วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เทศบาลตำบลตันหยงมัส รับโอนพนักงานเทศบาล

เทศบาลตำบลตันหยงมัส อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส มีความประสงค์รับโอนพนักงานเทศบาลในตำแหน่ง
๑.ปลัดเทศบาล (นักบริหารงานเทศบาล ๘)
๒.หัวหน้าฝ่ายบริการและเผยแพร่วิชาการ (นักบริหารงานทั่วไป ๗)
๓.หัวหน้าฝ่ายแผนงานและงบประมาณ (นักบริหารงานทั่วไป ๖)
๔.หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป (นักบริหารงานทั่วไป ๖)
๕.หัวหน้าฝ่ายโยธา (นักบริหารงานช่าง ๖)
๖.หัวหน้าฝ่ายบริหารสาธารณสุข (นักบริหารงานสาธารณสุข ๖)
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๗๓๖๗-๑๓๖๔ ต่อ ๒๐๗

วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558

จี้ทบทวนอัตราเงินประจำตำแหน่งสมาพันธ์รองปลัดท้องถิ่นยันไม่เป็นธรรม/เตรียมยื่นนายกส.ท.ท.ช่วยผลักดัน

จี้ทบทวนอัตราเงินประจำตำแหน่งสมาพันธ์รองปลัดท้องถิ่นยันไม่เป็นธรรม/เตรียมยื่นนายกส.ท.ท.ช่วยผลักดัน
สยามรัฐ  Issued date 29 December 2015

          ตรัง: นายธวัช เพชรเรือนทอง รองปลัดเทศบาลตำบลห้วยนาง อ.ห้วยยอด จ.ตรังในฐานะประธานสมาพันธ์รองปลัดท้องถิ่นไทยกล่าวว่า  หลังจากที่มติคณะ กรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) ที่มีนายปริญญา นาคฉัตรีย์ ประธาน ก.ถ.เห็นชอบในโครงสร้างบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการและพนักงาน ส่วนท้องถิ่นในระบบแท่ง (บัญชี 2) ตามที่คณะอนุกรรมการด้านมาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น ทำให้การปรับเงินประจำตำแหน่งเกิดความไม่เป็นธรรม
          นาย ธวัช  กล่าวต่อว่า สมาพันธ์รองปลัดท้องถิ่นไทย ได้ยื่นหนังสือต่ออธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) และ ประธาน ก.กลางเพื่อเสนอต่อ ก.ถ.ให้ทบทวนการกำหนดโครงสร้างบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งพนักงานส่วนท้อง ถิ่นในระบบแท่ง (บัญชี 2) เมื่อวันที่18 ธ.ค. 2558 ซึ่งทางสมาพันธ์ฯ เห็นว่า การกำหนดอัตราเงินประจำตำแหน่งตามมติดังกล่าวยังมีความเหลื่อมล้ำ ไม่สอดคล้องกับค่างานความรับผิดชอบ และระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติ
          "สำหรับ ตำแหน่ง ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ไม่สามารถดึงดูดบุคลากรในตำแหน่งประเภทอำนวยการที่มีความรู้ ความสามารถมาดำรงตำแหน่งประเภทบริหารท้องถิ่นในอนาคตได้ และไม่เป็นธรรมต่อบุคคลที่ดำรงตำแหน่งรองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่ ในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกอง ก่อนมาดำรงตำแหน่งรองปลัด จึงอยากให้พิจารณาทบทวนการกำหนดโครงสร้างบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งดัง กล่าว" นายธวัชกล่าว และว่า
          การปรับเงินประจำตำแหน่งดังกล่าว ถือว่าไม่มีความเป็นธรรม เช่น ปลัด อปท.ระดับกลางปรับจาก 5,600 เป็น 7,000 ขณะที่ตำแหน่งรองปลัด และ ผอ.กอง ระดับต้น ได้เท่าเดิม 3,500 รวมทั้ง ผอ.กองระดับกลาง กับรองปลัดระดับกลาง ก็กำหนดให้ได้ 5,600 เท่ากัน ทั้งที่ตำแหน่งรองปลัดเป็นตำแหน่งประเภทบริหารที่เป็นผู้บังคับบัญชา ผอ.กอง การกำหนดเงินประจำตำแหน่งให้เท่ากันจึงถือว่าไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม อย่างไรก็ตามทางสมาพันธ์ฯจะเดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง นายกสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) เพื่อขอให้ดำเนินการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

