วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ... จึงใช้ “สิทธิของชุมชน” ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง !



เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ... จึงใช้ สิทธิของชุมชนฟ้องคดีต่อศาลปกครอง !

การเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ผู้ฟ้ องคดีจะต้องเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยตรงจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายต้องมีคำบังคับของศาลปกครองคดีปกครองที่นำมาเล่าสู่กันฟังในฉบับนี้ เป็นกรณีที่ราษฎรจำนวนหนึ่งได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการที่นายกองค์การบริหารส่วนตำบลวังกระแจะ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ออกใบอนุญาตให้บริษัท อ. (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3)ก่อสร้างอาคารชื่อว่า ห้างเทสโก โลตัส ในท้องที่ตำบลวังกระแจะโดยอาคารดังกล่าวมีขนาดเกินกว่า 1,000 ตารางเมตรและเป็นการก่อสร้างทางเข้าออกอาคารห่างทางร่วมทางแยกน้อยกว่า 100 เมตร ห่างจากสถานที่ราชการสำคัญน้อยกว่า 500 เมตรโดยไม่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม อันเป็นการขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จึงฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ขอให้เพิกถอนใบอนุญาต แก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือรื้อถอนอาคาร และจัดทำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราษฎรที่ยื่นฟ้องคดีนี้ แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เป็นผู้อยู่อาศัย ประกอบกิจการและเป็นเจ้าของอาคารหรือที่ดินในบริเวณใกล้เคียงหรือติดต่อกับที่ดินที่มีการก่อสร้างอาคารพิพาท กลุ่มที่สอง เป็นผู้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะ อันเป็นพื้นที่ที่มีการก่อสร้างอาคารพิพาท และกลุ่มที่สาม ไม่ได้อยู่อาศัยในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะ แต่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลใกล้เคียงซึ่งอยู่ในพื้นที่จังหวัดเดียวกันคดีนี้ศาลปกครองชั้นต้นได้มีคำสั่งรับคำฟ้องเฉพาะราษฎรในกลุ่มแรกเนื่องจากเป็นผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายจากการกระทำของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ส่วนราษฎรในกลุ่มอื่นยังไม่ถือเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองแต่อย่างใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 66 และมาตรา 67 ได้บัญญัติในเรื่องสิทธิของชุมชนไว้ว่า เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและเป็นหลักคุ้มครองสิทธิของประชาชนในการดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ หรือคุณภาพชีวิตของตน ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจดังนั้น ราษฎรที่รวมตัวกันเป็นชุมชนจะใช้สิทธิตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ได้เพียงใด ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า สิทธิของชุมชนในการฟ้องหน่วยงานราชการเป็นคดีปกครอง อย่างน้อยต้องเป็นชุมชนที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหายโดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้ อันเนื่องจากการกระทำหรืองดเว้นการกระทำของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดีนั้นเมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยขัดต่อกฎกระทรวงและอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้งที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ที่มีทางเข้าออกอาคารใกล้ชิดทางร่วมทางแยก ซึ่งย่อมก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน การคมนาคมและขนส่งการสาธารณูปโภค การบริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม ตามวัตถุประสงค์ของการผังเมือง อันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตต่อผู้ที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในชุมชนท้องถิ่นนั้น ดังนั้น ราษฎรซึ่งรวมตัวกันเป็นผู้ฟ้องคดีและเป็นราษฎรที่ได้อาศัยหรือประกอบกิจการอยู่ในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียหรือได้รับผลกระทบโดยตรงและมากเป็นพิเศษกว่าบุคคลทั่วไปที่มิได้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะจึงมีสิทธิในการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการผังเมือง และการคมนาคมและขนส่งทั้งนี้ เพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่องในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณภาพชีวิตของตน

ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนตำบลวังกระแจะจึงมีสิทธิฟ้ องคดีต่อศาลปกครอง
(คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 157/2556)

คดีนี้นับเป็นบรรทัดฐานที่ดีสำหรับประชาชนโดยทั่วไปในเรื่องเกี่ยวกับการเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีซึ่งแม้บุคคลดังกล่าวไม่ได้อยู่อาศัยหรืออยู่ใกล้เคียงกับอาคารพิพาทและไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงจากการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำของหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่หากบุคคลต่างๆ เหล่านั้น เป็นผู้อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการในพื้นที่ชุมชนและเป็นผู้ได้รับผลกระทบต่อการดำรงชีพตามปกติอันอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตน และได้รวมตัวกันเป็นชุมชน ย่อมถือเป็ นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายซึ่งมีสิทธิฟ้ องคดีต่อศาลปกครอง ... ครับ
นายปกครอง

