(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่
27 ตุลาคม 2555)
แตะเบรกกะทันหัน ... ยืนยัน ไม่ประมาท ? ... ครับ
!
คดีปกครองที่นามาเล่าในฉบับนี้เป็นเรื่องความประมาทเลินเล่อในการขับขี่ยวดยานพาหนะในช่วงที่
ฝนตกหนักทำให้เกิดความเสียหาย ซึ่งหากยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุเป็นของราชการด้วยแล้ว
ผู้ขับขี่อาจต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้กับราชการได้ ถ้าอุบัติเหตุนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของพนักงานขับรถ
คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อพนักงานขับรถ (ผู้ฟ้องคดี) ได้ขับรถยนต์ของทางราชการพาข้าราชการของโรงพยาบาลไปเข้าร่วมสัมมนา
แต่ได้เกิดอุบัติเหตุระหว่างเดินทางกลับ ทำให้ผู้ฟ้องคดีและข้าราชการบาดเจ็บ ส่วนรถยนต์เสียหายอย่างรุนแรงและหลายรายการ
คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดเห็นว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ไม่ต้องรับผิด
เนื่องจากสภาพถนนเป็นทางโค้งลาดชันเข้าหาคอสะพาน มีฝนตกถนนลื่นยากต่อการควบคุม และระบบป้องกันเบรกล็อกทำงานไม่สมบูรณ์
แต่กระทรวงการคลัง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) เห็นว่า การขับรถในเส้นทางโค้งลงเขาขณะมีฝนตก ถนนลื่น การที่ผู้ฟ้องคดีชะลอความเร็วโดยเปลี่ยนเป็นเกียร์
4 พร้อมกับแตะเบรก แต่รถยังลื่นเสียหลักไม่สามารถควบคุมได้และ พุ่งตกร่องระบายน้ำข้างทาง
แสดงว่าเป็นการขับรถมาด้วยความเร็วสูงและประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง ผู้ฟ้องคดี จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายร้อยละ
75 ของค่าเสียหาย 200,000 บาท เป็นเงิน
150,000 บาท
ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (ผู้ว่าราชการจังหวัด) จึงมีคำสั่งเรียกให้ผู้ฟ้องคดีชดใช้เงินตามความเห็นของกระทรวงการคลังผู้ฟ้องคดีโต้แย้งว่าระบบล้อล็อกบกพร่องเพราะก่อนถึงจุดเกิดเหตุประมาณ 1 กิโลเมตร ได้ลดความเร็วลงพร้อมกับเปลี่ยนเกียร์มาเป็นเกียร์
4 ความเร็วประมาณ 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่เมื่อแตะเบรกทำให้ล้อล็อกเพราะระบบเอบีเอสขัดข้อง
ประกอบกับทัศนวิสัยไม่ดี มีฝนตก ถนนลื่น สภาพถนนเป็นทางโค้งลาดชันลงเขา และเป็นเวลาพลบค่ำ
และความเสียหายของรถยนต์เกิดจากความลึกของร่องระบายน้ำทำให้มีแรงอัดกระแทก หลังจากผู้ฟ้องคดีอุทธรณ์คำสั่งและผู้ถูกฟ้องคดีที่
2 (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) ยกอุทธรณ์
จึงนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งให้ชดใช้เงิน
ข้อกฎหมายสำคัญของคดีนี้ก็คือ
ตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา
8 แห่งพระราชบัญญัติ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 กรณีที่เจ้าหน้าที่กระทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ทำให้หน่วยงาน
ของรัฐเสียหาย หน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้
จะต้องเป็นการกระทำด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น และการเรียกให้เจ้าหน้าที่ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจะต้องคำนึงถึงความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณีโดยไม่ต้องให้ใช้เต็มจำนวนของ
ความเสียหายก็ได้
คดีนี้จึงมีประเด็นสำคัญ 2 ประเด็น คือ
(1)
อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเกิดจากการกระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของผู้ฟ้องคดีหรือไม่
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า
จุดเกิดเหตุเป็นทางโค้งลงเขา มีฝนตก ถนนเปียกลื่น ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นพนักงานขับรถย่อมอยู่ในวิสัยที่ทราบดีถึงวิธีการในการขับรถให้ปลอดภัยในสภาพถนนดังกล่าว