เทศบาลตำบลตันหยง รับโอนพนักงานเทศบาล

เทศบาลตำบลตันหยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีความประสงค์รับโอนพนักงานเทศบาลในตำแหน่ง
๑.เจ้าหน้าที่ธุรการ ๑-๓/๔
๒.เจ้าหน้าที่พัสดุ ๑-๓/๔
๓.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ๒-๔/๕
๔.บุคลากร ๓-๕/๖ว
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐๗๓-๔๘๗๑๐๔

เทศบาลเมืองคูคต รับโอนครูเทศบาล

เทศบาลเมืองคูคต จังหวัดปทุมธานี มีความประสงค์รับโอนครูเทศบาล
๑.ผู้อำนวยการโรงเรียน
๒.ครูสาขาวิชาเอกปฐมวัย
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๒๑๙๑-๑๕๖๐ - ๗๐ ต่อ ๑๐๐

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ท้องถิ่นชงข้อมูลประกอบรธน.ยื่นข้อเสนอ7ด้านให้ 'มีชัย'/รัฐต้องให้ความอิสระกับอปท.


ท้องถิ่นชงข้อมูลประกอบรธน.ยื่นข้อเสนอ7ด้านให้ 'มีชัย'/รัฐต้องให้ความอิสระกับอปท.
สยามรัฐ  Issued date 24 December 2015

