วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2557

(ไม่) มีสิทธิใช้ไฟฟ้า ... เพราะว่าอยู่ในที่ดินโดยไม่ชอบ !




 (ไม่) มีสิทธิใช้ไฟฟ้า ... เพราะว่าอยู่ในที่ดินโดยไม่ชอบ !
(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 1 มีนาคม 2557)คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม 2554)
การมีไฟฟ้าใช้เป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่รัฐพึงบริการให้ประชาชนอย่างเสมอภาคและเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานของประชาชนในการมีคุณภาพชีวิตที่ดีที่รัฐควรคุ้มครอง แต่การที่ราษฎรบุกรุกที่ดินอันเป็นที่ราชพัสดุและทางราชการผู้ครอบครองที่ราชพัสดุมีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในราชการ จะได้รับความคุ้มครอง จากสิทธิขั้นพื้นฐานดังกล่าวหรือไม่

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นเรื่องของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจาก ไม่มีไฟฟ้าใช้ ผู้ฟ้องคดีซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจึงฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ศาลมีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการติดตั้งไฟฟ้าภายในหมู่บ้าน

ข้อเท็จจริงในคดีนี้ คือ ผู้ฟ้องคดีเป็นชาวบ้านของหมู่ที่ 8 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ ได้มีหนังสือร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่เนื่องจากไม่มีไฟฟ้าและประปาใช้ หลังจากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอน โดยมีหนังสือถึงผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผู้ครอบครองและรักษาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร ขอให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขยายเขตปักเสาพาดสายระบบกระแสไฟฟ้าในพื้นที่หมู่ที่ 8  แต่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (กองทัพบก) โดยศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ แจ้งว่าพื้นที่บริเวณดังกล่าวอยู่ระหว่างการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดิน และการขยายเขตปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่อาจกระทบต่อ การแก้ปัญหาทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงขอให้ชะลอการดำเนินการปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าไว้ก่อน
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจึงยังมิได้ดำเนินการ แต่ได้ทำการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ในโครงการพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับหมู่บ้านดังกล่าว

ผู้ฟ้องคดีจึงขอให้ศาลมีคาพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (กรมธนารักษ์) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 อนุญาตให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคติดตั้งไฟฟ้าเพื่อให้ชาวบ้านได้มีไฟฟ้าใช้

การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่อนุญาตให้ดำเนินการขยายเขตปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้า ในพื้นดังกล่าว เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? โดยกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการปกครอง ดูแล บำรุงรักษา ใช้ และจัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.. 2545 ข้อ 14 วรรคสอง และข้อ 18 วรรคหนึ่ง กำหนดให้กรมธนารักษ์พิจารณาอนุญาตให้ผู้ขอใช้ที่ราชพัสดุใช้ประโยชน์ในทางราชการได้ตามความจำเป็น และผู้ใช้ที่ราชพัสดุ มีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษาที่ราชพัสดุนั้น

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ที่ดินที่ขอปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าได้ขึ้นทะเบียน เป็นที่ราชพัสดุ จึงเป็นที่ราชพัสดุที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยกรมธนารักษ์มีอานาจอนุญาตให้กองทัพบกโดยศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ เป็นผู้ครอบครองและรักษาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ในราชการทหาร ศูนย์การทหารราบ ค่ายธนะรัชต์ จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปกครองดูแลและระวังรักษาที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์และภารกิจของราชการทหาร และมีสิทธิที่จะอนุญาตให้ทำการติดตั้งเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในเขตพื้นที่ เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในด้านยุทธศาสตร์และความมั่นคงของประเทศ และการบุกรุกหรือการขยายแนวเขตปักเสาพาดสายสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าอาจกระทบต่อภารกิจของกองทัพบก และเมื่อพิจารณาขอบเขตของการจัดทาบริการสาธารณะภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ประกอบกับเหตุผลความจำเป็นที่ต้องใช้ประโยชน์ที่ดินในราชการทหารและความมั่นคงของประเทศ รวมถึงการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินแล้ว เห็นว่า การปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการติดตั้งแบบถาวร จึงย่อมส่งผลกระทบต่อภารกิจของศูนย์การทหารราบในการฝึกกำลังพลและศึกษา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ อีกทั้งได้มีการขยายเขตบริการไฟฟ้าด้วยระบบผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้มีไฟฟ้าใช้เบื้องต้นแล้ว  การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ไม่อนุญาตให้ปักเสาพาดสายระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่พิพาท จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่มีเหตุผลและอยู่ในกรอบของกฎหมาย จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 813/2556)

คดีนี้ ถือเป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับประชาชนโดยทั่วไปเกี่ยวกับการใช้สิทธิเรียกร้องเพื่อให้รัฐคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้รับรองและคุ้มครองไว้ว่า แม้รัฐจะมีหน้าที่จัดให้มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชน แต่การใช้สิทธิของประชาชนก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ทั้งการเป็นผู้มีสิทธิโดยสมบูรณ์ตามกฎหมาย และการใช้สิทธินั้นต้องไม่กระทบต่อการใช้สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายของบุคคลหรือหน่วยงานอื่น นอกจากนี้ ยังเป็นบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีเกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจอย่างเหมาะสมของหน่วยงานทางปกครองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะว่า จะต้องพิจารณาทั้งในด้านอำนาจหน้าที่ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น และการคุ้มครองประโยชน์ของผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบกันด้วย ซึ่งผู้อ่านสามารถศึกษารายละเอียดได้ในคาพิพากษาศาลปกครองดังกล่าว... ครับ !
นายปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น