่ทำให้ โครงการ โรงไฟฟ้าขยะ ยังไม่เกิด เพราะเอกชนหลายราย ยังติดเงื่อนไข พ.ร.บ. ร่วมทุนฯ ดังนั้น หากผลักดันให้เกิดโครงการนำร่อง 5-6 แห่งในปีนี้ ก็จะเป็นผลงานของประเทศ และคาดว่าอย่างน้อยสิ้นปีนี้ ได้เห็นแน่ 3-4 แห่ง และถ้าพ.ร.บ.รักษาความสะอาดและ ความเรียบร้อยของบ้านเมือง ประกาศใช้ได้เร็ว อาจเห็นโครงการโรงไฟฟ้าขยะเกิดขึ้นอีกมาก" พื้นที่นำร่อง โครงการโรงเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า จะอยู่ในพื้นที่ที่มีปริมาณขยะจำนวนมาก เช่น รอบๆ กรุงเทพมหานคร พื้นที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก เช่น ภาคตะวันออก และภาคกลาง โดยโครงการนำร่องโรงเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า 1 โรง จะผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบประมาณ 8 เมกะวัตต์ หากเกิดขึ้นได้ 5-6 โรง จะผลิตไฟฟ้าขายเข้าระบบประมาณ 40 เมกะวัตต์ แต่ยอมรับว่าโครงการโรงเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า ยังมีความเสี่ยงเรื่องการยอมรับของประชาชนในพื้นที่ ที่นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญรองจากปัญหา พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ทั้งนี้ เห็นว่า ภาครัฐมีการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดในการขออนุญาตโครงการโรงเตาเผาขยะเพื่อ ผลิตไฟฟ้า แต่ยังมีจุดอ่อนเรื่องการตรวจติดตามผลกระทบหลังเปิดเดินเครื่องโรงไฟฟ้า แม้กฎหมายจะกำหนดไว้แต่ที่ผ่านมายังดำเนินการได้ ไม่เต็มที่ จึงควรออกกฎหมายเพิ่มเติม เพื่อให้อำนาจกับหน่วยงานที่จะเข้าไปตรวจสอบทำ งานได้คล่องตัวและเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนในพื้นที่สบายใจเรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ที่จะตามมาในอนาคต ส่วนอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ FiT (Feed in Tariff) สำหรับขยะ อยู่ที่ 5.60-6.34 บาทต่อหน่วย นายพิชัย ยืนยันว่า เป็นอัตราที่เหมาะสม จูงใจให้เกิดการลงทุนมากกว่าเชื้อเพลิงประเภทอื่น เพียงแต่โรงเตาเผาขยะเพื่อผลิตไฟฟ้า มีขั้นตอนในการขออนุญาตดำเนินโครงการที่เข้มงวดกว่า โดยการลงทุนโรงเตาเผาขยะ สามารถคุ้มทุนได้เร็ว หากใช้เทคโนโลยีที่มีคุณภาพ เช่น การลงทุนโรงเตาเผาขยะขนาด 8-10 เมกะวัตต์ โดยทั่วไปจะใช้เงินลงทุนอยู่ที่ 600ล้านบาท คืนทุนได้ภายใน 8 ปี ส่วน โครงการโรงเผาขยะ ประเภทอุตสาหกรรม ตามเป้าหมายเปิดรับซื้อไฟฟ้าเข้าระบบ 50 เมกะวัตต์ ไม่น่าจะมีปัญหา คาดว่า กกพ.น่าจะออกประกาศรับซื้อได้ตามกำหนดภายในเดือน พ.ค.-มิ.ย.นี้ นาย อัมพันธุ์ ศรีชู รักษาการแทน กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสซีไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด หรือ SCIeco กล่าวว่า บริษัทสนใจลงทุนโรงเตาเผาขยะ ทั้งขยะชุมชนและขยะอุตสาหกรรม ขนาดไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต่อโรง ซึ่งเงินลงทุนยังไม่ได้กำหนดชัดเจน แต่การคำนวณเบื้องต้น 1 เมกะวัตต์ จะใช้เงินลงทุนประมาณ 120 ล้านบาท โดยโรงเตาเผาขยะอุตสาหกรรม น่าจะดำเนินการได้ก่อน เพราะมีความสามารถในการจัดหาขยะจากโรงงาน ที่อยู่ในเครือของบริษัท โดยโรงเตาเผาขยะแห่งแรกของบริษัท น่าจะตั้งอยู่ใกล้กับโรงงานปูนซิเมนต์ จ.สระบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่มีขยะอุตสาหกรรมจำนวนมาก โดยยื่นเสนอขายไฟฟ้าเข้าระบบไปแล้ว แต่ยังรอการพิจารณาจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) "เรา สนใจลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า แต่มองว่า โรงไฟฟ้าที่จะสร้างในอนาคตจะต้องรองรับเชื้อเพลิงได้ หลากหลาย แต่ต้องรอดูนโยบาย ของรัฐที่อาจทบทวนเงินสนับสนุนรับซื้อไฟฟ้าให้ชัดเจน ปัจจุบันขยะอยู่ที่ 5-6 บาท ถือว่าจูงใจ แต่หากต่ำลงไป ก็ต้องคำนวณต้นทุน เพราะหากคืนทุนภายใน 8 ปี ถือว่าช้าไป" นายอัมพันธุ์ กล่าว การ ลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า เป้าหมายหลักเพื่อกำจัดขยะในโรงงานให้ได้มากขึ้น ไม่ได้หวังกำไร แค่ไม่ขาดทุนก็พร้อมดำเนินการ ทั้งนี้ เป็นการตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาขยะ และเป็นไปตามนโยบายของบริษัทในเครือปูนซีเมนต์ไทย ที่ดำเนินธุรกิจ บนความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ หรือ ซีเอสอาร์ 'รัฐเข้มงวด ในการขออนุญาต แต่มีจุดอ่อนติดตามผลกระทบหลังเปิด' |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
เอกชนหนุนผุดโรงไฟฟ้าขยะนำร่องพื้นที่อปท.5-6แห่งปีนี้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น