วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ไม่หนักใจเงินอุดหนุนเหลื่อมล้ำนายก ส.ท.ท.ยันทำต่อสู้ตลอด 10 ปี/เป็นดุลพินิจผู้บริหารส่งเงินเข้าสมาคมฯ


ไม่หนักใจเงินอุดหนุนเหลื่อมล้ำนายก ส.ท.ท.ยันทำต่อสู้ตลอด 10 ปี/เป็นดุลพินิจผู้บริหารส่งเงินเข้าสมาคมฯ
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          กาฬสินธุ์: นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายกเทศมนตรีตำบลยางตลาด อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ ในฐานะนายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาการเรียกร้องเงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่มีความเหลื่อมล้ำกัน ก่อนหน้านี้ในห้วงปี พ.ศ.2548 - 2550 มีการยกฐานะของ อบต.ขึ้นมาเป็น ทต.จำนวนมาก แต่ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยก่อนว่าค่ารายหัวนั้นจะยังไม่ปรับขึ้นเท่ากับ พื้นที่ที่เป็นทต.เดิมเบื้องต้นทุกฝ่ายยอมรับในข้อตกลงซึ่งทำให้ ทต.ที่ยกฐานะขึ้นมาใหม่ได้รับค่ารายหัวเท่ากับที่เป็น อบต. แต่สิ่งที่เกิดขึ้น ส.ท.ท. ไม่ได้นิ่งนอนใจทุกฝ่ายเร่งแก้ปัญหา เร่งดำเนินการหาทางออกอยู่โดยตลอด ที่เป็นปัญหามากว่า10 ปีแล้ว เพราะ ส.ท.ท.มีหน้าที่เรียกร้องและดำเนินการต่างๆ เพื่อให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้ประโยชน์สูงสุด
          นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามในส่วนของความไม่พอใจของผู้บริหาร อปท. ที่ถือว่าเป็นเพียงส่วนน้อยที่ไม่เข้าใจกระบวนการ เพราะขณะนี้ส.ท.ท. มีสมาชิกซึ่งเป็นเทศบาลต่างๆทั่วประเทศทั้งหมด 2,176 แห่ง ตามสถานการณ์ปัจจุบันก็มีเข้าออกหมุนเวียนตลอดทุกๆ เดือน และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในกรณีของเทศบาลแห่งหนึ่งในจ.สงขลาที่จะรวบรวมเครือ ข่ายทั้งหมดงดส่งเงินอุดหนุนให้กับ ส.ท.ท. มองว่ากระทบกับส.ท.ท. ไหม ต้องบอกว่าอาจมีกระทบบ้างแต่กระทบส่วนน้อยไม่มากนัก
          "ส.ท.ท.มี งบประมาณจากเงินอุดหนุนของสมาชิกปีละ 60 - 80 ล้านบาทโดยเทศบาลที่เป็นสมาชิกจะส่งเงินอุดหนุนเข้ามาที่ ส.ท.ท. แต่ละพื้นที่ส่งเงินอุดหนุนไม่เท่ากัน 40,000 บาท 100,00 บาทต่อปี แล้วแต่พื้นที่และเงินค่ารายหัวที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลโดยเงินส่วนนี้ จะนำมาบริหารจัดการภายในของ ส.ท.ท.ที่มีเจ้าหน้าที่กว่า30 คน ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ นอกจากนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเหลือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ ของส.ท.ท.และเทศบาลต่างๆ และหากมีการหยุดส่งเงินอุดหนุนในส่วนของเทศบาลที่ไม่พอใจ ส.ท.ท.นั้น ส่วนนี้ก็คงสุดวิสัยเป็นเรื่องดุลพินิจของผู้บริหารของแต่ละพื้นที่ที่จะ พิจารณาตามความเหมาะสม แต่ยอดคงไม่ถึงมากนักอย่างไรก็ตามอยากให้มองภาพย้อนหลังไปว่าที่ผ่านมา ส.ท.ท. ได้มุ่งมั่นทำงานมามากน้อยแค่ไหน อยากให้ดูผลงานที่ผ่านมาบ้าง อย่างเช่น บทบาทของ ส.ท.ท.ที่ตามทวงคืนเงินอุดหนุนที่กระจายไปสู่ท้องถิ่นหายไป 40 เปอร์เซ็นต์ กลับคืนมา นอกจากนี้ผู้บริหารอปท. เองก็ต้องเข้าใจบทบาทของส.ท.ท. ด้วยว่าไม่มีอำนาจการตัดสินใจมากนัก เพราะโดยหลักการข้อเรียกร้องต่างๆ ที่ทางท้องถิ่นส่งมาถึง ส.ท.ท. บทบาทของ ส.ท.ท. คือการเข้าไปเรียกร้องส่วนนั้นในภาพรวม และอำนาจการตัดสินใจยังเป็นระดับกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยและรัฐบาลอยู่ดี" นายเกรียงไกร กล่าว

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทความพิเศษ: เลาะเกล็ดร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ตอนที่ 3