ไม่ออกใบอนุญาต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ขัดกฎหมาย



ไม่ออกใบอนุญาต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ขัดกฎหมาย
                คดีปกครองที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังฉบับนี้ เป็นเรื่องของเจ้าของอาคารได้ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารทดแทนอาคารเดิมที่รื้อถอนไป แต่เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อนุญาตเพราะเห็นว่า อาคารที่ขออนุญาตก่อสร้างนั้น มีความยาว 36.8 เมตร จำนวน 9 คูหา ด้านซ้ายใกล้อาคารอื่นในที่ดินเจ้าของเดียวกันเว้นระยะห่าง 4 เมตร ด้านขวามีอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเดิม (ตึกแถว) จำนวน 10 คูหา ความยาว 22 เมตร ทำให้ตึกแถวต่อเนื่องกันมากกว่าสิบคูหา และมีความยาวเกิน 40 เมตร ซึ่งขัดกับกฎกระทรวงฉบับที่55 (.. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522 ข้อ 4 ข้อ 34 วรรคสามและวรรคหก และข้อ 48จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร ผู้ขออนุญาตดังกล่าวจึงอุทธรณ์คำสั่ง แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ยกอุทธรณ์
หลังจากนั้นจึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองโดยเห็นว่า เจ้าพนักงานท้องถิ่นไม่อาจนำกฎกระทรวงฉบับที่ 55 (.. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522 มาบังคับใช้ได้ เนื่องจากอาคารที่ขออนุญาตก่อสร้าง เป็นการสร้างทดแทนอาคารเดิมที่รื้อถอนไป และอาคารเดิมได้ก่อสร้างมาก่อนการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับดังกล่าว การนำกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับย้อนหลัง เป็นการขัดต่อหลักทั่วไป และกระทบต่อการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารตามนัยมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 นอกจากนี้ ยังเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เพราะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้อนุญาตให้ผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารรายอื่นก่อสร้างอาคารได้ทั้งที่มีกรณีคล้ายกับผู้ฟ้องคดี จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งไม่อนุญาตให้ก่อสร้างอาคาร

คำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคาร และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ?

ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (.. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2543 ส่วนผู้ฟ้องคดี (ผู้ขออนุญาต) ได้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 การขออนุญาตก่อสร้างอาคารจึงเกิดขึ้นหลังจากที่กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ จึงต้องอยู่ในบังคับของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวด้วย และกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวมิได้กระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพของผู้ฟ้ องคดี ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารตามมาตรา 1336 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และยังมีผลเป็นการทั่วไปมิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่ผู้ฟ้ องคดีเป็นการเจาะจง ดังนั้น แม้ว่ากฎกระทรวงฉบับดังกล่าวจะมีลักษณะเป็ นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลแต่เมื่อมีลักษณะเป็นไปตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กฎกระทรวงฉบับดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ เมื่ออาคารที่ผู้ฟ้องคดีขออนุญาตก่อสร้างขัดต่อกฎกระทรวงฉบับดังกล่าวคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ฟ้องคดีก่อสร้างอาคารและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ (ผู้ถูกฟ้องคดี) ยกอุทธรณ์โดยนำกฎกระทรวง ฉบับที่ 55 (.. 2543) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.. 2522 มาใช้บังคับจึงชอบด้วยกฎหมาย
นอกจากนี้ คดีนี้ศาลปกครองสูงสุดยังได้วินิจฉัยกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อตนเองว่า การจะอ้างว่าได้รับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมจากหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น จะต้องเป็นกรณีที่บุคคลนั้นกระทำการที่ชอบด้วยกฎหมายแต่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติต่อบุคคลที่เหมือนกันในสาระสำคัญนั้นแตกต่างกัน เมื่อผู้ฟ้องคดีขออนุญาตก่อสร้างอาคารโดยฝ่าฝืนกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิหรือความชอบธรรมอย่างใดๆ ที่จะเรียกร้องให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ฟ้ องคดีก่อสร้างอาคารที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายได้ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 142/2555)
จากคำพิพากษาข้างต้นจึงเป็นอุทาหรณ์ที่ดีว่า ในการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของบุคคล จะต้องนำกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในเวลานั้นมาเป็นฐานในการใช้อำนาจ และการที่บุคคลใดจะอ้าง
หลักความเสมอภาคเพื่อให้ได้รับความคุ้มครองจากรัฐ บุคคลนั้นก็จะต้องมีการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายด้วย ครับ !
นายปกครอง