วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2559

เทศบาลเมืองนราธิวาสเปิดสอบคัดเลือกตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

เทศบาลเมืองนราธิวาส เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้
๑.โรงเรียนเทศบาล ๒ (บ้านบาเละฮิเล)
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
๒.โรงเรียนเทศบาล ๓ (บ้านยะกัง)
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ๒ ตำแหน่ง
๓.โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดประชาภิรมย์)
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
๔.โรงเรียนเทศบาล ๖ (ถนนโคกเคียน)
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
เปิดรับสมัคร ๒๕ มกราคม - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๗๓๕๑-๕๘๒๕

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

บทความพิเศษ: ความสับสนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น

บทความพิเศษ: ความสับสนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น 
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๙

          ทีมวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
          ท้อง ถิ่น เรียกกันตามศัพท์รัฐธรรมนูญเดิมว่า "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" หรือ "อปท." ซึ่งมีความพยายามแก้ไขให้ใช้คำใหม่ในร่างรัฐธรรมนูญว่า "องค์กรบริหารท้องถิ่น" หรือ "อบท." แต่ก็ถูกยกเลิกไป ฉะนั้น ในเมื่อยังไม่มีศัพท์ใหม่มาแทนที่ศัพท์เดิม ก็ขอใช้คำว่า "องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น" (อปท.)
          นับระยะเวลาการก่อร่าง สร้างตัวของท้องถิ่น จากกระแสการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 ที่มีการเร่งกระจายอำนาจในรูปแบบโครงสร้าง นับตั้งแต่การยกฐานะสภาตำบลให้เป็น "องค์การบริหารส่วนตำบล" (อบต.) เริ่มในปี 2537 และการยกฐานะสุขาภิบาลเป็น "เทศบาล" ทั่วประเทศ ในปี 2542 พร้อมๆ กับการตรากฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจและ กฎหมายระเบียบการบริหารงานบุคคล โดยขณะเดียวกันก็ได้มีการแก้ไขหลักการการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่น จากเดิมที่มีการเลือกตั้งโดยอ้อมผ่านสภาท้องถิ่น เปลี่ยนรูปแบบ "นายก อปท."(ผู้บริหารท้องถิ่น) เป็น "แบบสภาที่ผู้บริหารมีอำนาจมาก" (Strong Executive) โดยผู้บริหารท้องถิ่นให้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงทั้งหมดจากท้องถิ่น 3 รูปแบบ ทั้ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งเหตุการณ์ทั้งหมดนี้ล้วนดำเนินการในช่วงก่อนปี 2550 กล่าวคือดำเนินการในช่วงของรัฐธรรมนูญปี 2540 นั่นเอง ซึ่งถือว่าเป็นยุคทองของ "การปกครองท้องถิ่นไทย"
          ท้องถิ่นมีความขัดแย้งและสับสนในตัวตน
          เมื่อ มีการตรารัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นมาในปี 2550 กลับปรากฏว่าท้องถิ่นมีหลักการใหม่หรือบทบัญญัติใหม่เกิดขึ้นตามรัฐธรรมนูญ ใหม่อยู่หลายมาตรา แม้บางมาตราแทบจะไม่มีการเปลี่ยนเท่าใดนัก แต่บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติบังคับให้มีการตรากฎหมายท้องถิ่นใหม่รวมอย่างน้อย 5 ฉบับ ได้แก่   (1) กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (2) กฎหมายรายได้ท้องถิ่น (3) กฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (4) กฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น และ (5) กฎหมายอื่นตามหมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ปรากฏว่า รัฐบาลในช่วงนั้นไม่ได้ตรากฎหมายดังกล่าว คือไม่สนองตอบต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ2550 แต่อย่างใด
          ใน บริบทของท้องถิ่นเองที่มีแต่ "ความขัดแย้ง" ถือเป็นปัญหาอุปสรรคอย่างหนึ่ง เพราะโครงสร้างท้องถิ่นเองถูกออกแบบให้มีความขัดแย้งในตัวเองอยู่หลายๆ ส่วน ทั้งฝ่ายบริหารท้องถิ่นฝ่ายสภาท้องถิ่น และฝ่ายประจำท้องถิ่น ยิ่งสร้างความสับสนในตัวตนให้แก่คนท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคนท้องถิ่นในกลุ่มของ"ฝ่ายประจำ" หรือ ฝ่ายข้าราชการและลูกจ้างท้องถิ่น ซึ่งเป็นผู้นำนโยบายของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายการเมืองท้องถิ่นไปสู่การปฏิบัติ มีจำนวนอยู่กว่าสี่แสนคน คิดเป็นร้อยละ 18 ของบุคลากรภาครัฐทั้งหมดที่มีอยู่ราว 2.2 ล้านคน
          ปัจจุบันมีคำ ถามว่าข้าราชการส่วนท้องถิ่นมีตัวตนของตนเองหรือไม่ คำตอบก็คือ บุคลากรฝ่ายประจำของท้องถิ่นค่อนข้างมีความสับสนในบทบาทและหน้าที่ของตนเอง หรือจะเรียกว่า "สับสนในตัวตน" ว่ากันตั้งแต่หัวจรดหาง หรือเริ่มตั้งแต่ต้นที่เข้ามาทำงานจนถึงปลายเมื่อมีการย้ายหรือการออก จากราชการไป
          บ่อเกิดของความสับสนในตัวตน
          "ฝ่าย ประจำท้องถิ่น" มีความสับสนไม่เข้าใจในบทบาทของตนเองและมีความสับสนในตัวตน จนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งในเพื่อนร่วมงานในที่นี้ ได้แก่ ข้าราชการท้องถิ่นและลูกจ้าง ซึ่งแยกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ (1) กลุ่มสายบริหาร ได้แก่ ข้าราชการท้องถิ่นตำแหน่งปลัด อปท.รองปลัด อปท. และ หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ และ (2) กลุ่มสายผู้ปฏิบัติ ซึ่งมิใช่สายบริหาร ในจำนวนนี้รวมสายวิชาชีพและวิชาการ และรวมลูกจ้างและพนักงานจ้างทั้งหมดด้วย
          ใน ความสัมพันธ์หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายประจำกับฝ่ายการเมืองท้องถิ่นนั้น ในภาพรวมพบว่า บรรดาข้าราชการและลูกจ้างท้องถิ่นจำนวนเกินกว่าร้อยละ 60-70 ล้วนมีเส้นสายเส้นทาง "การเข้าสู่ตำแหน่ง" ด้วยระบบอุปถัมภ์ (Patronage System) รวมถึงความมิชอบด้วยกระบวนการบริหารงานบุคคลในรูปแบบต่างๆ ที่มิใช่ระบบคุณธรรม (Merit System) ซึ่งระยะที่ผ่านมามักปรากฏเป็นข่าวตามสื่อมวลชนอยู่เสมอ ประกอบกับอำนาจการบริหารงานที่เบ็ดเสร็จของผู้บริหารท้องถิ่นที่มีอำนาจมาก ขาดการควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจที่ดี เหล่านี้ย่อมส่งผลก่อให้เกิดการบริหารงานท้องถิ่นที่บิดผัน(Abuse) ขาดประสิทธิภาพ ขาดความโปร่งใสได้ ซึ่งผลพวงจากปรากฏการณ์ดังกล่าวย่อมก่อให้เกิด "การทุจริตคอร์รัปชัน" ทั้งการทุจริตโดยตรงหรือการทุจริตเชิงนโยบาย (Policy Corruption) ได้ง่าย
          ใน ความสัมพันธ์ระหว่างตัวเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น "ฝ่ายประจำ"ด้วยกันเองปัจจุบันก็กำลังสับสนวุ่นวายในการปรับกรอบอัตรากำลัง จาก"ระบบจำแนกตำแหน่งตามหน้าที่ความรับผิดชอบ" (Position Classifi cation-PC) หรือ "ระบบซี" เพื่อเข้าสู่ "ระบบการจำแนกตำแหน่งตามความสามารถ" หรือ "ระบบแท่ง" (Competency-based Classifi cation or Broad Branding) ด้วยความมีลักษณะพิเศษของท้องถิ่นที่พยายามนำหลักการของข้าราชการพลเรือนมา เทียบเคียง แต่ปรากฏว่าไม่สามารถเทียบเคียงกับระบบของท้องถิ่นได้ในรายละเอียดปลีกย่อย
          ข้าราชการท้องถิ่น 2 กลุ่มขัดแย้งกันเอง
          ความ สับสนในเชิงขัดแย้งไม่เข้าใจ และไม่พอใจในความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มีกระแสข่าวโต้แย้งในระหว่างข้าราชการส่วนท้องถิ่นด้วยกันเองแยกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ระหว่าง (1) สายงานทั่วไป สายวิชาการ สายอำนวยการ และ (1) สายบริหารงาน อปท. แม้แต่ในสายบริหารงาน อปท. เอง ในกลุ่มของ รองปลัด อปท. ก็สับสน ในการเรียกร้องแก้ไข เพราะมีข้อเรียกร้องเดียวกับกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มสายงานทั่วไป-วิชาการ-อำนวยการซึ่งหากจะเทียบจำนวน(ปริมาณ)แล้วเป็น ที่น่าเป็นห่วงว่า ในกระแสคนหมู่มากด้วยสัดส่วนร้อยของกลุ่มข้าราชการส่วนท้องถิ่นกลุ่มที่ 1 ที่มีมากกว่ากลุ่มที่สอง (กลุ่มสายบริหารฯ) ถึงกว่าร้อยละ 90 เรียกได้ว่า มีความได้เปรียบต่อข้อเรียกร้องในเชิงปริมาณที่มากกว่าอีกฝ่ายมากมาย ไม่ว่าจะสร้างกระแสข่าว หรือการประชาสัมพันธ์คัดค้านต่อต้านที่มากกว่าอีกฝ่ายชนิดที่เรียกว่าไม่ เห็นฝุ่น
          ซึ่งกลุ่มสมาพันธ์ข้าราชการสายทั่วไปและสายวิชาการจะ เข้ายื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีในวันที่ 29 มกราคม 2559 นี้เพื่อขอทบทวนมาตรฐานต่างๆในระบบแท่งท้องถิ่น โดยเสนอให้วางรากฐานส่งเสริมความก้าวหน้าในสายงานทั่วไปสายวิชาการพร้อมขอ ให้เยียวยาข้าราชการที่ได้รับผลกระทบจากการเข้าสู่ระบบแท่ง
          ซึ่ง ถือเป็นการวัดใจต่อหลักการ และความมีมาตรฐานของระบบ ขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลกลางผู้มีอำนาจ มิใช่การโอนอ่อนตามกระแสเรียกร้องที่ขาดเหตุผล และตรรกะ แม้ในเรื่องเล็กน้อยที่มิใช่สาระของระบบ เช่น ในเรื่องการแต่งเครื่องแบบของพนักงานส่วนท้องถิ่นตามระบบจำแนกตำแหน่งในระบบ แท่งซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้สั่งให้ชะลอ รวมถึงการสั่งระงับการบริหารงานบุคคลไว้เป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 3 เดือน เหล่านี้ เป็นต้น
          ในบางกระแสอาจสร้างความเข้าใจผิดในระบบหรือ สร้างความแตกแยกในระหว่างกลุ่มข้าราชการส่วนท้องถิ่น ที่ถือเป็นบุคลากรหัวใจหลักของท้องถิ่นที่จะนำนโยบายของผู้บริหารท้องถิ่นไป สู่การปฏิบัติในการพัฒนาสร้างสรรค์พัฒนางานบริการ (Public Service) ตามอำนาจหน้าที่ เพื่อมวลประชาพี่น้องท้องถิ่นได้อยู่ดีกินดี มิใช่มีอคติหรือบริหารงานเชิงขัดแย้งซึ่งกันและกัน
          โจทย์ที่สำคัญของท้องถิ่นรออยู่
          คง ไม่มีใครอยากให้ข้าราชการท้องถิ่นมีแต่ความขัดแย้ง สังคมคนภายนอกที่เฝ้าจับตามองอยู่อาจมีความเคลือบแคลงสงสัย สะใจหรือสงสาร สุดแต่จะคาดเดาในความเขลาหรือฉลาดที่ปรากฏ แม้กระทั่ง "ตัวตนของท้องถิ่นเองที่คนท้องถิ่นก็ยังไม่เข้าใจ" แล้วอนาคตของการปกครองท้องถิ่นไทยจะเป็นไปอย่างไร เพราะอุปสรรคใหญ่หลวงที่กำลังขวางท้าทายรออยู่มีมากมาย โจทย์สำคัญที่รอคำตอบอยู่ 2 ข้อคือ
          (1)รูปแบบการปกครองท้อง ถิ่นจะมีทิศทางไปทางใด จะมีการยุบรวมหรือควบรวมเพื่อให้ อปท. มีประสิทธิภาพหรือไม่อย่างไรและ(2)เมื่อไหร่จะมีการปลดล็อกให้มีการเลือก ตั้งผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น เหล่านี้เป็นคำถามที่ต้องการคำตอบที่สำคัญมากกว่าการขัดแย้งคัดค้านใน "มาตรฐานการบริหารงานบุคคลสากล" ที่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพราะที่ใดมีการเปลี่ยนแปลงที่นั่นย่อมมีการต่อต้านเป็นธรรมดา แต่การคัดค้านต่อต้านนั้นคงมิใช่การคัดค้านต่อต้านที่ขาดเหตุผลและตรรกะ โดยไม่คำนึงถึงประโยชน์โดยรวม