และพึงต้องใช้ ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษกว่าภาวะปกติ การที่ผู้ฟ้องคดีได้แตะเบรกรถกะทันหันเมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุและ
ทำให้ล้อล็อกไม่สามารถควบคุมรถได้จนเป็นเหตุให้รถเสียหลักพุ่งข้ามไปตกในร่องระบายน้าอีกฟากถนน
และไม่มี รถคันอื่นวิ่งสวนหรือวิ่งแซงมาจนจะต้องแตะเบรกกะทันหันหรือหักพวงมาลัยหลบ
พฤติการณ์แสดงให้เห็นว่ารถยนต์ได้วิ่งมาด้วยความเร็วสูงโดยความประมาท ไม่ควบคุมความเร็วของรถให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ และการแตะเบรกกะทันหันทำให้ล้อล็อกจนไม่สามารถควบคุมรถได้แสดงว่า
รถยนต์ต้องวิ่งมา ด้วยความเร็วสูงในระดับหนึ่ง เมื่อแตะเบรกกะทันหันจึงเป็นไปได้สูงที่จะทำให้รถเสียหลักควบคุมทิศทางไม่ได้
ซึ่งหากได้ลดความเร็วลงมาพอสมควรกับสภาพถนนตามอัตราความเร็วที่กล่าวอ้างจริง การแตะเบรกโดยกะทันหัน
จะไม่ทำให้ล้อล็อกจนถึงขั้นควบคุมรถไม่ได้จนเกิดความเสียหายรุนแรงกับรถยนต์ ประกอบกับพยาบาลที่นั่งรถมาด้วยได้กระเด็นออกมานอกรถ
ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงเป็นผลมาจากการที่รถยนต์วิ่งมาด้วยความเร็วสูง
มิได้มีสาเหตุหลักมาจากระบบป้องกันล้อล็อกขัดข้อง และสภาพของร่องระบายน้าที่มีความลึก 4 เมตร หากรถยนต์ตกลงไปโดยมิได้มีแรงอัดกระแทกใดๆ
ความเสียหายจะเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ความเสียหายที่รุนแรงที่เกิดกับรถยนต์น่าจะเกิดจาก
แรงอัดกระแทกของรถอย่างรุนแรงอันเป็นผลมาจากการที่รถยนต์วิ่งมาด้วยความเร็วสูง อุบัติเหตุจึงเกิดจากการขับรถโดยประมาทปราศจากความระมัดระวังที่เพียงพอ
ซึ่งหากได้ใช้ความระมัดระวังแม้เพียงเล็กน้อยก็อาจป้องกันมิให้ เกิดความเสียหายได้
จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและก่อความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐ
(2) ผู้ฟ้องคดีจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้กับหน่วยงานของรัฐเพียงใด
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า นอกจากอุบัติเหตุจะเกิดจากความประมาทของผู้ฟ้องคดีแล้ว
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัจจัยภายนอกที่อาจจะมีต่อระดับการใช้ความระมัดระวังของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป
ไม่ว่าจะเป็นสภาพถนนที่ลาดชันเป็นทางโค้งลงเขา เวลาพลบค่ำและมีฝนตก ถนนมีสภาพเปียกลื่นและทัศนวิสัยไม่ดี
การควบคุมรถให้เหมือนเช่นภาวะปกติย่อมมิอาจกระทำได้ ถือเป็นเหตุภายนอกที่ผู้ฟ้องคดีมิอาจหลีกเลี่ยงและควบคุมได้
ดังนั้น เมื่อพิจารณาถึงระดับความร้ายแรงแห่งการกระทำ ความเหมาะสมและความเป็นธรรมแล้ว
เห็นควรให้ผู้ฟ้องคดีรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในสัดส่วนความรับผิดเพียงร้อยละ 60 ของค่าเสียหาย
200,000 บาท เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท
ศาลปกครองสูงสุดจึงพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งเฉพาะส่วนที่สั่งให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่า 120,000 บาท (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่
อ. 337/2555)
คดีนี้นอกจากจะเป็นอุทาหรณ์ให้กับประชาชนทั่วไปที่ใช้รถใช้ถนนให้ต้องใช้ความระมัดระวังมากกว่าปกติในขณะที่มีฝนตก
ถนนเปียกลื่น หรือในสภาพถนนที่เป็นทางโค้งลาดชันแล้ว ยังเป็นอุทาหรณ์ที่ดีให้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ทำหน้าที่ขับรถยนต์ของราชการว่า
การขับรถยนต์ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่และเป็นผู้มีประสบการณ์ ในการใช้รถใช้ถนน จึงต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มมากขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
เพราะหากพิสูจน์ได้ว่า ความเสียหายนั้นเกิดจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงก็ไม่พ้นที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ครับ !
นายปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น