          รัฐสภา : เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.58 ที่รัฐสภา ตัวแทนสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย นายบุญเลิศ บูรณุปกรนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)แห่งประเทศไทย นายชาตรี อยู่ประเสริฐ เลขาธิการสมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย นายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)แห่งประเทศไทย นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์เลขาธิการสมาคม อบต.แห่งประเทศไทยและตัวแทนสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) เข้ายื่นหนังสือข้อเสนอรัฐธรรมนูญ ในประเด็นสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ อปท. ต่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
          โดย รายละเอียดข้อเสนอประกอบด้วย ด้านเจตนารมณ์ด้านการปกครองท้องถิ่น
1.รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
2.รัฐต้องกระจายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ สาธารณะตลอดจนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ได้ อย่างทั่วถึง
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องส่งเสริมให้ชุมชน หรือคณะบุคคลสามารถดำเนินการจัดบริการสาธารณะได้เองตามความเหมาะสม
          รูปแบบ โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่
1.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 2 ระดับคือระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ โดยผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นมีที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน โดยตรง
2.รัฐต้องส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ทั่วไปในการจัดบริการสาธารณะ เว้นแต่ด้านความมั่นคง ด้านการเงินการคลังระดับประเทศ ด้านการต่างประเทศ และด้านยุติธรรม
4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องบริหารงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหารการจัดทำบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล และการคลัง โดยต้องคำนึงถึงดุลยภาพระหว่างความเป็นอิสระและความมีมาตรฐาน
 5.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีขนาดที่เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของประชาชน และมีศักยภาพที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่
6.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะได้ในรูปแบบที่หลากหลาย สามารถสร้างความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ องค์การภาคเอกชนและองค์การภาคประชาสังคมได้ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า เป็นประโยชน์ และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง
          การกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.ให้มีประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
2.มีคณะกรรมการบริหารท้องถิ่นแห่งชาติมีหน้าที่
         (1) กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งด้านอำนาจหน้าที่ และด้านงบประมาณ
         (2) กำหนดแนวทางบริหารงานและการยกระดับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
         (3) กำหนดมาตรฐานการจัดบริหารสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(4) กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารงานตามอำนาจหน้า  ที่ด้านบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น ด้านการตรวจสอบ
3.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพียงพอต่อการจัดการสาธารณะตามอำนาจ หน้าที่ และมีความเป็นอิสระด้านการบริหารการเงินการคลังในการจัดรายได้ และใช้จ่ายในการดำเนินงาน 4.ให้มีสถาบันการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถท้องถิ่น  โดยให้มี การบริหารการวิจัยในรูปแบบคณะกรรมการวิจัยเพื่อพัฒนา
          มาตรการกำกับดูแล การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกระทำ เท่าที่จำเป็น โดยกฎหมาย
          ด้าน การมีส่วนร่วม  ประชาชนหรือชุมชนย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการกำหนดรูปแบบ การบริหารงานการออกเสียงประชามติระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการดำเนินงานการถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
          การบริหารงานบุคคล
1.ให้บุคลากรท้องถิ่นเป็นกลไกในการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนตามนโยบาย ของผู้บริหารท้องถิ่น
 2.บุคลากรท้องถิ่นมีสถานะเป็นพนักงานท้องถิ่นมีที่มาจากการสรรหาและแต่งตั้ง โดยผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารท้องถิ่นแห่งชาติกำหนด
3.ให้มีการจัดตั้งกองทุนเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในการบริหารท้องถิ่นและคณะกรรมการดำเนิน การแต่งตั้งพนักงานท้องถิ่น
5.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอาจมีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลตาม ความเหมาะสมภายใต้อำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรกำหนด ตามที่คณะกรรมการบริหารท้องถิ่นแห่งชาติกำหนด
          ด้านการเงินการ คลัง
1.ให้มีกฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.ให้มีการจัดระบบภาษีเป็นสองระดับ คือ ภาษีระดับชาติ และภาษีระดับท้องถิ่น
 3.การจัดเก็บภาษีหรืออากรเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินจะต้องจัดเก็บจากฐานภาษี ต่างๆ ให้ครบฐาน ทั้งจากฐานรายได้ ฐานการซื้อขาย และจากฐานทรัพย์สิน


ปฏิรูปท้องถิ่นยุบอบจ.ยกฐานะอบต.เป็นเทศบาล

ปฏิรูปท้องถิ่นยุบอบจ.ยกฐานะอบต.เป็นเทศบาล 
โพสต์ทูเดย์  Issued date 19 December 2015