'สมคิด'ปลุกลงทุนย่อยทั่วประเทศล้วงเงินก้นถุงท้องถิ่น3แสนล้านกระตุ้นเศรษฐกิจ

'สมคิด'ปลุกลงทุนย่อยทั่วประเทศล้วงเงินก้นถุงท้องถิ่น3แสนล้านกระตุ้นเศรษฐกิจ
ประชาชาติธุรกิจ  ฉบับวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๙

          มหาดไทย ขานรับนโยบายรองนายกฯสมคิด เตรียมปลดล็อกนำเงินสะสมของท้องถิ่น 3 แสนล้าน ออกกฎกติกาใหม่เปิดช่อง อบจ.-อบต.-เทศบาล รวมทั้ง กทม.-เมืองพัทยา แงะกระปุกเบิกจ่ายเงินพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แหล่งท่องเที่ยว ปลุกเศรษฐกิจในพื้นที่
          แหล่งข่าวจากกระทรวงมหาดไทยเปิดเผยว่า กระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างพิจารณาปรับปรุงแก้ไขแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการ ใช้จ่ายเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กับ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ต้องการให้หน่วยงานปกครองท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอย่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา นำเงินสะสมมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาและเสริมสร้างเศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยจะเร่งดำเนินการให้เสร็จเรียบร้อยก่อนเสนอนายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ลงนามเพื่อแจ้งเวียนสร้างความเข้าใจให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยึดถือเป็นแนว ปฏิบัติ
          ทั้งนี้ หากสามารถนำเงินสะสมที่ อปท.มีอยู่ประมาณ 2-3 แสนล้านบาท มาใช้ในการพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับท้องถิ่นได้จริง นอกจากจะทำให้ประชาชนในท้องถิ่น ชุมชนทั่วประเทศได้รับความสะดวกสบายจากสาธารณูปโภคสาธารณูปการ ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่ อปท.นำเงินก้อนนี้ไปลงทุนพัฒนาแล้ว ความเจริญรวมทั้งถนนหนทางซึ่งช่วยให้การเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น จะหนุนให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวสามารถสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้คนในท้องถิ่น ได้อีกทางหนึ่ง
          แหล่งข่าวกล่าวว่า สาเหตุที่เงินสะสมของท้องถิ่นซึ่งมีอยู่ 2-3 แสนล้านบาท ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ มาจากกระทรวงมหาดไทยกำหนดเงื่อนไขและแนวทางปฏิบัติในการเบิกจ่ายเงินอย่าง เข้มงวดเมื่อหลายปีก่อน หลังหน่วยงานตรวจสอบหลายหน่วยงานรวมทั้งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ทำหนังสือท้วงติงเกี่ยวกับ การใช้จ่ายเงินของท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากหลายท้องถิ่นใช้จ่ายเงินสะสมอย่างสุรุ่ยสุร่าย โดยไม่ได้คำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับส่วนรวม
          ขณะเดียว กันบางกรณีมีการใช้จ่ายในลักษณะสุ่มเสี่ยงจะขัดต่อกฎหมาย ทำให้กระทรวงมหาดไทยเกรงว่าจะมีปัญหาตามมา จึงได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเข้มงวด รัดกุม ส่งผลให้เงินสะสมเหลือค้างจ่ายเพิ่มขึ้น ต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ ยอดเงิน 2-3 แสนล้านบาทซึ่งปัจจุบันฝากไว้กับสถาบันการเงินมาจากเงินเหลือจากการเบิกจ่าย แต่ละปีหลายส่วนด้วยกัน อาทิ เงินรายได้จากการจัดเก็บภาษีของท้องถิ่นเอง กับภาษีที่หน่วยงานส่วนกลางจัดเก็บให้ เงินที่ได้รับจัดสรรจากวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินช่วยเหลือสนับสนุนหน่วยงานท้องถิ่น เป็นต้น แนวคิดนี้หากดำเนินการได้ก็จะช่วยปลุกเศรษฐกิจในพื้นที่ ได้มาก
          ทั้ง นี้ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 59 ได้อนุมัติโครงการเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ เพื่อ เพิ่มความเข้มแข็ง ของเศรษฐกิจ ฐานรากตามแนวทางประชารัฐที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อเพิ่มปริมาณการลงทุนในระดับชุมชนผ่านกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 79,556 กองทุน ผ่านสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กองทุนละไม่เกิน 500,000 บาท ภายใต้วงเงินรวม 35,000 ล้านบาท
          พื่อ ใช้ในการลงทุนด้านโครงสร้าง พื้นฐานในชุมชน เช่น ยุ้งฉางชุมชน โรงตาก พืชผลทางการเกษตร โรงสีชุมชน โรงงานผลิตปุ๋ยประจำชุมชน การจัดทำแหล่งเก็บน้ำชุมชน และเครื่องจักรสำหรับแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร และเพื่อดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่ชุมชนเห็นว่าเป็นประโยชน์ โดยให้ดำเนินการเบิกจ่ายภายในระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่วันที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
          ผลจากการดำเนิน โครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นใน ระดับฐานรากและชุมชน ซึ่งจะเป็นรากฐานที่สำคัญต่อการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจไทย ต่อไป

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

บทบรรณาธิการสยามรัฐ: ยุทธศาสตร์ขยะ ?

