เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ... จึงใช้ “สิทธิของชุมชน” ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
!
การเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง
“ผู้ฟ้ องคดี” จะต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยตรงจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายต้องมีคำบังคับของศาลปกครองคดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้
เป็นกรณีที่ราษฎรจำนวนหนึ่งได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ
(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ออกใบอนุญาตให้บริษัท อ.
(ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3)ก่อสร้างอาคารชื่อว่า ห้างเทสโก
โลตัส ในท้องที่ตำบลวังกระแจะโดยอาคารดังกล่าวมีขนาดเกินกว่า 1,000 ตารางเมตรและเป็นการก่อสร้างทางเข้าออกอาคารห่างทางร่วมทางแยกน้อยกว่า
100 เมตร ห่างจากสถานที่ราชการสำคัญน้อยกว่า 500 เมตรโดยไม่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อันเป็นการขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
จึงฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนใบอนุญาต แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคาร และจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราษฎรที่ยื่นฟ้องคดีนี้
แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก
เป็นผู้อยู่อาศัย ประกอบกิจการและเป็นเจ้าของอาคารหรือที่ดินในบริเวณใกล้เคียงหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการก่อสร้างอาคารพิพาท
กลุ่มที่สอง
เป็นผู้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะ
อันเป็นพื้นที่ที่มีการก่อสร้างอาคารพิพาท และกลุ่มที่สาม ไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะ แต่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลใกล้เคียงซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเดียวกันคดีนี้ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งรับคำฟ้องเฉพาะราษฎรในกลุ่มแรกเนื่องจากเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่
2 ส่วนราษฎรในกลุ่มอื่นยังไม่ถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองแต่อย่างใด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 และมาตรา 67 ได้บัญญัติในเรื่อง“สิทธิของชุมชน”
ไว้ว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นหลักคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจดังนั้น ราษฎรที่รวมตัวกันเป็นชุมชนจะใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช
2550 ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ได้เพียงใด ?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า
สิทธิของชุมชนในการฟ้องหน่วยงานราชการเป็นคดีปกครอง
อย่างน้อยต้องเป็นชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้
อันเนื่องจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนั้นเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่
2 ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยขัดต่อกฎกระทรวงและอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ทั้งที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีทางเข้าออกอาคารใกล้ชิดทางร่วมทางแยก ซึ่งย่อมก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน
การคมนาคมและขนส่งการสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม ตามวัตถุประสงค์ของการผังเมือง
อันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตต่อผู้ที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในชุมชนท้องถิ่นนั้น
ดังนั้น ราษฎรซึ่งรวมตัวกันเป็นผู้ฟ้องคดีและเป็นราษฎรที่ได้อาศัยหรือประกอบกิจการอยู่ในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือได้รับผลกระทบโดยตรงและมากเป็นพิเศษกว่าบุคคลทั่วไปที่มิได้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะจึงมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนการผังเมือง และการคมนาคมและขนส่งทั้งนี้
เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพชีวิตของตน
ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะจึงมีสิทธิฟ้
องคดีต่อศาลปกครอง
(คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 157/2556)
คดีนี้นับเป็นบรรทัดฐานที่ดีสำหรับประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องเกี่ยวกับการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีซึ่งแม้บุคคลดังกล่าวไม่ได้อยู่อาศัยหรืออยู่ใกล้เคียงกับอาคารพิพาทและไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
แต่หากบุคคลต่างๆ เหล่านั้น เป็นผู้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนและเป็นผู้ได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีพตามปกติอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย
สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตน และได้รวมตัวกันเป็นชุมชน ย่อมถือเป็ นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายซึ่งมีสิทธิฟ้
องคดีต่อศาลปกครอง ... ครับ
นายปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น