บทความพิเศษ: เลาะเกล็ดร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น ตอนที่ 3 
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          ทีมวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
          รัฐ ธรรมนูญถือเป็นกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศการมีบทบัญญัติของกฎหมายสูงสุด ที่สร้างความเข้มแข็งในการปกครองบ้านเมืองให้ตลอดรอดฝั่งเป็นเป้าหมายสำคัญ ที่ทุกฝ่ายต่างปรารถนา แม้แนวทางหรือมุมมอง กรอบความคิดในการแก้ไขปัญหาย่อมมีแนวทางที่แตกต่างกันไปเพราะความไม่สมดุลใน ประโยชน์ได้เสียที่อาจแตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มและฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของรัฐ ธรรมนูญที่มีผู้มีส่วนได้เสียหลากหลายกลุ่ม ที่สำคัญ ได้แก่(1) ฝ่ายการเมืองท้องถิ่น (2) ฝ่ายข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างที่เป็นฝ่ายประจำ (3) ฝ่ายประชาชนและประชาสังคม (4) ฝ่ายผู้กำกับดูแล และ (5) ฝ่ายอื่นๆ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงราชการบริหารส่วนภูมิภาคและฝ่ายองค์กรเอกชน เป็นต้น แม้แต่คณะรัฐมนตรีก็ยังห่วงกังวลว่าการประกาศใช้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้อาจมี ปัญหาเหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วจึงมีความพยายามหาหนทางแก้ไขไว้ล่วง หน้า ฉะนั้น การพิจารณาถึงบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองส่วนท้องถิ่น คงมิได้มองในเพียงมิติเดียว หรือมองเฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ต้องมองในภาพรวมในเชิงบูรณาการ (Integrated) เป็นที่ตั้ง
          ร่าง รัฐธรรมนูญด้านท้องถิ่นที่ถูกละเลย ศ.ดร.อุดม ทุมโฆสิต อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้นำเสนอคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)(8 กุมภาพันธ์ 2559) สรุปสิ่งที่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 (ฉบับวันที่29 มกราคม 2559) ได้ละเลยในสาระสำคัญอย่างยิ่งรวม 2 ประการคือ (1) การกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น และ (2) การพัฒนา/ปรับปรุง เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในด้านระบบ, กลไก และกระบวนการปกครองท้องถิ่น กล่าวโดยสรุป ในภาพรวมหมายความว่า "การกระจายอำนาจ" (Decentralization) ตามหลักการปกครองตนเองของท้องถิ่นยังมีปัญหาในเชิง "เนื้อหา" (Sub stantive) และในเชิง "กลไก" (Mechanism) ที่ถือเป็นตัวจักรในการขับเคลื่อนการปกครองส่วนท้องถิ่นให้ไปสู่เป้าหมาย สำคัญในการ "จัดบริการสาธารณะ" (Public Service) ที่ยั่งยืน (Sus tainable) นั่นเอง ซึ่งยังไม่ได้พิจารณาไปถึงรายละเอียดในเรื่อง "รูปแบบ" ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งกำลังมีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งความเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเสนอของ นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์ อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และอดีตสมาชิก สปช. 61 คน (15 กุมภาพันธ์ 2559) ที่ได้เสนอแนะแก้ไขรัฐธรรมนูญร่างเบื้องต้นต่อ กรธ. รวม 9 ประเด็น โดยมีประเด็นที่ 6 ว่า ร่างรัฐธรรมนูญยังขาดสาระสำคัญในการวางหลักการเพื่อพัฒนาการปกครองท้องถิ่น เพราะไม่มีกล่าวถึงการกระจายอำนาจและการเติมกลไกปกครองท้องถิ่นทั้งระดับ ชาติและจังหวัด
          โจทย์สำคัญของท้องถิ่นที่รอการแก้ไขอยู่ ปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าของท้องถิ่นที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาสะสมมาจนถึงปัจจุบัน ได้แก่ (1) รูปแบบการปกครองท้องถิ่นจะมีทิศทางไปทางใด จะมีการยุบรวมหรือควบรวมเพื่อให้ อปท. มีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไร(2) เมื่อใดจะมีการปลดล็อกให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้อง ถิ่น (สถ.ผถ.) และ (3) การแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน และอิทธิพลในท้องถิ่น
          ปัญหาเร่งด่วนที่เกี่ยวพันกัน ปัญหาเร่งด่วนทั้งสามประการดังกล่าวเป็นปัญหาที่สั่งสมมานานนับตั้งแต่รัฐ ธรรมนูญปี 2540 ที่ยังไม่สามารถขจัดปัญหา แล้วสร้างรูปแบบที่เป็นมาตรฐานในการแก้ไขได้ เพราะปัญหาทั้งสามปัญหาคือเรื่องรูปแบบของ อปท. ปัญหาการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และปัญหาการทุจริตฯ ในท้องถิ่น จะเกี่ยวเนื่องขึ้นแก่กันและกันเหมือนไก่กับไข่ว่าอะไรเกิดก่อนกัน จนแยกแยะไม่อก
          ปัญหาการตรากฎหมายในสองระดับ ปัญหาสำคัญใน 3 ปัญหาดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหาในการตรากฎหมายในสองระดับ คือ (1)การตราบทบัญญัติใน "รัฐธรรมนูญ" และ (2) การตราบทบัญญัติในกฎหมายลูกในระดับ "พระราชบัญญัติ" ด้วยข้อจำกัดดังกล่าวจึงเกิดการล่าช้าและเกิดความสับสนในการตรากฎหมาย กล่าวคือหากรูปแบบของ อปท. ยังไม่ชัดเจนแน่นอน หรือไม่สามารถกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญได้แน่นอน ก็อาจไม่สามารถตรากฎหมายลูกในระดับ "พระราชบัญญัติ" หรือ "ประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" ได้เลย ซึ่งจะส่งผลไปถึงกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้ง "สมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น" ซึ่งผูกติดในรูปแบบอปท. เสมือนของคู่กันเป็นปาท่องโก๋
          ทางออกในการแก้ไขปัญหา จากสภาพปัญหาที่ผูกติดเป็นไก่กับไข่ที่ต้องไปพร้อมกัน จึงทำให้เกิดการชะงักงันในการปลดล็อก/การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้ บริหารท้องถิ่นไม่ได้ แม้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะแก้ปัญหาครั้งแรกโดยให้ปลัด อปท. ปฏิบัติหน้าที่นายก อปท. และ สมาชิกสภา อปท. ให้มาจากการแต่งตั้งจากข้าราชการระดับ 8 แต่ก็ทานกระแสการรักษาการในหน้าที่ที่ไม่แน่นอนว่าจะยาวนานเพียงใดไม่ไหว ฝ่ายการ เมืองท้องถิ่นเดิมถือความได้เปรียบเรียกร้องขอแก้ไขให้ "นายก อปท."คนเดิมที่หมดวาระปฏิบัติหน้าที่นายก อปท. ต่อไป ซึ่งนับระยะเวลาจากวันนั้นตั้งแต่กลางปี 2557 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันได้เกือบสองปียังไม่มีวี่แววว่าการรักษาการ หรือการปฏิบัติหน้าที่เป็นการชั่วคราวของนายก อปท. และสมาชิก อปท. จะสิ้นสุดลงเมื่อใดเพราะไก่กับไข่ยังไม่เกิด จากปัญหาจุดนี้อาจโยงไปถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในท้อง ถิ่นก็อาจยังไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะไก่กับไข่ยังไม่เกิด ทางออกในการแก้ไขปัญหาตรงนี้ มีอยู่ 2 ทางคือ (1) รอให้ตรารัฐธรรมนูญให้เสร็จเรียบร้อยเสียก่อน จึงจะตรากฎหมายลูก คือ กฎหมาย อปท. และ กฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และ (2)ไม่ต้องรอรัฐธรรมนูญให้เสร็จเรียบร้อย ที่เรียกว่า "การตรากฎ หมายเร่งด่วน" (Quick win) กล่าวคือ เสนอกฎหมายลูกเป็น "ร่างพระราชบัญญัติ" ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาเพื่อตราเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้เลย คือ กฎหมาย อปท. และกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น และอาจมีกฎหมายท้องถิ่นอื่นที่ไม่จำเป็นต้องรอรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ ได้แก่"กฎหมายการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น" ด้วยก็ได้ เป็นต้นการแก้ไขจุดบกพร่องของร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ว่าด้วยท้องถิ่น ศ.ดร.อุดม ทุมโฆสิต เสนอควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญปี 2559 ให้สมบูรณ์ขึ้นอย่างน้อยให้เทียบได้ไม่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 ดังนี้ (1) เพิ่มเติมเรื่อง การกระจายอำนาจเข้าไปในหมวด 6 แนวนโยบายแห่งรัฐ โดยยกเอามาตรา 78 (3)แห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 มาเพิ่มเติมไว้ในมาตรา 72 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2559 อีก 1 วรรค ดังนี้ "รัฐต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองท้องถิ่นพึ่งตนเอง และตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้ส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี ส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่น และระบบสาธารณูปโภค ตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสน เทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มี ความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น" (2) เพิ่มเติม เพื่อแสดงเจตนารมณ์เปิดทางให้มีการแก้ไข/ปรับปรุงจุดอ่อนของ "ระบบการปกครองท้องถิ่นของชาติ" ให้มีเอกภาพ และประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเพิ่มเติมมาตรา 246 แห่งรัฐธรรมนูญปี 2559 อีกวรรคหนึ่ง ดังข้อความต่อไปนี้ "รัฐต้องพัฒนาระบบการปกครองท้องถิ่นของชาติให้เข้มแข็ง มีการบูรณาการ และมีเอกภาพเป็นระบบเดียวกัน โดยจัดให้มีคณะกรรมการปกครองท้องถิ่นแห่งชาติขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อน เพื่อให้บรรลุเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ" (3) เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมายลูกจึงขอให้มีการบันทึกเจตนารมณ์ การปกครองท้องถิ่นแห่งชาติเอาไว้ในจดหมายเหตุ หรือบันทึกเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญปี 2559 เอาไว้ให้ชัดเจน นี่เป็นเพียงทิศทางความน่าจะเป็นของร่างรัฐธรรมนูญว่าด้วยการปกครองส่วนท้อง ถิ่น ในสาระหลักเท่านั้น ยังมิได้พิจารณาในประเด็นอื่นๆ
          หลาก หลายประเด็นท้องถิ่นที่รอความชัดเจน ยังมีประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยอื่นที่กำลังอยู่ในกระแส เท่าที่พอเก็บตกรวบรวมได้ อาทิ (1) ประเด็นการควบรวม อปท. การยกฐานะ อบต.เป็นเทศบาล (2) ประเด็นการไม่ยุบเลิกราชการบริหารส่วน ภูมิภาค(3) ประเด็นที่มาของผู้บริหารท้องถิ่นตามมาตรา 249 วรรคสอง(4) ประเด็นคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (5) ประเด็น"สิทธิชุมชน" (6) การเสนอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นสมาชิกสมทบ อปท. (7) การขอให้มีสภาพัฒนาท้องถิ่นแห่งชาติ (เทียบเท่ากระทรวง) (8) การกำหนดบทบาทหน้าที่ และอำนาจท้องถิ่นให้ชัดเจนในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกับส่วน  กลางและภูมิภาคฯลฯ (9) คนท้องถิ่นทุจริตต้องถูกตัดสิทธิฯ เป็นต้น ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงต่อท้องถิ่นจากสาระดังกล่าว แล้วข้างต้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของหมวดว่าด้วย "การปกครองท้องถิ่น"ที่ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหมวดอื่นๆ เลย การสร้างความสมดุล ให้ผู้มีส่วนได้เสียในหมวดว่าด้วยการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ยอมรับและพึงพอใจในร่างรัฐธรรมนูญจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง อย่างน้อยที่สุด จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องรวมญาติมิตรด้วยไม่ต่ำกว่า 6-10 ล้านคน (คาดการณ์จากจำนวน 3-5 เท่าของผู้เกี่ยว ข้องโดยตรงจาก 2 ล้านคน)ได้ลงคะแนนผ่านประชามติรัฐธรรมนูญด้วยผลคะแนนที่สูงขึ้น

วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รัฐบาลล้วงเงินค้างท่อ 1 ทศวรรษ 'อปท.' หว่านกว่า3หมื่นล้านกระตุ้นรากหญ้า

รัฐบาลล้วงเงินค้างท่อ 1 ทศวรรษ 'อปท.' หว่านกว่า3หมื่นล้านกระตุ้นรากหญ้า
คม ชัด ลึก (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ ๒๓  กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          วัฒนา ค้ำชู/สำนักข่าวเนชั่น
          การ ดำเนินโครงการตามมาตรการ "ส่งเสริมความเป็นอยู่ของประชาชน" ทุกมาตรการมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก อาทิ มาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล หรือโครงการตำบลละ 5 ล้านบาท, โครงการมาตรการสำคัญเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการเสริม สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของกระทรวงมหาดไทย, โครงการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกลการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์และกลุ่ม เกษตรกร รวมถึงมาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาล ที่ล้วนเป็นแผนงานเร่งด่วน แก้ไขปัญหาในระยะสั้น-ระยะยาว เสมือนการปูทางในปัจจุบันก้าวสู่อนาคต
          ตั้งแต่กระทรวงมหาดไทย ได้ขับเคลื่อนมีการกระจายเม็ดเงินลงสู่พื้นที่ยอดรวมการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวนเงิน 7,913.44 ล้านบาท เป็นมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล อนุมัติไปแล้วจำนวน 120,198 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 92.07 จำนวนเงินที่อนุมัติแล้ว 35,423.60 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 4,021.87 ล้านบาท ที่อยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 7,979.54 ล้านบาท
          หรือมาตรการ เร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรและคนยากจนในการสร้างความเข้มแข็งอย่าง ยั่งยืน ได้อนุมัติจัดสรรงบประมาณแล้วจำนวน 3,827 โครงการ เป็นเงิน 3,200.968 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,297.19 ล้านบาท อยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 712.35 ล้านบาท
          สำหรับโครงการสนับสนุนการจัดหาเครื่องจักรกล ทางการเกษตรให้แก่กลุ่มสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร จัดสรรงบประมาณจำนวน 421 รายการ เป็นเงิน 254.28 ล้านบาท ดำเนินการในพื้นที่ 21 จังหวัด เบิกจ่ายแล้ว 83.51 ล้านบาท และอยู่ระหว่างก่อหนี้ผูกพัน 65.68 ล้านบาท
          ส่วน มาตรการส่งเสริมการลงทุนขนาดเล็กของรัฐบาลได้รับงบประมาณ 4,490 รายการ เป็นเงิน 2,565.80 ล้านบาท ก่อหนี้ผูกพันแล้ว 2,286.44 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 1,474.10 ล้านบาท คาดว่า โครงการดังกล่าวจะเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนดเป็นข้อมูลล่าสุดที่ผุดขึ้น มาในการปฏิบัติการแก้จน ที่ผ่านมา
          อย่างไรก็ตาม มีปัญหาอุปสรรคความล่าช้าที่เกิดจากกระบวนการบริหารงาน เช่น ปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงการ, รายละเอียดในการขอใช้ที่ดินกับส่วนราชการ หรือปัญหาด้านบุคลากร สิ่งเหล่านี้เป็นข้อมูลของทีมงานติดตามงานโครงการรายงานเข้ามาสู่ส่วน กลางกระทรวงมหาดไทย
          ผลทำให้มีการกำหนดแนวทางและมาตรการในการ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นให้ข้อแนะนำแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ให้บริหารงานร่วมกันนำทุกส่วนราชการหน่วยงานของรัฐทำงานบรรลุตามวัตถุ ประสงค์สนองนโยบายรัฐบาล โดยได้ประสานกรมบัญชีกลางให้ขยายเวลาเพื่อให้จังหวัดดำเนินการเบิกจ่ายงบ ประมาณได้ทันตามกรอบระยะเวลา
          ขณะเดียวกันโครงการที่ทำไปแล้วมี ประโยชน์ต่อประชาชนมาก พบว่าโครงการขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ โครงการพัฒนาอาชีพ และโครงการสร้างงานสร้างรายได้ เป็นต้น ซึ่งโครงการเหล่านี้จะนำไปเป็นแบบอย่างให้แก่พื้นที่อื่นในโอกาสต่อไป
          ทำ ให้ทีมเศรษฐกิจต้องตั้งเป้านำมาตรการใหม่เตรียมนำเงินสะสมหรือเงินค้างท่อ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น "อปท." เม็ดเงินจำนวนกว่า 6 หมื่นล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 30 เปอร์เซ็นต์
          พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ระบุหลัง สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ฝ่ายเศรษฐกิจ เข้าหารือ โดยใช้เวลาประมาณ 10 นาที คาดการณ์จะนำเม็ดเงินมาใช้ได้จะอยู่ในช่วงปลายเดือนมีนาคม-เมษายนนี้
          ก่อน หน้ารองนายกรัฐมนตรีหัวหน้าทีมเศรษฐกิจ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" และขุนคลัง "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" รมว.คลัง ยืนยันต้องใช้ยอดเงินสะสม อปท.ช่วยฟื้นฟูให้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศหวังให้เติบโตตามเป้า
          แต่ ข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ กระทรวงการคลังจะนำเม็ดเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ที่มีองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) พัทยา และกทม. รวมจำนวน 7,853 แห่งทั่วประเทศ เม็ดเงินตัวเลขค้างท่อช่วง 1 ทศวรรษ หรือ 10 ปีที่ผ่านมา การนำไปใช้ตามนโยบายรัฐบาลจะสามารถนำเงินไปใช้ตามเป้าที่วางเอาไว้ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 64,531 ล้านบาท ล่าสุดแว่วว่า หลังมีการพูดคุยหารือเคาะตัวเลขคร่าวๆ เอาไปใช้ปรับโครงสร้างด้วยการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจส่งเสริมสภาพคล่องทุก พื้นที่ได้แค่ 3 หมื่นกว่าล้านบาท
          แต่เงื่อนไขต้องเหลือใช้ เก็บสำรองฉุกเฉินด้านต่างๆ เช่น กรณีเงินเดือนจ่ายค่าบุคลากร เบี้ยคนพิการ เบี้ยคนชรา ที่มีการจ่ายให้ล่าช้าหรือกรณีเกิดภัยพิบัติจำเป็น อปท.จำเป็นต้องนำเงินสะสมที่มีเบิกไปจ่ายก่อนเป็นกรณีที่สามารถทำได้เพื่อ ป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นมา
          การนำเม็ดเงินไปใช้สำคัญที่สุด คือ การดำเนินการตามระเบียบกฎหมาย รัฐบาลมีคณะรัฐมนตรีวางยุทธศาสตร์แผนงานนโยบาย กำหนดแนวทาง ขณะเดียวกันกติกาหลักเกณฑ์ถือเป็นสิ่งสำคัญเช่นเดียวกัน แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก็เป็นหลักการที่ถูกนำมาควบรวมในการดำเนินงานตอบสนอง ความต้องการพื้นที่เพื่อช่วยเหลือประชาชน
          วาระของชาติปูพรม หว่านเมล็ดเงินมากมายหลายโครงการ ผลที่ตามมาคงไม่กี่อึดใจ แม้ทุกฝ่ายยังรู้สึกแคลงใจปมปัญหา "รัฐบาลถังแตก" ต่อนี้ไปไม่กี่ไตรมาสดอกผลคงผลิบานสะพรั่งให้ได้ยลโฉมกัน..

วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คลังชงบิ๊กตู่-สมคิดคลอด 'ภาษีที่ดินฯ-เงินได้บุคคล'

คลังชงบิ๊กตู่-สมคิดคลอด 'ภาษีที่ดินฯ-เงินได้บุคคล'
เดลินิวส์ ฉบับวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          นาย สมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง จะเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง และการปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดา ให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาก่อนเสนอให้ครม.พิจารณาเห็นชอบต่อไป
          ทั้ง นี้ร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง กระทรวงการคลังได้ปรับอัตราใหม่ เพื่อผ่อนผันให้เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย ไม่ต้องแบกรับภาระมากเกินไป เพราะการเก็บภาษีที่ดินเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการภาษีเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ ทางสังคม ซึ่งมีเป้าหมายต้องการให้เกิดการใช้ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่ามาใช้ประโยชน์ ให้เต็มที่
          ขณะเดียวกัน การเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อต้องการให้ทุกคนที่เสียภาษีมีส่วนร่วมตรวจสอบการใช้งบประมาณ เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะเป็นผู้เก็บภาษี และนำเงินไปใช้พัฒนาท้องถิ่นเอง ดังนั้น เป็นหน้าที่ของประชาชนในท้องถิ่นที่ต้องตรวจสอบการใช้เงินให้เป็นประโยชน์ มากที่สุด
          ส่วนความคืบหน้าเรื่องการปรับโครงสร้างภาษีบุคคล ธรรมดานั้น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และกรมสรรพากร ได้สรุปรายละเอียดและเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาเรียบร้อยแล้ว โดยการปรับโครงสร้างครั้งนี้ จะทำให้คนมีรายได้ไม่สูง มีภาระภาษีน้อยลงโดยเพิ่มการหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากขึ้น
          นาย ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงความคืบหน้าการยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีบัญชีภาษี 58 ที่เริ่มยื่นตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 59 พบว่ามีผู้ยื่นแล้ว 1.8 ล้านราย จากผู้มีสิทธิ 11 ล้านราย โดยส่วนใหญ่กว่า 84% เสียภาษีทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีผู้ยื่นเสียภาษี และได้รับการขอคืนภาษีแล้ว 50% ซึ่งกรมฯได้จ่ายเงินคืนภาษี 2,500 ล้านบาท ส่วนการปรับโครงสร้างภาษีบุคคลธรรมดาได้ข้อสรุปและเสนอให้กระทรวงการคลัง พิจารณาแล้ว โดยจะเพิ่มหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายจาก 60,000 บาท เป็น 100,000 บาท และไม่ตัดทิ้งค่าลดหย่อนต่าง ๆ โดยกรมฯ จะเสียรายได้เป็นหลักหมื่นล้านบาท แต่จะทำให้คนมีรายได้น้อยมีภาระภาษีลดลง โดยมีผลวันที่ 1 ม.ค. 60 นี้.

เทศบาลหยุดส่งเงินส.ท.ท. ชมรมสงขลาโวยงบฯหนุนไม่เป็นธรรม ปลัดจี้เลือกตั้งก่อน-เปิดใช้เงินสะสม

เทศบาลหยุดส่งเงินส.ท.ท. ชมรมสงขลาโวยงบฯหนุนไม่เป็นธรรม ปลัดจี้เลือกตั้งก่อน-เปิดใช้เงินสะสม
มติชน  ฉบับวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          นาย ประสงค์ บริรักษ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง (ทม.) เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ประธานชมรมเทศบาล จ.สงขลา เปิดเผยว่า มีเทศบาลที่ยกฐานะหลังปี 2549 ทั่วประเทศประมาณ 1,200 แห่ง ใน จ.สงขลา 25 แห่ง ซึ่งได้รับเงินอุดหนุนน้อยกว่าเทศบาลที่ยกฐานะก่อนปี 2549 ขณะที่มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนประชากรใกล้เคียงกัน ตนไม่ทราบว่าใช้หลักเกณฑ์ใดพิจารณา
          "ได้ร้องเรียนต่ออนุกรรม การกระจายอำนาจและสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งอนุกรรมการให้ไปชี้แจงรายละเอียดของงบอุดหนุนเทศบาลแต่ละแห่งที่ไม่มี ความเป็นธรรมไปแล้ว และรับปากจะเสนอคณะกรรมการกระจายอำนาจนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขระเบียบการ จัดสรรงบประมาณ นอกจากนี้ ได้สอบถามคณะกรรมการสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) แต่ไม่ได้คำตอบ ดังนั้น เทศบาลที่ได้รับผลกระทบจึงมีมติหยุดส่งเงินอุดหนุน ส.ท.ท.ชั่วคราว ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2559 ซึ่งประมาณการไว้ไม่น้อยกว่า 30-40 ล้านบาท จนกว่าคณะกรรมการกระจายอำนาจจัดสรรรายได้อย่างเป็นธรรม รวมทั้งอาจต้องฟ้องศาลปกครองเป็นที่พึ่งสุดท้าย" นายประสงค์กล่าว
          นาย ทวีศักดิ์ ศรีทองกิติกูล ประธานมูลนิธิปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ประเทศไทย กล่าวว่า กรณีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ มีนโยบายให้ใช้งบท้องถิ่นกระตุ้นเศรษฐกิจโดยภาพรวมของประเทศ โดยแก้ไขระเบียบเพื่อนำเงินสะสมของ อปท.ทั่วประเทศกว่า 3 แสนล้านบาท เปิดช่องให้ อปท.สามารถนำเงินสะสมเพื่อเบิกจ่ายงบพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ สร้างเสริมอาชีพให้คนท้องถิ่นนั้น ก่อนปลดล็อกให้ใช้เงินดังกล่าว คสช. รัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย ควรพิจารณาเร่งรัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ รักษาการตามมาตรา 44 หลังหมดวาระตั้งแต่ต้นปี 2558 เพื่อเข้ามาตัดสินใจใช้จ่ายงบสะสม จะเหมาะสมกว่าการตัดสินใจของผู้บริหารและสมาชิกที่รักษาการในตำแหน่ง โดยไม่กำหนดมีเงื่อนเวลาในการทำหน้าที่
          "การใช้งบสะสมควรเกิด ประโยชน์กับคนในท้องถิ่นมากที่สุด และควรมีกรอบการใช้จ่ายที่ชัดเจน ไม่ใช่ตามความต้องการของรัฐบาลส่วนกลางที่กำหนดให้ทำโครงการที่อาจไม่มีความ จำเป็นเร่งด่วน หรือไม่ตรงความต้องการของประชาชนในพื้นที่"

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

อปท.ห่วงงบ3แสนล.ชี้รัฐบาลส่อ'ถังแตก'

อปท.ห่วงงบ3แสนล.ชี้รัฐบาลส่อ'ถังแตก'
มติชน (กรอบบ่าย)  ฉบับวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

