กลิ่นเหม็นของสุนัข
... ระงับเหตุด้วยครับ !
คดีปกครองที่นำมาเล่าในฉบับนี้นับว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นใกล้ตัวที่หลาย
ๆ คนอาจเคยเจอกับเหตุการณ์หรือความเดือดร้อนรำคาญดังเช่นในคดีนี้ไม่มากก็น้อย โดยคดีนี้เป็นเรื่องราวของผู้ฟ้องคดีซึ่งอาศัยอยู่ชั้นที่
1 ของอาคารชุดได้รับความเดือดร้อนรำคาญจากเสียงดังและกลิ่นเหม็นของสุนัขที่ผู้เลี้ยงสุนัขเลี้ยงไว้ในบริเวณบ้านจำนวน
15 ตัว ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านที่พักอาศัย ประมาณ15 เมตร จึงได้ร้องเรียนปัญหาที่เกิดขึ้นต่อนายกเทศมนตรีไปสองครั้ง และทุกครั้งที่ได้รับเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ได้เข้าไปตรวจสอบและแจ้งให้ผู้เลี้ยงสุนัขควบคุมดูแลสุนัขไม่ให้ส่งเสียงดังรบกวน
ให้เลี้ยงเฉพาะในบริเวณบ้าน ดูแลรักษาสถานที่เลี้ยงให้สะอาดและจัดเก็บมูลสัตว์ให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ตลอดจนให้ลดจำนวนสุนัขลง แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังคงมีอยู่เหมือนเดิม
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่านายกเทศมนตรี (ผู้ถูกฟ้องคดี)
ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ขอให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญดังกล่าวการที่นายกเทศมนตรีได้ใช้อำนาจหน้าที่ในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนแต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป
จะถือว่าได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องครบถ้วนแล้วหรือไม่ ?
โดยมาตรา 26 ประกอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีอำนาจออกคำสั่งห้ามผู้หนึ่งผู้ใดมิให้ก่อเหตุรำคาญรวมทั้งการระงับเหตุรำคาญในที่สาธารณะหรือสถานที่เอกชน
โดยหากเกิดเหตุรำคาญในสถานที่เอกชนให้ออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญภายในเวลาอันสมควรหรือกำหนดวิธีการหรือกระทำโดยวิธีการใดเพื่อระงับหรือป้องกันมิให้เกิดเหตุรำคาญได้
และหากไม่ปฏิบัติตามคำสั่งให้มีอำนาจระงับเหตุและจัดการตามความจำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เหตุรำคาญเกิดขึ้น
หรือหากเหตุรำคาญนั้นอาจเกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพหรือกระทบต่อสภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนให้มีอำนาจสั่งห้ามไม่ให้ใช้สถานที่นั้นจนกว่าจะเป็นที่พอใจว่าได้มีการระงับเหตุรำคาญแล้ว
ข้อเท็จจริงจากการตรวจสอบสถานที่ที่มีการเลี้ยงสุนัขพบว่า สุนัขที่เลี้ยงไว้ยังคงส่งเสียงดังรบกวนเพื่อนบ้านข้างเคียงและผู้เลี้ยงสุนัขได้ปล่อยสุนัขออกจากบ้านมาเดินบริเวณถนนสาธารณะ
ส่งเสียงรบกวน และไม่กำจัดสิ่งปฏิกูลทำให้ส่งกลิ่นเหม็น
ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อการเลี้ยงสุนัขไว้เป็นจำนวนมากเกิดปัญหามลภาวะจากการส่งเสียงดังหรือการส่งกลิ่นเหม็น
รวมทั้งปัญหาที่เกิดจากการเจ็บป่ วยของสุนัข จึงเป็นเหตุรำคาญตามมาตรา
25 (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติการสาธารณสุข
พ.ศ. 2535 นายกเทศมนตรีในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงมีอำนาจหน้าที่โดยตรงที่จะ
ป้
องกันระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญตลอดเวลาโดยการควบคุมการเลี้ยงหรือปล่อยสัตว์ในเขตพื้นที่
ระงับเหตุรำคาญอันเกิดจากสัตว์ที่มีเจ้าของหรือสัตว์เร่ร่อน
มีอำนาจออกประกาศเขตพื้นที่เลี้ยงเพื่อคุ้มครองสุขลักษณะอนามัยของประชาชน
และแม้นายกเทศมนตรีจะอ้างว่าได้เพิ่มมาตรการมากยิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นการใช้มาตรการทางอาญา
ในเชิงบริหารรวมทั้งมาตรการแก้ไขเหตุเดือดร้อนรำคาญตามมาตรา
28 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วก็ตาม แต่ก็เป็นการดำเนินการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เพียงบางส่วน
เมื่อเหตุรำคาญยังคงมีอยู่โดยผู้เลี้ยงสุนัขยังปล่อยให้สุนัขส่งเสียงดังรบกวนและส่งกลิ่นเหม็นจึงถือว่า
มิได้ดำเนินการให้มีการระงับเหตุเดือดร้อนรำคาญตามอำนาจหน้าที่โดยถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด
อันเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.
231/2557)
คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้วางบรรทัดฐานการปฏิบัติราชการที่ดีในเรื่องการใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า
ความเสียหายหรือความเดือดร้อนรำคาญที่กระทบต่อสุขภาพหรือความเป็นอยู่ของประชาชน
ที่สุดแล้วจะต้องสามารถแก้ไขปัญหาหรือระงับเหตุให้หมดสิ้นไปได้ เพราะกฎหมายได้กำหนดมาตรการต่าง
ๆไว้แล้วอย่างครอบคลุม การที่เจ้าหน้าที่ใช้อำนาจดำเนินการและปรับใช้กฎหมายไปเพียงบางส่วนและไม่สามารถระงับเหตุให้หมดไปได้
ยังคงถือว่าละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ ครับ
!
นายปกครอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น