คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด |
สยามรัฐ ฉบับวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ |
รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม ผม ได้รับเชิญจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ไปพูดและร่วมอภิปรายเกี่ยว กับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดให้กับ เลขานุการร่วมของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ซึ่งบุคคลที่เป็นอนุกรรมการร่วมประกอบด้วยตัวแทนเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ซึ่งมาร่วมประชุม ประมาณ 200 คน ประเด็นในที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายและนำเสนอ แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ที่ควรจะทำให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ ซึ่งมีหลายประเด็นซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่ผมได้นำเสนอเชิงนโยบาย เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยหลายประเด็น จึงอยากเสนอไว้เพื่อเป็นแนวทางดังนี้ (1) เสนอให้ในระดับรัฐบาลและระดับชาติต้องทำให้เป้าหมายการพัฒนาเด็กเป็น "เป้าหมายระดับวาระแห่งชาติ" เพื่อการทำให้หน่วยปฏิบัติในระดับจังหวัด ต้องดำเนินการตามนโยบายและ "ต้องจัดทำวาระจังหวัดในการพัฒนาเด็กปฐมวัย" ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงการตระหนักในการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยที่จะสามารถบูรณาการพัฒนาเด็กของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มุ่งไป สู่เป้าหมายอย่างมีเอกภาพ แม้ว่าในทางหลักการจะมีพัฒนาการของ การส่งเสริมการพัฒนาเด็กที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันมาตลอดก็ตาม แต่การทำให้มีความชัดเจนให้เป็น"วาระแห่งชาติของรัฐบาล" ก็ยังมีความจำเป็นและกระทำให้เชื่อมโยงสัมพันธ์ถึงระดับจังหวัด ซึ่งเป็นจุดรวมของการปฏิบัติการระดับพื้นที่ ทั้งนี้เพราะมีหน่วยปฏิบัติการพัฒนาเด็กอยู่หลายหน่วย ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังกล่าว จึง เห็นว่าในระดับจังหวัดต้องบูรณาการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ โดยการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด จำเป็นต้องทำให้เกิดการบูรณาการ นอกจากนี้เห็นควรให้ตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัย ระดับจังหวัด ว่าได้ตอบสนองนโยบายที่เป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาลมากน้อยเพียงใด อันเป็นการทบทวนการปฏิบัติการที่เชื่อมโยงกับระดับพื้นที่ โดยอาจจะให้หน่วยงานระดับสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ติดตามประเมินผล (2) การใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการบูรณาการในประเด็นดังกล่าวมีข้อเสนอ ในเชิงนโยบายระดับจังหวัด ก็คือ ต้องทำให้หน่วยปฏิบัติในระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยขาน รับนโยบายรัฐบาลเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นผู้ประกาศนโยบายจังหวัดเป็น "วาระจังหวัดการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับจังหวัด" และให้อนุกรรมการฯ มีความตระหนักร่วม เพื่อทำให้เห็นความสำคัญร่วม และจัดทำการบูรณาการข้อมูลร่วม การจัดทำวิสัยทัศน์ การจัดทำยุทธศาสตร์แผนงานโครงการร่วม ในแต่ละจังหวัด (3) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) วางมาตรการหรือหาแนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณะอนุกรรมการพัฒนา เด็กปฐมวัยระดับจังหวัดให้รับทราบและเข้าใจถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ หรืออาจจะรณรงค์ให้เกิดความตระหนัก ความสำคัญในความจำเป็นที่จะต้องการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยมีข้อเสนอแนะให้ดำเนิน การ ดังนี้ (1.1) ให้ทุกจังหวัดจัดทำหรือให้มีวาระจังหวัด "การพัฒนาเด็กปฐมวัย" โดยให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นแกนประธาน (1.2) ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน ขอความร่วมมือหรือสั่งการให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ช่วยเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานกับหน่วยงานที่เป็นเลขานุการร่วมในคณะ อนุกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดให้เป็น รูปธรรม (1.3) ให้ทุกจังหวัดจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย และแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการ ของคณะอนุกรรมการฯ หรือควรแต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อยกร่างโดยให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมาร่วมกันจัดทำ (1.4) ให้มีการติดตามประเมินแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยของทุกจังหวัดว่า มีความก้าวหน้าและดำเนินการมีผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้างของการดำเนินงานอย่างไรบ้างจะได้เป็นการสรุปบทเรียน (4) ข้อเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการฯ ต้องมานั่งเป็นประธานหัวโต๊ะเป็นผู้จัดการประชุมด้วยตัวเอง มากกว่าที่มอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด มาเป็นตัวแทนการประชุมอนุกรรมการฯที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่การมอบหมายให้ พมจ. เพราะจะทำให้คณะอนุกรรมการฯ ไม่เห็นความสำคัญของการประชุมมักส่งตัวแทนมาร่วมประชุมอยู่บ่อยๆ ทำให้ความเข้าใจในเรื่องการทำงานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่ต่อเนื่อง จึงเสนอให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่ง ได้มาประชุมด้วยตนเอง เพื่อตอบโจทย์วาระจังหวัด และสร้างความตระหนักและความเข้าใจร่วมกันเป็นเบื้องต้น ทั้งนี้เห็นว่าขั้นตอนการสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันของอนุกรรมการฯ ในการทำงานย่อมมีความสำคัญมากที่สุด อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเด็กในระดับจังหวัด (5) ข้อเสนอให้กับเลขานุการร่วมซึ่งมีที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลัก 4 หน่วยงานนั้น ผลจากการวิจัย พบว่า หน่วยงานที่ทำเลขานุการร่วมหลัก ได้แก่ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) ของจังหวัดนั้นๆ ซึ่งกลายเป็นภาระงานของฝ่ายเลขานุการร่วมจึงขอเสนอให้ฝ่ายเลขานุการร่วมทั้ง 4 ฝ่ายต้อง ร่วมตกลงกันให้ชัดว่าจะแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยให้ยึดภาระงานของแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ เป็นหลัก เช่น งานด้านที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ก็ให้ผู้แทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการร่วมงานด้านองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นก็ให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น งานด้านการศึกษาที่เกี่ยวกับสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ให้ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่เป็นฝ่ายเลขานุการหลักร่วม เป็นต้น ส่วน การประชุมอนุกรรมการต้องมีการกำหนดเวลาในการประชุม(Time line)ให้ชัดเจนในรอบปี โดยให้อนุกรรมการฯ ร่วมกันกำหนดวันเวลาสถานที่ไว้เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบตั้งแต่ต้น รวมทั้งให้จังหวัดพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานในส่วนที่ต้องให้ส่วนที่นอกเหนือ จากอนุกรรมการฯมาร่วมทำงานส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยในจังหวัด โดยอาจจะมีการจัดประชุมนอกรอบ ตามแต่เห็นสมควร (6) ข้อเสนอในการจัดทำการทำงานยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กระดับจังหวัดแบบบูรณาการ จำเป็นจะต้องเริ่มต้นด้วยการร่วมคิด ร่วมสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญร่วมกัน ตั้งแต่การบูรณาการข้อมูลด้านเด็กปฐมวัยของจังหวัด การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมและการวิเคราะห์สถานการณ์เด็ก การวางเป้าหมายการพัฒนาเด็ก โดยเฉพาะการนำนโยบายเป้าหมายการพัฒนาเด็กของชาติมาร่วมพิจารณา ดังเช่น ยุทธศาสตร์ที่ 1 เด็กทุกคนได้รับการบริการการพัฒนาเต็มศักยภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ไอโอดีนกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 กลไกการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัย รวม ทั้งการวางเป้าหมายให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่สังคมวัฒนธรรมของจังหวัดนั้น ซึ่งอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลัก ดังเช่น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก การจัดการศึกษาให้กับเด็กให้มีคุณภาพ การปกป้องเด็กจากการถูกละเมิดหรือแสวงหาประโยชน์ และความรุนแรงเป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องตั้งทีมคณะทำงานด้านเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นต้นทางความคิดในการระดมทรัพยากรในจังหวัดเพื่อมาร่วมจัดทำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับจังหวัดอย่างเป็นระบบ นั่นก็คือ การจัดทำยุทธศาสตร์แผนงานโครงการ/กิจกรรม การพัฒนาเด็ก อาจจะจัดทำเป็นแผน 3 ปี 5 ปี และจัดทำแผนการพัฒนาเด็กในแต่ละปี ดังนั้นจึงเห็นว่า ทุกจังหวัดต้องเริ่มจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเด็กปฐมวัยของอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับ จังหวัดร่วมกัน โดยต้องจัดให้มีเวทีประชุมหรือสัมมนาต่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ (7) ข้อเสนอให้จังหวัด โดยอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดคัดเลือกโครงการหรือ กิจกรรมที่เป็นแบบอย่างหรือต้นแบบแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จังหวัดละ 1-2 โครงการ/กิจกรรมแบบบูรณาการร่วมกันเกี่ยวการพัฒนาเด็กให้เป็นต้นแบบให้เกิด เป็นรูปธรรมแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่สามารถนำรูปแบบความสำเร็จที่เป็นแบบอย่างที่ดีไปประยุกต์ใช้เป็นแนว ปฏิบัติต่อไป |
เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับวงงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ฅนเทศบาล
เมนูหลัก
ข่าวท้องถิ่น
ระเบียบบริหารงานบุคคลของพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งพนักงานส่วนท้องถิ่น
มาตรฐานการบริหารงานบุคคลพนักงานส่วนท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558
คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น