วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559

นายกฯสั่งลุยเงินลงท้องถิ่น จี้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่าย-ลงทุนพยุงเศรษฐกิจ

นายกฯสั่งลุยเงินลงท้องถิ่น จี้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่าย-ลงทุนพยุงเศรษฐกิจ
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2559

          จี้รัฐวิสาหกิจเบิกจ่าย-ลงทุนพยุงเศรษฐกิจ
          “บิ๊ก ตู่”สั่งลุยเทเม็ดเงินลงทุนลงท้องถิ่น 4 สาย จัดเพิ่มอีก 2 สายจากเดิมที่มี 2 สาย อัดงบกลางให้หมู่บ้านผ่านทางผู้ใหญ่–กำนันพัฒนาโครงการขนาดเล็กในหมู่บ้าน อีก 30,000 ล้านบาทเข้า ครม.1–2 สัปดาห์นี้ ด้านมหาดไทยอนุมัติ 60,000 ล้านบาทพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่น “สมคิด” จี้รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่เร่งเบิกจ่าย–หันลงทุนในประเทศ หวังมีเม็ดเงินช่วยพยุงเศรษฐกิจในภาวะเศรษฐกิจโลกยังมองไม่เห็นแสงสว่าง
          นาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้เรียกผู้บริหารรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ 14 แห่งมาหารือพร้อมด้วยนายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง โดยได้กำชับอย่างหนักเรื่องการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจแต่ ละแห่ง ซึ่งได้เรียกชื่อเป็นรายหน่วยงานให้รายงานเรื่องความคืบหน้าการใช้จ่ายเงิน ลงทุน และให้เร่งการใช้จ่ายเงินลงทุนในไตรมาส 2 ของปีนี้เป็นต้นไป ก่อนที่เม็ดเงินจะเบาบางลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ค่อยดี สำหรับรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ทั้ง 14 แห่งถือว่ามีเม็ดเงินมหาศาล แต่การเบิกจ่ายยังไม่บรรลุเป้าที่ต้องการ ขณะที่บางหน่วยงานได้ปรับเป้าให้ต่ำลงมา แต่การปรับนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ที่แท้จริง ไม่ใช่ปรับลดลงเพื่อทำให้ตัวเลขบรรลุเป้าหมายง่ายขึ้น
          สำหรับ รัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ทั้ง 14 แห่งที่เข้าร่วมประชุม เช่น ปตท.ได้รายงานว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกไม่ดีจึงได้ชะลอการลงทุนในต่างประเทศลงมา จึงได้สั่งไปว่าให้ดูเรื่องการลงทุนในประเทศด้วย โดยให้เร่งสำหรับโครงการที่ยังค้างอยู่ เช่น โครงการลงทุนก่อสร้างคลังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ขณะที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรที่มีผลกำไรสูง จึงได้กำชับให้ไปเร่งทำโครงการขยายสนามบินต่างๆที่ปัจจุบันคับแคบลงไปเนื่อง จากมีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ทั้งโครงการสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 สนามบินเชียงใหม่ สนามบินภูเก็ต เป็นต้น รวมถึงสนามบิน จ.อุดรธานี และสนามบิน จ.อุบลราชธานีด้วย โดยรมว.คลัง ได้กำชับการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยให้ไปเร่งทำแผนการขยายสนามบิน และการเร่งทำสัญญาโดยเร็วภายใน 2-3 เดือน
          ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีต้องการให้เงินลงสู่ท้องถิ่น 4 สายประกอบด้วยสายที่ 1 จากโครงการปล่อยสินเชื่อผ่านกองทุนหมู่บ้าน 60,000 ล้านบาทซึ่งผ่านไปแล้ว สายที่ 2 โครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ เพื่อเพิ่มปริมาณการลงทุนในระดับชุมชนผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดย รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท นำไปทำโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้าน เช่น โรงสีขนาดเล็ก เป็นต้น วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท โดยขณะนี้ มีโครงการเสนอเข้ามาแล้ว 50,000 โครงการ ช่วงกลางเดือน มี.ค.นี้จะเริ่มมีเม็ดเงินส่วนนี้ทยอยลงไป
          ขณะ เดียวกัน สายที่ 3 จะมีเม็ดเงินจากกระทรวงมหาดไทยในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่อนุมัติ มาแล้ว 60,000 ล้านบาท ที่จะลงไปพัฒนาท้องถิ่น เช่น ด้านแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้นและนายกรัฐมนตรียังต้องการให้มีสายที่ 4 เป็นสายที่ลงไปสู่ภูมิภาค ผ่านไปทางกำนันผู้ใหญ่บ้าน ทำโครงการขนาดเล็กที่เป็นประโยชน์กับหมู่บ้านใช้ชื่อโครงการประชารัฐเพื่อ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก ถ้าเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารที่ 22 มี.ค.นี้ทันก็จะเข้า ถ้าไม่ทันก็เป็นสัปดาห์ถัดไป
          นาย สมคิดกล่าวด้วยว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับแกนนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น นายกสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และสันนิบาตเทศบาล หลังจากที่กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบให้ใช้งบประมาณสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นที่เก็บสะสมมานานมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยได้เชิญปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เข้าร่วมหารือด้วย หลังจากที่ได้ให้การบ้านไปหาพื้นที่มาพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดีขึ้น เมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยจะใช้งบท้องถิ่นมาพัฒนาแหล่งท่องเที่ยววงเงิน 60,000 ล้านบาท
          ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้กำชับก่อนหน้านี้ให้ใช้งบประมาณของท้องถิ่นส่วนนี้ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้ท้องถิ่นเจริญขึ้น โดยจะมีกระบวนการกลั่นกรองโครงการที่ดีด้วยการตั้งคณะอนุกรรมการมาพิจารณา โครงการร่วมกันระหว่าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งจะจัดงานเปิดตัวโครงการพลังท้องถิ่นประชารัฐหรือคิกออฟในวันที่ 7 เม.ย.นี้
          ด้านนายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า โครงการประชารัฐเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก จะใช้งบประมาณ 30,000 ล้านบาท จากงบกลางรายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็นปี 2559 ซึ่งเป็นส่วนที่รวบรวมจากงบลงทุนที่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามกำหนดในช่วงไตร มาสที่ 1-2 ของปีงบประมาณ 2559 โดยจะโอนมาเป็นงบกลางประมาณ 57,000 ล้านบาท โดยภายในวันที่ 29 มี.ค.นี้ สำนักงบประมาณจะนำรายละเอียดเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.จากนั้นในวันที่ 10 พ.ค.จะเสนอร่าง พ.ร.บ.โอนรายจ่ายงบประมาณให้ ครม.เห็นชอบ ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจาณาในวันที่ 16 พ.ค.2559.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น