บทบรรณาธิการสยามรัฐ: ยุทธศาสตร์ขยะ ?
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙

          ปัญหา ใหญ่ของชุมชนเมืองที่รอไม่ได้คือ "น้ำเน่า" กับ "ขยะ"ปัญหาน้ำเน่าปีนี้เห็นกันชัดขึ้นเพราะภัยแล้ง น้ำตามแหล่งน้ำต่างๆ มีน้อย น้ำในบึงใหญ่ในทะเลสาบตามจังหวัดต่างๆ เน่าเสียกลายเป็นภัยเสริมซ้อนภัยขาดน้ำให้รุนแรงขึ้น
          ต้นเหตุ น้ำเน่าที่สำคัญมาจากน้ำมือมนุษย์เอง และโดยทั่วไปแล้วคนเราก็มักจะนึกถึงขยะของเสียน้ำเน่าจากโรงงานอุตสาหกรรม เท่านั้น ลืมไปว่า ของเสียและขยะจากบ้านคนก็เป็นแหล่งสำคัญ
          "ปัญหา ขยะ" ในเมืองเป็นปัญหาดินพอกหางหมูที่ใหญ่โตขึ้นเรื่อยๆ หากปล่อยต่อไปไม่แก้ไขโดยเร็วบ้านเมืองไทยที่สวยงามน่ารักก็อาจจะเหม็นโฉ่ไป หมดทุกจังหวัด
          ผู้คนสร้างขยะออกมามากกว่ากำลังความสามารถขององค์กรปกครองท้องถิ่นจะจัดการได้อย่างดี
          ต่อ ไปปัญหาขยะจะลุกลามไปถึงระดับ "ตำบล"เมื่อ คสช. รัฐประหารได้ยกปัญหาขยะเป็นปัญหาใหญ่เร่งด่วนที่ต้องแก้ไขเป็นเรื่องถูกต้อง แล้ว
          แต่ยุทธศาสตร์ที่กำหนดออกมายังเน้นที่ปัญหาปลายน้ำคือเรื่องโรงงานกำจัดขยะ
          การ บริหารจัดการปัญหาขยะนั้นตราบใดที่ยังไม่สามารถทำให้พลเมืองไทยมีจิตสำนึก "แยกขยะ" ปัญหาขยะก็จะใหญ่โตไม่มีทางลดทอนปัญหาลงได้
          พลเมือง จำนวนหนึ่งตื่นตัวเห็นความจำเป็นของการ "แยกขยะ"ตั้งแต่ระดับขยะจากครัวเรือนแต่ระดับความสามารถในการเก็บขยะของ องค์กรปกครองท้องถิ่นยังไม่สามารถจัดเก็บขยะแบบแยกประเภทได้ชาวบ้านตั้งขยะ แยกประเภทไว้แต่รถเก็บขยะก็มีคันเดียวมาเก็บขยะทังหมดรวมกันไป
          การ จัดการขยะองค์กรปกครองท้องถิ่นก็มักจะใช้วิธีฝังกลบโดยไปเช่าที่ดินว่าง เปล่าหรือจ้างบริษัทรับไปฝังกลบซึ่งบริษัทเหล่านั้นก็ไปเช่าที่ดินว่างเปล่า แล้วนำขยะไปเททิ้งไว้ซึ่งก็สร้างปัญหาให้กับชุมชนใกล้เคียง
          ส่วนโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะก็มักจะถูกต่อต้านจากชุมชนเจ้าของพื้นที่
          เนื่อง จาก 1.ผู้ประกอบการมักจะเลือกใช้เทคโนโลยีที่ล้าสมัยก่อมลพิษ 2.มีการคอร์รัปชันกันมาก ทำให้โรงงานกำจัดขยะกลายเป็นสร้างมลพิษเสียเอง
          ปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่ดี มีความปลอดภัยต่อชุมชนใกล้เคียงหากไม่มีการคอร์รัปชันและสามารถบริหารจัดการ ได้อย่างมีประสิทธิภาพก็สมควรสนับสนุนให้รีบจัดทำกัน
          ข้ออ่อน ของรัฐบาลนี้ในยุทธศาสตร์ขยะคือไม่เน้นการแก้ปัญหาที่ต้นน้ำ คือสร้างจิตสำนึกให้พลเมือง "แยกขยะ" และให้งบประมาณพอเพียงสำหรับองค์กรปกครองท้องถิ่นจัดเก็บขยะแบบแยกประเภท แล้วนำไปจัดการในโรงงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ประโยชน์คุ้มค่า
          แต่รัฐบาลเร่งจะสร้างโรงไฟฟ้าจากขยะ จึงจำเป็นต้องยกเลิกกฎหมายผังเมืองซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายน้ำ
          เรื่องที่ห้ามชาวบ้านห่วงกังวลไม่ได้คือ เรื่องโรงงานก่อมลพิษเพราะเขาไม่เชื่อว่าจะไม่คอร์รัปชันโกงกินกัน
          อัน ที่จริงในต่างประเทศเขามีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ดีไม่ก่อมลพิษใช้ ถ้าหากคนไทยไม่คอร์รัปชันกันเอง โรงงานกำจัดขยะแบบครบวงจรก็เป็นเรื่องที่ต้องรีบทำ

กระตุ้นเศรษฐกิจโตตามเป้า3.5%'สมคิด'เร่งคมนาคม-มท.ลุยลงทุน1.2ล้านล.

กระตุ้นเศรษฐกิจโตตามเป้า3.5%'สมคิด'เร่งคมนาคม-มท.ลุยลงทุน1.2ล้านล.
ข่าวสด ฉบับวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙

          'สม คิด'กำชับมหาดไทยแก้ระเบียบให้อปท.ใช้เงิน ค้างท่อ 3 แสนล้านพัฒนาท้องถิ่น ส่วนคมนาคมให้เร่งเซ็นสัญญาโครงการต่างๆ รวม 9 แสนล้านภายในครึ่ง ปีแรก หวังเม็ดเงินช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงครึ่งหลังด้านบีโอไอเชื่อมาตรการหัก ภาษี 2 เท่า ยั่วใจเอกชนลงทุน เพิ่มเป็น 7 แสนล้าน
          นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวหลังประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของ ประเทศ ว่าสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนขนาดใหญ่เซ็นสัญญาก่อสร้าง โครงการทั้งหมดภายในครึ่งปีแรก ทั้งโครงการของกรมทางหลวง โครงการ รถไฟทางคู่ โครงการสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น เพื่อให้มีเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
          นอก จากนี้ให้กระทรวงมหาดไทยเร่งโครงการตำบลละ 5 ล้านบาทเพื่อให้เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในไตรมาสสองปีนี้ เพื่อสร้างความสมดุลของเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดว่า การเร่งลงทุนจะทำให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้ 3.5%
          พร้อมกับ ให้มหาดไทยแก้ไขระเบียบการใช้เงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. ที่มีเงินค้างอยู่ไม่ได้ทำประโยชน์ถึง 3 แสนล้านบาท เพื่อนำไปพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาเที่ยวมากขึ้น เป็นประโยชน์ทั้งเศรษฐกิจท้องถิ่นและภาพรวมของประเทศ
          ด้านนาย อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนของประเทศ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่จะเซ็นสัญญาภายในปีนี้มูลค่า 9 แสนล้านบาท เช่น โครงการถนนของกรมทางหลวง โครงการรถไฟทางคู่ โครงสนามบินสุวรรณภูมิ และท่าเรือแหลมฉบัง
          โดยเริ่มเบิกจ่ายมี เม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจภายในปีนี้ 6.68 หมื่นล้านบาท ไม่นับรวมเม็ดเงินโครงการของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) อีก 1.5 หมื่นล้านบาท ที่เพิ่งได้รับการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)
          นอกจากนี้ยังมีเม็ดเงินการลงทุนจากภาคเอกชนผ่านการ ส่งเสริมของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และมาตรการของกระทรวงการคลังการกระตุ้นการลงทุนเร่งด่วนให้หักภาษีได้ 2 เท่า จะทำให้ปีนี้เอกชนลงทุนเพิ่ม 2 แสนล้านบาท จากปกติที่เอกชนลงทุนปีละ 5 แสนล้านบาท ก็จะเพิ่มเป็น 7 แสนล้านบาท ทำให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น
          นาย อภิศักดิ์กล่าวอีกว่า ยังมีการเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนปกติ เช่น ในส่วนของการลงทุนโครงการไม่เกิน 1 ล้านบาท มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 90% ตอนนี้ทางสำนักงบประมาณก็จะเร่งการเบิกจ่ายการลงทุนในโครงการที่เกิน 2 ล้านบาท ต่อไป โดยนายสมคิด กำชับให้ข้าราชการและหน่วยงานต้องเร่งทำงาน เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจต่างประเทศไม่แน่นอน เราต้องดูแลเศรษฐกิจตัวเองให้ดีก่อน

วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2559

รับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา

เทศบาลนครนครราชสีมา เปิดรับสมัครสอบคัดเลือกเพื่อดำรงตำแหน่ง ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนกีฬาเทศบาลนครนครราชสีมา (อนุสรณ์ ๗๐ ปีเทศบาล) ระหว่างวันที่ ๒๕ มกราคม - ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๔๔๒๓-๔๗๖๓

เทศบาลนครตรัง รับโอนผู้บริหารสถานศึกษา

เทศบาลนครตรัง มีความประสงค์รับโอนผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้
๑.โรงเรียนเทศบาล ๑ (สังขวิทย์)
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
๒.โรงเรียนเทศบาล ๒ (วัดกะพังสุรินทร์)
-ผู้อำนวยการสถานศึกษา
๓.โรงเรียนเทศบาล ๕ (วัดควนขัน)
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา
- รองผู้อำนวยการสถานศึกษา
๔.โรงเรียนเทศบาล ๘ (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)
- ผู้อำนวยการสถานศึกษา
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๗๕๒๑-๘๘๒๒

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ของแสลงรัฐบาล

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ของแสลงรัฐบาล
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๙

