วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เทศบาลก่อสร้างต้องรอบคอบ ไม่งั้นอาจต้องรือถอนได้


 “ท่อระบายน้ำ” ความจำเป็นที่ต้องมี ... กับความเดือดร้อนที่เกินควร ?

(หนังสือพิมพ์บ้านเมือง คอลัมน์คดีปกครอง ฉบับวันเสาร์ที่ 25 พฤษภาคม 2556)
แม้ว่าเทศบาลจะมีอำนาจทำหน้าที่จัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ ทางระบายน้ำเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเองตามมาตรา 50 วรรคสอง และมาตรา 53 (5) แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ประกอบมาตรา 16 (2) แห่งพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แต่ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ก็จำเป็นจะต้องศึกษาข้อมูล หรือผลกระทบอย่างรอบด้านเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์สาธารณะกับความเสียหายของเอกชน

ดังเช่นคดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นกรณีที่เทศบาลได้ใช้อำนาจหน้าที่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นโดยการแก้ปัญหาน้ำท่วมซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี แต่ปรากฏว่า หลังจากดำเนินการไปแล้วกลับทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมในบางหมู่บ้านมากขึ้นกว่าเดิม
ผู้พักอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่ถูกน้ำท่วมดังกล่าว จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองขอให้ตรวจสอบ การใช้อำนาจของเทศบาลดังกล่าวว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
โดยผู้ฟ้องคดีฟ้องว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (เทศบาล) และผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (นายกเทศมนตรี) ก่อสร้างถนนและวางท่อระบายน้ำขึ้นใหม่ตามแนวถนนที่ประชาชนใช้สัญจรเข้าออกหมู่บ้านเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมหมู่บ้าน แต่ได้ วางท่อระบายน้ำสูงกว่าท่อระบายน้ำเดิมในหมู่บ้าน เป็นเหตุให้น้ำจากภูเขาไหลเข้าท่วมพื้นที่หมู่บ้านและระบายน้ำออกไม่ได้ ทำให้น้ำท่วมมากกว่าเดิม โดยขอให้ศาลปกครองมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีรื้อท่อระบายน้ำ ที่สร้างใหม่ออกและวางท่อและระบบระบายน้าให้มีระดับต่ำกว่าท่อน้ำเดิม

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมในหมู่บ้านนี้ก็คือ เทศบาลได้ดาเนินการแก้ปัญหามาโดยตลอดโดยทำการปรับปรุงถนน (เส้นที่วางท่อระบายน้ำใหม่) ให้สูงกว่าถนนในหมู่บ้านพิพาท ปรับปรุงเป็นถนนคอนกรีต ให้ถนนสูงขึ้นกว่าถนนในหมู่บ้านพิพาท สูงกว่าถนนในหมู่บ้านข้างเคียง สร้างท่อระบายน้ำใหม่สูงกว่าถนนและสูงกว่า ท่อระบายน้ำเดิมในหมู่บ้านพิพาท
สาหรับการที่หมู่บ้านพิพาทถูกน้ำท่วมมากขึ้นกว่าเดิมนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีชี้แจงว่า สภาพของหมู่บ้านพิพาทเป็นพื้นที่ต่ำ การสร้างท่อระบายน้าพิพาททำให้ประชาชนในหมู่บ้านอื่นซึ่งเป็นประชาชนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์โดยตรงและเทศบาลมีแนวทางแก้ปัญหามิให้น้ำท่วมหมู่บ้านพิพาท คือการเปิดปากท่อระบายน้ำหรือ ขุดร่องระบายน้ำลอดใต้ท่อระบายน้ำที่สร้างไว้

เทศบาลจะต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ฟ้องคดีหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า แม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่จัดให้มีและบำรุงรักษา ทางระบายน้ำตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ก็ตาม แต่การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาลต้องเป็นไป เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนโดยใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีด้วย เมื่อน้ำท่วมบริเวณพิพาทมีสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากการก่อสร้างท่อระบายน้ำใหม่ พร้อมรางรูปตัววีและบ่อพักน้ำสูงกว่าท่อระบายน้ำเดิมในหมู่บ้าน ทำให้ปิดกั้นการไหลของน้ำ การกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีจึงเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เป็นการใช้สิทธิ ซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นอันเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นการกระทำละเมิดของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอันเกิดจากการใช้อำนาจ ตามกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 2

จึงให้ผู้ถูกฟ้องคดีแก้ไขปัญหาน้ำท่วมหมู่บ้านพิพาท โดยให้รื้อถอนท่อระบายน้ำพร้อมรางรูปตัววีและบ่อพักน้าที่สร้างใหม่ออก และก่อสร้างวางระดับท่อระบายน้ำพร้อมรางรูปตัววีและบ่อพักน้ำใหม่ตามความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 772/2555)
คดีนี้เป็นอุทาหรณ์ที่ดีสาหรับหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐว่า แม้จะมีอำนาจ ตามกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ แต่ถ้าการดำเนินการนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน หรือเสียหายกับประชาชนหรือเอกชนบางรายมากเกินควร ก็ถือว่าเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าวครับ !
นายปกครอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น