 ท้องถิ่นตั้งข้อสงสัยดึงงบอปท.
          กรณีนาย สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี สั่งให้กระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หารือร่วมกันในการนำเงินงบประมาณของท้องถิ่นที่เก็บสะสมไว้ โดยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากติดเงื่อนไขการเบิกจ่ายของงบประมาณในแต่ละปีเก็บสะสมไว้กว่า 3 แสนล้านบาทมาใช้ประโยชน์เน้นไปที่การนำงบประมาณในส่วนนี้มาใช้สร้างสถานที่ ท่องเที่ยวอย่างน้อยตำบลละ 1 แห่ง โดยจะนำมาใช้เพียง 30% เพียงพอกับการสร้างและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนทั่วประเทศ และจะสามารถสร้างรายได้ให้ชุมชนได้ในระยะยาวนั้น
          นายปรีชากร โมลิกา อดีตเลขาธิการหอการค้าจังหวัดนครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า มองเหมือนว่ารัฐบาลกำลังถังแตก พยายามดึงเอางบท้องถิ่นมาใช้ ดีกว่าไปหากู้จากที่อื่น อ้างทำโครงการเพื่อการท่องเที่ยวเบิกงบได้ง่าย เป็นเหมือนใบบอกทางให้พวกแสวงหาเริ่มหาทางออกอีกครั้ง ใบบอกทางเสือหิว
          "กระตุ้น โดยใช้เงินในกระเป๋า อปท. หมาย ความว่ารัฐบาลไม่มีเงินทำเอง บีบให้ อปท.ใช้เงิน เป็นการอนุมัติในหลักการให้ อปท.ไว้เลย" นายปรีชากรกล่าว
          ส.จ.หวั่น'เสือหิว'รออยู่
          นาย บุญธรรม รุ่งเรือง นายกเทศมนตรี ตำบลปากน้ำฉวาง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า เห็นด้วยกับแนวคิดของนายสมคิด แต่อย่าระบุว่าเพื่อท่องเที่ยว หากถนนไม่ดี ทางเปลี่ยว ไฟไม่สว่างแล้วใครจะมา ต้องคิดให้รอบคอบ ต้องหันมามองในท้องที่ก่อนมีที่เที่ยวกันหรือไม่ มีศักยภาพมากแค่ไหน คนนอกมาเที่ยวแล้วปลอดภัยหรือไม่ การใช้งบประมาณต้องคุ้มค่า ไม่อยากให้ผิดวัตถุประสงค์
          นายบุญธรรมกล่าวต่อว่า หากคิดใช้โครงการทำนองนี้ก็ต้องไม่ลืมโครงสร้างพื้นฐานแต่ละพื้นที่ด้วยว่า มีความสมบูรณ์มากน้อยแค่ไหน เหมือนงบตำบลละ 5 ล้านที่ผ่านมา ทำแค่โครงการต่อเติมศาลา ไม่รู้ว่าจะเติมทำไม ทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ไม่ดีกว่าหรือ สู้เอาไป ทำถนนยางพาราไม่ดีกว่าหรือให้ฝุ่นถนน หมดไป อย่าไปเอาจักรเย็บผ้ามาให้คนทำนาเลย ไม่คุ้มกัน
          นางมุกดาวรรณ เลื่องศรีนิล ส.อบจ.นครศรีธรรมราช เขต อ.ฉวาง เปิดเผยว่า ถ้าทำได้ก็ดี บาง อปท.มีศักยภาพพร้อมแต่ขาดงบสนับสนุน ไม่สมควรทำแบบกระจายแต่ละตำบล จะเป็นเงินเบี้ยหัวแตก สมควรทำระดับอำเภอจะง่ายกว่าเห็นภาพชัด พื้นที่ใดไม่มีศักยภาพก็ไม่ต้องทำ ควรให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิด ไม่ใช่คิดแทนแล้วมีคนรอหักเงินทอน ไม่อยากให้โครงการตกเป็นเหยื่อของเสือหิว เงินหายากจะต้องใช้อย่างคุ้มค่าและให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืน
          ส.ท.ท.แนะสภาท้องถิ่นช่วยกรอง
          นาย ศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ กรรมการบริหารสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) เปิดเผยว่า นโยบายของนายสมคิด เพื่อใช้งบท้องถิ่นกระตุ้นเศรษฐกิจและขอให้มีการแก้ไขระเบียบเพื่อนำเงิน สะสม 30% ของ อปท.ทั่วประเทศกว่า 3 แสนล้านบาทใช้สนับสนุนการท่องเที่ยว เป็นการนำเม็ดเงินออกสู่ระบบเศรษฐกิจได้เร็วขึ้น ที่สำคัญการใช้จ่ายงบจะต้องปลอดจากการทุจริต ซึ่งในอนาคตการใช้เงินสะสมจะต้องมีการพิจารณาผ่านความเห็นชอบจากสภาท้องถิ่น จึงสามารถนำไปใช้จ่ายได้ทุกโครงการ ตามแผนพัฒนาของแต่ละ อปท. ซึ่งเดิมใช้งบสะสมได้เฉพาะเหตุฉุกเฉินที่จำเป็นเท่านั้น
          นาย ทวีศักดิ์ ศรีทองกิติกูล ประธานมูลนิธิปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ประเทศไทย กล่าวว่า ก่อนที่จะปลดล็อกในการใช้เงินสะสมกว่า 3 แสนล้านบาท ทั้ง คสช. รัฐบาล และกระทรวงมหาดไทย ควรพิจารณาเร่งรัดให้มีการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นที่ รักษาการตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 หลังหมดวาระตั้งแต่ต้นปี 2558 เพื่อจะเข้ามาตัดสินใจในการใช้จ่ายงบประมาณจากเงินสะสมซึ่งมีความเหมาะ สมมากกว่าการตัดสินใจของผู้บริหารและสมาชิกที่รักษาการในตำแหน่งโดยไม่มี กำหนดเงื่อนไขเวลาในการทำหน้าที่
          นายก'ดอนแก้ว'บอกชัก30%สูงเกิน
          นาย นพดล ณ เชียงใหม่ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ดอนแก้ว อ.แม่ริม ในฐานะนายกสมาคม อบต.จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เห็นด้วยกับนายสมคิดที่ต้องแก้ระเบียบกระทรวงมหาดไทย หรือให้กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น (สถ.) ทำระเบียบรองรับโดยเฉพาะ รวมทั้งให้กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา แก้พระราชบัญญัติส่งเสริมท่องเที่ยวให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วม และใช้งบประมาณ ท้องถิ่นได้ พร้อมสนับสนุนกิจกรรมท่องเที่ยวท้องถิ่นทุกรูปแบบเพื่อให้สอดคล้องกับ ระเบียบกระทรวงมหาดไทย และ สถ. เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ขัดแย้ง หรือสร้างปัญหา ภายหลัง
          "ปัญหาท้องถิ่นคือ การตรวจสอบการใช้งบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ไม่ว่าเป็น งานวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิตชุมชน ถ้าไม่มีระเบียบรองรับ ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ ถ้าทำไปแล้วก็ถูกเรียกเงินคืนย้อนหลัง เป็นอุปสรรคต่อการส่งเสริมท่องเที่ยวท้องถิ่น เพื่อสร้างงาน อาชีพ รายได้สู่ชุมชนหากมีแก้ระเบียบ หรือมีกฎหมายรองรับชัดเจน ท้องถิ่นสามารถทำได้ทันทีเพราะมีแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวระดับตำบลอยู่แล้ว โดยเฉพาะแผนพัฒนาระยะ 3 ปี ปี 2560-2563 ส่วนการใช้งบสะสม 30% พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนั้นเห็นว่าสูงเกินไป อาจกระทบพัฒนาด้านอื่น อาทิ สาธารณูปโภค การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ดังนั้นควรให้ ท้องถิ่นพิจารณาใช้งบตามรายได้ ความจำเป็น เหมาะสม และศักยภาพแต่ละท้องถิ่นเอง ดีกว่า" นายนพดลกล่าว

วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มหาดไทย : อุปสรรคใหญ่ในการกระจายอำนาจ