          ผม ในฐานะที่ให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่น โดยเป็นทั้งผู้สอนผู้บรรยายให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ ผู้ทำวิจัย ผู้ประเมินผล และเป็นทั้งผู้เขียนหนังสือ ตำรา ด้านการปกครองท้องถิ่น การบริหารจัดการขององค์กรปกครองท้องถิ่น รวมทั้งการเขียนบทความที่สะท้อนถึงการบริหารจัดการชุมชนท้องถิ่นในคอลัมน์ ประชาคมท้องถิ่น สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ติดต่อกันมามากกว่า 20 ปีแล้ว จึงได้ข้อสรุปที่เป็นคำตอบสำคัญประการหนึ่งว่า "การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้า ดังนั้น ประเทศที่เจริญและมีรากฐานประชาธิปไตยที่มั่นคง โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นประเทศที่มีการกระจายอำนาจ และส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เข้มแข็งเกือบทั้งสิ้น"
          ผม จึงเชื่อว่า การเปลี่ยนวิธีคิด วิสัยทัศน์ประเทศไทยใหม่โดยการกระจายอำนาจ สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นน่าจะเป็นคำตอบในการพัฒนาประเทศทั้งในปัจจุบัน และอนาคต และถ้าเป็นไปในแนวทางดังกล่าวนี้ การปฏิรูปประเทศย่อมจะหลีกเลี่ยงไม่พ้นกับการเสนอแนวทางในการกระจายอำนาจให้ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการปฏิรูปโครงสร้างประเทศจึงเป็นวาระสำคัญของชาติ
          ที่กล่าว มาเช่นนี้เพราะว่า ตั้งแต่เรามีการปกครองประเทศให้เป็นประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข การดำเนินการบริหารประเทศ "เรารวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง" จึงทำให้เห็นว่าปัญหาประเทศจึงฝากความหวังไว้ที่ราชการส่วนกลางในการบริหาร จัดการ ซึ่งผลที่ออกมาก็เป็นอย่างที่เราเห็นกันอยู่ว่าประเทศไทยมักมีปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆ พูดแล้วพูดอีกมาเป็นเวลา 20 - 30 ปี โดยที่ปัญหาเดิมๆก็ยังไม่ได้แก้ แต่กลับมีปัญหาใหม่มาเพิ่มพูนอยู่เรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุอะไรก็จะต้องวิเคราะห์วิจัยกันให้ถ่องแท้แต่คำตอบ หนึ่งที่พูดกันมากก็คือ "การรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางมากเกินไป"
          แม้ แต่การทำท่าจะปฏิรูปประเทศมาหลายสิบปี เราก็ไปไม่ถึงไหน มีแต่วาทกรรมคำพูดว่า "เราจะปฏิรูปประเทศ"เราจะปฏิรูปประเทศมาหลายยุค หลายสมัย และหลายรัฐบาลแต่ผลลัพธ์สุดท้ายเราก็ย่ำอยู่กับที่ไปไม่ถึงไหน
          ใน ปัจจุบันเราก็เข้ายุคการปฏิรูปประเทศที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็กล่าวย้ำเช่นเดียวกันว่าจะปฏิรูปประเทศและสร้างเครื่องมือกลไกต่างๆ ออกมาหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)และตั้งสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งประชาชนทั่วไปก็คาดหวังว่ากลไกเหล่านี้น่าจะทำได้รวดเร็วและเป็นไปในทาง ที่ดี แต่ในที่สุดองค์กรทั้งสองประเภทดังกล่าวก็ได้แต่อภิปรายและพูดๆ จนทำให้การปฏิรูปประเทศไปไม่ถึงไหนเช่นเดียวกัน หรืออาจจะมีผลได้บ้างก็เป็นเพียงเอกสารรายงานการปฏิรูปประเทศ ซึ่งในที่สุดก็ได้คำตอบว่า "การปฏิรูปประเทศไทยก็ยังไปไม่ถึงไหนเช่นกัน"
          ผม จึงเข้าใจว่า การปฏิรูปประเทศควรที่จะให้รัฐบาลได้วางนโยบายและเป้าหมาย จัดหมวดหมู่เรื่องที่จะปฏิรูปให้ชัดที่สำคัญที่สุดจะต้องฟันธงให้ชันเจนว่า เราจะยึดแนวสร้างและพัฒนาประเทศแบบใด เราจะสร้างประเทศแบบรวมศูนย์อำนาจแบบเดิมๆ หรือเราจะสร้างประเทศด้วยการกระจายอำนาจและส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่นให้เข้มแข็งและถือเป็นการสร้างชาติจากฐานล่างอย่างแท้จริง
          ส่วน ผมเองก็มักจะถูกถามอยู่บ่อยๆ ครั้งมาก ในฐานะที่เป็นครูบาอาจารย์ เป็นนักวิจัย และเป็นนักให้คำแนะนำปรึกษาคลุกคลีอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาเป็น เวลานาน ในปัจจุบันมักจะถูกถามว่า ผู้ร่างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลจะเอาอย่างไรกับการกระจายอำนาจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ถามว่ารัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างจะบรรจุหมวดการกระจายอำนาจและการปกครองท้อง ถิ่นอย่างไร ส่วนคำถามที่มีต่อรัฐบาล รัฐบาลจะมีจุดยืนอย่างไรกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งคำถามทั้ง 2 ประการดังกล่าวถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลและผู้ร่างรัฐธรรมนูญจะต้องพูด อธิบายและสร้างความเข้าใจถึงจุดยืนให้ถูกต้อง นี่คือสิ่งที่รัฐบาลจะต้องสร้างความกระจ่างให้เกิดขึ้น
          ผมจึง เห็นว่า การร่างรัฐธรรมนูญและการปฏิรูปประเทศจำเป็นจะต้องสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม อย่างหลากหลายโดยการรับฟังความคิดเห็นและนำทุกความเห็นมาสังเคราะห์ วิเคราะห์อย่างจริงจัง โดยการนำข้อมูลเหล่านั้นไปตัดสินใจทั้งผู้ร่างรัฐธรรมนูญและรัฐบาลว่าจะทำ อย่างไร
          ผมจึงเข้าใจว่าในส่วนของการกระจายอำนาจและการปกครอง ท้องถิ่น จึงอยู่ที่ว่ารัฐบาลจะมีแนวทางอย่างไร จะให้มีการปรับเปลี่ยนไปอย่างไรหรือไม่ นี่คือสิ่งที่รัฐบาลจะต้องพูดอธิบาย เพื่อจะทำให้คำถามต่างๆ ถูกคลี่คลายไปในทางที่ชัดเจนมากขึ้น และที่สำคัญข้อปฏิบัติดีๆ ของชุมชนท้องถิ่น(Best Practice) ก็เป็นส่วนหนึ่งของการนำไปเป็นบทเรียนรู้และปฏิบัติการการปฏิรูปประเทศ
          สำหรับ ผมแล้วมีความเห็นว่า การปฏิรูปประเทศต้องเปลี่ยนวิธีคิดในการบริหารจัดการใหม่ โดยเฉพาะทางออกที่สำคัญก็คือ จะต้องสร้างรากฐานชุมชนท้องถิ่นให้เข้มแข็งและมีตัวอย่างข้อปฏิบัติที่ดีๆ ที่จับต้องได้ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำตัวทำตนเป็นตัวอย่างแบบอย่างที่ดี จนทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการปฏิรูปประเทศ และการพัฒนาประเทศใหม่ต้องเริ่มต้นที่ชุมชนท้องถิ่น หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ปปช.พบทุจริตสอบอบต.หลายจังหวัด

ปปช.พบทุจริตสอบอบต.หลายจังหวัด
โพสต์ทูเดย์  ฉบับวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๕๙

          โพสต์ทูเดย์ ป.ป.ช.ขยายผลทุจริตสอบพนักงาน อบต.มหาสารคาม พบเชื่อมโยงหลายจังหวัด
          นาย สรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า จากการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการไต่สวนนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ อ.เมือง จ.มหาสารคาม
          จำนวน 32 ราย กรณีนายก อบต.มหาสารคาม จัดสอบแข่งขันบรรจุพนักงานส่วนตำบลของ อบต.พื้นที่ อ.เมือง ระหว่างปี 2556-2557 โดยพบว่ามีการเปลี่ยนคะแนนผู้สอบได้ และมีการปลอมแปลงลายเซ็นมหาวิทยาลัยที่เป็นหน่วยงานกลางในการจัดสอบนั้น
          "ขณะนี้ได้ขยายผลการไต่สวนไปอีกหลายพื้นที่ในหลายจังหวัด
          เพิ่ม เติม เนื่องจากกรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในพื้นที่ อ.เมือง จ.มหาสารคาม เพียงอย่างเดียว แต่ยังมีอีกหลายจังหวัดที่เข้าข่ายมีพฤติการณ์แบบนี้เกิดขึ้นด้วย" เลขาธิการ ป.ป.ช. กล่าว
          ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ พบข้อมูลบางอย่างที่มีความเชื่อมโยงกัน ส่วนมีพื้นที่ไหนบ้าง อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและพยานหลักฐานเพิ่มเติม คาดว่าเร็วๆ นี้ จะสามารถดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้
          อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงมหาดไทยไม่น่าเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เพราะ อบต.เป็นฝ่ายของบประมาณมาบริหารจัดการเอง ผู้เกี่ยวข้องจึงมีแค่ระดับนายก อบต.และข้าราชการท้องถิ่นในพื้นที่เท่านั้น
          ก่อนหน้านี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ออกประกาศให้เจ้าหน้าที่ของรัฐระงับการปฏิบัติหน้าที่จำนวน 59 ราย ซึ่งปรากฏชื่อ นายก อบต. ในพื้นที่ อ.เมือง จ.มหาสารคาม รวม 32 ราย