          ทีมข่าวการเมืองโพสต์ทูเดย์
          แม้ การปฏิรูปโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินยังไม่มีความคืบหน้า แต่ผลการศึกษาการบริหารราชการส่วนกลางและท้องถิ่นของคณะอนุกรรมการศึกษาโครง สร้างฝ่ายบริหารที่มี "อภิชาต สุขัคคานนท์" กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นประธานได้จัดทำรายงานเรียบร้อยแล้ว และได้จัดส่งให้ คณะ กรธ.พิจารณาเพื่อนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระน่าสนใจดังนี้
          โครง สร้างบริหารราชการ แผ่นดินควรมีขนาดที่เหมาะสม บริหารจัดการง่าย สอดคล้องกับภารกิจหลัก และควรให้มีการทบทวนภารกิจของหน่วยงานรัฐเป็นระยะ การดำเนินการในการบริหารราชการแผ่นดินต้องไม่ซ้ำซ้อน มีการกำหนดอำนาจหน้าที่ ขอบเขตการทำงาน ความรับผิดชอบของหน่วยงานราชการแต่ละภาคส่วนให้ชัดเจน
          ขอบเขต อำนาจหน้าที่ของราชการส่วนกลาง ส่วนท้องถิ่น และส่วนภูมิภาค ให้แยกเป็นสัดส่วนมากขึ้น โดยพิจารณาจากหลักการ กระจายอำนาจ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักการถ่ายโอนอำนาจ การงบประมาณและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
          ในการจัดตั้งหน่วย งานในจังหวัดจะต้องเป็นการจัดตั้งหน่วยงานที่ ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจบังคับบัญชาร่วมด้วย มิใช่พิจารณาเพียงจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมบริการประชาชนเท่านั้น อย่างไรก็ดี นอกจากเหตุผลข้างต้นแล้ว ควรพิจารณาด้านความคุ้มค่าของผลงานและ งบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดตั้งองค์กรกับผลที่ประชาชนพึงได้รับร่วมด้วย ไม่ควรจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม เพิ่มขึ้นด้วยเหตุผลทางการเมือง ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างข้าราชการแต่ละประเภท หากจะมีความแตกต่างกัน จะต้องเป็นความแตกต่างที่ตั้งบนหลักการและเหตุผล
          ควรกำหนด คุณสมบัติของ ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งสมาชิก และผู้บริหารส่วนท้องถิ่นให้เป็น ผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นที่ประจักษ์ พร้อมกับส่งเสริมนโยบายจังหวัดจัดการตนเองในพื้นที่ที่ประชาชนมีความเข้ม แข็งและมีความพร้อมทางด้านทรัพยากร และไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของนักการเมือง เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วม อันจะส่งผลให้ประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งมากขึ้นด้วย
          การปฏิรูป โครงสร้างการ บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรพิจารณาจากภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามีภารกิจใดบ้าง นอกจากนี้ การบริหารงาน ท้องถิ่นไม่ควรอยู่ภายใต้การเมืองมากเกินไป ควรที่จะมีคณะกรรมการคณะหนึ่งขึ้นมากำกับดูแลการบริหารงานส่วนภูมิภาคและการ บริหารงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งอำนาจหน้าที่ของการบริหารงานส่วน ภูมิภาคควรจะดูเรื่องความมั่นคงและการจัดการภารกิจที่มีความสำคัญ เช่น การอำนวยการ ภารกิจด้านการศึกษาโดยกำหนดหลักสูตรที่มีความเชื่อมโยงกับท้องถิ่น เป็นต้น รวมทั้งควรกำหนดให้มีการศึกษาโครงสร้างและภารกิจของการบริหารงานท้องถิ่น เช่น ความมั่นคง ความปลอดภัย ด้านการดำรงชีพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม เป็นต้น
          โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัจจุบันใช้ระบบการบริหาร 2 ชั้น กล่าวคือ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด ส่วนเทศบาล หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จะมีเขตพื้นที่ รับผิดชอบครอบคลุมในเขตเทศบาลหรือองค์กรบริหารส่วนจังหวัดนั้นๆ
          ดัง นั้น เพื่อให้เกิดการปฏิรูปองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงควรมีการเปลี่ยนแปลงให้มีระบบการบริหารระดับเดียวโดยไม่มีองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด และยกฐานะขององค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลและนำเทศบาลตำบลเหล่านั้นมาควบ รวมกัน โดยใช้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของพื้นที่ จำนวนประชากร และการจัดเก็บรายได้ในพื้นที่เป็นหลักในการพิจารณา ซึ่งจากการศึกษาเทียบเคียงในประเทศญี่ปุ่นพบว่าในแต่ละปีจะมีการลดลงของ จำนวนองค์กรปกครองท้องถิ่นเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน
          ทั้ง นี้ ควรมีการควบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน บุคคล การบริหารเครื่องมือเครื่องใช้ในการดูแลสาธารณประโยชน์ เช่น รถเก็บขยะ รถบดถนน เป็นต้น รวมถึงการส่งเสริมให้มีปราชญ์ชาวบ้านรวมกันในท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการใช้ ทรัพยากรท้องถิ่นร่วมกัน และควรพิจารณาการใช้ถ้อยคำที่จะบัญญัติไว้ในร่างรัฐธรรมนูญจากคำว่า "การปกครองส่วนท้องถิ่น" เป็นคำว่า "การบริหารส่วนท้องถิ่น" เพราะ คำว่าการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น การถ่ายโอนอำนาจในการปกครองจากการบริหารราชการส่วนกลางให้กับนายอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน
          การกำหนดรูปแบบโครงสร้างองค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ควร มีการกำหนดขนาดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความ ใกล้เคียงกันเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสร่วมกันในการพัฒนา และช่วยกันดูแลท้องถิ่น ซึ่งอาจกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีจำนวนประชากร 5,000 คน มีฐานะเป็นเทศบาลตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนประชากร 5 หมื่นคน มีฐานะเป็นเทศบาลเมือง องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นที่มีจำนวนประชากร 5 แสนคน มีฐานะเป็นเทศบาลนคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีจำนวนประชากร 1 ล้านคน มีฐานะเป็นการบริหารงานท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
          หากท้องที่ ใดมีจำนวนประชากรไม่ถึงตามจำนวนที่กำหนดเป็นเทศบาลตำบล ให้มีการควบรวมองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล เพื่อเป็นการลดการซ้ำซ้อน ช่วยประหยัดงบประมาณ และจะทำให้เกิดการพัฒนาใน ท้องถิ่นที่เป็นรูปธรรม
          โครงสร้างนี้จะได้ยอมรับหรือไม่ขึ้นอยู่กับ กรธ.จะตัดสินใจ

วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เทศบาลตำบลควนโดน รับโอนพนักงานเทศบาล

เทศบาลตำบลควนโดน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล มีความประสงค์รับโอนพนักงานเทศบาลในตำแหน่ง
๑.หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข (นักบริหารงานสาธารณสุข ๖)
๒.หัวหน้าฝ่ายสังคมสงเคราะห์ (นักบริหารงานสวัสดิการสังคม ๖)
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๗๔๗๙-๕๐๑๓ ต่อ ๖๑

เทศบาลเมืองปัตตานีรับโอนพนักงานครูเทศบาล

เทศบาลเมืองปัตตานี มีความประสงค์รับโอนพนักงานครูเทศบาลในสาขาวิชาเอก ดังนี้
โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ
๑.วิทยาศาสตร์ ๓ ตำแหน่ง
๒.ภาษาอังกฤษ ๒ ตำแหน่ง
๓.ภาษาไทย ๒ ตำแหน่ง
๔.สังคมศึกษา
๕.นาฎศิลป์
๖.ศิลปศึกษา
โรงเรียนเทศบาล ๒ วัดตานีนรสสโมสร
๑.คฺณิตศาสตร์
๒.ภาษาอังกฤษ
๓.ภาษาไทย
๔.พลศึกษา
๕.คหกรรมศาสตร์
๖.เกษตรศาสตร์
โรงเรียนเทศบาล ๓ บ้านปากน้ำ
๑.วิทยาศาสตร์
๒.คณิตศาสตร์
๓.ภาษาไทย ๒ ตำแหน่ง
๔.สังคมศึกษา
๕.พลศึกษา
๖.ศิลปศึกษา
โรงเรียนเทศบาล ๔ วัดนพวงศาราม
๑.คณิตศาสตร์ ๒ ตำแหน่ง
๒.ภาษาไทย ๓ ตำแหน่ง
๓.ภาษาอังกฤษ ๒ ตำแหน่ง
๔.สังคมศึกษา ๓ ตำแหน่ง
๕.ศิลปศึกษา ๒ ตำแหน่ง
๖.คหกรรมศาสตร์
โรงเรียนเทศบาล ๕ อาคารสลากกินแบ่งรัฐบาล
๑.วิทยาศาสตร์ ๒ ตำแหน่ง
๒.คณิตศาสตร์
๓.สังคมศาสตร์
๔.พลศึกษา ๒ ตำแหน่ง
๕.คหกรรมศาสตร์
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๗๓๓๓-๕๙๑๘ ต่อ ๑๐๔๘

