วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: การส่งเสริมการพึ่งตนเองขององค์กรท้องถิ่น

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: การส่งเสริมการพึ่งตนเองขององค์กรท้องถิ่น 

สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙

          รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม
          ผม เข้าใจว่าหลักขององค์กรท้องถิ่นหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) นอกจากการจัดให้บริการสาธารณะแก่ชุมชนและประชาชนแล้ว สิ่งที่สำคัญจะต้องส่งเสริมให้ชุมชนและประชาชนรู้จักการพึ่งตนเองให้ได้ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปกครองท้องถิ่นนั่นก็คือ การหาวิธีการทำให้ชุมชนและประชาชนรู้จักจัดการตนเองอันเป็นเป้าหมายสำคัญที่ สุด
          ผมมีโอกาสไปเห็นกิจกรรมดีๆ ขององค์กรท้องถิ่น นั่นก็คือ เทศบาลตำบลปลายพระยา อำเภอปลายพระยาจังหวัดกระบี่ ได้ส่งเสริมให้มีการจัดโครงการฝึกอบรมอาชีพตัดผมชายภายใต้แนวทางเศรษฐกิจพอ เพียง โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนในโรงเรียนของเทศบาลตำบลปลายพระยา 3 โรงเรียน และผู้ด้อยโอกาสในชุมชนของเทศบาลอีกจำนวน 7 ชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมอาชีพให้เด็กนักเรียนตัดผมชาย และกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้ศึกษาต่อรวมทั้งกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ซึ่งกลุ่มเป้าหมายเหล่านี้เป็นเป้าหมายที่เทศบาลต้องส่งเสริมให้เขารู้จัก การพึ่งตนเองในอาชีพตัดผมชาย
          หลักการที่สำคัญของโครงการถือว่า เป็นการแก้ปัญหาครอบครัวของนักเรียนที่มีรายได้น้อย ช่วยเหลือจุนเจือนักเรียนยากจน และเพื่อช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสที่ขาดโอกาสทางการศึกษาให้มีอาชีพ มีรายได้ นอกจากนี้ จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายค่าตัดผมให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนอีกด้วย
          อย่าง ไรก็ตาม ในการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าวของเทศบาลตำบลปลายพระยาต้องอาศัยความร่วม มือและสร้างเครือข่ายเพื่อระดมทรัพยากร เครื่องไม้เครื่องมือ เพื่อจะทำให้การดำเนินโครงการเป็นไปได้และประสบความสำเร็จจึงมีการระดม ทรัพยากร เป็นต้นว่า งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และการดำเนินการจัดฝึกอบรมอาชีพตัดผมชาย เป็นต้น
          โดย ความร่วมมือดังกล่าว ก่อนดำเนินงาน เทศบาลตำบลปลายพระยาได้มีการจัดประชุมสร้างความเข้าใจร่วมกันกับเครือข่าย ความร่วมมือ เป็นต้นว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครูอาจารย์ หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งได้แก่ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่ และภาคเอกชน ซึ่งได้แก่ โรงเรียนสอนตัดผมและเสริมสวยเสริมสยาม จังหวัดกระบี่ ซึ่งทำหน้าที่รับผิดชอบในการเป็นวิทยากรสอนตัดผมชายและภาคส่วนอื่นก็ได้ให้ ความจุนเจือในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์รวมทั้งเทศบาลตำบลปลายพระยาก็คอยเป็นผู้ สนับสนุนงบประมาณในการสนับสนุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการตัดผม โรงเรียนละ 1 ชุด เพื่อให้นักเรียนที่สมัครใจและได้รับการคัดเลือกตามเกณฑ์ให้ฝึกอาชีพตัดผม ชาย ได้มีการฝึกอบรมและมีการปฏิบัติ ตลอดจนสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
          วัน ที่ผมไปเยี่ยมเทศบาลตำบลปลายพระยา มีนายกเทศมนตรี (คุณจเร ปานจีน) ได้นำผมไปดูนักเรียนแต่ละโรงเรียนที่กลายมาเป็นช่างตัดผม ซึ่งได้รับการฝึกปฏิบัติมาอย่างดีของแต่ละโรงเรียนทั้งสามโรง และได้เห็นช่างตัดผมนักเรียนตัดผมนักเรียนด้วยกันอย่างมีความชำนิชำนาญ และสามารถพึ่งตนเองได้
          ผมได้ทำการสอบถามถึงผลประโยชน์ที่ตอบ สนองต่อนักเรียนที่เป็นช่างตัดผม และประโยชน์ต่อส่วนรวมในโรงเรียนว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็ได้รับความคิดในเวลาต่อมาว่านักเรียนที่เป็นช่างตัดผมก็จะได้เงินประมาณ หัวละ 15 บาท โดยแบ่งเป็นให้นักเรียนที่เป็นช่างตัดผม 10 บาท และเก็บไว้เป็นทุนกองกลางของโรงเรียนจำนวน 5 บาท เพื่อใช้เป็นกองทุนสวัสดิการในลักษณะต่างๆ ของโรงเรียน และที่สำคัญจะช่วยให้นักเรียนที่ต้องการตัดผมตนเองสามารถประหยัดงบประมาณที่ เป็นค่าตัดผมได้หัวละ 30 บาท ซึ่งหากนักเรียนไปตัดผมในร้านทั่วไปตามท้องตลาดก็จะต้องจ่ายอย่างน้อยหัวละ 40-50 บาท เท่ากับเป็นการลดรายจ่ายของผู้ปกครองนักเรียนลงไปได้
          นอก จากนี้ ก็ได้มีการเปิดร้านตัดผมชายให้กับนักเรียนในพื้นที่จำนวน 2 ร้าน เพื่อให้บริการตัดผมกับบุคคลทั่วไป และให้บริการเคลื่อนที่แก่ผู้สูงอายุ ผู้พิการในเขตเทศบาล โดยการให้บริการจะคิดค่าบริการครั้งละ 20 บาท ทั้งนี้ เทศบาลตำบลปลายพระยาได้มีการประเมินผลทุกๆ 6 เดือนในการให้บริการทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียนในพื้นที่ พบว่านักเรียนที่เป็นช่างตัดผมมีรายได้ประมาณเดือนละ 1,600 บาทต่อคน เป็นการลดรายจ่ายให้กับครอบครัวของเด็กนักเรียนไปในตัว ที่สำคัญที่สุด นักเรียนที่เป็นช่างตัดผมเหล่านี้ยังให้บริการฟรีให้กับผู้ยากไร้และด้อย โอกาส เป็นต้นว่า ผู้พิการทางสายตาผู้พิการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ และผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจนซึ่งเป็นการฝึกให้เด็กมีจิตสาธารณะช่วยเหลือ สังคมไปในตัว
          อย่างไรก็ตาม ในโครงการดังกล่าวก็ยังมีปัญหาอุปสรรคอยู่บ้าง ทั้งในแง่ของทักษะและความชำนาญที่จะต้องฝึกฝนให้กับนักเรียนช่างตัดผมชายให้ มากขึ้นเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ปกครองและประชาชนโดยทั่วไปนอกจาก นี้ มีข้อเสนอแนะว่าให้เพิ่มการฝึกอบรมช่างตัดผมสำหรับนักเรียนหญิงเพื่อให้ บริการตัดผมแก่นักเรียนหญิงในโรงเรียนได้ ทั้งนี้ ในสองส่วนที่กล่าวมาแล้วจะต้องประสานความร่วมมือเพิ่ม เติมความรู้และทักษะกับวิทยากรทั้งที่เป็นโรงเรียนช่างตัดผมและโรงเรียน เสริมสวย รวมทั้งส่วนราชการไม่ว่าจะเป็นสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานการศึกษานอกโรงเรียน สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เป็นต้น
          อย่าง ไรก็ตาม ผมได้มีการประมวลสอบถามนักเรียนซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสและมีความยากจนของ โรงเรียนในเขตเทศบาลหลายแห่ง รวมทั้งเทศบาลตำบลปลายพระยา ซึ่งนักเรียนเหล่านี้มีโอกาสน้อยที่จะได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งความต้องการของพวกเขาที่สำคัญที่สุดก็คือ เขาต้องการอาชีพหลักจากสำเร็จการศึกษาแล้ว หรืออาจจะกล่าวได้ว่า การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่ด้อยโอกาสทั้งหลายนั่นก็คือความต้องการทางด้าน อาชีพให้กับพวกเขาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด เพื่อให้พวกเขาสามารถพึ่งตนเองและจัดการตนเองได้ และถือว่าการมีอาชีพและมีรายได้เป็นเป้าหมายสูงสุด
          ท้ายที่สุด นี้ จึงขอชมเชยเทศบาลตำบลปลายพระยาที่ได้ตอบโจทย์การจัดการศึกษาของโรงเรียนใน เขตเทศบาล และมีโครงการที่ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งมีอาชีพและมีรายได้ อันเป็นบทเรียนให้แก่การจัดการศึกษาของรัฐว่าจะจัดการศึกษาเพื่อใคร อย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น