ประชุม'สันนิบาตเทศบาล' เน้นธีมหลัก'โปร่งใส-ตรวจสอบได้' บิ๊ก'ส.ท.ท.'ย้ำผู้นำมีธรรมาภิบาล

ประชุม'สันนิบาตเทศบาล' เน้นธีมหลัก'โปร่งใส-ตรวจสอบได้' บิ๊ก'ส.ท.ท.'ย้ำผู้นำมีธรรมาภิบาล
มติชน  ฉบับวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๙

          นาย เกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) ได้จัดประชุมวิชาการ ระหว่างวันที่ 20-22 มกราคม ที่ห้องแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม อาคารอิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ซึ่งมีผู้เข้าประชุมประกอบด้วย นายกเทศมนตรี ประธานสภาเทศบาล ปลัดเทศบาลจากทั่วประเทศ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา นักวิชาการ และผู้สนใจประมาณ 2,200 คน  โดยเฉพาะวันที่ 21 มกราคม เวลา 08.30 น. นางนินนาท ชลิตานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมวิชาการ และบรรยายพิเศษเรื่อง "มุมมองการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการ ปฏิรูปประเทศไทย ด้านการปกครอง ท้องถิ่น (ส.ป.ท.)"
          "การประชุม วิชาการของ ส.ท.ท.ในปีนี้ใช้ธีม (Theme) สานพลังเทศบาลไทย:โปร่งใสตรวจสอบได้ การประชุมแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การบรรยายภาควิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิสาขาต่างๆ คือ เรื่อง 'เทศบาลกับการปฏิรูปประเทศไทย' โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี เรื่อง 'ทิศทางการคลังท้องถิ่นในอนาคต' โดย ศ.พิเศษสมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานอนุกรรมการด้านการเงิน การคลัง และงบประมาณ ในคณะกรรมการการกระจายอำนาจ, ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ 'สานพลังเทศบาลไทย:โปร่งใส...ตรวจสอบได้' โดย พล.อ.ไพบูลย์  คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม,  เรื่อง 'แนวทางการปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับ สตง.' โดยนายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง 'มิติใหม่ของเทศบาลและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น' โดยนายจรินทร์ จักกะพาก อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และการบรรยายเรื่อง 'กรณีศึกษาการพิจารณาตัดสินข้อร้องเรียนของ ป.ป.ช.' โดย ดร.ภาส ภาสสัทธา" นายเกรียงไกรกล่าว และว่า การประชุมวิชาการปีนี้ประสงค์จะสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และความตระหนักที่เทศบาลต้องเป็นผู้นำในการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใสทุกกระบวนการ จึงคาดว่าผู้เข้าประชุมจะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง
          รายงานข่าว แจ้งว่า นอกจาก ส.ท.ท.ร่วมกับเทศบาลตำบลพนา อ.พนา จ.อำนาจเจริญ มีกำหนดจัดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การเสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)" เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบการเงินการคลังของ อปท.ในอนาคต ระหว่างวันที่ 28-30 มกราคม ที่โรงแรมเชียงใหม่ฮิลล์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโครงสร้างการบริหารการคลัง และแนวทางการจัดเก็บภาษี และรายได้ท้องถิ่น แก่นายกเทศมนตรี ประธานสภา อปท. ปลัดเทศบาล และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

อนุกมธ.ชง'สปท.'ปฏิรูป'ท้องถิ่น'เสนอ2รูปแบบ

อนุกมธ.ชง'สปท.'ปฏิรูป'ท้องถิ่น'เสนอ2รูปแบบ
มติชน (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๙

          นาย ศุภสัณห์ หนูสวัสดิ์ ประธานสันนิบาตเทศบาลภาคใต้ ฐานะคณะอนุกรรมาธิการท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป สปท. กล่าวว่า การดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป มีนายวัลลภ พริ้งพงษ์ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (อ.สถ.) ทำหน้าที่ประธาน มีการประชุมทำแผนการดำเนินการและระยะเวลาในการปฏิรูปท้องถิ่นเพื่อเสนอ สปท. โดยเฉพาะตรวจสอบรายงานข้อมูลจาก สถ. และนักวิชาการ กรณีการควบรวมท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริการสาธารณะ ซึ่งเป็นเรื่องค่อนข้างซับซ้อน กระทบฝ่ายการเมือง และฝ่ายประจำ
          "ที่ ประชุม กมธ.นำตัวอย่างการควบรวมจากประเทศต่างๆ เป็นต้นแบบ เพื่อนำมาบูรณาการให้ได้รูปแบบท้องถิ่นที่ดีที่สุด พร้อมเสนอท้องถิ่น 2 รูปแบบ คือ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ มี อบจ. เทศบาล และจะยกระดับของ อบต.เป็นเทศบาลทั้งหมด หลักเกณฑ์เบื้องต้นจะยึดจำนวนประชากร งบประมาณ และพื้นที่ แต่ไม่ยึดเป็นรูปแบบที่ชัดเจน เนื่องจากประเทศไทยยังมีพื้นที่ห่างไกลความเจริญที่เป็นเกาะ ที่ราบสูง บนดอย เพื่อให้ประชาชนไม่ว่าจะเป็นเขตเมืองหรือชนบทต้องได้รับการบริการที่มี มาตรฐานใกล้เคียงกัน" นายศุภสัณห์กล่าว
          นายยงยศ แก้วเขียว นายกสมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สมาคมฯกำนันเรียกร้องให้รัฐบาลทำประกันชีวิตให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านที่ปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำหน้าที่ รวมทั้งแก้ไขปัญหาแก๊งค้ายาเสพติดใช้อิทธิพลมืดคุกคามการทำหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หลังเกิดเหตุลอบยิง และวางระเบิดบ้านพักในพื้นที่ อ.ช้างกลาง และ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

กมธ.หนุนคสช.ไฟเขียวเลือกตั้งอปท.

กมธ.หนุนคสช.ไฟเขียวเลือกตั้งอปท.
มติชน  ฉบับวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๕๙

          นาย เสรี สุวรรณภานนท์ ประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวว่า หลัง คสช.มีคำสั่งตามมาตรา 44 ให้ผู้บริหารสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศรักษาการในตำแหน่งหลังหมดวาระ ตั้งแต่ต้นปี 2558 ประกอบกับประชาชนร้องเรียนว่าผู้บริหารท้องถิ่นบางแห่งแสวงหาประโยชน์จากการ ใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิด มีแนวโน้มผูกขาดอำนาจ อีกทั้งผู้บริหารท้องถิ่นส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มการเมืองเดิม ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้ง กมธ.จึงหารือเพื่อขอให้มีการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และเทศบาล ที่หมดวาระเฉพาะบางพื้นที่ นำร่องทดลองแนวทางการเลือกตั้งปลอดการโกง ซื้อเสียง ก่อนเสนอกระทรวงมหาดไทยและ คสช.พิจารณา
          "เป็นไปไม่ได้ที่จะ ปล่อยให้ผู้บริหาร สมาชิกสภา อปท.ที่หมดวาระทำหน้าที่ตามปกติ โดยไม่มีอนาคต ถ้ามีการเลือกตั้ง คสช.และ กกต.ต้องวางนโยบายป้องกันปัญหา จัดการเลือกตั้งโปร่งใส สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน"

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559

ร่างพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ....

วันนี้ (12 มกราคม 2559) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี
       ​ ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้
      กฎหมาย
 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
(ฉบับที่ .. ) พ.ศ. ....
      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็น ระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภา นิติบัญญัติแห่งชาติ
       สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
1. กำหนดให้การเก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย ในเขตพื้นที่ของราชการส่วนท้องถิ่นใดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้อง ถิ่นนั้น ทั้งนี้ การเก็บ ขนสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลดำเนินการในพื้นที่ ของตน โดยราชการส่วนท้องถิ่นจะทำร่วมกับหน่วยงานของรัฐหรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือเอกชนภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน และราชการส่วนท้องถิ่นอาจมอบให้องค์กรของรัฐหรือเอกชนเป็นผู้ดำเนินกิจการ รับทำการ เก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยแทน ภายใต้การควบคุมดูแลของราชการส่วนท้องถิ่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศ และพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับการจัดการของเสียอันตรายตามกฎหมายว่าด้วย โรงงาน มูลฝอยติดเชื้อ มูลฝอยที่เป็นพิษหรืออันตรายจากชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยสาธารณสุข
2. กำหนดห้ามมิให้ผู้ใดดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน กำจัด หรือการหาประโยชน์จากการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น
3. กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจออกกฎกระทรวง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการคัดแยก เก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย
4. กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นมีอำนาจและหน้าที่ออกข้อกำหนดของท้องถิ่น เพื่อประโยชน์ในการจัดการรักษาความสะอาดและการจัดระเบียบในการคัดแยก เก็บ ขน กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยและกำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดหาประโยชน์จากการ กำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศ
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับการบริหารการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอยของราชการ ส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ พิจารณากลั่นกรองแผนงาน โครงการที่อยู่ในแผนปฏิบัติการเพื่อจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ที่ราชการส่วนท้องถิ่นเสนอของบประมาณ ให้ความเห็นชอบแผนงาน โครงการของราชการส่วนท้องถิ่น ในการขอตั้งงบประมาณแผ่นดิน ในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกระทรวงมหาดไทย และเสนอแนะมาตรการเกี่ยวกับการขอตั้งงบประมาณในการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูล ฝอยของราชการส่วนท้องถิ่น
6. กำหนดให้ราชการส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนงานโครงการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย เสนอต่อจังหวัด และจังหวัดได้บรรจุแผนงานโครงการของราชการส่วนท้องถิ่นไว้ในแผนปฏิบัติการ เพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัดแล้ว ให้จังหวัดจัดส่งแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับ จังหวัดให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
7. กำหนดโทษกรณีดำเนินกิจการรับทำการเก็บ ขน กำจัด หรือการหาประโยชน์จากการจัดการสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย โดยทำเป็นธุรกิจ หรือโดยได้รับประโยชน์ตอบแทนด้วยการคิดค่าบริการ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น และกำหนดโทษกรณีการฝ่าฝืนข้อกำหนดของท้องถิ่น
8. กำหนดให้บรรดาบทกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือ คำสั่งใด ที่ขัดแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้แทน

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

ปปช.-ทหาร-ตร.บุกรวบนายกอบต.