มหาดไทย : อุปสรรคใหญ่ในการกระจายอำนาจ
ไทยโพสต์  ฉบับวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          ถวิล ไพรสณฑ์
          หลายวันมาแล้วที่มีข่าวอ้างว่ามีการหารือร่วมกันหลายหน่วยงาน โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นหัวเรือใหญ่ ผลออกมาว่า
          - ให้ยกเลิกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) โดยให้รวมกับเทศบาลเมืองยกเป็น "เทศบาลจังหวัด" และให้สมาชิกมาจากการเลือกตั้งและแต่งตั้งในสัดส่วนเท่าๆ กัน
          - ยกเลิก อบต.ให้คงเหลือรูปแบบเดียว คือ เทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ และเทศบาลตำบล
          ทั้งนี้ เหตุผลที่ยุบ อบจ. ก็อ้างว่า ไม่มีพื้นที่ และทำงานซ้ำซ้อนกับเทศบาล เป็นต้น
          ที่ จริงแนวความคิดให้ยุบ อบจ.นั้น เป็นแนวความคิดที่มีมาช้านานของข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สังกัดกรมการปกครองและสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวง ก็คือ ข้าราชการฝ่ายปกครองนั่นเอง รวมทั้งสมาคมนักปกครองที่มีแถลงการณ์ออกข่าวผ่านหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันที่ 3 สิงหาคม 2558 และ 1 กันยายน 2558 ความตอนหนึ่งว่า "สมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2527 วัตถุประสงค์เพื่อการรวมตัวกันของนักปกครองที่คัดค้านกระแสทางด้านปฏิรูปการ เมืองที่จะให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด"
          ผมเชื่อว่า เหตุผลที่กระทรวงมหาดไทยต้องการให้ยุบ อบจ. ไม่ใช่เพราะงานซ้ำซ้อนกัน หรือ อบจ.ไม่มีพื้นที่หรอก เพราะมีงานหลายประเภทที่เทศบาล และ อบต.ไม่อาจทำได้ เช่น การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่าง อปท. การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา หรือระดับมหาวิทยาลัยในอนาคต การส่งเสริมอาชีพ การดูแลรักษาป่าและลุ่มน้ำลำคลอง การจัดรถเมล์ขนส่งภายในจังหวัด การจัดตั้งสหกรณ์ การป้องกันสาธารณภัยที่เกินกำลังของเทศบาล การวางแผนพัฒนาจังหวัดที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาของชาติ การสนับสนุนเทศบาลและ อบต. การจัดตั้งโรงพยาบาล เป็นต้น ซึ่งรวมความแล้ว งานของ อบจ.ไม่จำเป็นต้องเน้นแต่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่ง อปท.อื่นได้พัฒนามามากพอสมควร จนความเจริญได้กระจายไปทั่วประเทศ
          กระทรวง มหาดไทยกลัวมากที่สุดก็คือ กลัวว่าถ้ายังคงให้มี อบจ.อยู่ และ อบจ.ทำงานเป็นที่พอใจของประชาชน กระแสเรียกร้องให้ยกเลิกราชการส่วนภูมิภาค โดยให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่มีอยู่มากแล้วก็จะมีสูงมากขึ้น เรื่อยๆ
          นั่นก็หมายถึงว่า จังหวัดที่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นก็จะทำหน้าที่ในงานที่ราชการส่วนกลางหรือ งานของราชการส่วนภูมิภาคแทนด้วย เหมือนประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งหลาย
          ดัง ตัวอย่างของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์ (มหาจักรพรรดิ) เป็นประมุข แต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดโดยตรงมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 ทำให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศพัฒนาในระดับต้นของโลกในช่วงเวลาไม่นานนัก
          ประเทศ ญี่ปุ่นมี 47 จังหวัด โดยระดับบน ผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้งโดยตรงทุก 4 ปี และระดับพื้นที่มีเทศบาลอีกประมาณ 3,000 เทศบาล
          ประเทศอังกฤษ มี 2 ระดับเช่นกันคือ ระดับนคร (เทียบเท่าจังหวัด) มีการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงเกือบจะทุกนครแล้ว โดยระดับพื้นที่ก็มีเทศบาลรวมแล้วทั้งประเทศประมาณ 30,000 เทศบาล (กำลังยุบรวมเทศบาลเหล่านั้นให้เหลือประมาณ 10,000 เทศบาล)
          ผม ยกตัวอย่าง 2 ประเทศที่เป็นรัฐเดี่ยวและใช้ระบบรัฐสภาที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทั้งญี่ปุ่นและอังกฤษ ไม่มีราชการส่วนภูมิภาค โดยงานของราชการส่วนกลางก็เป็นหน้าที่ขององค์กรท้องถิ่น ซึ่งก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
          เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเทศอังกฤษไม่เคยมีราชการส่วนภูมิภาคมาก่อนเลย ทำไมจึงบริหารงานกันได้
          แต่ เมืองไทยมักจะอ้างว่า ถ้าไม่มีราชการส่วนภูมิภาคแล้ว จะบริหารงานของราชการส่วนกลางไม่ได้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องจริงแต่อย่างใด เพราะถ้าจัดองค์กรท้องถิ่นให้เหมาะสม มีบุคลากรและการเงินพร้อม อปท.ก็สามารถทำงานได้ และทำได้ดีกว่าส่วนกลางและส่วนภูมิภาคด้วย เพราะมีขั้นตอนการทำงานสั้นกว่า ใกล้ชิดกับประชาชนมากกว่าและจะสิ้นเปลืองงบประมาณน้อยกว่าด้วย
          ปัจจุบัน มีงานของส่วนภูมิภาคและส่วนกลางซ้ำซ้อนกับงานของส่วนท้องถิ่นอยู่มาก ยกตัวอย่างเช่น งานของกรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยที่ อปท.ทำอยู่แล้ว และทำได้ดีกว่าด้วย เพราะเป็นองค์กรที่อยู่กับประชาชนโดยตลอด รู้ปัญหาของประชาชนมากกว่า กรมพัฒนาชุมชนจึงควรยุบ เลิกไป นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวที่เห็นชัดเจนว่า มีงานซ้ำซ้อนกัน ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณทั้งด้านบริหารและบุคลากร เพราะฉะนั้นจึงถึงเวลาที่ต้องกระจายอำนาจไปให้ อปท. เพื่อให้ประชาชนบริหารงานของเขาเองได้แล้ว
          แม้แต่ส่วนกลางก็ ยังมีงานซ้ำซ้อนกันอีกมาก แม้แต่ในกระทรวงเดียวกัน เช่น กรมทางหลวงชนบทมีงานซ้ำซ้อนกับกรมทางหลวง ทั้งๆ ที่อยู่กระทรวงเดียวกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นเงินเดือน ค่าตอบแทน และค่าบริหารอื่นๆ มากขึ้น เพราะมีอธิบดี 2 คน รองอธิบดีหลายคน รวมทั้งมีข้าราชการและเจ้าหน้าที่อีกมาก และยังมีแขวงการทางทั้งของกรมทางและกรมทางหลวงชนบทกระจายอยู่ทั่วประเทศ คำถามก็คือว่า ทั้ง 2 กรมมีภารกิจต้องทำเหมือนกัน ทำไมต้องแยกกันทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และงานส่วนใหญ่คือการจ้างเอกชนรับเหมาไปทำ
          ที่จริงเคยมีกฎหมาย ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 ให้ยุบกรมทางหลวงชนบทภายใน 10 ปี แต่ต่อมาในปี พ.ศ.2552 ได้มี พ.ร.บ.ยกเลิกมาตราที่ให้ยุบเลิกกรมทางหลวงชนบท ทำให้กรมทางหลวงชนบทคงมีอยู่ต่อไป จึงน่าจะมีการทบทวนใหม่ รวมทั้งกระทรวงอื่นด้วยที่งานซ้ำซ้อนกันเช่นนี้
          งานของกรมทาง หลวงชนบทควรจะเป็นงานของ อบจ. ซึ่งถ้างบประมาณที่ตั้งไว้ที่กรมทางหลวงชนบทโอนไปให้ อบจ. รวมทั้งเจ้าหน้าที่ด้วย ถ้าทำเช่นนี้ อบจ.ก็สามารถทำงานได้โดยไม่มีปัญหา
          ประเด็น ที่น่าเป็นห่วงมากก็คือ การมีข้าราชการล้นงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค บางหน่วยงานแทบจะไม่มีอะไรทำ หรือถ้ามีก็น้อยมาก
          ถ้าเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ส่วนกลางประมาณ 500,000 กว่าคน แต่เจ้าหน้าที่ของจังหวัดและเทศบาล มีประมาณ 3,000,000 คน
          ประเทศ ไทยเรามีเจ้าหน้าที่ส่วนกลางและภูมิภาคประมาณ 2,000,000 กว่าคน และของ อปท.ที่ต้องบริการประชาชนอย่างใกล้ชิดกลับมีเพียง 500,000 กว่าคนเท่านั้น
          ประเทศ อังกฤษอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ของส่วนกลางมีน้อยมากคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือน (ก.พ.) ที่เป็นผู้อนุมัติอัตรากำลังข้าราชการ เมื่อไหร่จะตื่นตัวมองความจริงเสียทีว่าโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แนวความคิดของ ก.พ.ยังคงเหมือนเดิมเมื่อ 50 ปีที่แล้ว คือการรวมอำนาจ
          ผม เห็น ก.พ.อนุมัติให้เพิ่มข้าราชการอยู่เสมอ และเมื่อเร็วๆ นี้ ก็อนุมัติเพิ่มข้าราชการกระทรวงมหาดไทยอีกเกือบพันคนในสังกัดกรมการปกครอง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
          อนุมัติเพิ่มได้อย่างไร ทั้งๆ ที่งานไม่เพิ่มขึ้น และที่สำคัญคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่ อปท.ได้มีมติมอบภารกิจให้ อปท.มากยิ่งขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนดำเนินการให้ทุกส่วนราชการปฏิบัติตามมติดังกล่าว นั่นก็คือลดภารกิจของส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้น้อยลง ก.พ.ได้ติดตามเรื่องนี้บ้างหรือเปล่า
          เพื่อให้ผู้อ่านเห็นข้อ เท็จจริงว่า กระทรวงมหาดไทยไม่มีความต้องการให้มีการกระจายอำนาจแต่อย่างใด ดังตัวอย่างหนึ่งที่ผมจะยกมาอ้างอิงที่เคยเป็นมาในอดีตก็คือ ความเป็นมาขององค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือที่เรียกว่า "อบจ."
