ใช้ผลิตภัณฑ์ไม่ตรงตามสัญญา ... แต่ขอค่าเสียหายเพราะตรวจงานช้า
จัดทาโดย นางสาววชิราภรณ์ คงกัลป์ พนักงานคดีปกครองปฏิบัติการ
กลุ่มเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการและวารสาร
สำนักวิจัยและวิชาการ สำนักงานศาลปกครอง
ในการดำเนินการจัดซื้อหรือจัดจ้างของส่วนราชการ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วย
การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้กำหนดให้คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน
๓ วันทำการ และให้ทำการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด เมื่อคณะกรรมการตรวจการจ้างเห็นว่า
งานจ้างถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้ถือว่าผู้รับจ้าง
ส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น แต่ถ้าเห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดงวดหนึ่ง
ไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกำหนดในสัญญา ให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อทราบหรือสั่งการ
ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงาน โดยทำความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้า
ส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้จึงจะดำเนินการต่อไป
ทั้งนี้ ตามข้อ ๗๒ (๓) (๔) และ (๕) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕
กรณีที่คณะกรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ตรวจรับงานจ้างเพราะเห็นว่าผู้รับจ้างมิได้ใช้ผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้างหรือเอกสารแนบท้ายสัญญาจ้าง
และมิได้มีการดำเนินการ เพื่อขอเทียบเท่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อน แต่ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ
แต่ภายหลังจากผู้รับจ้างส่งมอบงานและได้พิจารณาเทียบเท่าคุณภาพผลิตภัณฑ์แล้วจึงได้ตรวจรับงานจ้าง
กรณีดังกล่าวจะถือว่าคณะกรรมการตรวจรับงานล่าช้า อันเป็นเหตุให้ต้องรับผิดต่อผู้รับจ้างหรือไม่
คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. ๕๕๕/๒๕๕๔ วินิจฉัยกรณีดังกล่าวไว้โดยมีข้อเท็จจริงสรุปได้ว่า
ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมการแพทย์) ได้ทำสัญญาว่าจ้างผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคาร
ซึ่งกำหนดให้ผู้ฟ้องคดีต้องติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างให้แล้วเสร็จในการก่อสร้างงวดที่
๑๓ และงวดที่ ๑๔ ตามลาดับ โดยเอกสารแนบท้ายสัญญา ข้อ ๕๕ กำหนดให้ผู้ฟ้องคดีใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียม
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีผลิตภัณฑ์ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ไม่ถึง ๓ ราย จึงระบุให้ผู้ฟ้องคดีใช้ผลิตภัณฑ์ของ
๑๑ บริษัทที่กำหนดไว้ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท
ม. ซึ่งมิใช่ผลิตภัณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ และได้ส่งมอบงานโดยคณะกรรมการตรวจการจ้างจานวน
๘ คน เห็นควรตรวจรับงาน แต่อีก ๔ คน ไม่ตรวจรับงาน เนื่องจากไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ
๑๑ บริษัท ที่กำหนด แต่ภายหลังจากที่มีการตรวจสอบคุณภาพวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของผู้ฟ้องคดีว่ามีคุณภาพเทียบเท่าตามเอกสารแนบท้ายสัญญา
กรรมการตรวจการจ้าง ๔ คน จึงตรวจรับงาน ผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคณะกรรมการตรวจการจ้าง ๔ คน
ที่ไม่ตรวจรับงานใช้ดุลพินิจบิดเบือนข้อเท็จจริง ประวิงเวลาตรวจรับงานทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย
จึงขอให้ศาลมีคาพิพากษาให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงิน ๒๖๖,๙๓๔ บาท
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า ก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะทำการก่อสร้างงานงวดที่
๑๓ และ งวดที่ ๑๔ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นหนังสือขอใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท
ม. ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อ
๕๕ ของเอกสารแนบท้ายสัญญา จึงเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้ขอใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเทียบเท่าผลิตภัณฑ์ที่ระบุไว้
ผู้ฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ซึ่งกำหนดให้ต้องมีการพิสูจน์ให้เป็นที่เชื่อถือก่อน
ส่วนราชการจึงจะยอมรับว่าเป็นสิ่งของเทียบเท่าได้ ต่อมา คณะกรรมการตรวจการจ้างได้มีหนังสือหารือไปยังกองแบบแผน
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกลุ่มงานวินัยและนิติการของผู้ถูกฟ้องคดี ซึ่งเห็นว่าผู้ฟ้องคดีใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท
ม. ในการติดตั้งได้ แต่ในระหว่างที่การเสนอขอใช้วงกบกรอบ บานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมยังไม่ได้ข้อยุติ