ปปช.-ทหาร-ตร.บุกรวบนายกอบต.
ข่าวสด (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ ๑๑ มกราคม ๒๕๕๙

          ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค. พ.อ.เศรษฐพล เกตุเต็ม เสนาธิการทหาร มณฑลทหารบกที่ 38 พร้อมด้วย นายสมปราชญ์ พลับแดง ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประจำจังหวัดน่าน และชุดสืบสวนตำรวจภูธรจังหวัดน่าน นำโดย พ.ต.ท.จักรพงษ์ วงศ์ไชย สารวัตรสืบสวน ร่วมกันจับกุม นายศรชัย วารีทิพย์ นายก อบต.วรนคร อ.ปัว จ.น่าน ได้พร้อมของกลางเงินสด จำนวน 10,000 บาท ที่ห้องทำงานภายใน อบต.วรนคร หลังจากที่ป.ป.ช.น่านได้รับเรื่องร้องเรียนจากข้าราชการใน อบต.วรนคร ว่า มีการเรียกรับเงินผลประโยชน์โดยมิชอบ จึงได้ประสานกำลังเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจเพื่อตรวจสอบข้อมูล
          จาก การตรวจสอบพบว่า ผู้ที่เรียกรับผลประโยชน์คือนายก อบต.วรนคร โดยเรียกรับเงินส่วนแบ่งจากโบนัสของพนักงาน ซึ่งได้รับจาก อบต. ร้อยละ 10 ของโบนัสที่จ่ายทั้งหมด ประมาณ 2 แสนกว่าบาท ซึ่งอ้างว่าจะนำไปแบ่งจ่ายให้กับผู้บริหาร อบต.ร้อยละ 5 และ แบ่งให้สภา อบต. ร้อยละ 5 รวมเป็นเงินที่ต้องจ่ายจำนวน 18,020 บาท โดยเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนได้วางแผนทำสำเนาธนบัตร และลงบันทึกประจำวันไว้แล้ว และให้ผู้ร้องนำไปมอบให้ที่ห้องทำงาน ซึ่งทางนายศรชัย วารีทิพย์ นายก อบต.วรนคร ได้รับเงินไว้จำนวน 10,000 บาท และอ้างว่าเป็นเงินส่วนแบ่งของตน ซึ่งส่วนของสภา อบต.และผู้บริหาร ให้ผู้ร้องไป จ่ายเอง
          เจ้า หน้าที่จึงได้แสดงตัวเข้าจับกุม ซึ่งนายศรชัยได้พยายามขว้างทิ้งธนบัตรที่ได้รับไว้ เจ้าหน้าที่จึงได้ควบคุมตัวและรวบรวมพยานหลักฐานทั้งหมด นำส่งพนักงานสอบสวน สภ.ปัว เพื่อสอบปากคำและดำเนินคดีตามกฎหมายในฐานความผิด "เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เรียกรับผลประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นฯ" เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย ต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

บทความพิเศษ: บทบาทภูมิภาคที่ไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่สมัยผู้ใหญ่ลี(2504)

บทความพิเศษ: บทบาทภูมิภาคที่ไม่เคยเปลี่ยนตั้งแต่สมัยผู้ใหญ่ลี(2504)
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๙