          องค์กร อบจ.พัฒนามาจาก "สภาจังหวัด" ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 โดยกำหนดให้สภาจังหวัดมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่ "กรมการจังหวัด"ต่อมาได้มีการตรา พ.ร.บ.สภาจังหวัด พ.ศ.2481 โดยแยกออกจาก กฎหมายจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 แต่ก็ยังไม่ได้เป็น "นิติบุคคล" และยังคงมีบทบาทหน้าที่เหมือนเดิม
          ปี พ.ศ.2485 ได้ประกาศใช้ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและความ รับผิดชอบบริหารราชการในจังหวัดแทนกรมการจังหวัด ทำให้สภาจังหวัดจึงเป็นสภาที่ปรึกษาผู้ว่าราชการจังหวัดโดยอัตโนมัติ
          พ.ศ.2498 มีความพยายามในการจัดการปกครองท้องถิ่น โดยมีแนวความคิดที่จะปรับปรุงบทบาทของสภาจังหวัดให้มีประสิทธิภาพ และให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเองมากขึ้น จึงได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ.2498 กำหนดให้ อบจ.มีฐานะเป็นนิติบุคคลและแยกออกจากจังหวัดที่เป็นราชการส่วนภูมิภาค
          โดยให้ อบจ.ในขณะนั้นดูแลรับผิดชอบพื้นที่ที่อยู่นอกเขตเทศบาลและเขตสุขาภิบาล ทำให้แต่ละหน่วยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนกัน
          ส่วน โครงสร้าง อบจ.แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ สภาจังหวัดที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งทำหน้าที่นิติบัญญัติ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร
          ผู้ว่าราชการ จังหวัดจึงสวมหมวก 2 ใบ คือ เป็น หัวหน้าฝ่ายบริหารของราชการส่วนภูมิภาค และเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดของราชการส่วนท้องถิ่น
          จน กระทั่งได้มีพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 ซึ่งเป็นผลให้ตำบลหลายแห่งยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้พื้นที่ที่ อบจ.เคยดูแลก็ลดน้อยลง จึงทำให้เกิดกระแสให้มีการปรับปรุง อบจ.ใหม่
          ใน ที่สุด ปี พ.ศ.2540 ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีพื้นที่ครอบคลุมทั้งจังหวัด ซึ่งเป็นรูปการปกครองแบบ 2 ชั้น คือ อบจ.ชั้นบนและเทศบาล อบต.ชั้นพื้นที่ โดยนายก อบจ.มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภา อบจ.
          และในปี พ.ศ.2546 ได้มีกฎหมายให้นายก อบจ.เลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งจังหวัด จนกระทั่งถึงยุค คสช.ปัจจุบันที่ให้งดการเลือกตั้งทุกประเภทไว้ก่อน
          ประเด็น ที่ผมต้องการชี้ให้เห็นตรงนี้ก็คือว่า นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2498 ถึงปี พ.ศ.2540 รวมเวลา 42 ปี ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดดำรงตำแหน่งนายก อบจ.ด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งมีทั้งเงินเดือน และอาจมีผลประโยชน์จากงานจ้าง การซื้อพัสดุหรืออื่นๆ และที่แปลกประหลาดและทำกันได้ก็คือ ในบางกรณีที่ระเบียบการซื้อ การจ้าง (ในขณะนั้น) กำหนดวงเงินถ้าเกินอำนาจอนุมัติของนายก อบจ. ก็ต้องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าฯ จึงลงนามในฐานะผู้เสนอขออนุมัติและเซ็นชื่อเป็นผู้อนุมัติ ท่านผู้อ่านคงมองเห็นภาพว่าเป็นไปได้อย่างไรที่คนคนเดียวทำ 2 ฐานะ การคอร์รัปชันจึงเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะผู้กำกับดูแลกับผู้ปฏิบัติเป็นคนเดียวกัน
          และ ช่วงเวลาถึง 42 ปี ที่กระทรวงมหาดไทย ที่ใช้ระบบนี้โดยไม่ได้มีความคิดที่จะปรับปรุงแก้ไขให้มีการพัฒนา อบจ.ตามการเปลี่ยนแปลงของประเทศและของโลกแต่อย่างใด
          และที่มี การเปลี่ยนแปลงเมื่อปี พ.ศ.2540 ไม่ใช่เพราะมหาดไทยต้นคิดหรอก แต่เพราะมีแรงกดดันจากสมาพันธ์องค์การบริหารส่วนจังหวัดและประชาชนจนกระทรวง มหาดไทยสุดจะต้านไหว
          กรณีสุขาภิบาลก็เช่นเดียวกัน คือ มี พระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 รูปแบบกำหนดคล้ายๆ อบจ. คือ ถ้าท้องถิ่นใดมีสภาพอันควรยกฐานะเป็นสุขาภิบาล ให้จัดตั้งท้องถิ่นนั้นๆ เป็นสุขาภิบาล โดยมีนายอำเภอเป็นประธานกรรมการสุขาภิบาล ทำหน้าที่บริหาร และมีกรรมการสุขาภิบาลทำหน้าที่นิติบัญญัติ เริ่มต้นใหม่ๆ กรรมการสุขาภิบาลมาจากการแต่งตั้งของนายอำเภอ ต่อมาได้มีการเลือกตั้งผสมผสานกันไป
          นายอำเภอจึงสวมหมวก 2 ใบ ทำนองเดียวกับผู้ว่าราชการจังหวัด
          ต่อ มาเมื่อมีรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 บัญญัติให้ผู้บริหารและสมาชิก อปท.ต้องมาจากการเลือกตั้ง ในปี 2542 จึงได้มีกฎหมายให้เปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล และยกเลิก อปท.รูปแบบสุขาภิบาลทั้งหมด
          ซึ่งทำนองเดียวกันกับ อบจ. ที่กระทรวงมหาดไทยได้ดองแช่เข็งเอาไว้ ไม่ได้ปรับปรุงแก้ไขเป็นเวลาถึง 42 ปี และกรณีของสุขาภิบาล ตั้งแต่ปี 2495 ถึงปี 2542 รวมเวลาถึง 47 ปี
          นี่ ถ้ารัฐธรรมนูญปี 2540 ไม่บัญญัติให้สมาชิกและผู้บริหารของ อปท.ต้องมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทั้ง อบจ.และสุขาภิบาลดังกล่าวอาจจะมีอยู่จนกระทั่งบัดนี้ก็ได้ นี่คือธาตุแท้ของคนมหาดไทยที่มีอยู่เกือบทุกคน
          ผมจึงต้องย้ำ ว่า คนมหาดไทย ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นมาแล้วว่า เป็นเวลา 42 ปีที่แช่แข็ง อบจ. โดยไม่ต้องการให้ อบจ.มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนา เพราะเกรงกลัวกระแสของประชาชนที่ต้องการให้เปลี่ยนการเลือกตั้งนายก อบจ.มาเป็นเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อข้าราชการสังกัดกระทรวงนี้อย่างมาก
          ดังกรณีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่พยายามสร้างกระแสให้ยุบ อบจ. แล้วให้มีเทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ และเทศบาลตำบล
          การ เสนอแนวความคิดอย่างนี้ไม่ใช่เพิ่งมีในยุค คสช. แต่กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการอย่างเป็นกระบวนมานานแล้วว่า ต้องยุบ อบจ. โดยนอกจากทำเองแล้ว ยังสนับสนุนให้บรรดาเทศบาล (ซึ่งมิใช่ทุกเทศบาล) เป็นผู้ปลุกกระแสด้วย เพราะเทศบาลส่วนหนึ่งเห็นว่าการมี อบจ. ทำให้รายได้ส่วนหนึ่ง เช่น ค่าธรรมเนียมล้อเลื่อน หรือเงินอุดหนุนทั่วไป เป็นต้น ต้องตกเป็นของ อบจ. ซึ่งเมื่อไม่มี อบจ. เงินเหล่านี้ก็ตกเป็นรายได้ของเทศบาล กลุ่มเทศบาลจำนวนนั้นจึงให้การสนับสนุนด้วย
          ความเห็นที่ให้มี เทศบาลจังหวัด เทศบาลอำเภอ และเทศบาลตำบล จึงเป็นความเห็นที่มีนัย ต้องการกำจัดไม่ให้ อปท. เจริญเติบโตในภาพรวมแต่ให้เป็นองค์กรเล็กๆ ที่ไม่มีกำลังวังชาพอที่จะรับงานบริการประชาชนได้อย่างเข้มแข็ง เพื่อจะได้ใช้สาเหตุนี้อ้างว่า จำเป็นต้องกำกับ ดูแล และต้องมีหน่วยงานภูมิภาคต่อไป
          ผมอยากจะเขียนตรงนี้ว่า มหาดไทยต้องตื่นตัวยอมรับโลกของความเป็นจริงในอนาคต ซึ่งไม่อาจฝืนหรือต่อต้านการเปลี่ยนแปลงให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน ที่จะปกครองตนเอง รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการปกครองและการบริหารอีกต่อไปได้
          อย่า ลืมว่าประเทศไทยเราไม่ใช่เป็นของข้าราชการมหาดไทย หรือของข้าราชการอื่นใดที่จะทำอะไรตามความพอใจ แต่เป็นของคนไทยทุกคน ประชาชนจึงต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เรื่องที่มีผลโดยตรงกับเขา อย่างกรณีนี้ด้วย
          ถ้ามีการทำประชามติสอบถามความต้องการของ ประชาชนในแต่ละจังหวัดว่า ต้องการจะให้มีเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดหรือไม่ ผมมั่นใจว่าทุกจังหวัดจะมีผลออกมาเหมือนกันคือ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างแน่นอนกระทรวงมหาดไทยจะยอมให้ทำ เช่นนั้นหรือไม่
          คอยดูกันต่อไปเถอะครับอีกไม่ถึง 10 ปี จังหวัดต่างๆ จะต้องมีผู้นำที่ประชาชนเขาเลือกของเขาเอง ไม่ใช่ใครก็ได้ที่ถูกส่งไปจากที่อื่น โดยไม่ใช่คนที่ประชาชนเจ้าของพื้นที่เลือกตั้ง
          "ไม่มีใครรัก จังหวัดนั้นเท่ากับคนจังหวัดนั้นๆ ไม่มีใครรู้ปัญหาของจังหวัดนั้นเท่ากับคนจังหวัดนั้นๆ ไม่มีใครเข้าถึงและใกล้ชิดคนในจังหวัดนั้นเท่ากับคนในจังหวัดนั้นๆ
          และ ที่สำคัญที่สุดก็คือ ประชาชนสามารถตรวจสอบคนที่เขาเลือกตั้งด้วยตัวของเขาเองได้ง่ายกว่าคนที่ถูก ส่งไปจากส่วนกลางที่มีความเป็นเจ้าขุนมูลนายติดตัวเพราะระบบราชการ
          เพราะ ฉะนั้น ในการบริหารพื้นที่จึงจำเป็นต้องใช้คนในพื้นที่จึงจะมีความเหมาะสมและสอด คล้องกับความเป็นจริงมากกว่าใช้คนจากที่อื่น ซึ่งเปรียบเสมือนผู้มาอาศัยอยู่ชั่วครั้งชั่วคราว"