เทศบาลตำบลยะหริ่ง รับโอนพนักงานเทศบาล

เทศบาลตำบลยะหริ่ง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีความประสงค์รับโอนพนักงานเทศบาลตำแหน่ง
๑.เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ๒-๔/๕
๒.เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ๒-๔/๕
๓.นายช่างโยธา ๒-๔/๕
๔.เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน ๒-๔/๕
๕.เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน ๒-๔/๕
๖.เจ้าหน้าที่ประปา ๑-๓/๔
สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร. ๐-๗๓๓๕-๓๔๔๑

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด

คอลัมน์ สายตรงท้องถิ่น: ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด
สยามรัฐ  ฉบับวันที่ ๒๑  ธันวาคม ๒๕๕๘

          รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม
          ผม ได้รับเชิญจากกรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้ไปพูดและร่วมอภิปรายเกี่ยว กับแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดให้กับ เลขานุการร่วมของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ซึ่งบุคคลที่เป็นอนุกรรมการร่วมประกอบด้วยตัวแทนเจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด เจ้าหน้าที่สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ซึ่งมาร่วมประชุม ประมาณ 200 คน
          ประเด็นในที่ประชุมได้ร่วมกันอภิปรายและนำเสนอ แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ที่ควรจะทำให้เกิดผลในเชิงปฏิบัติ ซึ่งมีหลายประเด็นซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยที่ผมได้นำเสนอเชิงนโยบาย เกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยหลายประเด็น จึงอยากเสนอไว้เพื่อเป็นแนวทางดังนี้
          (1) เสนอให้ในระดับรัฐบาลและระดับชาติต้องทำให้เป้าหมายการพัฒนาเด็กเป็น "เป้าหมายระดับวาระแห่งชาติ" เพื่อการทำให้หน่วยปฏิบัติในระดับจังหวัด ต้องดำเนินการตามนโยบายและ "ต้องจัดทำวาระจังหวัดในการพัฒนาเด็กปฐมวัย" ซึ่งเท่ากับเป็นการประกาศให้ทุกภาคส่วนเห็นถึงการตระหนักในการพัฒนาเด็ก ปฐมวัยที่จะสามารถบูรณาการพัฒนาเด็กของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มุ่งไป สู่เป้าหมายอย่างมีเอกภาพ
          แม้ว่าในทางหลักการจะมีพัฒนาการของ การส่งเสริมการพัฒนาเด็กที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันมาตลอดก็ตาม แต่การทำให้มีความชัดเจนให้เป็น"วาระแห่งชาติของรัฐบาล" ก็ยังมีความจำเป็นและกระทำให้เชื่อมโยงสัมพันธ์ถึงระดับจังหวัด ซึ่งเป็นจุดรวมของการปฏิบัติการระดับพื้นที่ ทั้งนี้เพราะมีหน่วยปฏิบัติการพัฒนาเด็กอยู่หลายหน่วย ซึ่งเป็นไปตามโครงสร้างของคณะอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยดังกล่าว
          จึง เห็นว่าในระดับจังหวัดต้องบูรณาการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ โดยการจัดทำนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด จำเป็นต้องทำให้เกิดการบูรณาการ นอกจากนี้เห็นควรให้ตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาเด็กปฐมวัย ระดับจังหวัด ว่าได้ตอบสนองนโยบายที่เป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาลมากน้อยเพียงใด อันเป็นการทบทวนการปฏิบัติการที่เชื่อมโยงกับระดับพื้นที่ โดยอาจจะให้หน่วยงานระดับสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ติดตามประเมินผล