          สรณะ เทพเนาว์ นายกสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย
          ท่าม กลางกระแสโลก (New world orders) ในเรื่องประชาธิปไตย (Democracy) ในการกระจายอำนาจสู่การปกครองท้องถิ่น (Decentralization) หรือที่เรียกว่า "ราชการส่วนท้องถิ่น"หรือ "การปกครองส่วนท้องถิ่น" (Local government or Local self government) ที่จะหวนคืนกลับไปสู่การบริหารราชการแบบ"รวบอำนาจโดยส่วนกลาง" ไม่ได้อีกแล้วนั้น ยังมีอีกคำหนึ่งที่สารบบการปกครองของไทยจะละเลยไม่กล่าวถึงไม่ได้เลย ก็คือ การปกครองแบบภูมิภาค หรือ "ราชการส่วนภูมิภาค"
          ประเทศไทยจัด ระเบียบบริหารราชการแผ่นดินแบ่งการปกครองเป็น 3 ส่วน คือ บริหารราชการส่วนกลาง บริหารราชการส่วนภูมิภาค และ บริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งการบริหารราชการที่เราเคยชินในการกำหนดนโยบายจากระดับบน แล้วสั่งการลงสู่ระดับล่างตามลำดับ ซึ่งในที่นี้ก็คือ "ราชการส่วนกลาง" และ "ราชการส่วนภูมิภาค" โดยผู้นำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติก็คือ ข้อสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดจาก "ราชการส่วนภูมิภาค" หรือ "การปกครองส่วนภูมิภาค" นั่นเอง ฉะนั้น ในอีกคำเรียกหนึ่งของ "ราชการส่วนภูมิภาค" ก็คือ "ราชการส่วนกลางจำแลง" นั่นเอง เพราะเป็นการแบ่งมอบอำนาจ (Deconcentralization) ของส่วนกลางไปให้ส่วนภูมิภาคดำเนินการแทน
          ในสมัยก่อนมีเพลง ผู้ใหญ่ลีว่า ... ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุม ชาวบ้านต่างมาประชุม มาชุมนุมกันที่บ้านผู้ใหญ่ลี ต่อไปนี้ผู้ใหญ่ลีจะขอกล่าว ถึงเรื่องราวที่ได้ประชุมมา ทางการเขาสั่งมาว่า ให้ชาวนาเลี้ยงเป็ดและสุกร ... สมัยนั้นอยู่ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และฉบับที่ 2 เพลงนี้จึงถือว่าเป็นเพลงสื่อประชาสัมพันธ์งานของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เพลงนี้ สะท้อนภาพการบริหารราชการแบบ "ผู้ให้จากส่วนกลาง" และ ความเข้าใจของประชาชนที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจใดๆ เลย ได้แต่คิดเอาเองเข้าใจว่าอย่างไร เขาก็จะทำไปอย่างนั้น เพราะคำว่า "สุกร" ชาวบ้านต่างไม่เข้าใจว่าคืออะไร ผู้ใหญ่บ้านก็ไม่เข้าใจเช่นกัน ครั้นจะไปถามราชการก็เกรงเขาจะดูถูกว่าโง่เง่า จึงต้องทำความเข้าใจกันเอาเองของชาวบ้านและผู้ปฏิบัติที่เป็นผู้นำหมู่บ้าน ต่างคนจึงพากันเดาเอาเองว่า สุกรก็คือ "สุนัข" นั่นเอง ซึ่งผิด
          ทบทวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
          มีข้อพิจารณาจาก "ราชการส่วนภูมิภาค" หรือ "ผู้ว่าราชการจังหวัด" ในหลายประการ ดังนี้
          (1) จากเพลงผู้ใหญ่ลีมาถึงปัจจุบัน ราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ก็ยังคงแนวคิดแบบเดิมนี้อยู่ กล่าวคือ ผู้ว่าราชการจังหวัดเมื่อได้รับการแต่งตั้งและเข้ามารับตำแหน่งที่จังหวัด ก็ไม่ได้ถามปัญหาความจำเป็นหรือความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ แต่กลับมีนโยบายสั่งการมอบหมายให้ส่วนราชการประจำจังหวัด และอำเภอ รวมทั้งบุคลากรของรัฐที่อยู่ในพื้นที่คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและปัจจุบันได้รวมไปถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ด้วยนำนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดไปปฏิบัติ ทำเช่นนี้ในช่วงที่ดำรงตำแหน่งจนกระทั่งครบวาระที่ต้องโยกย้าย หรือเกษียณอายุราชการไป ในชั่วขณะเพียงหนึ่งปี หรือสองปีเท่านั้น
          (2) เมื่อมีผู้ว่าราชการจังหวัดคนใหม่มารับตำแหน่งก็ปฏิบัติเช่นเดิม แต่อาจมีการเสนอแนวนโยบายเพิ่มขึ้นมาใหม่จากผู้ว่าราชการจังหวัดคนก่อนอีก ซึ่งถือเป็น "แนวนโยบายที่ไม่ต่อเนื่อง" เพราะปัญหาของประชาชนเดิมที่ค้างมาจากผู้ว่าราชการจังหวัดคนก่อนก็ยังแก้ไข ไม่เสร็จ กลับมีนโยบายใหม่เพิ่มมาอีก กลับกลายเป็นว่าข้าราชการ หน่วยงานผู้ปฏิบัติต้องรับนโยบายดังกล่าวไว้ดำเนินการ
          (3) หากพิจารณาในแนวนโยบายของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละคนแล้ว มีข้อสังเกตว่า "อาจมิใช่นโยบายของทางราชการโดยตรง" แต่เป็นความอยากหรือความปรารถนาที่จะทำเช่นนั้นเช่นนี้ของผู้ว่าราชการ จังหวัดเสียมากกว่า ดูเสมือนเป็นตามกระแส หรือการแสดงบารมีที่เรียกว่า "การแสดงเพา (เวอร์)" หรือ "การโชว์ออฟ" เสียมากกว่าจะเป็นจริงเป็นจังตามหลักทฤษฎี โดยเฉพาะไม่เป็นไปตามปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของประชาชนและท้องถิ่น
          (4) ราชการส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. มีงบประมาณและมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายจัดตั้งบัญญัติไว้ ซึ่งถือเป็น "งานประจำในอำนาจหน้าที่ของ อปท." แต่กลับต้องเอาเงินงบประมาณของท้องถิ่นไปดำเนินตามนโยบายของ "ส่วนภูมิภาค" ที่อาจมิใช่แนวนโยบายที่แท้จริงดังกล่าวแล้ว และก็ไม่เคยปรากฏว่ารัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณกลับคืนมาช่วยเหลือท้องถิ่น แต่อย่างใด ในทางกลับกันอปท. ต้องอุดหนุนงบประมาณให้แก่ราชการส่วนภูมิภาคอีก ซึ่งหลายโครงการไม่สอดคล้องกับปัญหาความต้องการ และประโยชน์ที่ประชาชนได้รับโดยตรง ปัจจุบันจากการสำรวจข้อมูลพบว่า ส่วนราชการที่ขอรับเงินอุดหนุนจากท้องถิ่นมากที่สุด ก็คือ ราชการส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัดและอำเภอนั่นเอง รวมถึง เหล่ากาชาดจังหวัดกาชาดกิ่งอำเภอ ซึ่งเป็นปกติที่ท้องถิ่นปฏิบัติมาอย่างช้านานเรียกว่า กลืนไม่เข้า คายไม่ออก
          (5) บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะ "ราชการส่วนภูมิภาค" ใช้บทบาทสั่งการทำตามนโยบายของส่วนกลางหรือของตนเองมากกว่าการทำงานเพื่อการ แก้ไขปัญหาชาวบ้านอย่างแท้จริงไม่เหมือนกับผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้ง และเมื่อมีการประเมินผลงานประจำปี หากประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์เป้าหมายที่กำหนด ย่อมหมายถึง "มีผลงานเกิดขึ้น" ที่จะส่งผลต่อ "ความก้าวหน้า" ในตำแหน่งหน้าที่การงานของข้าราชการผู้ปฏิบัติงานได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด และบรรดาหัวหน้าส่วนราชการฯ แต่บุคคลที่กลับ "ไม่ได้รับความก้าวหน้า" เลยก็คือประชาชน เพราะราชการส่วนภูมิภาครับผิดชอบต่อเจ้านายส่วนกลาง ไม่ได้รับผิดชอบต่อความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่แต่อย่างใด
          (6) พิจารณาจากสายการสั่งราชการ กระทรวง ทบวง สั่งการกรม กรมสั่งการจังหวัด จังหวัดสั่งการอำเภอ และ อำเภอสั่งการ อปท. หรือ "ท้องถิ่น" ฉะนั้น ในทางปฏิบัติจึงพบว่า บุคคลที่ทำงานในเกือบจะทุกด้าน ก็คือ ท้องถิ่น ไม่ว่าจะในนามของนายกอปท. หรือ ปลัด อปท. ยกตัวอย่างในเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ เรื่องการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยการตั้งศูนย์ต่อสู้เอาชนะยาเสพติด การคุ้มครองผู้บริโภคโดยการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำ เทศบาลฯการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่ การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยคนพิการ และโรคเอดส์ การศึกษาเด็กในระดับปฐมวัย(ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กฯ) การตรวจสอบรับรองเกษตรกรในการประกันราคาข้าวเปลือก การตรวจรับรองความเสียหายจากการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติด้านการเกษตร ฯลฯ และ แม้กระทั่งงานนโยบายที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ก็คือ ดำเนินการตามมาตรการส่งเสริมการกระตุ้นเศรษฐกิจ "งบตำบลละ 5 ล้าน"
          (7) ในบรรดาผลงานที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการปฏิบัติงานของท้องถิ่นจึงตกแก่ "ผู้ที่รายงานและสั่งการฯ" คนที่มีผลงานก็ได้หน้าไป ได้แก่ ราชการส่วนภูมิภาค คือจังหวัดและอำเภอนั่นเองแต่ "ท้องถิ่น" กลับไม่ได้หน้า เพราะไม่มีผลงานใดที่เป็นชิ้นเป็นอันของตนเองเลย
          (8) การลดบทบาทของส่วนภูมิภาคลง อาจเป็นแนวคิดที่สวนกระแสการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์ชาติ (National Strategy)ที่ต้องปฏิบัติงานนโยบายชาติให้มีความต่อเนื่องในระยะยาว และสร้างความแข็งแกร่งให้แก่หน่วยปฏิบัติได้แก่ "การบริหารราชการส่วนภูมิภาค" ฉะนั้น ในแนวคิดการลดบทบาทภูมิภาคลงนี้มิได้หมายความว่าจะทำให้การปกครองภูมิภาค หรือราชการส่วนภูมิภาคถูกยกเลิกไปแต่ประการใด แต่อาจมีการปรับบทบาท และจัดสรรภารกิจใหม่ให้เหมาะสมในการพัฒนาและการกำกับดูแลท้องถิ่นที่มี ประสิทธิภาพต่อไป
          บทบาทเจ้าขุนมูลนายทำให้เกิดแนวคิดจังหวัดจัดการตนเอง
          จาก ข้อสังเกตข้างต้น ประกอบกับภาพเชิงสัญลักษณ์ที่เรามักพบเห็นบ่อย เช่น เมื่อเกิดเหตุสาธารณภัย อุทกภัย (น้ำท่วม) อัคคีภัย (ไฟไหม้) ผู้ว่าราชการจังหวัดจะออกเยี่ยมเยียนปลอบขวัญให้กำลังใจราษฎรผู้ประสบภัย หรือ การเป็นผู้นำออกรณรงค์แก้ไขปัญหาการจราจรรถติด หรือ ภาพการตรวจเยี่ยม ตรวจราชการประชุมฯหรือ การออกหน่วยบริการประชาสัมพันธ์เคลื่อนที่ต่างๆ ของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มีประชาชนมาคอยต้อนรับ มาฟังนโยบาย มากมายล้นหลาม
          ภาพที่ปรากฏดังกล่าว จึงสวนทางกับข้อเท็จจริงในเชิงบริหารที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องสอบถามชาว บ้านว่า เขามีปัญหาและความต้องการใด
          ในมุมมองเพื่อการปฏิรูป จึงเกิดกระแสแนวคิด "จังหวัดจัดการตนเอง" หรือการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดขึ้นมา เพื่อให้ได้คนอาสาเข้ามาทำงานบริหารจังหวัด มีการสนองต่อความพึงพอใจของประชาชน เพื่อให้ทันต่อการพัฒนา มีการลงมือทำงาน แทนที่จะสั่งการ หรือสั่งคนอื่นทำ ด้วยสโลแกนหรือคำขวัญโก้ๆ แล้วได้ผลงานเป็นของตนเอง มีการตรวจสอบผลงานและการทำงานโดยประชาชน มีการผูกยึดโยงกับชาวบ้าน มีการแก้ไขปัญหาของประชาชน มิใช่การให้ประชาชนมาช่วยทำนโยบายของตนเองให้เป็นผลสำเร็จ การประเมินผลงานขึ้นอยู่กับผลงานในการบริหารดูแลและการบริการรับใช้ประชาชน และสุดท้ายชาวบ้านจะเป็นผู้ชี้วัดตัดสินว่า ในโอกาสต่อไป "ผู้บริหารฯ เหมาะที่จะให้ทำงานต่อไปอีกหรือไม่" หากบริหารไม่ดีหรือทำไม่ดี ก็จะถูกเปลี่ยนด้วยระบบการเลือกตั้งให้คนอื่นเข้ามาทำหน้าที่แทน
          แทน ที่จะมาเป็นเจ้านาย เป็นพ่อเมืองดังเช่นปัจจุบัน แน่นอนว่าแนวคิดนี้ย่อมได้รับการคัดค้านและต่อต้านจากกลุ่มข้าราชการกระทรวง มหาดไทยที่มีบทบาทสูงใน "ราชการส่วนภูมิภาค"
          บทสรุปในสถานการณ์ปัจจุบัน
          ตลอด ระยะเวลา 40-50 ปีที่ผ่านมา บทบาทของภูมิภาคจึงมิได้เปลี่ยนแปลงเลย บทบาทในการกำกับดูแลท้องถิ่น มิได้เป็นการกำกับดูแล แต่กลับกลายเป็น "บทบาทการสั่งการ" ที่ไม่ต่างจากเพลงผู้ใหญ่ลีเมื่อปี พ.ศ. 2504 แต่ประการใด เป็นการสั่งการให้ใครทำอะไร เพื่อให้ตนเองได้ผลงาน ประมาณว่า เจ้านายอยากได้อะไรก็ต้องทำให้ หาให้ โดยไม่ได้สนองตอบต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน ฉะนั้น หากหวังเอา "งานบริการประชาชน" (Public service) เป็นหลักแล้ว บทบาทของภูมิภาคควรต้องปรับเปลี่ยนเป็นการให้บริการมากกว่าการสั่งการโดยไม่ ยึดโยงต่อประชาชน

ส่อง'20กฎหมาย'เร่งด่วนสปช. ต้นแบบร่างแผนปฏิรูปฉบับสปท.


