วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ท้องถิ่นชงข้อมูลประกอบรธน.ยื่นข้อเสนอ7ด้านให้ 'มีชัย'/รัฐต้องให้ความอิสระกับอปท.


ท้องถิ่นชงข้อมูลประกอบรธน.ยื่นข้อเสนอ7ด้านให้ 'มีชัย'/รัฐต้องให้ความอิสระกับอปท.
สยามรัฐ  Issued date 24 December 2015

          รัฐสภา : เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.58 ที่รัฐสภา ตัวแทนสมาคมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบด้วย นายบุญเลิศ บูรณุปกรนายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.)แห่งประเทศไทย นายชาตรี อยู่ประเสริฐ เลขาธิการสมาคม อบจ.แห่งประเทศไทย นายนพดล แก้วสุพัฒน์ นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)แห่งประเทศไทย นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์เลขาธิการสมาคม อบต.แห่งประเทศไทยและตัวแทนสมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (ส.ท.ท.) เข้ายื่นหนังสือข้อเสนอรัฐธรรมนูญ ในประเด็นสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ อปท. ต่อ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ประธานคณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ
          โดย รายละเอียดข้อเสนอประกอบด้วย ด้านเจตนารมณ์ด้านการปกครองท้องถิ่น
1.รัฐต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลักแห่งการปกครอง ตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น
2.รัฐต้องกระจายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ และต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลักในการจัดทำบริการ สาธารณะตลอดจนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาในพื้นที่ได้ อย่างทั่วถึง
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องส่งเสริมให้ชุมชน หรือคณะบุคคลสามารถดำเนินการจัดบริการสาธารณะได้เองตามความเหมาะสม
          รูปแบบ โครงสร้าง และอำนาจหน้าที่
1.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 2 ระดับคือระดับจังหวัด และระดับพื้นที่ โดยผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่นมีที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน โดยตรง
2.รัฐต้องส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนในพื้นที่
3.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ ทั่วไปในการจัดบริการสาธารณะ เว้นแต่ด้านความมั่นคง ด้านการเงินการคลังระดับประเทศ ด้านการต่างประเทศ และด้านยุติธรรม
4.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องบริหารงานให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบาย การบริหารการจัดทำบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล และการคลัง โดยต้องคำนึงถึงดุลยภาพระหว่างความเป็นอิสระและความมีมาตรฐาน
 5.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีขนาดที่เหมาะสมตามเจตนารมณ์ของประชาชน และมีศักยภาพที่เหมาะสมกับการปฏิบัติหน้าที่
6.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดทำบริการสาธารณะได้ในรูปแบบที่หลากหลาย สามารถสร้างความร่วมมือกับทั้งภาครัฐ องค์การภาคเอกชนและองค์การภาคประชาสังคมได้ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า เป็นประโยชน์ และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง
          การกระจายอำนาจ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.ให้มีประมวลกฎหมายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ
2.มีคณะกรรมการบริหารท้องถิ่นแห่งชาติมีหน้าที่
         (1) กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งด้านอำนาจหน้าที่ และด้านงบประมาณ
         (2) กำหนดแนวทางบริหารงานและการยกระดับการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
         (3) กำหนดมาตรฐานการจัดบริหารสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(4) กำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการบริหารงานตามอำนาจหน้า  ที่ด้านบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น ด้านการตรวจสอบ
3.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้เพียงพอต่อการจัดการสาธารณะตามอำนาจ หน้าที่ และมีความเป็นอิสระด้านการบริหารการเงินการคลังในการจัดรายได้ และใช้จ่ายในการดำเนินงาน 4.ให้มีสถาบันการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถท้องถิ่น  โดยให้มี การบริหารการวิจัยในรูปแบบคณะกรรมการวิจัยเพื่อพัฒนา
          มาตรการกำกับดูแล การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกระทำ เท่าที่จำเป็น โดยกฎหมาย
          ด้าน การมีส่วนร่วม  ประชาชนหรือชุมชนย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในการบริหารงานของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการกำหนดรูปแบบ การบริหารงานการออกเสียงประชามติระดับท้องถิ่น การตรวจสอบการดำเนินงานการถอดถอนผู้บริหารท้องถิ่นหรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือการเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่น
          การบริหารงานบุคคล
1.ให้บุคลากรท้องถิ่นเป็นกลไกในการจัดบริการสาธารณะให้กับประชาชนตามนโยบาย ของผู้บริหารท้องถิ่น
 2.บุคลากรท้องถิ่นมีสถานะเป็นพนักงานท้องถิ่นมีที่มาจากการสรรหาและแต่งตั้ง โดยผู้บริหารท้องถิ่น ทั้งนี้ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารท้องถิ่นแห่งชาติกำหนด
3.ให้มีการจัดตั้งกองทุนเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล บุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ให้มีคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมในการบริหารท้องถิ่นและคณะกรรมการดำเนิน การแต่งตั้งพนักงานท้องถิ่น
5.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษอาจมีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลตาม ความเหมาะสมภายใต้อำนาจหน้าที่ของแต่ละองค์กรกำหนด ตามที่คณะกรรมการบริหารท้องถิ่นแห่งชาติกำหนด
          ด้านการเงินการ คลัง
1.ให้มีกฎหมายรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2.ให้มีการจัดระบบภาษีเป็นสองระดับ คือ ภาษีระดับชาติ และภาษีระดับท้องถิ่น
 3.การจัดเก็บภาษีหรืออากรเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินจะต้องจัดเก็บจากฐานภาษี ต่างๆ ให้ครบฐาน ทั้งจากฐานรายได้ ฐานการซื้อขาย และจากฐานทรัพย์สิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น