วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2559

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: การเมืองภาคพลเมือง: สิ่งที่ อปท.ต้องทำให้เป็นรูปธรรม

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: การเมืองภาคพลเมือง: สิ่งที่ อปท.ต้องทำให้เป็นรูปธรรม 

สยามรัฐ  Iฉบับวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙

          รองศาสตราจารย์ ดร.โกวิทย์ พวงงาม
          จุด เด่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เห็นว่าจะทำได้ดีและเห็นเป็นรูปธรรมได้มากที่สุด นั่นก็คือ "การส่งเสริมประชาธิปไตยให้แก่ประชาชน"หรือเรียกว่า "การเมืองภาคพลเมือง" ทั้งนี้เพราะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ถือว่าเป็นโรงเรียนฝึกหัดประชาธิปไตยที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมใน การบริหารจัดการของท้องถิ่นได้มากที่สุดเช่นกัน
          แต่ผมก็ยัง เห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำเรื่องหรือมีแผนงานหรือมีโครงการกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองน้อยมาก แม้จะกล่าวว่าพอมีบ้างแต่ก็มีแฝงอยู่ในรูปของโครงการหรือกิจกรรมอื่นๆ "กิจกรรมการเมืองภาคพลเมือง" จึงอาจกลายเป็นเรื่องรองๆ ไป ทั้งนี้เพราะเห็นว่าองค์กรปกครองส่วน
          ท้องถิ่นโดยส่วนใหญ่ไป เน้น "การจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น"รวมทั้งเน้นโครงการ กิจกรรมการให้บริการแนวประชานิยม ซึ่งก็ถือว่าไม่ผิดอะไรแต่กลับทำให้ประชาชนนิยมชมชอบด้วยซ้ำไป
          ส่วน ประเด็นสำคัญอีกมิติหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องให้ความสำคัญ นั่นก็คือ การส่งเสริมพลเมือง ส่งเสริมกลุ่มองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง ส่งเสริมภาคประชาสังคมให้ช่วยงานท้องถิ่นในการร่วมจัดบริการสาธารณะ โดยเฉพาะการส่งเสริมพลเมือง กลุ่มองค์กรชุมชนให้รู้จักจัดการตนเองในกิจการสาธารณะของชุมชนท้องถิ่น
          จึง กล่าวได้ว่า การส่งเสริมให้หรือทำให้พลเมืองมาใส่ใจในเรื่องสาธารณะซึ่งถือว่าเป็นการ เมืองภาคพลเมือง และผมเห็นว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำภารกิจเพื่อตอบโจทย์การส่งเสริม การเมืองภาคพลเมืองให้เด่นชัดได้ดีกว่าภารกิจของส่วนอื่นๆ
          ผมมีข้อเสนอแนวทางการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
          ประการ ที่ 1  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องตระหนักถึงการเปิดพื้นที่เวทีปรึกษาหารือ ร่วมไตรตรอง (Deliberative Democracy) เวทีลานความคิด ให้กับกลุ่มองค์กรชุมชน กลุ่มสภาเมือง สภาผู้นำ และภาคีเครือข่ายในเขตพื้นที่ให้มากขึ้นโดยเฉพาะการส่งเสริมกลุ่มที่รวมกัน เป็นประชาสังคม (Civil Society) ซึ่งเป็นภาคีอย่างแข็งขันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นองค์กรหรือประชาคมที่มีอิสระ ไม่คิดพึ่งพิงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่จะเป็นผู้ช่วยสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ในการสร้าง ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น
          ประการที่ 2  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับ "การส่งเสริมความเป็นพลเมืองในชุมชนท้องถิ่น" เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนผู้นำชุมชนท้องถิ่น กลุ่ม องค์กรชุมชน ตลอดจนกลุ่มอาสาสมัครประเภทต่างๆ ให้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมือง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการบริหารกิจการของท้องถิ่น เช่น มีส่วนร่วมในกิจการสภา มีส่วนร่วมในการเป็นกรรมการต่างๆ ของท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการกำกับดูแล อปท.และให้ อปท.หาวิธีการส่งเสริมการทำงานภาคพลเมืองในลักษณะผู้จัดการดีที่มีสำนึกการ บริการสาธารณะนอกจากนี้ ควรจัดทำเป็นทำเนียบพลเมือง ผู้นำชุมชน กลุ่มองค์กรชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะการหาวิธีการยกย่องชมเชย แก่บุคคลที่ทำกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ หรือการกระทำในลักษณะผู้ก่อการดีของชุมชนท้องถิ่น
          ประการที่ 3  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหาวิธีการส่งเสริมกิจกรรมหรือโครงการของภาค พลเมือง กลุ่มองค์กรชุมชน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยชุมชนท้องถิ่นที่สะท้อนถึงการทำกิจกรรมด้าน การใส่ใจในกิจการสาธารณะ สะท้อนถึงความรับผิดชอบการรู้จักสิทธิหน้าที่ และการเคารพกติกาของชุมชนท้องถิ่น เป็นต้น หรือทำกิจกรรมในลักษณะ "การส่งเสริมผู้จัดการดีของชุมชน" โดยทำการจูงใจให้กับบุคคลดังกล่าว
          ประการ ที่ 4  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำให้เป็น "วาระการประชุมประจำปีของเมือง หรือของเทศบาล ขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)" โดยจัดให้มีการประชุมประจำปี (รอบปี) เพื่อรายงานการดำเนินกิจการของ อปท.ในรอบปี โดยให้พลเมืองและภาคีองค์กรเครือข่ายต่างๆ ได้มาร่วมประชุมและเสนอแนะแนวทางการดำเนินงาน
          ประการที่ 5  ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นส่งเสริมกลุ่ม องค์กรชุมชน และภาคประชาสังคม เพื่อทำโครงการ กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่างๆ และกิจกรรมที่ท้าทายปัญหาใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ตลอดจนกระทำกิจกรรมสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมท้องถิ่นใหม่ๆ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ เหล่านี้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อมอบให้เป็นรางวัลการทำกิจกรรมที่โดดเด่นแก่กลุ่มต่างๆในรอบปี
          การ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)มีความชัดเจนในภารกิจหน้าที่ที่เป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมการเมือง ภาคพลเมือง เป็นการกล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นแหล่ง ฝึกหัดประชาธิปไตยและเป็นรากฐานประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่งเท่ากับว่าการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างหรือ ส่งเสริมพลเมืองและประชาสังคมให้เข้มแข็ง และเป็นการช่วยเกื้อหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ทำภารกิจได้อย่าง สมบูรณ์ ที่ผ่านกระบวนการรณรงค์ส่งเสริมโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเป็น รูปธรรมมากที่สุด
          ดังนั้น ผมจึงเห็นว่าภารกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่ระบุไว้ว่า ให้ส่งเสริมประชาธิปไตย นั่นก็แปลความว่าทำให้ประชาธิปไตยท้องถิ่นมีความหมายและมีความสำคัญต่อการ ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง และภารกิจหน้าที่ส่วนนี้เอง ผมเห็นว่าท้องถิ่นต้องทำให้โดดเด่นมากกว่าภารกิจด้านอื่นๆโดยเฉพาะภารกิจการ กระจายอำนาจในปัจจุบันและอนาคต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น