          (2) การใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการบูรณาการในประเด็นดังกล่าวมีข้อเสนอ ในเชิงนโยบายระดับจังหวัด ก็คือ ต้องทำให้หน่วยปฏิบัติในระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยขาน รับนโยบายรัฐบาลเพื่อนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะให้ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นผู้ประกาศนโยบายจังหวัดเป็น "วาระจังหวัดการพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับจังหวัด" และให้อนุกรรมการฯ มีความตระหนักร่วม เพื่อทำให้เห็นความสำคัญร่วม และจัดทำการบูรณาการข้อมูลร่วม การจัดทำวิสัยทัศน์ การจัดทำยุทธศาสตร์แผนงานโครงการร่วม ในแต่ละจังหวัด
          (3) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยเฉพาะกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) วางมาตรการหรือหาแนวทางการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่คณะอนุกรรมการพัฒนา เด็กปฐมวัยระดับจังหวัดให้รับทราบและเข้าใจถึงบทบาทอำนาจหน้าที่ หรืออาจจะรณรงค์ให้เกิดความตระหนัก ความสำคัญในความจำเป็นที่จะต้องการพัฒนาเด็กปฐมวัยโดยมีข้อเสนอแนะให้ดำเนิน การ ดังนี้
          (1.1) ให้ทุกจังหวัดจัดทำหรือให้มีวาระจังหวัด "การพัฒนาเด็กปฐมวัย" โดยให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเป็นแกนประธาน
          (1.2) ให้กรมกิจการเด็กและเยาวชน ขอความร่วมมือหรือสั่งการให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ช่วยเป็นเจ้าภาพหลักในการประสานกับหน่วยงานที่เป็นเลขานุการร่วมในคณะ อนุกรรมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัด เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยจังหวัดให้เป็น รูปธรรม
          (1.3) ให้ทุกจังหวัดจัดทำนโยบาย แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย และแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการ ของคณะอนุกรรมการฯ หรือควรแต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อยกร่างโดยให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็กปฐมวัยมาร่วมกันจัดทำ
          (1.4) ให้มีการติดตามประเมินแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยของทุกจังหวัดว่า มีความก้าวหน้าและดำเนินการมีผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด ปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้างของการดำเนินงานอย่างไรบ้างจะได้เป็นการสรุปบทเรียน
          (4) ข้อเสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะเป็นประธานอนุกรรมการฯ ต้องมานั่งเป็นประธานหัวโต๊ะเป็นผู้จัดการประชุมด้วยตัวเอง มากกว่าที่มอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัด มาเป็นตัวแทนการประชุมอนุกรรมการฯที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานต่างๆ หรือแม้แต่การมอบหมายให้ พมจ. เพราะจะทำให้คณะอนุกรรมการฯ ไม่เห็นความสำคัญของการประชุมมักส่งตัวแทนมาร่วมประชุมอยู่บ่อยๆ ทำให้ความเข้าใจในเรื่องการทำงานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่ต่อเนื่อง จึงเสนอให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งตามคำสั่ง ได้มาประชุมด้วยตนเอง เพื่อตอบโจทย์วาระจังหวัด และสร้างความตระหนักและความเข้าใจร่วมกันเป็นเบื้องต้น ทั้งนี้เห็นว่าขั้นตอนการสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันของอนุกรรมการฯ ในการทำงานย่อมมีความสำคัญมากที่สุด อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเด็กในระดับจังหวัด