ส่อง'20กฎหมาย'เร่งด่วนสปช. ต้นแบบร่างแผนปฏิรูปฉบับสปท. 
กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๕๙ 
         ดารากร วงศ์ประไพ      
          ต้อง ถือว่าภารกิจการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ถือเป็นหน้าที่หลักของ "สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ(สปท.)" ภายใต้การนำของ "ร.อ.ทินพันธุ์ นาคะตะ" โดยโจทย์ที่สปท.ทั้ง 200 คนจะต้องเร่งดำเนินการภายใต้กรอบระยะเวลา 1 ปี 6 เดือนที่เหลืออยู่นั้น คือการสานต่อแผนปฏิรูปที่ "สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.)" ได้ดำเนินการไว้ โดยเชื่อมโยง กับแม่น้ำ 5 สาย ที่ได้กำหนดกลไกการทำงาน เพื่อความเป็นเป็นเอกภาพโดยผ่านคณะกรรมการ 6 ฝ่าย ทั้งนี้ในส่วนของแผนการขับเคลื่อน การปฏิรูปซึ่งถูกแบ่งออกเป็น 11 ด้านนั้น ได้ถูกเสนอแผนการปฏิรูปแก่ "พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้สปท.จัดทำแผน ปฏิรูปประเทศและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมาย ที่สำคัญ 4 ฉบับ รวมทั้งยังมีกฎหมายรวม 20 ฉบับที่สปช.เห็นว่าที่มีความสำคัญสูง ที่จำเป็นจะต้องทำก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งต่อไป ก็เป็นไปได้ว่า สปท.อาจจะมีการหยิบยกกฎหมายดังกล่าวขึ้นมาพิจารณาเพื่อขับเคลื่อนการปฏิรูป
          โดย ทั้ง 20 ฉบับนั้นประกอบด้วย
1.การแก้ไขพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)คณะกรรมการกฤษฎีกา และ
2.การแก้ไขพ.ร.บ.คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายโดยทั้ง 2 ฉบับมีสาระสำคัญเพื่อแบ่งอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับร่างกฎหมายที่สามารถทำให้ได้ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของประชาชนและสังคมโดยรวม และปรับปรุงให้สอดคล้องกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยใช้หลักต่าง ตอบแทน
3.การแก้ไขประมวลรัษฎากรใหม่ โดยให้ผู้มีเงินได้ทุกคน มีหน้าที่ยื่นแบบต่อกรมสรรพกร พร้อมมีการเพิ่มบทลงโทษ ผู้ที่ไม่ยื่นแบบแสดงเงินให้มากกว่าโทษเดิมคือปรับไม่เกิน 2,000 บาท
4.การแก้ไข พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะ โดย ยกเลิกพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 แล้วร่างกฎหมายฉบับใหม่ชื่อ "ร่างพ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารสาธารณะพ.ศ. ..." ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเปิดเผยและเข้าถึงข้อมูลข่าวสาธารณะ ให้ประชาชน รับรู้และแสดงความเห็นเพื่อประกอบการ จัดทำและตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับท้องถิ่น
5.การแก้ไขพ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน 2534 โดยปรับปรุงมาตรา 52 วรรคสามยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการ จัดสรรงบประมาณได้โดยตรง และในส่วนราชการตามกฎหมายวิธีการงบประมาณ เนื่องจาก มีเนื้อหาซ้ำซ้อนกับพ.ร.บ.วิธีงบประมาณฯ ที่จะมีการแก้ไขปรับปรุง  
6.การแก้ไขพ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ 2502  ซึ่งมีการเพิ่มบทบัญญัติในหมวด 3 เรื่องการจัดทำงบประมาณโดยกำหนดกระบวนการงบประมาณเชิงพื้นที่ให้ภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมตัดสินใจในกระบวนการงบประมาณเพื่อสร้างความเข้มแข็งของภาค ประชาชนในกระบวนการงบประมาณอย่างเป็นระบบ
7.การแก้ไข พ.ร. บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม 2545 เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการผังเมืองและการใช้พื้นที่แห่งชาติขึ้นในสำนักนายก รัฐมนตรี รวมทั้งการโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สินและงบประมาณ ของกรมโยธาธิการและผังเมืองกระทรวงมหาดไทย บางส่วนไปเป็นอำนาจของสำนักงานคณะกรรมการผังเมืองและการใช้พื้นที่แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
8.การแก้ไขกฎหมายว่าด้วยองค์กรบริหารท้องถิ่นและการกระจาย อำนาจ มีการปรับปรุงพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ท้องถิ่น พ.ศ.2542 เพื่อให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอโครงการและความต้องการงบประมาณ เพื่อกำหนดสัดส่วนรายได้ขององค์กรท้องถิ่นต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลในแต่ละปี งบประมาณ
9.การแก้ไขพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 เพิ่มอัตราโทษ ในการกระทำความผิดกรณีให้สินบนกับ เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยแบ่งเป็น ก.ความเสียหายตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุก 5-10 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ ข.ความเสียหายตั้งแต่ 50 ล้านบาท ขึ้นไปต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 7-10 ปี  ปรับไม่เกิน 2 แสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ  และ ค.ความเสียหายตั้งแต่ 100 ล้านบาทขึ้นไป ต้องระวางโทษจำคุก 7-20 ปีหรือปรับไม่เกิน 300,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
10.การแก้ไข พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542 ให้มีการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าขึ้น เพื่อติดตามความเคลื่อนไหว สอดส่องพฤติกรรมของผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งศึกษาวิเคราะห์ รวมทั้งเสนอแนวทางในการส่งเสริมพัฒนากำกับดูแล ป้องกันการใช้อำนาจเหนือตลาด การรวมธุรกิจ การลดและการจำกัดการแข่งขันในการประกอบธุรกิจ
11.การแก้ไขกฎ มายเพื่อปฏิรูปโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ตำรวจ ในการปรับโครงสร้างการปฏิรูปโครงสร้างคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) มีจำนวน 16 คน ที่กำหนดอำนาจเพิ่มเติมให้มีหน้าที่พิจารณา แต่งตั้งผบ.ตร. โดยตำแหน่งประธานก.ตร. ให้คัดเลือกจากอดีตข้าราช การตำรวจระดับ รองผบ.ตร.หรือเทียบเท่าขึ้นไป
12.ร่างพ.ร.บ. ยุทธศาสตร์ชาติพ.ศ. ... ซึ่งกำหนดให้ยุทธศาสตร์มีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 20 ปี และอาจพิจารณาทบทวนทุก 5 ปี หรือเมื่อสถานการณ์กระทบต่อเป้าประสงค์หลักตามยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญ โดยคณะกรรมการชุดนี้มีหน้าที่กำหนดแนวทาง เป้าหมาย การพัฒนา รวมทั้งกำหนดแนวทางการจัดสรรงบประมาณ ทรัพยากรของประเทศ เพื่อสนับสนุนผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ชาติแต่ละห้วงเวลา รวมทั้งการตรวจสอบ ติดตามและประเมินผลอีกด้วย
13.กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิชุมชน และสมัชชาพลเมือง โดยเพิ่มบทบัญญัติในหมวด 2 และหมวด 3 ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารราชการจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ.2551 โดยระบุให้การจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและการจัดทำแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด มีกระบวนการจัดทำและนำเสนอโครงการโดยสมัชชาภาคพลเมืองเข้ามามีส่วนร่วมและ เสนอโครงการในการจัดทำแผน ดังกล่าวโดยตรง
14.ร่างพ.ร.บ.สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ... ทำหน้าที่ส่งเสริมให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุม คนไม่ดี ไม่ให้มีอำนาจ ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ รวมทั้งทำหน้าที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของหลักนิติธรรม และการสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลใน ทุกภาคส่วนและทุกระดับ
15.กฎหมาย ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งสปช.มีข้อเสนอว่าอัตราภาษีควรเป็น แบบก้าวหน้าหรือไม่ การนำภาษีที่ดินและ สิ่งปลูกสร้างที่ต้องชำระมาหักเป็นค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้บุคคลหรือไม่ 
16.ร่างพ.ร.บ.พัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพแห่งชาติ โดยให้อำนาจคณะกรรมการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพ(คปคช.) เป็นองค์กรสูงสุดในการบริหารจัดการ มีหน้าที่ทบทวนประสิทธิภาพการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ และมีอำนาจในการประเมินผล
17.ร่างพ.ร.บ.การจัดตั้งศาลคดี ทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นศาลชำนาญการพิเศษมีอำนาจพิพากษาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ โดยกฎหมายฉบับนี้ล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
18.ร่างพ.ร.บ.การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของภาครัฐ พ.ศ. ... ที่ให้ส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่จัดทำรายละเอียดแผนงาน โครงการ และงบประมาณการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและการตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ เสนอต่อคณะกรรมการก่อนนำเสนอสำนัก งบประมาณพิจารณา
19.ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการขัดกันระหว่างผลประโยชน์ส่วนบุคคลและ ประโยชน์ส่วนรวมพ.ศ. ... กำหนดให้การกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อตน คู่สมรส บุตร ภรรยา หรือบิดามารดา  จะต้องรับโทษ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐ และให้ถือว่าความผิดดังกล่าวถือเป็นเหตุให้เจ้าหน้าที่รัฐถูกถอดถอนออกจาก ตำแหน่ง โดยกฎหมายฉบับนี้ถือเป็น 1 ใน 4 กฎหมายเร่งด่วนที่สปท.ได้มีการพิจารณาไปแล้ว และ
20.ร่างพ.ร.บ.คณะกรรมการนโยบายการศึกษาและพัฒนามนุษย์แห่งชาติ พ.ศ. ... ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์ต่างๆ ด้านการศึกษาและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ติดตามผลการดำเนินงานของหน่วยงานด้านการศึกษาอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้
          "ต้องปรับปรุงแก้ไขยกร่างขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นกลไกสำคัญการปฏิรูปประเทศ"