บ้านพัง !
เพราะการก่อสร้างผิดแบบ
(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่
2 มีนาคม 2556 )
คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ เป็นเรื่องของเจ้าของที่ดินได้ทำการก่อสร้างอาคารโดยใช้เสาเข็มขนาดใหญ่กว่าที่ได้รับอนุญาตไว้
ทำให้เจ้าของอาคารข้างเคียงได้รับความเสียหายจากการสั่นสะเทือนของเครื่องจักร (ปั้นจั่น) ทำให้ฝาผนังด้านข้างและพื้นทางเดินเกิดรอยแตกร้าว
เรื่องราวของคดีนี้เกิดจากการที่
... ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารพาณิชย์สองชั้นครึ่งจำนวนสี่คูหาในที่ดินของตนเองและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
ในระหว่างการก่อสร้างนาง ส. เจ้าของอาคารข้างเคียงได้มีหนังสือร้องเรียนต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่
1 (เทศบาลตำบล) ว่าได้รับความเสียหายจากการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารของผู้ฟ้องคดี
และจากการตรวจสอบพบว่าผู้ฟ้องคดีใช้เสาเข็มขนาดใหญ่กว่าแบบแปลนหรือรายการประกอบแบบแปลนที่ขออนุญาตก่อสร้าง
ทำให้บ้านของนาง ส. ได้รับความเสียหาย
เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างอาคาร โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 ให้ระงับการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารนับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง
หลังจากที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการก่อสร้างอาคารและผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คาสั่งดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว
จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองโดยอ้างว่าการที่ เจ้าพนักงานท้องถิ่นนำมาตรา 46 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 มาใช้ในการออกคำสั่ง เป็นการไม่ถูกต้องและทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
จึงขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายจากการระงับ การก่อสร้างอาคาร
คดีนี้มีประเด็นสำคัญที่ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัย 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่หนึ่ง เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอานาจออกคาสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารที่พิพาทได้หรือไม่ ? โดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ห้ามผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณ
แบบแปลน และรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต
หรือให้ผิดไปจากที่ได้แจ้งไว้ตามมาตรา 39 ทวิ” และมาตรา 40 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้
กฎกระทรวง หรือข้อบัญญัติท้องถิ่นที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจ (1) มีคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร
ผู้ควบคุมงาน ผู้ดาเนินการ ลูกจ้าง หรือบริวารของบุคคลดังกล่าว ระงับการกระทำดังกล่าว”
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีทำการก่อสร้างอาคารโดยใช้เสาเข็มที่มีขนาดผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับใบอนุญาต
โดยมิได้รับใบอนุญาตให้ทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือแจ้งการแก้ไขเปลี่ยนแปลงต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
เป็นการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแบบแปลนและรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและผิดเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต
จึงเป็นการก่อสร้างอาคารที่ ฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ประกอบข้อ 3 และข้อ
7 วรรคหนึ่ง ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เมื่อความเสียหาย ที่เกิดขึ้นกับบ้านของนาง ส.
เป็นผลโดยตรงจากการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารด้วยปั้นจั่นของผู้ฟ้องคดี หากปล่อยให้
ผู้ฟ้องคดีทำการก่อสร้างอาคารโดยใช้วิธีดังกล่าวต่อไปย่อมทำให้บ้านของนาง ส.
ได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (ปลัดเทศบาล) ซึ่งขณะนั้นปฏิบัติหน้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่
3 (นายกเทศมนตรี) ตามมาตรา 48 ปัญจทศ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.
2496 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น จึงชอบที่จะอาศัยอำนาจตามมาตรา
40 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารดังกล่าวได้
ประเด็นที่สอง การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกคำสั่งระงับการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารโดยอ้างอิงตัวบทกฎหมายผิดหลง
จะทำให้คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ? และเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีหรือไม่
?
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา
40 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร
พ.ศ. 2522 ออกคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารได้
แม้ผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่
3 จะออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 46 วรรคหนึ่ง
แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งเป็นการอ้างอิงตัวบทกฎหมายอันเป็นที่มาของอำนาจในการออกคำสั่งโดยผิดหลง
แต่ก็ไม่มีผลถึงขนาดทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่
2 มีคำสั่งให้ผู้ฟ้องคดีระงับการตอกเสาเข็มฐานรากอาคารพิพาท จึงเป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นการทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี
พิพากษายกฟ้อง
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่
อ. 301/2555)
คดีนี้นอกจากจะเป็นอุทาหรณ์ที่ดีให้กับผู้ที่จะทำการก่อสร้างอาคาร
ที่จะต้องดำเนินการก่อสร้าง ให้เป็นไปตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตไว้ และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของผู้อื่นแล้ว
ยังทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจออกคำสั่งทางปกครองให้มีความระมัดระวังในการออกคำสั่งซึ่งจะต้องตรวจสอบบทบัญญัติของกฎหมายที่ใช้เป็นฐานในการนำมาออกคำสั่งให้ถูกต้อง
และถึงแม้ว่าในบางกรณีอาจเป็นเพียงข้อผิดหลงที่ไม่มีผลถึงขนาดทำให้เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แต่ก็อาจส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนต่อการทำหน้าที่ ของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะได้ไม่มากก็น้อยครับ ! ...
นายปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น