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บทความพิเศษ: การวิ่งงบประมาณของ อปท.ที่'ไม่มีใบเสร็จ' ตอนที่ 2

บทความพิเศษ: การวิ่งงบประมาณของ อปท.ที่'ไม่มีใบเสร็จ' ตอนที่ 2 
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          ทีมวิชาการ สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
          ตรรกะของท้องถิ่น
          ผู้ เขียนได้วิเคราะห์ความไม่ชอบมาพากลของท้องถิ่นมาแล้วหลายบท มิได้มีความหมายว่า ผู้เขียนมีอคติหรือภาพลบต่อท้องถิ่น การนำสภาพปัญหาที่เป็นจริงมานำเสนอ การยอมรับความจริงน่าจะดีเสียกว่าการอมพะนำปิดบังอำพราง ไม่พูดไม่กล่าว เพราะหลายสิ่งหลายอย่างคือความจริงที่ไม่ปรากฏหลักฐาน ที่เรียกว่า "ไม่มีใบเสร็จ" ซึ่งถือเป็นตรรกะของผู้ที่กระทำผิดทุจริตคดโกงมิชอบไม่ว่ากรณีใดๆย่อมฉลาดพอ ที่ไม่ทิ้งพยานหลักฐานไว้ให้ตรวจจับได้ เรียก "จับไม่มั่นคั้นไม่ตาย" เหลือไว้เพียงข่าวลือเล่าขานเป็นตำนานพูดเล่นกันเท่านั้น วันนี้ขออนุญาตนำเรื่อง "การวิ่งงบประมาณ" ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยเฉพาะ "งบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ" มาเล่าขานต่อจากสัปดาห์ก่อน หวังว่าคงไม่แทงใจดำใคร หรือ คงไม่สร้างความคับข้องใจให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด
          เส้นทางการเดินเอกสารโครงการที่ยุ่งยาก
          ใน การขอรับงบประมาณอุดหนุนเฉพาะกิจ ของ อปท. ในที่นี้ ได้แก่ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) นั้น ว่ากันว่ามีเส้นทางที่น่าสนใจศึกษา เริ่มจากเมื่อ อปท. ได้จัดทำโครงการขอรับการอุดหนุนผ่านสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอำเภอ (ท้องถิ่นอำเภอ) สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด (ท้องถิ่นจังหวัด) และผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด โดยส่งเอกสาร ทั้งแบบประมาณการโครงการ พร้อมแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อส่งไปให้หน่วยงานที่จะอุดหนุนงบประมาณ จากกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นหน่วยงานหลัก ก็คือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่เต็มไปด้วยเอกสารโครงการมากมายมหาศาล คิดเป็นจำนวนรถบรรทุกสิบล้อได้หลายคัน เพราะในแต่ละปี อปท. ทุกแห่งได้จัดโครงการผ่านจังหวัดไปกองรวมกันไว้ที่กรมส่งเสริมการปกครองท้อง ถิ่น บางครั้ง อปท. เดียวกันได้จัดส่งโครงการซ้ำแล้วซ้ำอีก และเอกสารดังกล่าวก็ยิ่งส่งมารวมทับทวีมากขึ้นทุกปี เจ้าหน้าที่ อปท. ที่ไปติดตามโครงการถึงกับอึ้งตะลึงเมื่อได้เห็นกองเอกสารกองพะเนินเทินทึก จึงไม่แปลกใจว่า เหตุใดโครงการที่ อปท. เสนอมาไม่ได้รับการพิจารณาก็
          เพราะ หลายโครงการยังคงกองอยู่ที่เดิมนั่นเอง เพราะระบบการตรวจสอบควบคุมการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่ไม่มี กฎเกณฑ์แน่นอน ผู้มีอำนาจอนุมัติจะสนใจหยิบหรือดึงโครงการใดจากจังหวัดใด และ อปท. ใด ก็ย่อมได้
          หลักการจัดทำและขอรับงบประมาณที่ไม่ชัดเจน
          กรม ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นของบประมาณจากรัฐบาลกลางเช่นเดียวกระทรวง ทบวง กรมอื่น ข้อแตกต่างจากกรมอื่น เช่น กรมทางหลวง หรือกรมชลประทาน ที่สำคัญคือ การไม่กำหนดชื่อโครงการ และสถานที่ก่อสร้างที่ชัดเจนแน่นอน เป็นเพียงการกำหนดจำนวนเนื้องาน และยอดงบ
          ประมาณเป็นตัวเลขที่ ไม่ชัดเจนแน่นอน เรียกว่าเสนอของบเป็น "ตัวเลขกลมๆ" อาทิ  ของบประมาณอุดหนุนการก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็ก จะระบุโครงการเพียงจำนวนงบประมาณคร่าว ๆ จำนวนหลัง อาจไม่ระบุสถานที่ และรายละเอียดโครงการที่ชัดเจน เหมือนดังเช่นกรมทางหลวง ที่การขออนุมัติงบประมาณจะขอเป็นโครงการที่ชัดเจน ระบุสถานที่ชัดเจน เช่น กำแพงเพชร - นครสวรรค์ หลัก กม.ใดถึงหลัก กม. ใด งบประมาณ เท่าใด เป็นรายโครงการไป หากโครงใดได้รับการอนุมัติ ก็มีการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างต่อไป สำหรับโครงการที่เหลือไม่ได้รับอนุมัติ ก็จะได้รับการเสนอของบประมาณในปีถัดไป การดำเนินการในลักษณะเช่นนี้ จึงมีความโปร่งใส และตรวจสอบได้
          ฉะนั้น จึงเกิดข้อครหาในความโปร่งใสของการพิจารณาอนุมัติโครงการ และทำให้เกิดการวิ่งเต้นแข่งขันแย่งชิงกันเพื่อให้ได้มาซึ่งงบประมาณ หรือที่เรียกกันตามภาษาชาวบ้านว่า "การวิ่งงบประมาณ"โดยไม่มีหลักเกณฑ์ในการจัดสรรงบประมาณที่แน่นอน เพราะตัวเลขงบประมาณที่ขอมาและที่จะได้รับ
          การจัดสรรไม่แน่นอน จากข้อมูลย้อนหลังสัก 5 ปีพบว่า อปท. ใดที่เคยได้รับงบอุดหนุนเฉพาะกิจ อปท.นั้นก็มักจะได้รับการอนุมัติโครงการอยู่เสมอ
          ขั้นตอนการดำเนินการพัสดุมีปัญหา
          ใน การดำเนินการเมื่อ อปท. ได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว คนท้องถิ่นมักพูดกันว่า "ไม่มีของฟรี" การได้รับการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจจากรมส่งเสริมการปกครองท้อง ถิ่นต้องมีการต่างตอบแทน "แลกมา" ปัจจุบันการวิ่งงบประมาณจึงมีวิธีการแบบ "ต่างตอบแทน" จ่ายเงินล่วงหน้า(ใต้โต๊ะ) ก่อนได้รับอนุมัติใบจัดสรรงบประมาณ จำนวนเงินจ่ายมากน้อยขึ้นกับเงื่อนไขลักษณะโครงการงานก่อสร้างหรืองานขุด ลอกฯ หรือความสนิทสนมมักคุ้นกันเป็นการส่วนตัว หรือความจำเป็นเร่งด่วนที่อยากได้โครงการ หรือความได้เปรียบของผู้ที่จะมารับงานจ้างที่มีขีดความสามารถในต้นทุนที่แตก ต่างกันเป็นต้น
          เมื่อได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณมาแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนพัสดุ หรือ "การจัดซื้อจัดจ้าง" ในหลายโครงการเป็นการสอบราคา หรือการประกวดราคา โดยมีข้าราชการ อปท. ได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการพัสดุ ได้แก่ คณะกรรมการกำหนดราคากลาง คณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง คณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรืองานจ้าง คณะกรรมการควบคุมงานจ้าง
          เมื่อมีต้นทุนในการวิ่งงบประมาณ สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ ผลพวงที่ตามก็คือ "การลดต้นทุน"หรือ "การถอนทุนคืน" จะมากน้อยขึ้นกับต้นทุน และขาใหญ่ของผู้รับเหมาที่อยู่เบื้องหลังหรือที่ได้รับงานจ้าง มักมีปรากฏการณ์ปัญหาทางปฏิบัติที่สร้างความลำบากใจแก่เจ้าหน้าที่ อปท. ผู้ปฏิบัติเป็นอย่างยิ่งอาทิ  การกำหนดราคากลางตามใบสั่งที่ค่อนข้างสูง มีการฮั้วประมูลงานของกลุ่มผู้รับจ้าง การตรวจรับงานจ้างที่ต่ำกว่ามาตรฐาน ความกริ่งเกรงใจของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อผู้บังคับบัญชาฝ่ายการเมือง ฯลฯ นี่คือบ่อเกิดของการทุจริตคอร์รัปชันในท้องถิ่น ซึ่งหากมีการร้องเรียนหรือตรวจจับการเรียกรับผลประโยชน์ในโครงการฯ ข้าราชการท้องถิ่นก็มักตกเป็นจำเลยอยู่เสมอ โดยไม่สามารถจับกุมหรือดำเนินการแก่ผู้อยู่เบื้องหลังได้
          ฉะนั้น "ขาใหญ่ หรือผู้รับเหมา หรือผู้อยู่เบื้องหลัง" โดยเฉพาะฝ่ายการเมืองท้องถิ่น ทุกคนต่างมุ่งหวังกำไร หรืออย่างน้อยที่สุด "ถอนทุนคืน" ให้คุ้มกับค่าเหนื่อยในการวิ่งงบประมาณนั่นเอง ข้ออ้างแรกๆ อ้างว่าทำเพื่อรับใช้ประชาชน แต่พอหนักเข้ามีค่าใช้จ่ายค่าอำนวยการเป็นภาระต้นทุนของโครงการที่เพิ่มขึ้น มา ก็จำต้องถอนทุนคืนเป็นธรรมดา ยิ่งจำนวนงบประมาณที่สูง ยิ่งต้องมีค่าใช้จ่ายอำนวยการวิ่งงบประมาณที่สูงขึ้น เหล่านี้จึงเกิด "ธุรกิจการวิ่งโครงการ" ขึ้น ที่มีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่ายทั้งเจ้าหน้าที่ราชการ นักการเมือง นายทุน พ่อค้า เอกชน นับตั้งแต่ ผู้อนุมัติงบประมาณ ผู้ประสานการส่งโครงการฯ ผู้วิ่งงบประมาณในพื้นที่และนำเงินส่วนแบ่งมาจ่ายกระจายให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง ใน อปท. ที่เป็นลูกข่าย การแบ่งงานเฉลี่ยให้แก่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในพื้นที่ รวมทั้งเฉลี่ยจ่ายเป็นค่าสมยอมในการเสนอราคา รวมทั้งจ่ายแก่ผู้มีหน้าที่จัดสมยอมราคา ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจนอกระบบที่มีเครือข่ายกว้างขวาง
          ข้าราชการท้องถิ่นเป็นตีนเป็นมือ
          ข้า ราชการท้องถิ่นมีหน้าที่ปฏิบัติตามนโยบายและการบริหารงานของผู้บริหารท้อง ถิ่น หรือนายกอปท. เพราะอำนาจในการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย พิจารณาอนุญาตให้ลา ให้ไปราชการ การประเมินผลการปฏิบัติงาน การเลื่อนขั้นเงินเดือน การตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย การลงโทษทางวินัย ล้วนอยู่ในอำนาจของนายก อปท. ที่ถือเป็นผู้บังคับบัญชาทั้งสิ้น การฝ่าฝืน การขัดขืน การทำบันทึกแย้ง การร้องเรียน การกล่าวหาต่อผู้บังคับบัญชาในทางปฏิบัติจึงเป็นไปได้ยาก อาจส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าในชีวิตราชการของตนเอง เพราะนายก อปท. มีอำนาจให้คุณและให้โทษแก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นทุกประการและที่สำคัญด้วย ระบบ "การบริหารงานบุคคลท้องถิ่น" ปัจจุบันที่ยังไม่มี "คณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการท้องถิ่น" ยิ่งไม่มีหน่วยงานใดเข้าไปช่วยเหลือพิทักษ์ปกป้องได้ การร้องเรียนกล่าวหาฟ้องร้องผู้บังคับบัญชาที่เป็นฝ่ายการเมืองท้องถิ่น ทำให้เกิดการเผชิญหน้า และเผชิญอิทธิพล ท้าทายอำนาจเด็ดขาดของนายก อปท. ซึ่งข้าราชการท้องถิ่นผู้นั้นไม่สามารถโยกย้ายไปรับราชการ อปท. แห่งอื่นได้ คงต้องถูกกลั่นแกล้งในระบบราชการต่อไป ครั้นหากจะยุติความขัดแย้งดังกล่าว ด้วยการให้ข้าราชการท้องถิ่นผู้นั้นย้ายออกจาก อปท. แห่งนั้น หรือให้ไปช่วยราชการหรือทำงานที่อื่นซึ่งเขามีความปลอดภัยกว่าเป็นการชั่ว คราว เช่นเดียวกับระบบข้าราชการพลเรือนก็ไม่อาจกระทำได้ เพราะมีข้อจำกัดในระเบียบบริหารงานบุคคลท้องถิ่น แม้ต่อมาผลในทางคดีปรากฏว่าข้าราชการท้องถิ่นผู้นั้นจะชนะในคดีแต่เขาก็อาจ หมดสิทธิในการแต่งตั้งโยกย้ายโดยปริยาย เพราะข่าวและภาพลักษณ์ดังกล่าวส่งผลทางลบให้นายก อปท. อื่นที่มีเครือข่ายทางการเมืองอยู่ ครอบคลุมทั่วประเทศต่างมีอคติและไม่ยอมรับ
          ในสถานการณ์ ปัจจุบันหาก อปท. ใดไม่มีการวิ่งงบประมาณมาลงในพื้นที่ก็ถือว่าข้าราชการท้องถิ่นนั้นโชคดี และหาก อปท. ใดมีการวิ่งงบประมาณได้เป็นจำนวนมาก ก็ถือเป็นโชคร้ายของข้าราชการท้องถิ่นนั้น เพราะชีวิตราชการท้องถิ่นแขวนอยู่บนความเสี่ยงต่อการผิดวินัย และการทุจริตคอร์รัปชันดังกล่าว อาจถูกไล่ออกปลดออกจากราชการ หรือต้องโทษทางอาญาจำคุก หมดอนาคตในชีวิตราชการได้
          ขอเสนอการแก้ไขปัญหาของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
          (1) การจัดสรรงบประมาณ ควรมีหลักการพิจารณาให้เป็นมาตรฐาน การของบประมาณควรมีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล และในการของบประมาณจากรัฐบาล ควรมีแบบรายการ งบประมาณสถานที่ เตรียมไว้ให้ตรวจสอบได้ทุก อปท. มีหน่วยงานในระดับจังหวัดอำเภอจัดทำระบบการควบคุมตรวจสอบว่าในแต่ละปีมี โครงการใดบ้างที่ส่งไปของบประมาณจากรัฐบาลเช่นเดียวกับ กรมทางหลวงกรมชลประทาน หรือกรมอื่นๆ
          (2) ควรลดเงินงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจลง และเพิ่มเงินอุดหนุนทั่วไป เพื่อลดปัญหาความยุ่งยากในการพิจารณาโครงการที่มีจำนวนมากของกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น เพราะหากเป็นเงินอุดหนุนทั่วไปให้ท้องถิ่นก็สามารถดำเนินการโครงการได้ตาม ความต้องการของ อปท. ทันทีเป็นการลดงาน ลดความซ้ำซ้อน ลดภาระและตอบสนองปัญหาความต้องการของประชาชนได้ตรงจุดรวดเร็ว โดยงบประมาณไม่ต้องผ่านตัวกลางเหมือนเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
          กรณี นี้เป็นการตัดเหตุปัญหาที่ต้นทาง กล่าวคือ การตัดวงจรการจัดสรรเงินงบอุดหนุนเฉพาะกิจลงก็จะทำให้การทุจริตส่วนบนลดลง ได้ ทำให้ปัญหานายหน้าและขบวนการในระดับล่างหมดไป เป็นการทำให้ปัญหาปลายทางเล็กลงได้ ข้อสังเกตในปรากฏการณ์ที่ผ่านมาพบว่า บุคคลตัวต้นเหตุแห่งปัญหามักจะใหญ่และมองเห็นได้ยากกว่าบุคคลปลายแถวที่มอง เห็นแยกแยะได้ง่ายกว่า
          (3) สร้างขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการ พนักงานของรัฐ ในการแจ้งเบาะแสและตรวจจับการทุจริตและการสร้างเครือข่ายการต่อต้านการ ทุจริตขึ้นใน อปท. ซึ่งในทางปฏิบัติข้าราชการท้องถิ่นจะไม่กล้าให้ความร่วมมือในการต่อต้านการ ทุจริตด้วยเกรงอำนาจของนายก อปท. รวมทั้งการลดปัญหาผู้ร่วมกระทำความผิด โดยการสร้างเสริมจริยธรรมและคุณธรรม ทั้งฝ่ายการเมืองท้องถิ่น และฝ่ายประจำที่ประกอบด้วยข้าราชการและลูกจ้าง
          (4) จัดสรรปรับบทบาทอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของนายก อปท. ให้มีการตรวจสอบกำกับควบคุมการใช้อำนาจได้ และให้มีการถ่วงดุลอำนาจของนายก อปท. กับข้าราชการท้องถิ่น เพราะสิ่งที่ข้าราชการท้องถิ่นเกรงกลัวที่สุด ก็คือ อำนาจที่ไม่จำกัดของนายก อปท. หากมีกรณีความขัดแย้งในการบริหารงานเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายการเมืองท้องถิ่นและ ฝ่ายข้าราชการประจำ การอยู่ในพื้นที่ทำข้าราชการเสี่ยงต่อการกลั่นแกล้ง การถูกดำเนินการทางวินัย หรือเรื่องอื่น ควรมีมาตรการและหลักประกันในการปกป้องช่วยเหลือในชีวิตตำแหน่งหน้าที่ราชการ ด้วย โดยเฉพาะปัญหาความขัดแย้งที่เกิดมาจากปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวเนื่องกับวิ่ง งบประมาณ เป็นต้น
          ข้อสรุป
          ตราบใดที่ยังมีการวิ่ง โครงการฯ และมีความต้องการในโครงการฯ ที่มีมากกว่าปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ทางปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาจึงค่อนข้างยาก อย่างไรก็ตาม การแก้ไขโดยการทำให้การวิ่งงบประมาณยากขึ้นก็โดยการตัดวงจรการจัดสรรงบ ประมาณลงเสีย หรือให้มีการพิจารณางบประมาณที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีหลักเกณฑ์แน่นอนย่อมกระทำได้