ผู้ฟ้องคดีได้เข้าติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมโดยใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท
ม. จนแล้วเสร็จ และได้ส่งมอบงานงวดที่ ๑๓ ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน
๒๕๔๒ และงวดที่ ๑๔ ในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ โดยคณะกรรมการตรวจการจ้างมีความเห็นแบ่งเป็น
๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ ๑ กรรมการจานวน ๘ คน เห็นควรตรวจรับงาน ส่วนฝ่ายที่ ๒ กรรมการอีกจานวน
๔ คน ไม่ยอมตรวจรับงาน และได้ทำบันทึกความเห็นแย้งโดยเสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิขึ้นมาพิจารณาเทียบเท่าคุณภาพวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของผู้ฟ้องคดีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ และหลังจากคณะกรรมการดังกล่าวเห็นว่า วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างของผู้ฟ้องคดีมีคุณภาพเทียบเท่าตามข้อ
๕๕ ของเอกสารแนบท้ายสัญญา กรรมการตรวจการจ้างจำนวน ๔ คน ที่ไม่ยอมตรวจรับงานในครั้งแรกจึงได้ตรวจรับงานงวดที่
๑๓ และงวดที่ ๑๔ ในวันที่ ๒๗ ธันวาคม ๒๕๔๒
การตรวจรับงานของคณะกรรมการตรวจการจ้างที่เกิดความล่าช้าจึงมีสาเหตุ
๒ ประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง การเสนอขอใช้วงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท
ม. ไม่เป็น
ไปตามข้อ ๕๕ ของเอกสารแนบท้ายสัญญา และประการที่สอง ผู้ฟ้องคดีลงมือติดตั้งวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมโดยที่ยังไม่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจการจ้าง
และยังมิได้มีการดำเนินการพิสูจน์คุณภาพเทียบเท่าผลิตภัณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ ๖ ของเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นผลให้กรรมการตรวจการจ้างจานวน
๔ คน ไม่ยอมตรวจรับงานและได้ทาบันทึกความเห็นแย้งไว้เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพเทียบเท่าตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
ดังนั้น การที่กรรมการตรวจการจ้างจำนวน ๔ คน ไม่ยอมตรวจรับงานและได้ทาบันทึกความเห็นแย้งไว้
จึงเป็นการดาเนินการตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในข้อ ๗๒ (๕)
ของระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ และไม่อาจรับฟังได้ว่าคณะกรรมการตรวจการจ้างตรวจรับงานล่าช้าเกินสมควร
และความเห็นของกองแบบแผน และกลุ่มงานวินัยและนิติการก็เป็นเพียงการตอบข้อหารือจึงไม่มีผลผูกพันคณะกรรมการตรวจการจ้าง
และไม่เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ นอกจากนี้ แม้ว่าวงกบกรอบบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมของบริษัท
ม. จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม แต่เมื่อเอกสารแนบท้ายสัญญาระบุให้ใช้ผลิตภัณฑ์ของบริษัท
๑๑ บริษัท ผู้ฟ้องคดีจึงต้องปฏิบัติตามหรือดำเนินการขอเทียบเท่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก่อนการติดตั้งตามมติคณะรัฐมนตรี
ผู้ฟ้องคดีจึงอ้างไม่ได้ว่าปฏิบัติถูกต้องตามสัญญา
ผู้ถูกฟ้องคดีจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้ฟ้องคดี
จากคำพิพากษาดังกล่าว
ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักการสำคัญในเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจการจ้างตามระเบียบสานักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ ว่า คณะกรรมการตรวจการจ้างมีอำนาจที่จะไม่ตรวจรับงานจ้างหากเห็นว่าผู้รับจ้างไม่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญา
ถึงแม้ว่าผู้รับจ้างจะใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมแล้วหรือเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานได้ให้ความเห็นว่าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้แล้ว
ก็ไม่มีผลผูกพันให้คณะกรรมการต้องยอมรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแต่อย่างใด เนื่องจากผู้รับจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาและความเห็นดังกล่าวก็เป็นเพียงการตอบข้อหารือไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
๒๓ มีนาคม ๒๕๒๐ ซึ่งผู้รับจ้างที่ขอใช้ผลิตภัณฑ์อื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญาจะต้องเสนอขอเทียบเท่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ต่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ส่วนราชการแต่งตั้งขึ้นจากผู้ชำนาญการหรือผู้แทนของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
และความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าวให้เป็นที่สุดในเรื่องนั้น หากคณะกรรมการยอมรับสิ่งของนั้นก็ให้
ส่วนราชการยอมรับว่าเป็นสิ่งของที่เทียบเท่าได้
(บ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น