          (5) ข้อเสนอให้กับเลขานุการร่วมซึ่งมีที่มาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลัก 4 หน่วยงานนั้น ผลจากการวิจัย พบว่า หน่วยงานที่ทำเลขานุการร่วมหลัก ได้แก่ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด(พมจ.) ของจังหวัดนั้นๆ ซึ่งกลายเป็นภาระงานของฝ่ายเลขานุการร่วมจึงขอเสนอให้ฝ่ายเลขานุการร่วมทั้ง 4 ฝ่ายต้อง ร่วมตกลงกันให้ชัดว่าจะแบ่งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยให้ยึดภาระงานของแต่ละหน่วยที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ เป็นหลัก เช่น งานด้านที่เกี่ยวข้องกับการสาธารณสุข ก็ให้ผู้แทนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเป็นเลขานุการร่วมงานด้านองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นก็ให้สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น งานด้านการศึกษาที่เกี่ยวกับสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษา ให้ผู้แทนสำนักงานเขตพื้นที่เป็นฝ่ายเลขานุการหลักร่วม เป็นต้น
          ส่วน การประชุมอนุกรรมการต้องมีการกำหนดเวลาในการประชุม(Time line)ให้ชัดเจนในรอบปี โดยให้อนุกรรมการฯ ร่วมกันกำหนดวันเวลาสถานที่ไว้เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบตั้งแต่ต้น รวมทั้งให้จังหวัดพิจารณาจัดตั้งคณะทำงานในส่วนที่ต้องให้ส่วนที่นอกเหนือ จากอนุกรรมการฯมาร่วมทำงานส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยในจังหวัด โดยอาจจะมีการจัดประชุมนอกรอบ ตามแต่เห็นสมควร
          (6) ข้อเสนอในการจัดทำการทำงานยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กระดับจังหวัดแบบบูรณาการ จำเป็นจะต้องเริ่มต้นด้วยการร่วมคิด ร่วมสร้างความตระหนักและให้ความสำคัญร่วมกัน ตั้งแต่การบูรณาการข้อมูลด้านเด็กปฐมวัยของจังหวัด การกำหนดวิสัยทัศน์ร่วมและการวิเคราะห์สถานการณ์เด็ก การวางเป้าหมายการพัฒนาเด็ก โดยเฉพาะการนำนโยบายเป้าหมายการพัฒนาเด็กของชาติมาร่วมพิจารณา ดังเช่น
          ยุทธศาสตร์ที่ 1 เด็กทุกคนได้รับการบริการการพัฒนาเต็มศักยภาพ
          ยุทธศาสตร์ที่ 2 ไอโอดีนกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย
          ยุทธศาสตร์ที่ 3 การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย
          ยุทธศาสตร์ที่ 4 กลไกการดำเนินงานพัฒนาเด็กปฐมวัย
          รวม ทั้งการวางเป้าหมายให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่สังคมวัฒนธรรมของจังหวัดนั้น ซึ่งอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลัก ดังเช่น การส่งเสริมคุณภาพชีวิตเด็ก การจัดการศึกษาให้กับเด็กให้มีคุณภาพ การปกป้องเด็กจากการถูกละเมิดหรือแสวงหาประโยชน์ และความรุนแรงเป็นต้น นอกจากนี้ จะต้องตั้งทีมคณะทำงานด้านเด็กปฐมวัย เพื่อเป็นต้นทางความคิดในการระดมทรัพยากรในจังหวัดเพื่อมาร่วมจัดทำ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัยในระดับจังหวัดอย่างเป็นระบบ นั่นก็คือ การจัดทำยุทธศาสตร์แผนงานโครงการ/กิจกรรม การพัฒนาเด็ก อาจจะจัดทำเป็นแผน 3 ปี 5 ปี และจัดทำแผนการพัฒนาเด็กในแต่ละปี
          ดังนั้นจึงเห็นว่า ทุกจังหวัดต้องเริ่มจากการสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเด็กปฐมวัยของอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับ จังหวัดร่วมกัน โดยต้องจัดให้มีเวทีประชุมหรือสัมมนาต่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ
          (7) ข้อเสนอให้จังหวัด โดยอนุกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กปฐมวัยระดับจังหวัดคัดเลือกโครงการหรือ กิจกรรมที่เป็นแบบอย่างหรือต้นแบบแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) จังหวัดละ 1-2 โครงการ/กิจกรรมแบบบูรณาการร่วมกันเกี่ยวการพัฒนาเด็กให้เป็นต้นแบบให้เกิด เป็นรูปธรรมแต่ละจังหวัด เพื่อให้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ที่สามารถนำรูปแบบความสำเร็จที่เป็นแบบอย่างที่ดีไปประยุกต์ใช้เป็นแนว ปฏิบัติต่อไป