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ส.ท.ท.ถกแก้ศึกนายก'ระนอง'นักวิชาการชี้'พ.ร.บ.เทศบาล'ต้นเหตุ

ส.ท.ท.ถกแก้ศึกนายก'ระนอง'นักวิชาการชี้'พ.ร.บ.เทศบาล'ต้นเหตุ
มติชน  ฉบับวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          นาย ยุทธพร อิสรชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวว่า หลังศาลปกครองกลางสูงสุดมีคำพิพากษาให้นายสมชาย ข้ามสมุทร เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองระนอง โดยมีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2557 หลังรัฐมนตรีว่ากระทรวงมหาดไทย (มท.) สั่งให้พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติ ล่าสุด ปลัดกระทรวงมหาดไทยสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดระนองสั่งการให้นายสมชาย เข้าปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคมที่ผ่านมา ทำให้ขัดแย้งกับนายพินิจ ตันกุล นายกเทศมนตรีคนปัจจุบัน ซึ่งยืนยันว่าการพ้นตำแหน่งต้องได้รับคำสั่งจาก มท.1 นั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายโดยเฉพาะ พ.ร.บ.เทศบาล 2496 แม้ปรับปรุงหลายครั้งแต่ยังล้าหลัง ที่สำคัญหน่วยงานกำกับดูแลต้องเยียวยาความเสียหายให้นายพินิจ เนื่องจากมีคำสั่งให้ออกจากตำแหน่งโดยไม่มีความผิด และได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน
          "การดำเนินการเรื่องนี้ ศาลปกครองกลางสูงสุด ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ยึดกฎหมายเป็นหลักในการออกคำสั่ง และต้องนำมาใช้เป็นกรณีศึกษา ต้องสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการใช้กฎหมายเพื่อจัดการเลือกตั้งแทนตำแหน่งว่าง ตามกำหนดเดิมต้องเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน ถ้าหมดวาระต้องเลือกตั้งภายใน 45 วัน เมื่อ กกต.ยึดแนวทางการดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด จะสร้างปัญหาอีก ซึ่งการแก้ปัญหาในอนาคต ต้องมีการหารือร่วมกันหลายฝ่าย ต้องพิจารณาคำสั่งศาลปกครองกลางสูงสุดที่มีผลผูกพันกับทุกองค์กร แต่ไม่มีสภาพบังคับจากคำวินิจฉัย และตีความตาม พ.ร.บ.เทศบาล 2496 เพื่ออ้างสิทธิความชอบธรรมในการทำหน้าที่ผู้บริหารท้องถิ่น" นายยุทธพรกล่าว
          นาย ศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ ประธานสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ กรรมการบริหารสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) กล่าวว่า ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ฝ่ายกฎหมายและระเบียบของ ส.ท.ท.จะถกปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งหมดร่วมกับสภาทนายความเพื่อหา ทางออกที่เหมาะสม เนื่องจากมีคำสั่งศาลปกครองอีกหลายเรื่องที่ยังไม่มีข้อยุติในการตีความ ซึ่งตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองระนองยังมีปัญหาความขัดแย้งภายในพอสมควร เนื่องจากผู้บริหารทั้ง  2 รายสังกัดพรรคการเมืองใหญ่

วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

จี้รัฐแก้เกณฑ์ประกาศภัยหนาวเปิดทางท้องถิ่นช่วยชาวบ้าน



จี้รัฐแก้เกณฑ์ประกาศภัยหนาวเปิดทางท้องถิ่นช่วยชาวบ้านมท.เตือนเหนือ-อีสานเย็นยะเยือก  - 
โพสต์ทูเดย์  ฉบับวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙

          โพสต์ทูเดย์ อปท.รวมตัวร้องรัฐบาลแก้เกณฑ์ประกาศภัยหนาว เปิดทางช่วยเหลือชาวบ้าน
          นาย รัฐวุฒิชัย ใจกล้า นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) บ้านตุ่น อ.เมือง จ.พะเยา เปิดเผยว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หลายแห่งได้หารือกันและเตรียมจะทำหนังสือยื่นถึงรัฐบาลขอให้ยึดเกณฑ์ อุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส นานติดต่อกัน 3 วัน ให้ท้องถิ่นสามารถประกาศภัยหนาวได้เหมือนในอดีตที่ผ่านมา
          ทั้ง นี้ หลังจากรัฐบาลปรับเกณฑ์ประกาศภัยหนาวใหม่ อุณหภูมิลดลงต้อง 8 องศาฯ ติดต่อกัน 3 วัน จึงจะสามารถประกาศภัยหนาวได้ โดยที่ผ่านมาอุณหภูมิลดลง 8 องศาฯ ติดต่อกัน 2 วัน แต่วันที่ 3 อุณหภูมิกลับปรับขึ้นเป็น 11 องศาฯ แล้ว กลับมาเย็นลงอีกในวันต่อมาจึงทำให้ประกาศภัยหนาวไม่ได้
          "หาก ปล่อยให้ประชาชนต้องผจญกับความหนาวจัดเช่นนี้แล้ว ทาง อปท.และหน่วยงานรัฐไม่สามารถช่วยเหลือได้ เกรงว่าในระยะยาวประชาชนจะหมดศรัทธาต่อ อปท.และหน่วยงานรัฐ" นายรัฐวุฒิชัย กล่าว
          นายก อบต.บ้านตุ่น กล่าวอีกว่า ทางสมาคม อบต.แห่งประเทศไทย ภาคเหนือ นัดจะประชุมกันขึ้นที่ จ.ลำปาง ในช่วงปลายเดือน ก.พ.นี้ ซึ่งจะเสนอเรื่องภัยหนาวต่อที่ประชุมสมาคมฯ เพื่อร่วมกันผลักดันถึงส่วนกลางขอให้รัฐบาลคืนเกณฑ์ประกาศภัยหนาวเป็นต่ำ กว่า 15 องศาฯ ติดต่อกัน 3 วัน
          ขณะที่ นางกัญญาณัฐ ศรีใจ รองนายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) งิม อ.ปง จ.พะเยา กล่าวว่า จากสภาพอากาศที่หนาวจัดอุณหภูมิต่ำถึง 4-5 องศาฯ ระหว่างวันที่ 24-28 ม.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนประสบภัยหนาวเป็นจำนวนมาก แต่ทางท้องถิ่นไม่สามารถช่วยเหลือชาวบ้านได้เพราะประกาศภัยหนาวไม่ได้เพราะ ขัดหลักเกณฑ์
          นางกัญญาณัฐ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านประสบภัยหนาวจำนวนมากเพราะมีผ้าห่มไม่พอใช้ อีกทั้งเสื้อผ้ากันหนาวก็ขาดแคลนเพราะเป็นผู้มีรายได้น้อย แต่ท้องถิ่นไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือได้เนื่องจากรัฐบาลปรับเกณฑ์ประกาศภัย หนาวใหม่
          ขณะที่ นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ส่งหนังสือด่วนเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ถึง ผวจ. 37 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงหนือและภาคเหนือให้เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหา จากอากาศหนาวดังนี้  
1.แจ้งเตือนประชาชนบนพื้นที่สูง และพื้นที่เสี่ยงภัยให้ทราบเกี่ยวกับอากาศหนาวเย็น มีลมแรงวันที่ 2-7 ก.พ.นี้ 
2.ให้ ผวจ.และเจ้าหน้าที่สำรวจความต้องการเครื่องกันหนาว หากไม่เพียงพอให้ขอรับการสนับสนุนจากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงจัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง
3.ดำเนินการแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้เข้าช่วยเหลือประชาชนได้ ทันที และ
4.รายงานผลการปฏิบัติงานให้กับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย